โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย "เรียนรู้ สู่ การพัฒนาโครงการ" ปี 1 รุ่นที่ 1
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

      การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย "เรียนรู้ สู่ การพัฒนาโครงการ"

     ระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2555 ณ อาศรมวงศ์สนิท จ.นครนายก

วัตถุประสงค์

1)เพื่อพัฒนาโครงการของกลุ่มเยาวชนแกนนำรอบที่ 1

2)เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 

3)เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย 

กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือก 13 โครงการๆ จำนวน 52 คน อายุ 15 – 25 ปี แบ่งออกเป็น 

1.แกนนำเยาวชน จำนวน 39 คน (โครงการละ 3 คน)  

2.พี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษา 13 คน  (โครงการละ 1 คน)  

โครงการเยาวชนที่เข้าร่วมการอบรม ได้แก่

­

No. ชื่อโครงการ กลุ่ม/องค์กร ประเด็น
1 เยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาฟื้นฟูห้วยทรายให้ยั่งยืน กลุ่มเยาวชนคนรักบ้านเกิดจิตอาสาพัฒนาห้วยทรายให้ยั่งยืน

โรงเรียนร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

- ทรัพยากรน้ำ

- อนุรักษ์ฟื้นฟูลำน้ำห้วยทราย

2 การจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ กลุ่มเยาวชนเมล็ดพันธุ์ใหม่ สานใจฟื้นฟูป่า จ.เพชรบูรณ์ - ทรัพยากรป่าไม้

- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3 หมอกควัน มหันตภัยเงียบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่

จ.เชียงราย

- ปัญหาหมอกควัน
4 ฮอมแฮง แป๋งฝาย ถวายพ่อหลวง กลุ่มเยาวชนฮักถิ่น เทียนส่องทาง

จ.ลำปาง

- ฟื้นฟูทรัพยากรกรป่าไม้ + น้ำ
5 คนต้นคิด พลิกชีวิต คนต้นน้ำ นักคิดเพื่อสังคม

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำแหล่งกำเนิดน้ำตกทีลอซู
6 เยาวชนรักษ์ป่าสัก กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรี

- เฝ้าระวังคุณภาพน้ำป่าสักตั้งแต่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ถึง เขื่อนป่าสักฯ และแก้ไขปัญหาน้ำเสียในโรงเรียน
7 ยุวทูตแกลง “วิทยสถาวร” รักษ์ลุ่มน้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง ยุวทูตคุณภาพแม่น้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง จ.ระยอง - เฝ้าระวังแม่น้ำประแสที่ไลผ่านเทศบาลตำบลเมืองแกลง
8 เยาวชนรักษ์คูคลองลำพู ชมรมเกสรลำพู จ.กรุงเทพ - ฟื้นฟูคลองลำพู
9 กล้าใหม่...ปลูกฝัง สร้างสรรค์โลก กลุ่มมาลัยดาว จ.สงขลา - ทรัพยากรกรป่าไม้ + น้ำ
10 หินก้อนเดียว? เครือข่ายเยาวชนชายฝั่งอันดามันตอนบน จ.พังงา - ปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่งคลองนางย่อน

- พลับพลึงธารลดลง

11 อนุรักษ์สัมรังสิต กลุ่มรักษ์ส้ม จ.ปทุมธานี - ความเสื่อมโทรมของดิน
12 บำบัดน้ำ บำรุงสุข โรงเรียนเชียงยืนวิทยา จ.มหาสารคาม - ทรัพยากรน้ำ
13 - กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี - ความเสื่อมโทรมของป่าพรุในพื้นที่ตำบลคันธุลี


กรอบเนื้อหา

1.เรียนรู้ “สิ่งแวดล้อมเรา สิ่งแวดล้อมโลก”

2.เรียนรู้ เครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน

3.ทบทวนสถานการณ์ปัญหาชุมชน: กิจกรรม “ภาพชุมชนของเรา”

4.เรียนรู้ การค้นหาโจทย์ทำโครงการและการพัฒนาโครงการ รวมถึงการฝึกเขียนข้อเสนอโครงการ

5.เรียนรู้ ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมร่วมแก้ปัญหาชุมชนของเยาวชน:

  กิจกรรมเรียนรู้ ดูหนัง “โครงงานเพื่อชีวิต”

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 : ค่าย “เรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ” ปี 1 รุ่นที่ 1
ระหว่างวันที่  2 3-26 สิงหาคม 2555 ณ อาศรมวงศ์สนิท จังหวัดนครนายก
วันที่ 23 สิงหาคม 2556

ผู้เข้าร่วมเริ่มลงทะเบียนและเข้าที่พักตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป เจ้าหน้าที่จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการอบรม

วันที่ 24 สิงหาคม 2556

กิจกรรม ลงทะเบียน (ระยะเวลา 30 นาที)

กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ / ละลายพฤติกรรม (ระยะเวลา 1.15 ชม)

วิทยากร

กลุ่มไม้ขีดไฟ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแนะนำและทำความรู้จักเพื่อนใหม่

1. กิจกรรม หัวใจ 6 ดวง

อุปกรณ์

กระดาษ เอ4, ปากกา

กระบวนการ

1) แจกกระดาษเอ 4 คนละ 1 แผ่น ให้เขียนรูปหัวใจ 6 ดวง ลงบนกระดาษ

2) ให้แต่ละคนถามชื่อและเขียนชื่อของเพื่อนลงบนหัวใจให้ครบทั้ง 6 ดวง พร้อมจำหน้าเพื่อนแต่ละคน

3) สอบถามข้อมูลจากเพื่อนทั้ง 6 แล้วเขียนลงบนหัวใจที่มีชื่อเพื่อนคนนั้นอยู่ ดังนี้

ข้อที่ 1 “มีพี่น้องกี่คน มาจากอำเภออะไร” ถามหมายเลข 5

ข้อที่ 2 “ถ้าเข้าไปในป่า คุณมีความคาดหวังอะไรในป่า” ถามหมายเลข 2

ข้อที่ 3 “สมมุติว่าไม่มีค่ายเสาร์-อาทิตย์ คุณจะไปทำอะไร” ถามหมายเลข 4

ข้อที่ 4 “งานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุขมากที่สุด” ถามหมายเลข 6

ข้อที่ 5 “เขาคิดว่าเขามีหน้าตาเหมือนดาราคนไหน” ถามหมายเลข 3

ข้อที่ 6 “เวลาจัดกิจกรรมอะไร ส่วนมากเขาได้รับบทบาทเป็นอะไร” ถามหมายเลข 1

4) หลังเสร็จสิ้นการค้นหาคำตอบแต่ละข้อวิทยากรจะสุ่มเรียกให้อ่านคำตอบเพื่อให้เพื่อนๆ ได้แวะเวียนทำความรู้จักเพื่อนๆ

2. กลุ่มสัมพันธ์/แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “กิจกรรม รวมวันเกิด”

อุปกรณ์

กระดาษ เอ4, ปากกา

กระบวนการ

1) ให้ผู้เข้าร่วมอบรมจับกลุ่มกับคนที่เกิดในวันเดียวกัน แล้วนั่งลง

2) ภายในเวลา 1 นาที ถามชื่อเพื่อน ชื่อกลุ่ม และจังหวัดที่มา

3) ส่งตัวแทน 1 คน นำเสนอข้อมูลของเพื่อนที่เกิดวันเดียวกัน “มีอะไรที่ชอบเหมือนกันหรือต่างกัน”

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้จะทำให้เยาวชนได้ถามชื่อ ข้อมูลต่างๆของเพื่อนต่างกลุ่มทำให้ได้รู้จักกันมากขึ้น ขึ้น ได้รู้จัก..ที่มา กิจกรรมที่เพื่อนทำในช่วงเวลาเข้าป่า ความคิด การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของเพื่อน ความภาคภูมิใจในหน้าตาของตัวเอง และบทบาทหน้าและศักยภาพของเพื่อนในการทำกิจกรรม และเตรียมพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนใหม่ อีกทั้งสามารถแบ่งกลุ่มย่อยแบบคละกันเพื่อให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนใหม่

กิจกรรม Check in& ความคาดหวัง (ระยะเวลา 30 นาที)

วิทยากร

น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

วัตถุประสงค์

การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ระหว่างการอบรมในแต่ละวันของผู้เข้าร่วมอบรม โดยการสำรวจความรู้สึก เล่าสู่กันฟัง แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเพื่อนใหม่ และกระบวนการฝึกอบรม อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการสรุปบทเรียน สิ่งที่ได้เรียน และประมวลความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

อุปกรณ์

กระดาษ A4, ปากกา, บัตรคำ/กระดาษโพสอิท, ระฆัง

กระบวนการ

1)แบ่งกลุ่มเยาวชนและกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มละ 6-7 คน (อาจจะให้ตั้งชื่อกลุ่ม)

2)นั่งหลับตา (สมาธิภาวนา) 5-10 นาที ทบทวนความรู้สึกเช้านี้และความหวังในการเข้าอบรมในครั้งนี้ จากนั้นเขียนลงในบัตรคำ

3)เล่าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง โดยมีตัวแทนบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม 1 คน

4)ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ “จากการฟังเพื่อนแล้วรู้สึกอย่างไร เพื่อนๆ ในกลุ่มมีความคาดหวังอะไรกับการมาครั้งนี้” กลุ่มละ 1 นาที

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

การสำรวจความรู้สึกในวันแรกก่อนเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมเป็นการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย ทำให้วิทยากรได้รับทราบถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้ของเยาวชนก่อนเริ่มกระบวนการ อีกทั้งเยาวชนจะได้เตรียมพร้อมมีสมาธิกับกระบวนการอบรมในเบื้องต้น ได้ฝึกกระบวนการฟังผู้อื่น หรือ การเป็นผู้ฟังที่ดี จากการรับฟังความรู้สึกของเพื่อน ฝึกการพูดการสื่อสารกับผู้อื่นจากเรื่องง่ายๆและสร้างความคุ้นเคยกันมากยิ่งขี้น นอกจากนี้ยังทำให้เยาวชนที่เข้าอบรมบอกเล่าถึงความคาดหวังที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นความคาดหวังที่เกิดจากความคิดและความรู้สึกของตัวเองมากที่สุด ก่อนที่จะนำสู่กระบวนการชี้แจงแนะนำโครงการเพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายของโครงการและการฝึกอบรมครั้งนี้

โดยสรุปแล้วในช่วงเช้าวันแรกก่อนเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมเยาวชนรู้สึกว่าอากาศดี มีสิ่งที่อยากเรียนรู้มากมาย เหนื่อยล้าบ้าง สนุก กังวลกับงาน โชคดีที่ได้เปิดหูเปิดตา ดีใจ เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมทุกคนมีความคาดหวังกับการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ดังนี้

  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดใหม่ๆ
  • เจอเพื่อน เครือข่ายที่ทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนกัน
  • พัฒนาทักษะกระบวนการทำค่าย
  • เรียนรู้เครื่องมือการพัฒนาโครงการและทักษะการทำโครงการ
  • แนวทางการแก้ไขปัญหา

กิจกรรมชี้แจงเป้าหมายของโครงการปลูกใจรักษ์โลก (ระยะเวลา 15 นาที)

คุณกรรชิต สุขใจมิตร ผู้อำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย ได้กล่าวต้อนรับเยาวชนที่เข้าโครงการและพูดคุยถึงโครงการเป้าหมายและกระบวนการการพัฒนาเยาวชนในโครงการว่า

“โครงการจะเน้นหนักไปที่กลุ่มเยาวชนที่เข้าไปร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งป่าไม้ ป่าชายเลน ดิน การเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของปัญหาเกิดจากคนที่ไม่มีควาเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ 1) การสนับสนุนทุนให้กับกลุ่มเยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ 2) พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นทีม และ 3) การเชื่อมประสานเครือข่ายในแต่ละส่วนได้เรียนรู้ร่วมกันหลายๆ กลุ่ม”

ทั้งนี้โครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการเป็นปีแรก มีการคัดโครงการรอบแรก 15 กลุ่ม เข้าร่วมอบรมพัฒนาโครงการและเขียนข้อเสนอโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ

กิจกรรมแนะนำกระบวนการฝึกอบรมครั้งนั้ (ระยะเวลา 10 นาที)

วิทยากร

น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

คุณรัตนติกา เพรชทองมา ได้ชี้แจงกระบวนการฝึกอบรมใน 3 วันนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้และใช้เครื่องมือในการวิเคคราะห์ปัญหาของชุมชน ประเมินศักยภาพของกลุ่มเยาวชน วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนนำมาสู่การพัฒนาโครงการและองค์ประกอบและการเขียนข้อเสนอโครงการ นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างโครงการอีกด้วย

จากนั้นจึงระดมทำกติกาการอยู่ร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้

1.ปิดเสียงโทรศัพท์ ขณะทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้ามีธุระจำเป็นจริงๆ ให้ออกไปคุยข้างนอก

2.ตรงต่อเวลา ในการเข้าร่วมทำกิจกรรม

3.ให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรม

4.ห้ามออกไปนอกค่าย ระหว่างทำกิจกรรมอยู่ในค่ายอบรม ยกเว้นมีเหตุจำเป็นต้องแจ้งทีมงานก่อนเสมอ

5.ล้านจาน และแก้ว ทุกครั้งหลังทานอาหารเสร็จ

กิจกรรมเรียนรู้เครื่องมือศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาชุมชน

1. กิจกรรมวาดภาพชุมชน (ระยะเวลา 1 ชม.)

วิทยากร

กลุ่มไม้ขีดไฟ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนภายในกลุ่มของตนเองได้แลกเปลี่ยน ทบทวนเรื่องราวของชุมชนตนเอง

อุปกรณ์

กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

โดยให้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเองภายในกลุ่มในประเด็น สถานการณ์ในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง มีผู้รู้หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จากนั้นจึงลงมือวาดภาพชุมชน และนำเสนอกลุ่มใหญ่

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนและพี่เลี้ยงได้ทบทวนเรื่องราวของชุมชนตนเองผ่านการวาดภาพชุมชน ทำให้เยาวชนเห็นภาพของชุมชนทั้งหมด ได้แก่ สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน พื้นที่ทำการเกษตร บ้านผู้นำ ผู้รู้ในชุมชน ฯ สภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อม

---พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.---
ภาคบ่าย 13.00 – 16.30 น.

1. กิจกรรมวาดภาพชุมชน (ต่อ) (ระยะเวลา 40 นาที)

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวของแต่ละชุมชน

2. กิจกรรมใยแมงมุมปัญหา (ระยะเวลา 2.10 ชม.)

วิทยากร

กลุ่มไม้ขีดไฟ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ปัญหาแบบเชื่อมโยง ด้วยเครื่องมือ "ใยแมงมุม" ผ่านโจทย์

1) สาเหตุของโจทย์ปัญหาที่เลือก

2) สาเหตุของแต่ละสาเหตุมีอะไรบ้าง จากนั้นนำเสนอแลกเปลี่ยนสาเหตุของปัญหา

อุปกรณ์

กระดาษฟลิปชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

1)เลือกโจทย์ปัญหาจากการทบทวนชุมชนข้างต้นมา 1 ปัญหาโดยให้สมาชิกในกลุวิเคราะห์ทีละปัญหาแล้วเลือกโจทย์ปัญหาที่เป็นปัญหาของชุมชนจริงๆ และเป็นโจทย์ที่เยาวชนสามารถแก้ไขได้

2)เขียนปัญหานั้นไว้ตรงกลางของกระดาษฟลิปชาร์ท

3)วิเคราะห์ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้างแล้วลากเส้นโยงจากปัญหาไปหาสาเหตุ

4)เมื่อได้สาเหตุหลักๆ แล้วให้แตกสาเหตุย่อยออกไปอีก (ทำเหมือนข้อ 3) ทำจนครบทุกสาเหตุหลัก ทำซ้ำอีก

5)จากนั้นให้โยงว่าสาเหตุไหนเชื่อมโยงกับสาเหตุไหนกันบ้าง

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้เป็นการให้เยาวชนได้คิดวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหาที่ช่วยให้เยาวชนได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น การแตกสาเหตุของปัญหายิ่งทำให้เยาวชนได้เห็นความสัมพันธ์และเมื่อเห็นความสัมพันธ์มากๆ ก็จะเห็นภาพรวมทั้งหมดด้วยคำถามว่า “ทำไม”

3. กิจกรรมวิเคราะห์โจทย์ปัญหา “ภูเขาน้ำแข็ง” (ระยะเวลา 40 นาที)

วิทยากร

น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกวิเคราะห์จำแนกชั้นสาเหตุของปัญหาที่จะนำไปสู่การเลือกโจทย์ในการทำโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาชุมชนได้ตามกำลังศักยภาพและระยะเวลาด้วยเครื่องมือภูเขาน้ำแข็ง

อุปกรณ์

กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

1.วิทยากรอธิบายให้การจำแนกแยกกลุ่มชั้นสาเหตุของปัญหา ผ่านภาพภูเขาน้ำแข็ง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

1) ส่วนที่อยู่บนสุด (ภูเขาน้ำแข็ง) เปรียบเสมือนปรากฏการณ์ หรือปัญหาที่เราเห็น

2) ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบเสมือนสาเหตุที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออก เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นานนัก

3) ส่วนที่อยู่ลึกลงไปอีกชั้น เปรียบเสมือนสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ กฎหมาย นโยบายของสังคม เป็นสิ่งที่แก้ไขเองโดยตรงไม่ได้ต้องอาศัยแรงผลักดันจากคนอื่นทำ 4) ส่วนที่อยู่ลึกสุด เปรียบเสมือนสาเหตุที่เกิดจากทัศนคติ จิตสำนึก จริยธรรมความเชื่อ ค่านิยม เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากมากหรือยากที่จะแก้ไขได้ต้องใช้เวลายาวนาน

2.แบ่งกลุ่มย่อยฝึกวิเคราะห์ผ่านโจทย์ตัวอย่าง

3.แจกชุดบัตรคำสาเหตุของปัญหา แต่ละกลุ่มระดมความคิดเห็นช่วยกันจำแนกแยกชั้นสาเหตุ ตามโจทย์

- กลุ่มสาเหตุที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออก / สิ่งที่แก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาน้อย

- กลุ่มสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ กฎหมาย นโยบาย/ สิ่งที่แก้ไขเองโดยตรงไม่ได้ต้องอาศัยแรงผลักดันจากคนอื่นทำ

- กลุ่มสาเหตุที่เกิดจากทัศนคติ จิตสำนึก จริยธรรมความเชื่อ ค่านิยม เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากมากหรือยากที่จะแก้ไขได้ต้องใช้เวลายาวนาน

4)วิทยากรเฉลย สรุปและตอบข้อสงสัย

5)ให้เยาวชนแต่ละกลุ่มนำปัญหาและสาเหตุจากเครื่องมือผังใยแมงมุม มาวิเคราะห์เพื่อจำแนกชั้นสาเหตุของปัญหา

---พักผ่อนตามอัธยาศัยและอาหารเย็น 16.30 – 19.00 น.---
ภาคกลางคืน 19.00 – 21.00 น.

กิจกรรม เรียนรู้การทำโครงการผ่านภาพยนต์ “ดวงดาวหิ้งห้อย” (ระยะเวลา 2 ชม.)

วิทยากร

กลุ่มไม้ขีดไฟ และ มูลนิธิกองทุนไทย

วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำโครงการ

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

หลังจากดูภาพยนต์จบแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนในหัวข้อต่อไปนี้

  • รู้สึกอย่างไรจากการชมภาพยนตร์ : ทึ่งในสิ่งที่เด็กๆ ทำ, ดีใจ, ปลื้มใจ, เห็นความพยายามของเด็ก, เกิดกำลังใจ, เกิดแรงบันดาลใจ
  • ได้เรียนรู้อะไรจากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ : การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียน, การลงมือทำจริงทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น, พี่เลี้ยงเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก, จากความสงสัยเรื่องเล็กๆนำไปสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆได้
วันที่ 25 สิงหาคม 2556
ภาคเช้า 08.00 – 12.00 น.

กิจกรรมCheck in& ความคาดหวัง (ระยะเวลา 25 นาที)

วิทยากร

น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

วัตถุประสงค์

การเตรียมความพร้อมในการอบรม

อุปกรณ์

กระดาษ A4, ปากกา, บัตรคำ/กระดาษโพสอิท, ระฆัง

กระบวนการ

1)แบ่งกลุ่มเยาวชนและกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มละ 6-7 คน

2)นั่งหลับตา (สมาธิภาวนา) 5-10 นาที ทบทวนความรู้สึกเช้านี้และได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมเมื่อวานนี้จากนั้นเขียนลงในบัตรคำ

3)เล่าให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง โดยมีตัวแทนบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม 1 คน

4)ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ

กิจกรรม “การเรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ” (ต่อ) (ระยะเวลา 1 ชม.)

3. กิจกรรมวิเคราะห์โจทย์ปัญหา “ภูเขาน้ำแข็ง” (ต่อ)

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้จะทำให้เยาวชนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์จำแนกแยกชั้นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นตามความยากง่ายในการแก้ไข ซึ่งทำให้เห็นถึงโจทย์กิจกรรมที่จะเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนและรอบด้านมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยน การรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนภายในกลุ่ม

4. กิจกรรม วิเคราะห์ศักยภาพ “ SWOT” (ระยะเวลา 1.35 ชม.)

วิทยากร

กลุ่มไม้ขีดไฟ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มตนเอง

อุปกรณ์

กระดาษฟลิบชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

1)แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ช่อง

2)ให้เยาวชนระดมความคิดเห็นภายในกลุ่มตามโจทย์ 4 ข้อ โดยปล่อยทีละโจทย์ ดังนี้

ช่อง 1 กลุ่มเยาวชนมีจุดแข็งอะไรบ้าง

ช่อง 2 กลุ่มเยาวชนมีจุดอ่อนอะไรบ้าง

ช่อง 3 ปัญหาอุปสรรค / ความเสี่ยง

ช่อง 4 โอกาส

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนและพี่เลี้ยงได้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัญหา ของกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นการประเมินศักยภาพของตนเอง ของกลุ่ม ก่อนการดำเนินงานโครงการ พร้อมทั้งหยิบฉวยโอกาสที่มีมาใช้ในการทำโครงการ และหาแนวทางการแก้ไข

---พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.---
ภาคบ่าย 13.00 – 16.30 น.

5. กิจกรรมวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ระยะเวลา 1.30 ชม.)

วิทยากร

น.ส.รัตนติกา เพรชทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนวิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำโครงการ

อุปกรณ์

กระดาษฟลิปชาร์ท, สีช็อค, ปากกาเมจิ, บัตรคำ

กระบวนการ

1)ให้วาดวงกลม 3 วง ซ้อนกันลงในกระดาษฟลิปชาร์ท วงที่ 1 วงเล็กอยู่ตรงกลางเขียนชื่อกลุ่มเยาวชน วงที่ 2 ขนาดกลาง และวงที่ 3 ขนาดใหญ่

2)จากนั้นระดมภายใต้โจทย์ “ในการดำเนินโครงการของเยาวชนให้บรรลุเป้าหมาย มีบุคคล/ หน่วยงานใดมาเกี่ยวข้องบ้าง” ระดมออกมาให้ได้เยอะที่สุด

3)นำบัตรคำมาวาง วงที่ 2 บุคคล/ หน่วยงานที่มาเกี่ยวข้องใกล้ชิดที่สุด วงที่ 3 บุคคล/ หน่วยงานที่มาเกี่ยวข้องน้อย

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้เยาวชนได้รู้ถึงว่าการทำโครงการๆหนึ่งจะมีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เกี่ยวข้องอย่างไร สิ่งนี้จะเป็นการให้เยาวชนได้ดึงการมีส่วนร่วมจากชุมชนได้

6. กิจกรรมจากการเรียนรู้สู่การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (ระยะเวลา 2 ชม.)

เมื่อรู้โจทย์ปัญหา สาเหตุ ประเมินศักยภาพตนเองแล้ว ในช่วงบ่ายจึงให้อิสระโดยแต่ละโครงการไปพูดคุยต่อยอดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ทำกับใคร จากนั้นให้แต่ละโครงการเตรียมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนและกลุ่มเยาวชนผ่านเครื่องมือข้างต้นมาสรุปยอดความคิดเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ผ่านหัวข้อ 1) โจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เราจะทำคือ ? ทำไมถึงทำ (สาเหตุ) 2) ทำกิจกรรมอะไร 3) ผลที่เกิดขึ้น 4) ทำกับใคร (กลุ่มเป้าหมาย)

วันที่ 26 สิงหาคม 2556
ภาคเช้า 08.30 – 12.00 น.

เรียนรู้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมโลก (ระยะเวลา 30 นาที)

โดย    คุณพูนสิน ศรีสังคม

ผู้ประสานงาน แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กในประเทศไทย (GEF SGP/UNDP) กองทุนสิ่งแวดล้อม

ทีมงานสรุป

จะเห็นได้ว่าปัญหาทุกปัญหาที่อาจารย์พูนสินได้พูดไปมันเชื่อมโยงกันหรือแม้กระทั้งสาเหตุแต่ละสาเหตุก็เชื่อมโยงกัน เหมือนกับที่เราทำผังใยแมงมุมปัญหาหนึ่งปัญหาแตกสาเหตุได้หลายสาเหตุ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ที่ออกมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม ห่วงใยสิ่งแวดล้อม หรือบางกลุ่มก็บอกว่าอยากทำตามความฝันของเราเพราะเราอยากทำ ทำเพื่อความสุข แต่สิ่งที่เราลุกขึ้นมาทำหากเรามีกลุ่มมีเพื่อนมีเครือข่ายมาช่วยกันทำ จะทำให้สิ่งเล็กๆที่เราทำเกิดผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำไม่อาจจะหยุดไม่ให้โลกหยุดร้อนได้แต่ก็เป็นการชะลอให้โลกเราได้อยู่ได้นานๆ

กิจกรรม “ตลาดนัดโครงการ” (ระยะเวลา 1 ชม.)

วิทยากร

น.ส.ไพลิน กล้าจริง สมาคมสร้างสรรค์ไทย

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชน ได้เรียนรู้ “การทำโครงการที่ดี” ผ่านการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการของเพื่อนๆ ฝึกการนำเสนอโครงการ รับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น

อุปกรณ์

กระดาษฟลิปชาร์ท, อุปกรณ์ให้คะแนน (คูปอง + แก้วน้ำ), ระฆัง, ปากกาเคมี

กระบวนการ

1)วิทยากรอธิบายกระบวนการเปิดตลาดนัดโครงการ และเงื่อนไขการ shopping

i.ทุกกลุ่มโครงการ ใช้ “แผนงานโครงการ” เป็นสินค้า ขายไอเดียในสิ่งที่ทำ

ii.ทุกคนภายในกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ ให้ 1 คนในกลุ่มเป็นคนขาย อีก 3 คน (รวมพี่เลี้ยง) เป็นคนซื้อไอเดียคนอื่น

iii.เงื่อนไขการซื้อไอเดีย/โครงการ ทุกคนจะได้รับเงินคนละ 4 บาท สามารถซื้อไอเดีย/โครงการที่ตัวเองชอบ แต่ไม่สามารถซื้อไอเดีย/โครงการของกลุ่มตัวเองได้

iv.ให้วางแผงตลาดนัดโครงการเป็นรูปตัวยู

v.มีเวลาในการดูรอบละ 10 นาที มีทั้งหมด 2 รอบ รอบที่ 2 เราจะเปลี่ยนคนขายโดยให้เพื่อนที่เป็นคนขายในรอบแรกไปดูบ้าง

vi.คนที่ไปซื้อสามารถพูดคุยทุกอย่างที่เราอยากรู้ เช่น ทำไมถึงทำกิจกรรม ทำไมถึงแก้ปัญหาเรื่องนี้ มีเวลา 10 นาทีในการพูดคุย

2)แต่ละกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ เตรียมวางแผง รับคูปอง

3)เปิดตลาดนัด 2 รอบ

รอบที่ 1 ดูของเพื่อน 10 นาที / กลับมาคุยเพิ่มเติมข้อมูลในโครงการของตนเอง 5 นาที

รอบที่ 2 ดูของเพื่อน 10 นาที / กลับมาคุยเพิ่มเติมข้อมูลในโครงการของตนเอง 5 นาที

4) วิทยากรรวมคะแนนของแต่ละโครงการ ชวนสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้โจทย์ “ทำไมถึงซื้อไอเดีย”

5) ตัวแทนพี่เลี้ยง ตัวแทนวิทยากรหรือทีมงาน และตัวแทนคณะกรรมการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะต่อโครงการ

6) วิทยากรสรุปภาพรวม ชี้นำให้เห็นการทำโครงการที่ดี มีคุณภาพ และนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาในพื้นที่ได้สำเร็จ มีหัวใจสำคัญอย่างไร

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

กิจกรรมนี้เป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้ามโครงการ โดยให้น้องๆได้เรียนรู้และสร้างความเข้าใจต่อการทำโครงการที่ดีมีคุณภาพจากโครงการของเพื่อน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงโครงการของกลุ่มให้มีคุณภาพต่อไป ผลของกิจกรรมเยาวชนให้ความสนใจในการซักถามกระบวนการดำเนินโครงการของเพื่อนและอาจจะนำมาปรับปรุงโครงการของกลุ่มให้ดีขึ้น นอกจากนี้บางโครงการก็ได้รับคำแนะนำเพื่อปรับปรุงโครงการให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำโครงการ นอกจากนี้แกนนำเยาวชนยังได้ฝึกการพูดสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจและฝึกการตั้งคำถาม

กลุ่มเยาวชน/โครงการ และ เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

กลุ่มมาลัยดาว จ. สงขลา ( 23 บาท)

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- ชาวบ้านให้ความร่วมมือ/ให้ความสนใจ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านอยากได้

- อยากรู้ว่าภาคใต้เป็นยังไง

- มีแนวความคิดเหมือนกัน คือการทำฝายและการจัดการป่าเหมือนกัน ดูแล้วมีความยั่งยืนเนื่องจากกลุ่มทำโดยยึดชุมชนเป็นหลักทั้งวิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาของชุมชน การมีส่วนร่วม และต่อยอดงานได้

สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่ จ.เชียงราย ( 22 บาท)

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- อยากรู้โครงการของกลุ่มนี้ ตอนแรกจะทำเรื่องหมอกควันเหมือนกัน

- พี่เค้ามาซื้อกลุ่มหนู ก็เลยไปดูของพี่เค้าบ้างซึ่งเมื่อฟังพี่อธิบายแล้วหนูเข้าใจและเห็นว่าน่าสนใจเรื่องที่พี่ทำอยู่เกี่ยวกับหมอกควัน

กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ( 20 บาท) (การบำบัดน้ำเสีย ตรวจวัดคุณภาพน้ำป่าสัก)

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- จากที่ฟังน้องอธิบายเรื่องการวิเคราะห์สาเหตุเห็นว่าน้องวิเคราะห์สาเหตุมาเยอะมาก แล้วทางแก้ที่โรงงานทำไม่ได้ แก้ที่ภาคเกษตรทำไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือการเฝ้าระวัง กับการกลับไปเช็คที่ชุมชนก็คือบ้านของตัวเอง นึกถึงหนังเมื่อคืน “บ้านเราเองที่เป็นฆาตกร” ที่ซื้อโครงการนี้เพราะเห็นความชัดเจนของปัญหาแล้วแก้ตรงไหนและสามารถทำได้ (พี่ชาติ)

กลุ่มเยาวชนฮักถิ่น ( 15 บาท) ทำประเด็นการอนุรักษ์ป่า

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- เป็นโครงการที่น่าสนใจ คือ ไปทำฝาย มีความชัดเจน ความละเอียด คนในชุมชนให้ความร่วมมือดี

- เป็นพื้นที่ที่กลุ่มทำกิจกรรมมาก่อน มีความชัดเจนของปัญหา (อ.เดียร์)

กลุ่มเยาวชนร่วมรักษ์ธรรมชาติลุ่มน้ำเซิน ( 9 บาท) ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำเซิน

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- ทำงานคล้ายๆกันคือเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เลยมาดูแนวคิดโครงการนี้ สิ่งที่ทำคือการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม การจัดค่ายเยาวชน โดยจะสื่อจากเยาวชนไปยังผู้ใหญ่

- มีแนวคิดสอดคล้องกับโครงการที่ทำคือการจัดการน้ำ เห็นว่ากิจกรรมเริ่มต้นจากค่ายเล็กๆ กับกลุ่มเยาวชนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง เป็นการค่อยๆใส่ข้อมูลให้กับเด็กๆเป็นการล้างสมองแล้วค่อยซึมไปยังครอบครัว จึงชอบแนวคิดการทำกิจกรรมแบบนี้และอยากให้กำลังใจ (อ.อารมณ์)

กลุ่มเยาวชนรักษ์ท่าชน ( 16 บาท) ประเด็นที่ทำคือพาน้องดูแลป่าพรุ

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- ชอบที่ทำเรื่องป่าและมีการจัดค่าย เป็นสิ่งที่โครงการเรายังไม่เคยทำ

- เห็นว่าป่าพรุสำคัญ วิธีการของน้องว่าเริ่มทำจากกลุ่มเยาวชนเล็กๆ สิ่งที่อยากฝากคือทำยังไงให้น้องๆกลุ่มนี้คิดว่า “เราเป็นเจ้าของ” ใครจะมาทำลายไม่ได้

กลุ่มรักษ์ส้มรังสิต ( 13 บาท)

เหตุผลที่เพื่อนซื้อไอเดีย

- ชอบแนวคิดดีคือฟื้นฟูทรัพยากรดิน แต่ละกลุ่มก็มีแนวการอนุรักษ์ทรัพยากรแตกต่างกัน เช่น น้ำ ป่าไม้ แต่เห็นข้อเด่นของกลุ่มคือการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม

- ชอบวิธีการคือการนำเปลือกไข่มาโรยหน้าดินทำให้ดินกรดกลายเป็นเบส (ลดความเป็นกรดของดิน)

-เป็นประเด็นที่น่าสนใจคือประเด็นเล็กไม่ใหญ่มาก มีความเป็นไปได้สูง หลักการของโครงการไม่จำเป็นต้องใหญ่มากแต่เป็นโครงการเล็กและสามารถทำได้จริง โอกาสประสบความสำเร็จมีสูงเพราะกรอบไม่ได้กว้างมาก / ประเด็นต่อมาคือของแถม 2 เรื่อง 1) กลับไปหาวิธีการที่ทำอย่างไรให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญว่าถ้ามีส้มรังสิตแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนรังสิตอย่างไร 2) การเพิ่มเติมการทำงานกับชุมชนด้วยคือนอกจากจะไปตรวจสอบคุณภาพดินแล้วอาจไปชวนคนเฒ่าคนแก่หรือคนในชุมชนคุยว่าส้มรังสิตจะอยู่ได้ในดินลักษณะยังไงไม่ใช่การไปสัมภาษณ์ (อาร์ท)

ดังนั้นลักษะโครงการที่น่าสนใจ คือ

1)เป็นโครงการที่น้องทำได้จริงและมีความเป็นไปได้สูงหรือมีโอกาสสำเร็จภายในระยะเวลา 6-8 เดือน

2)เป็นโครงการที่เป็นปัญหาของชุมชน1)เป็นโครงการที่น้องทำได้จริงและมีความเป็นไปได้สูงหรือมีโอกาสสำเร็จภายในระยะเวลา 6-8 เดือนดังนั้นลักษะโครงการที่น่าสนใจ คือ

3)เป็นโครงการที่มีกระบวนการชัดเจน เช่น ปัญหาคือเรื่องนี้ เกิดจากเรื่องนี้ เราจึงมีกระบวนการหรือกิจกรรมแก้ปัญหาแบบนี้

4)มีความยั่งยืนและต่อยอดได้

กระบวนการเขียนข้อเสนอโครงการหากเราคิด

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ