
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย "เรียนรู้ สู่ การพัฒนาโครงการ"
ระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2555 ณ อาศรมวงศ์สนิท จ.นครนายก
วัตถุประสงค์
1)เพื่อพัฒนาโครงการของกลุ่มเยาวชนแกนนำรอบที่ 1
2)เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
3)เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือก 13 โครงการๆ จำนวน 52 คน อายุ 15 – 25 ปี แบ่งออกเป็น
1.แกนนำเยาวชน จำนวน 39 คน (โครงการละ 3 คน)
2.พี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษา 13 คน (โครงการละ 1 คน)
โครงการเยาวชนที่เข้าร่วมการอบรม ได้แก่
No. | ชื่อโครงการ | กลุ่ม/องค์กร | ประเด็น |
1 | เยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน | กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาห้วยทรายให้ยั่งยืน
โรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ |
-
ทรัพยากรน้ำ
- อนุรักษ์ฟื้นฟูลำน้ำห้วยทราย |
2 | การจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ | กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า จ.เพชรบูรณ์ | -
ทรัพยากรป่าไม้
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
3 | หมอกควัน มหันตภัยเงียบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่
จ.เชียงราย |
- ปัญหาหมอกควัน |
4 | ฮอมแฮง แป๋งฝาย ถวายพ่อหลวง | กลุ่มเยาวชนฮักถิ่น
เทียนส่องทาง
จ.ลำปาง |
- ฟื้นฟูทรัพยากรกรป่าไม้ + น้ำ |
5 | คนต้นคิด พลิกชีวิต คนต้นน้ำ | นักคิดเพื่อสังคม
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
- ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำแหล่งกำเนิดน้ำตกทีลอซู |
6 | เยาวชนรักษ์ป่าสัก | กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี |
- เฝ้าระวังคุณภาพน้ำป่าสักตั้งแต่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ถึง เขื่อนป่าสักฯ และแก้ไขปัญหาน้ำเสียในโรงเรียน |
7 | ยุวทูตแกลง “วิทยสถาวร” รักษ์ลุ่มน้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง | ยุวทูตคุณภาพแม่น้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง จ.ระยอง | - เฝ้าระวังแม่น้ำประแสที่ไลผ่านเทศบาลตำบลเมืองแกลง |
8 | เยาวชนรักษ์คูคลองลำพู | ชมรมเกสรลำพู จ.กรุงเทพ | - ฟื้นฟูคลองลำพู |
9 | กล้าใหม่...ปลูกฝัง สร้างสรรค์โลก | กลุ่มมาลัยดาว จ.สงขลา | - ทรัพยากรกรป่าไม้ + น้ำ |
10 | หินก้อนเดียว? | เครือข่ายเยาวชนชายฝั่งอันดามันตอนบน จ.พังงา | -
ปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่งคลองนางย่อน
- พลับพลึงธารลดลง |
11 | อนุรักษ์สัมรังสิต | กลุ่มรักษ์ส้ม จ.ปทุมธานี | - ความเสื่อมโทรมของดิน |
12 | บำบัดน้ำ บำรุงสุข | โรงเรียนเชียงยืนวิทยา จ.มหาสารคาม | - ทรัพยากรน้ำ |
13 | - | กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี | - ความเสื่อมโทรมของป่าพรุในพื้นที่ตำบลคันธุลี |
กรอบเนื้อหา
1.เรียนรู้ “สิ่งแวดล้อมเรา สิ่งแวดล้อมโลก”
2.เรียนรู้ เครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน
3.ทบทวนสถานการณ์ปัญหาชุมชน: กิจกรรม “ภาพชุมชนของเรา”
4.เรียนรู้ การค้นหาโจทย์ทำโครงการและการพัฒนาโครงการ รวมถึงการฝึกเขียนข้อเสนอโครงการ
5.เรียนรู้ ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมร่วมแก้ปัญหาชุมชนของเยาวชน:
กิจกรรมเรียนรู้ ดูหนัง “โครงงานเพื่อชีวิต”
ผู้เข้าร่วมเริ่มลงทะเบียนและเข้าที่พักตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป เจ้าหน้าที่จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการอบรม
กิจกรรม ลงทะเบียน (ระยะเวลา 30 นาที)
กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ / ละลายพฤติกรรม (ระยะเวลา 1.15 ชม)
วิทยากร
กลุ่มไม้ขีดไฟ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแนะนำและทำความรู้จักเพื่อนใหม่
1. กิจกรรม หัวใจ 6 ดวง
อุปกรณ์
กระดาษ เอ4, ปากกา
กระบวนการ
1) แจกกระดาษเอ 4 คนละ 1 แผ่น ให้เขียนรูปหัวใจ 6 ดวง ลงบนกระดาษ
2) ให้แต่ละคนถามชื่อและเขียนชื่อของเพื่อนลงบนหัวใจให้ครบทั้ง 6 ดวง พร้อมจำหน้าเพื่อนแต่ละคน
3) สอบถามข้อมูลจากเพื่อนทั้ง 6 แล้วเขียนลงบนหัวใจที่มีชื่อเพื่อนคนนั้นอยู่ ดังนี้
ข้อที่ 1 “มีพี่น้องกี่คน มาจากอำเภออะไร” ถามหมายเลข 5
ข้อที่ 2 “ถ้าเข้าไปในป่า คุณมีความคาดหวังอะไรในป่า” ถามหมายเลข 2
ข้อที่ 3 “สมมุติว่าไม่มีค่ายเสาร์-อาทิตย์ คุณจะไปทำอะไร” ถามหมายเลข 4
ข้อที่ 4 “งานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุขมากที่สุด” ถามหมายเลข 6
ข้อที่ 5 “เขาคิดว่าเขามีหน้าตาเหมือนดาราคนไหน” ถามหมายเลข 3
ข้อที่ 6 “เวลาจัดกิจกรรมอะไร ส่วนมากเขาได้รับบทบาทเป็นอะไร” ถามหมายเลข 1
4) หลังเสร็จสิ้นการค้นหาคำตอบแต่ละข้อวิทยากรจะสุ่มเรียกให้อ่านคำตอบเพื่อให้เพื่อนๆ ได้แวะเวียนทำความรู้จักเพื่อนๆ
2. กลุ่มสัมพันธ์/แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “กิจกรรม รวมวันเกิด”
อุปกรณ์
กระดาษ เอ4, ปากกา
กระบวนการ
1) ให้ผู้เข้าร่วมอบรมจับกลุ่มกับคนที่เกิดในวันเดียวกัน แล้วนั่งลง
2) ภายในเวลา 1 นาที ถามชื่อเพื่อน ชื่อกลุ่ม และจังหวัดที่มา
3) ส่งตัวแทน 1 คน นำเสนอข้อมูลของเพื่อนที่เกิดวันเดียวกัน “มีอะไรที่ชอบเหมือนกันหรือต่างกัน”
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้จะทำให้เยาวชนได้ถามชื่อ ข้อมูลต่างๆของเพื่อนต่างกลุ่มทำให้ได้รู้จักกันมากขึ้น ขึ้น ได้รู้จัก..ที่มา กิจกรรมที่เพื่อนทำในช่วงเวลาเข้าป่า ความคิด การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของเพื่อน ความภาคภูมิใจในหน้าตาของตัวเอง และบทบาทหน้าและศักยภาพของเพื่อนในการทำกิจกรรม และเตรียมพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนใหม่ อีกทั้งสามารถแบ่งกลุ่มย่อยแบบคละกันเพื่อให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนใหม่
กิจกรรม Check in& ความคาดหวัง (ระยะเวลา 30 นาที)
วิทยากร
น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย
วัตถุประสงค์
การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ระหว่างการอบรมในแต่ละวันของผู้เข้าร่วมอบรม โดยการสำรวจความรู้สึก เล่าสู่กันฟัง แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเพื่อนใหม่ และกระบวนการฝึกอบรม อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการสรุปบทเรียน สิ่งที่ได้เรียน และประมวลความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
อุปกรณ์
กระดาษ A4, ปากกา, บัตรคำ/กระดาษโพสอิท, ระฆัง
กระบวนการ
1)แบ่งกลุ่มเยาวชนและกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มละ 6-7 คน (อาจจะให้ตั้งชื่อกลุ่ม)
2)นั่งหลับตา (สมาธิภาวนา) 5-10 นาที ทบทวนความรู้สึกเช้านี้และความหวังในการเข้าอบรมในครั้งนี้ จากนั้นเขียนลงในบัตรคำ
3)เล่าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง โดยมีตัวแทนบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม 1 คน
4)ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ “จากการฟังเพื่อนแล้วรู้สึกอย่างไร เพื่อนๆ ในกลุ่มมีความคาดหวังอะไรกับการมาครั้งนี้” กลุ่มละ 1 นาที
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
การสำรวจความรู้สึกในวันแรกก่อนเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมเป็นการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย ทำให้วิทยากรได้รับทราบถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้ของเยาวชนก่อนเริ่มกระบวนการ อีกทั้งเยาวชนจะได้เตรียมพร้อมมีสมาธิกับกระบวนการอบรมในเบื้องต้น ได้ฝึกกระบวนการฟังผู้อื่น หรือ การเป็นผู้ฟังที่ดี จากการรับฟังความรู้สึกของเพื่อน ฝึกการพูดการสื่อสารกับผู้อื่นจากเรื่องง่ายๆและสร้างความคุ้นเคยกันมากยิ่งขี้น นอกจากนี้ยังทำให้เยาวชนที่เข้าอบรมบอกเล่าถึงความคาดหวังที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นความคาดหวังที่เกิดจากความคิดและความรู้สึกของตัวเองมากที่สุด ก่อนที่จะนำสู่กระบวนการชี้แจงแนะนำโครงการเพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายของโครงการและการฝึกอบรมครั้งนี้
โดยสรุปแล้วในช่วงเช้าวันแรกก่อนเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมเยาวชนรู้สึกว่าอากาศดี มีสิ่งที่อยากเรียนรู้มากมาย เหนื่อยล้าบ้าง สนุก กังวลกับงาน โชคดีที่ได้เปิดหูเปิดตา ดีใจ เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมทุกคนมีความคาดหวังกับการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ดังนี้
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดใหม่ๆ
- เจอเพื่อน เครือข่ายที่ทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนกัน
- พัฒนาทักษะกระบวนการทำค่าย
- เรียนรู้เครื่องมือการพัฒนาโครงการและทักษะการทำโครงการ
- แนวทางการแก้ไขปัญหา
กิจกรรมชี้แจงเป้าหมายของโครงการปลูกใจรักษ์โลก (ระยะเวลา 15 นาที)
คุณกรรชิต สุขใจมิตร ผู้อำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย ได้กล่าวต้อนรับเยาวชนที่เข้าโครงการและพูดคุยถึงโครงการเป้าหมายและกระบวนการการพัฒนาเยาวชนในโครงการว่า
“โครงการจะเน้นหนักไปที่กลุ่มเยาวชนที่เข้าไปร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งป่าไม้ ป่าชายเลน ดิน การเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของปัญหาเกิดจากคนที่ไม่มีควาเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ 1) การสนับสนุนทุนให้กับกลุ่มเยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ 2) พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นทีม และ 3) การเชื่อมประสานเครือข่ายในแต่ละส่วนได้เรียนรู้ร่วมกันหลายๆ กลุ่ม”
ทั้งนี้โครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการเป็นปีแรก มีการคัดโครงการรอบแรก 15 กลุ่ม เข้าร่วมอบรมพัฒนาโครงการและเขียนข้อเสนอโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ
กิจกรรมแนะนำกระบวนการฝึกอบรมครั้งนั้ (ระยะเวลา 10 นาที)
วิทยากร
น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย
คุณรัตนติกา เพรชทองมา ได้ชี้แจงกระบวนการฝึกอบรมใน 3 วันนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้และใช้เครื่องมือในการวิเคคราะห์ปัญหาของชุมชน ประเมินศักยภาพของกลุ่มเยาวชน วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนนำมาสู่การพัฒนาโครงการและองค์ประกอบและการเขียนข้อเสนอโครงการ นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างโครงการอีกด้วย
จากนั้นจึงระดมทำกติกาการอยู่ร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้
1.ปิดเสียงโทรศัพท์ ขณะทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้ามีธุระจำเป็นจริงๆ ให้ออกไปคุยข้างนอก
2.ตรงต่อเวลา ในการเข้าร่วมทำกิจกรรม
3.ให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรม
4.ห้ามออกไปนอกค่าย ระหว่างทำกิจกรรมอยู่ในค่ายอบรม ยกเว้นมีเหตุจำเป็นต้องแจ้งทีมงานก่อนเสมอ
5.ล้านจาน และแก้ว ทุกครั้งหลังทานอาหารเสร็จ
กิจกรรมเรียนรู้เครื่องมือศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาชุมชน
1. กิจกรรมวาดภาพชุมชน (ระยะเวลา 1 ชม.)
วิทยากร
กลุ่มไม้ขีดไฟ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนภายในกลุ่มของตนเองได้แลกเปลี่ยน ทบทวนเรื่องราวของชุมชนตนเอง
อุปกรณ์
กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ
กระบวนการ
โดยให้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเองภายในกลุ่มในประเด็น สถานการณ์ในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง มีผู้รู้หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จากนั้นจึงลงมือวาดภาพชุมชน และนำเสนอกลุ่มใหญ่
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนและพี่เลี้ยงได้ทบทวนเรื่องราวของชุมชนตนเองผ่านการวาดภาพชุมชน ทำให้เยาวชนเห็นภาพของชุมชนทั้งหมด ได้แก่ สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน พื้นที่ทำการเกษตร บ้านผู้นำ ผู้รู้ในชุมชน ฯ สภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. กิจกรรมวาดภาพชุมชน (ต่อ) (ระยะเวลา 40 นาที)
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวของแต่ละชุมชน
2. กิจกรรมใยแมงมุมปัญหา (ระยะเวลา 2.10 ชม.)
วิทยากร
กลุ่มไม้ขีดไฟ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ปัญหาแบบเชื่อมโยง ด้วยเครื่องมือ "ใยแมงมุม" ผ่านโจทย์
1) สาเหตุของโจทย์ปัญหาที่เลือก
2) สาเหตุของแต่ละสาเหตุมีอะไรบ้าง จากนั้นนำเสนอแลกเปลี่ยนสาเหตุของปัญหา
อุปกรณ์
กระดาษฟลิปชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ
กระบวนการ
1)เลือกโจทย์ปัญหาจากการทบทวนชุมชนข้างต้นมา 1 ปัญหาโดยให้สมาชิกในกลุวิเคราะห์ทีละปัญหาแล้วเลือกโจทย์ปัญหาที่เป็นปัญหาของชุมชนจริงๆ และเป็นโจทย์ที่เยาวชนสามารถแก้ไขได้
2)เขียนปัญหานั้นไว้ตรงกลางของกระดาษฟลิปชาร์ท
3)วิเคราะห์ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้างแล้วลากเส้นโยงจากปัญหาไปหาสาเหตุ
4)เมื่อได้สาเหตุหลักๆ แล้วให้แตกสาเหตุย่อยออกไปอีก (ทำเหมือนข้อ 3) ทำจนครบทุกสาเหตุหลัก ทำซ้ำอีก
5)จากนั้นให้โยงว่าสาเหตุไหนเชื่อมโยงกับสาเหตุไหนกันบ้าง
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้เป็นการให้เยาวชนได้คิดวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหาที่ช่วยให้เยาวชนได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น การแตกสาเหตุของปัญหายิ่งทำให้เยาวชนได้เห็นความสัมพันธ์และเมื่อเห็นความสัมพันธ์มากๆ ก็จะเห็นภาพรวมทั้งหมดด้วยคำถามว่า “ทำไม”
3. กิจกรรมวิเคราะห์โจทย์ปัญหา “ภูเขาน้ำแข็ง” (ระยะเวลา 40 นาที)
วิทยากร
น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกวิเคราะห์จำแนกชั้นสาเหตุของปัญหาที่จะนำไปสู่การเลือกโจทย์ในการทำโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาชุมชนได้ตามกำลังศักยภาพและระยะเวลาด้วยเครื่องมือภูเขาน้ำแข็ง
อุปกรณ์
กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ
กระบวนการ
1.วิทยากรอธิบายให้การจำแนกแยกกลุ่มชั้นสาเหตุของปัญหา ผ่านภาพภูเขาน้ำแข็ง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1) ส่วนที่อยู่บนสุด (ภูเขาน้ำแข็ง) เปรียบเสมือนปรากฏการณ์ หรือปัญหาที่เราเห็น
2) ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบเสมือนสาเหตุที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออก เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นานนัก
3) ส่วนที่อยู่ลึกลงไปอีกชั้น เปรียบเสมือนสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ กฎหมาย นโยบายของสังคม เป็นสิ่งที่แก้ไขเองโดยตรงไม่ได้ต้องอาศัยแรงผลักดันจากคนอื่นทำ 4) ส่วนที่อยู่ลึกสุด เปรียบเสมือนสาเหตุที่เกิดจากทัศนคติ จิตสำนึก จริยธรรมความเชื่อ ค่านิยม เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากมากหรือยากที่จะแก้ไขได้ต้องใช้เวลายาวนาน
2.แบ่งกลุ่มย่อยฝึกวิเคราะห์ผ่านโจทย์ตัวอย่าง
3.แจกชุดบัตรคำสาเหตุของปัญหา แต่ละกลุ่มระดมความคิดเห็นช่วยกันจำแนกแยกชั้นสาเหตุ ตามโจทย์
- กลุ่มสาเหตุที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออก / สิ่งที่แก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาน้อย
- กลุ่มสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ กฎหมาย นโยบาย/ สิ่งที่แก้ไขเองโดยตรงไม่ได้ต้องอาศัยแรงผลักดันจากคนอื่นทำ
- กลุ่มสาเหตุที่เกิดจากทัศนคติ จิตสำนึก จริยธรรมความเชื่อ ค่านิยม เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากมากหรือยากที่จะแก้ไขได้ต้องใช้เวลายาวนาน
4)วิทยากรเฉลย สรุปและตอบข้อสงสัย
5)ให้เยาวชนแต่ละกลุ่มนำปัญหาและสาเหตุจากเครื่องมือผังใยแมงมุม มาวิเคราะห์เพื่อจำแนกชั้นสาเหตุของปัญหา
กิจกรรม เรียนรู้การทำโครงการผ่านภาพยนต์ “ดวงดาวหิ้งห้อย” (ระยะเวลา 2 ชม.)
วิทยากร
กลุ่มไม้ขีดไฟ และ มูลนิธิกองทุนไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อเรียนรู้การทำโครงการ
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
หลังจากดูภาพยนต์จบแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนในหัวข้อต่อไปนี้
- รู้สึกอย่างไรจากการชมภาพยนตร์ : ทึ่งในสิ่งที่เด็กๆ ทำ, ดีใจ, ปลื้มใจ, เห็นความพยายามของเด็ก, เกิดกำลังใจ, เกิดแรงบันดาลใจ
- ได้เรียนรู้อะไรจากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ : การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียน, การลงมือทำจริงทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น, พี่เลี้ยงเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก, จากความสงสัยเรื่องเล็กๆนำไปสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆได้
กิจกรรมCheck in& ความคาดหวัง (ระยะเวลา 25 นาที)
วิทยากร
น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย
วัตถุประสงค์
การเตรียมความพร้อมในการอบรม
อุปกรณ์
กระดาษ A4, ปากกา, บัตรคำ/กระดาษโพสอิท, ระฆัง
กระบวนการ
1)แบ่งกลุ่มเยาวชนและกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มละ 6-7 คน
2)นั่งหลับตา (สมาธิภาวนา) 5-10 นาที ทบทวนความรู้สึกเช้านี้และได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมเมื่อวานนี้จากนั้นเขียนลงในบัตรคำ
3)เล่าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง โดยมีตัวแทนบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม 1 คน
4)ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ
กิจกรรม “การเรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ” (ต่อ) (ระยะเวลา 1 ชม.)
3. กิจกรรมวิเคราะห์โจทย์ปัญหา “ภูเขาน้ำแข็ง” (ต่อ)
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้จะทำให้เยาวชนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์จำแนกแยกชั้นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นตามความยากง่ายในการแก้ไข ซึ่งทำให้เห็นถึงโจทย์กิจกรรมที่จะเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนและรอบด้านมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยน การรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนภายในกลุ่ม
4. กิจกรรม วิเคราะห์ศักยภาพ “ SWOT” (ระยะเวลา 1.35 ชม.)
วิทยากร
กลุ่มไม้ขีดไฟ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มตนเอง
อุปกรณ์
กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ
กระบวนการ
1)แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ช่อง
2)ให้เยาวชนระดมความคิดเห็นภายในกลุ่มตามโจทย์ 4 ข้อ โดยปล่อยทีละโจทย์ ดังนี้
ช่อง 1 กลุ่มเยาวชนมีจุดแข็งอะไรบ้าง
ช่อง 2 กลุ่มเยาวชนมีจุดอ่อนอะไรบ้าง
ช่อง 3 ปัญหาอุปสรรค / ความเสี่ยง
ช่อง 4 โอกาส
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนและพี่เลี้ยงได้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัญหา ของกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นการประเมินศักยภาพของตนเอง ของกลุ่ม ก่อนการดำเนินงานโครงการ พร้อมทั้งหยิบฉวยโอกาสที่มีมาใช้ในการทำโครงการ และหาแนวทางการแก้ไข
5. กิจกรรมวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ระยะเวลา 1.30 ชม.)
วิทยากร
น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำโครงการ
อุปกรณ์
กระดาษฟลิปชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ, บัตรคำ
กระบวนการ
1)ให้วาดวงกลม 3 วง ซ้อนกันลงในกระดาษฟลิปชาร์ท วงที่ 1 วงเล็กอยู่ตรงกลางเขียนชื่อกลุ่มเยาวชน วงที่ 2 ขนาดกลาง และวงที่ 3 ขนาดใหญ่
2)จากนั้นระดมภายใต้โจทย์ “ในการดำเนินโครงการของเยาวชนให้บรรลุเป้าหมาย มีบุคคล/ หน่วยงานใดมาเกี่ยวข้องบ้าง” ระดมออกมาให้ได้เยอะที่สุด
3)นำบัตรคำมาวาง วงที่ 2 บุคคล/ หน่วยงานที่มาเกี่ยวข้องใกล้ชิดที่สุด วงที่ 3 บุคคล/ หน่วยงานที่มาเกี่ยวข้องน้อย
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้เยาวชนได้รู้ถึงว่าการทำโครงการๆหนึ่งจะมีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เกี่ยวข้องอย่างไร สิ่งนี้จะเป็นการให้เยาวชนได้ดึงการมีส่วนร่วมจากชุมชนได้
6. กิจกรรมจากการเรียนรู้สู่การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (ระยะเวลา 2 ชม.)
เมื่อรู้โจทย์ปัญหา สาเหตุ ประเมินศักยภาพตนเองแล้ว ในช่วงบ่ายจึงให้อิสระโดยแต่ละโครงการไปพูดคุยต่อยอดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ทำกับใคร จากนั้นให้แต่ละโครงการเตรียมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนและกลุ่มเยาวชนผ่านเครื่องมือข้างต้นมาสรุปยอดความคิดเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ผ่านหัวข้อ 1) โจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เราจะทำคือ ? ทำไมถึงทำ (สาเหตุ) 2) ทำกิจกรรมอะไร 3) ผลที่เกิดขึ้น 4) ทำกับใคร (กลุ่มเป้าหมาย)
เรียนรู้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมโลก (ระยะเวลา 30 นาที)
โดย คุณพูนสิน ศรีสังคม
ผู้ประสานงาน แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กในประเทศไทย (GEF SGP/UNDP) กองทุนสิ่งแวดล้อม
ทีมงานสรุป
จะเห็นได้ว่าปัญหาทุกปัญหาที่อาจารย์พูนสินได้พูดไปมันเชื่อมโยงกันหรือแม้กระทั้งสาเหตุแต่ละสาเหตุก็เชื่อมโยงกัน เหมือนกับที่เราทำผังใยแมงมุมปัญหาหนึ่งปัญหาแตกสาเหตุได้หลายสาเหตุ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ที่ออกมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม ห่วงใยสิ่งแวดล้อม หรือบางกลุ่มก็บอกว่าอยากทำตามความฝันของเราเพราะเราอยากทำ ทำเพื่อความสุข แต่สิ่งที่เราลุกขึ้นมาทำหากเรามีกลุ่มมีเพื่อนมีเครือข่ายมาช่วยกันทำ จะทำให้สิ่งเล็กๆที่เราทำเกิดผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำไม่อาจจะหยุดไม่ให้โลกหยุดร้อนได้แต่ก็เป็นการชะลอให้โลกเราได้อยู่ได้นานๆ
กิจกรรม “ตลาดนัดโครงการ” (ระยะเวลา 1 ชม.)
วิทยากร
น.ส.ไพลิน กล้าจริง สมาคมสร้างสรรค์ไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชน ได้เรียนรู้ “การทำโครงการที่ดี” ผ่านการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการของเพื่อนๆ ฝึกการนำเสนอโครงการ รับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น
อุปกรณ์
กระดาษฟลิปชาร์ท, อุปกรณ์ให้คะแนน (คูปอง + แก้วน้ำ), ระฆัง, ปากกาเคมี
กระบวนการ
1)วิทยากรอธิบายกระบวนการเปิดตลาดนัดโครงการ และเงื่อนไขการ shopping
i.ทุกกลุ่มโครงการ ใช้ “แผนงานโครงการ” เป็นสินค้า ขายไอเดียในสิ่งที่ทำ
ii.ทุกคนภายในกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ ให้ 1 คนในกลุ่มเป็นคนขาย อีก 3 คน (รวมพี่เลี้ยง) เป็นคนซื้อไอเดียคนอื่น
iii.เงื่อนไขการซื้อไอเดีย/โครงการ ทุกคนจะได้รับเงินคนละ 4 บาท สามารถซื้อไอเดีย/โครงการที่ตัวเองชอบ แต่ไม่สามารถซื้อไอเดีย/โครงการของกลุ่มตัวเองได้
iv.ให้วางแผงตลาดนัดโครงการเป็นรูปตัวยู
v.มีเวลาในการดูรอบละ 10 นาที มีทั้งหมด 2 รอบ รอบที่ 2 เราจะเปลี่ยนคนขายโดยให้เพื่อนที่เป็นคนขายในรอบแรกไปดูบ้าง
vi.คนที่ไปซื้อสามารถพูดคุยทุกอย่างที่เราอยากรู้ เช่น ทำไมถึงทำกิจกรรม ทำไมถึงแก้ปัญหาเรื่องนี้ มีเวลา 10 นาทีในการพูดคุย
2)แต่ละกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ เตรียมวางแผง รับคูปอง
3)เปิดตลาดนัด 2 รอบ
รอบที่ 1 ดูของเพื่อน 10 นาที / กลับมาคุยเพิ่มเติมข้อมูลในโครงการของตนเอง 5 นาที
รอบที่ 2 ดูของเพื่อน 10 นาที / กลับมาคุยเพิ่มเติมข้อมูลในโครงการของตนเอง 5 นาที
4) วิทยากรรวมคะแนนของแต่ละโครงการ ชวนสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้โจทย์ “ทำไมถึงซื้อไอเดีย”
5) ตัวแทนพี่เลี้ยง ตัวแทนวิทยากรหรือทีมงาน และตัวแทนคณะกรรมการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะต่อโครงการ
6) วิทยากรสรุปภาพรวม ชี้นำให้เห็นการทำโครงการที่ดี มีคุณภาพ และนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาในพื้นที่ได้สำเร็จ มีหัวใจสำคัญอย่างไร
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม
กิจกรรมนี้เป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้ามโครงการ โดยให้น้องๆได้เรียนรู้และสร้างความเข้าใจต่อการทำโครงการที่ดีมีคุณภาพจากโครงการของเพื่อน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงโครงการของกลุ่มให้มีคุณภาพต่อไป ผลของกิจกรรมเยาวชนให้ความสนใจในการซักถามกระบวนการดำเนินโครงการของเพื่อนและอาจจะนำมาปรับปรุงโครงการของกลุ่มให้ดีขึ้น นอกจากนี้บางโครงการก็ได้รับคำแนะนำเพื่อปรับปรุงโครงการให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำโครงการ นอกจากนี้แกนนำเยาวชนยังได้ฝึกการพูดสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจและฝึกการตั้งคำถาม
กลุ่มเยาวชน/โครงการ และ เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
กลุ่มมาลัยดาว จ. สงขลา ( 23 บาท)
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- ชาวบ้านให้ความร่วมมือ/ให้ความสนใจ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านอยากได้
- อยากรู้ว่าภาคใต้เป็นยังไง
- มีแนวความคิดเหมือนกัน คือการทำฝายและการจัดการป่าเหมือนกัน ดูแล้วมีความยั่งยืนเนื่องจากกลุ่มทำโดยยึดชุมชนเป็นหลักทั้งวิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาของชุมชน การมีส่วนร่วม และต่อยอดงานได้
สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่ จ.เชียงราย ( 22 บาท)
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- อยากรู้โครงการของกลุ่มนี้ ตอนแรกจะทำเรื่องหมอกควันเหมือนกัน
- พี่เค้ามาซื้อกลุ่มหนู ก็เลยไปดูของพี่เค้าบ้างซึ่งเมื่อฟังพี่อธิบายแล้วหนูเข้าใจและเห็นว่าน่าสนใจเรื่องที่พี่ทำอยู่เกี่ยวกับหมอกควัน
กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ( 20 บาท) (การบำบัดน้ำเสีย ตรวจวัดคุณภาพน้ำป่าสัก)
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- จากที่ฟังน้องอธิบายเรื่องการวิเคราะห์สาเหตุเห็นว่าน้องวิเคราะห์สาเหตุมาเยอะมาก แล้วทางแก้ที่โรงงานทำไม่ได้ แก้ที่ภาคเกษตรทำไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือการเฝ้าระวัง กับการกลับไปเช็คที่ชุมชนก็คือบ้านของตัวเอง นึกถึงหนังเมื่อคืน “บ้านเราเองที่เป็นฆาตกร” ที่ซื้อโครงการนี้เพราะเห็นความชัดเจนของปัญหาแล้วแก้ตรงไหนและสามารถทำได้ (พี่ชาติ)
กลุ่มเยาวชนฮักถิ่น ( 15 บาท) ทำประเด็นการอนุรักษ์ป่า
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- เป็นโครงการที่น่าสนใจ คือ ไปทำฝาย มีความชัดเจน ความละเอียด คนในชุมชนให้ความร่วมมือดี
- เป็นพื้นที่ที่กลุ่มทำกิจกรรมมาก่อน มีความชัดเจนของปัญหา (อ.เดียร์)
กลุ่มเยาวชนร่วมรักษ์ธรรมชาติลุ่มน้ำเซิน ( 9 บาท) ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำเซิน
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- ทำงานคล้ายๆกันคือเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เลยมาดูแนวคิดโครงการนี้ สิ่งที่ทำคือการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม การจัดค่ายเยาวชน โดยจะสื่อจากเยาวชนไปยังผู้ใหญ่
- มีแนวคิดสอดคล้องกับโครงการที่ทำคือการจัดการน้ำ เห็นว่ากิจกรรมเริ่มต้นจากค่ายเล็กๆ กับกลุ่มเยาวชนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง เป็นการค่อยๆใส่ข้อมูลให้กับเด็กๆเป็นการล้างสมองแล้วค่อยซึมไปยังครอบครัว จึงชอบแนวคิดการทำกิจกรรมแบบนี้และอยากให้กำลังใจ (อ.อารมณ์)
กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชน ( 16 บาท) ประเด็นที่ทำคือพาน้องดูแลป่าพรุ
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- ชอบที่ทำเรื่องป่าและมีการจัดค่าย เป็นสิ่งที่โครงการเรายังไม่เคยทำ
- เห็นว่าป่าพรุสำคัญ วิธีการของน้องว่าเริ่มทำจากกลุ่มเยาวชนเล็กๆ สิ่งที่อยากฝากคือทำยังไงให้น้องๆกลุ่มนี้คิดว่า “เราเป็นเจ้าของ” ใครจะมาทำลายไม่ได้
กลุ่มรักษ์ส้มรังสิต ( 13 บาท)
เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย
- ชอบแนวคิดดีคือฟื้นฟูทรัพยากรดิน แต่ละกลุ่มก็มีแนวการอนุรักษ์ทรัพยากรแตกต่างกัน เช่น น้ำ ป่าไม้ แต่เห็นข้อเด่นของกลุ่มคือการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม
- ชอบวิธีการคือการนำเปลือกไข่มาโรยหน้าดินทำให้ดินกรดกลายเป็นเบส (ลดความเป็นกรดของดิน)
-เป็นประเด็นที่น่าสนใจคือประเด็นเล็กไม่ใหญ่มาก มีความเป็นไปได้สูง หลักการของโครงการไม่จำเป็นต้องใหญ่มากแต่เป็นโครงการเล็กและสามารถทำได้จริง โอกาสประสบความสำเร็จมีสูงเพราะกรอบไม่ได้กว้างมาก / ประเด็นต่อมาคือของแถม 2 เรื่อง 1) กลับไปหาวิธีการที่ทำอย่างไรให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญว่าถ้ามีส้มรังสิตแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนรังสิตอย่างไร 2) การเพิ่มเติมการทำงานกับชุมชนด้วยคือนอกจากจะไปตรวจสอบคุณภาพดินแล้วอาจไปชวนคนเฒ่าคนแก่หรือคนในชุมชนคุยว่าส้มรังสิตจะอยู่ได้ในดินลักษณะยังไงไม่ใช่การไปสัมภาษณ์ (อาร์ท)
ดังนั้นลักษะโครงการที่น่าสนใจ คือ
1)เป็นโครงการที่น้องทำได้จริงและมีความเป็นไปได้สูงหรือมีโอกาสสำเร็จภายในระยะเวลา 6-8 เดือน
2)เป็นโครงการที่เป็นปัญหาของชุมชน1)เป็นโครงการที่น้องทำได้จริงและมีความเป็นไปได้สูงหรือมีโอกาสสำเร็จภายในระยะเวลา 6-8 เดือนดังนั้นลักษะโครงการที่น่าสนใจ คือ
3)เป็นโครงการที่มีกระบวนการชัดเจน เช่น ปัญหาคือเรื่องนี้ เกิดจากเรื่องนี้ เราจึงมีกระบวนการหรือกิจกรรมแก้ปัญหาแบบนี้
4)มีความยั่งยืนและต่อยอดได้
กระบวนการเขียนข้อเสนอโครงการหากเราคิด