กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สตูล - เวทีเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานฐานวิจัย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

         จังหวัดสตูลมีสถาบันทางการศึกษาจำนวนมากกว่า 500 แห่ง แต่จากสภาวการณ์ด้านการศึกษา พบว่าคนสตูลที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่จะศึกษาต่อนอกพื้นที่ และไม่กลับคืนสู่จังหวัดสตูลเมื่อสำเร็จการศึกษา ด้วยเหตุนี้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสตูลจึงเริ่มกังวลและตั้งคำถามว่าจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร โดยมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ของจังหวัดสตูลกลับคืนถิ่นเพื่อรักษาและต่อยอดสิ่งที่ชมรุ่นหลังได้ดำเนินการไว้ต่อไปได้

         การจัดการศึกษาของจังหวัดสตูลแต่เดิม เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไม่ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ จากการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาพบว่า เด็กในจังหวัดสตูลต้องเข้าสู่วงจรการแข่งขันทางการศึกษา ตามค่านิยมของผู้ปกครองที่มุ่งส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนที่มีความพร้อม จนเกิดเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ได้ อีกทั้งยังเป็นระบบการศึกษาที่ดึงคนออกจากพื้นที่อีกด้วย

         จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น จังหวัดสตูลจึงเล็งเป็นความสำคัญของปัญหาด้านการศึกษาและต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เด็ก “รู้ได้ ทำได้ ใช้การปฏิบัติ และรักถิ่น” จึงมีการทดลองการปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาใหม่โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาเข้าสู่พื้นที่ โดยที่ผ่านมา ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล ได้ปรับใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา และปัจจุบันได้ขยายผลในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล โดยมีเป้าหมายเพื่อ

"สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโครงงานฐานวิจัย “กระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอน” แก่ครูโรงเรียน ครูผู้ปกครอง และครูชุมชน ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล จำนวน 10 โรงเรียน"

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ