โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย "เรียนรู้ สู่ การพัฒนาโครงการ" ปี 1 รุ่นที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

    การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย “เรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ” ปี 1 รุ่นที่ 2  

    ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2555 มูลนิธิสยามกัมมาจลได้จัดอบรมเชิงปฏิบัตการครั้งที่ 1 รุ่น 2 ค่าย "เรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ" ณ วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนล เฮ้าส์ กรุงเทพฯ เพื่อเสริมความรู้และทักษะการทำงานของกลุ่มเยาวชน จำนวน 15 โครงการ ที่ผ่านการกลั่นกรองรอบแรก ในโครงการ "ปลูกใจ...รักษ์โลก" โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อให้น้องๆ ได้มีทักษะการคิดวิเคระห์ สามารถพัฒนาโครงการของตนเองให้เป็นโครงการที่ดีมีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ ขณะเดียวกันยังมีการเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้กับน้องๆ อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาโครงการของกลุ่มเยาวชนแกนนำรอบที่ 1

2.เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์

3.เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือก 14 โครงการๆ จำนวน 56 คน แบ่งออกเป็น

1.แกนนำเยาวชน จำนวน 42 คน (โครงการละ 3 คน)

2.พี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษา 14 คน (โครงการละ 1 คน)

โครงการเยาวชนที่เข้าร่วมการอบรม ได้แก่

No. ชื่อโครงการ กลุ่ม/องค์กร ประเด็น
1 ปลูกใจ...เมล็ดพันธุ์รักษ์โลก กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ขยะ
2 เยาวชนต้นคิด พลิกชีวิตครอบครัว กลุ่มเยาวชนต้นคิด พลิกชีวิตครอบครัว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนนี จ.ชัยนาท ดินเสื่อมโทรม
3 บ้านปลอดภัยลดมลภาวะในชุมชน กลุ่มแกงเลียง จ.สงขลา ขยะ
4 ร.ส.ท. รักษ์น้ำ กลุ่ม ร.ส.ท. รักษ์น้ำ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพฯ น้ำ
5 นักเกษตรกับการฟื้นฟูดินสู่ความยั่งยืนทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม กลุ่มคนอาสา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี ดินเสื่อมโทรม
6 เยาวชนอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว จ.เชียงราย ป่าไม้
7 เจ้าพระยาสวยที่สวนเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตะบูนขาว โรงเรียนวัดทรงธรรม จ.สมุทรปราการ ป่าชายเลน
8 ปลูกไม้ไคร้นุ่นคืนตลิ่งฟื้นชีวิตปากาเกอะญอ กลุ่มเยาวชนโข่ฉ่อแย จ.เชียงใหม่ ป่าไม้
9 กล้วยไม้คืนสู่ป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ กลุ่มหญ้าแพรกสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ป่าไม้
10 เยาวชนอาสาอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นลำน้ำน่าน-แควน้อย กลุ่มเยาวชนรักษ์นกจอมทอง จ.พิษณุโลก ป่าไม้
11 ยุวฑูตคุณภาพแม่น้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง กลุ่มยุวฑูตคุณภาพแม่น้ำประแสแห่งเทศบาลตำบลเมืองแกลง โรงเรียนแกลง “วิทยสถาพร” จ.ระยอง น้ำ
12 ปันใจ...สู่ป่า ชมรมคนรักษ์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ป่าไม้
13 การจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน กลุ่มรักษ์โลก โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จ.ลำปาง ขยะ
14 เยาวชนรักษ์คลองบางลำพู ชมรมเกสรลำพู น้ำ


กรอบเนื้อหา

1.เรียนรู้ “สิ่งแวดล้อมเรา สิ่งแวดล้อมโลก”

2.เรียนรู้ เครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน

3.ทบทวนสถานการณ์ปัญหาชุมชน: กิจกรรม “ภาพชุมชนของเรา”

4.เรียนรู้ การค้นหาโจทย์ทำโครงการและการพัฒนาโครงการ รวมถึงการฝึกเขียนข้อเสนอโครงการ

5.เรียนรู้ ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมร่วมแก้ปัญหาชุมชนของเยาวชน 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1: ค่าย “เรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการ” ปี 1 รุ่นที่ 2

     ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2555 ณ We-Train international House ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร


วันที่ 15 ตุลาคม 2555

ภาคบ่าย: 13.00 – 17.00 น.

พี่เลี้ยง..ช่วยกันเตรียมสถานที่และอุปกรณ์เพื่อประกอบการอบรมฯ วันนี้น้องๆจากทุกโครงการเริ่มทยอยเดินทางเข้าที่พัก ณ วีเทรน อินเตอร์เนชันแนลเฮาส์ ดอนเมือง กรุงเทพฯ และลงทะเบียน เวลา 16.00 น.

ภาคค่ำ: 19.00 – 21.00 น.

กิจกรรมกล่าวต้อนรับและชี้แจงโครงการ (20 นาที)

โดย คุณกรรชิต สุขใจมิตร ผู้อำนวยการโครงการฯ และมูลนิธิกองทุนไทย

“โครงการนี้จะช่วยเพิ่มทักษะการคิดค้น พัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมไทยให้กับน้องๆ ต่อไป และเมื่อเสร็จสิ้นงานนี้แล้ว คณะกรรมการก็จะพิจารณาโครงการต่างๆ ของน้องๆ โครงการจะได้รับการพิจารณาก็จะขึ้นอยู่ศักยภาพของน้องๆ สิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนคือ จะทำอะไร ทำให้เห็นได้อย่างไร และจะได้อะไรออกมา ใน 3 วันนี้ก็จะทำให้น้องๆ เข้าใจวิธีการเขียนโครงการซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างประโยชน์ให้น้องในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป”


สำหรับวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมครั้งคือมี 3 ประการด้วยกัน คือ 1) เพื่อพัฒนาโครงการของกลุ่มเยาวชนแกนนำปี 1 รุ่นที่ 2 2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และ3) เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (1 ชม.)

วัตถุประสงค์ เพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่

วิทยากร 

  1. คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ
  2. คุณพงศกร เถาทอง กลุ่มหุ่นไล่กา
  3. คุณเกษณี ซื่นรัมย์ สมาคมป่าชุมชนอีสาน

กิจกรรม 1 ทำความรู้จักกัน

อุปกรณ์ 

กระดาษเอ 4, ปากกา

กระบวนการ

1) ให้เขียนรู้หัวใจ 6 รูป และให้เวลา 5 นาทีในการไปถามชื่อเพื่อนให้ครบ 6 คน

2) วิทยากรให้โจทย์

- ให้ไปถามคนที่อยู่ในหัวใจที่ 4 “วันเกิด”

- ให้ถามคนที่อยู่ในหัวใจที่ 6 “เมนูที่ชอบกิน”

- ให้ไปถามคนที่อยู่ในหัวใจที่ 3 “เวลานี้ทำอะไร ถ้าอยู่บ้าน”

- ให้ไปถามคนที่อยู่ในหัวใจที่ 2 “ทำหน้าที่อะไรในการจัดกิจกรรม”

- ให้ไปถามคนที่อยู่ในหัวใจที่ 5 “หน้าฉันเหมือนดาราคนไหน

กิจกรรม 2 เรียงตามวันเกิด

กระบวนการ 

ให้ทำความรู้จักกันด้วยการถามวันเกิดและเรียงลำดับกันตามวันเกิดจากน้อยไปมาก วิทยากรจะเรียกวันเกิดใครให้ร้อง.. เฮ!

ต่อมาให้ถาม..ชื่อ และ จังหวัด ของเพื่อน 3 คน (นับจากขวามือเรา) และให้คนที่ถูกเรียกยืนขึ้นแล้วไล่ชื่อเพื่อน 3 คนที่ได้ถามไว้.. และให้ถามชื่อเพื่อน 6 คนทางซ้ายมือเรา

จับกลุ่มตามวันที่เกิด (จันทร์ อังคาร ...) ทำความรู้จักกันในกลุ่ม และสิ่งที่ชอบเหมือนกัน พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม 2 พยางค์ เช่น รักษ์น้ำ ลำธาร รักป่า ร่มรื่น ฟ้าใส

กิจกรรม “สำรวจความคาดหวัง” ( 20 นาที)

วิทยากร  

น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

อุปกรณ์

กระดาษตัดเป็นรูปหัวใจ, ปากกา

กระบวนการ 

ให้เขียนความคาดหวังของทุกคนลงบนกระดาษรูปหัวใจดวงใหญ่ 1 ดวง ภายใต้โจทย์ “คาดหวังจะได้อะไรกลับไป” จากนั้นแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม สุดท้ายให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอ

สรุป

ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมอบรม ได้แก่ สร้างเครือข่ายเพื่อนใหม่ แลกเปลี่ยนปัญหาและประสบการณ์ทำงาน ได้ทักษะการเขียนโครงการ ทักษะการคิดวิเคราะห์

ภาพ  ตัวแทนความคาดหวังของน้องๆ ในวันแรก 5 กลุ่ม

แนะนำกระบวนการ/ข้อตกลงร่วม (20นาที)

วิทยากร

น.ส.รัตนติกา เพชรทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

เป้าหมาย (เนื้อหา)

1.จุดประกาย เติมพลัง เสริมความรู้มิติสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย

1.1 “เปิดโลกทัศน์ คิดสร้างสรรค์”

1.2 เรียนรู้ ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมร่วมแก้ปัญหาชุมชนของเยาวชน

2. การพัฒนาโครงการ

2.1 ทบทวนสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่

2.2 การค้นหาและทบทวนโจทย์โครงการ

-วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุ “ต้นไม้ปัญหา”

-วางเป้าหมาย กำหนดวัตถุประสงค์

-วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

-วิเคราะห์ศักยภาพกลุ่ม

3.การเขียนโครงการ “เรียนรู้และฝึกเขียนโครงการ”

4.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการของกลุ่มเยาวชน

     ข้อตกลงร่วม

1.ตรงต่อเวลา

2.ร่วมกันแสดงความคิดเห็น

3.ให้เกียรติ์ และเคารพกัน

4.ปิดเสียงหรือเปิดระบบสั่นโทรศัพท์มือถือ

5.ห้ามลงเล่นในสระน้ำของที่นี่

6.ถึงเวลานอนให้นอน (เพื่อไม่รบกวนเพื่อน) พักผ่อนให้เพียงพอ

7.ห้ามออกไปเที่ยวนอกค่าย หากมีเหตุฉุกเฉินขอให้บอกพี่เลี้ยงกลุ่มและพี่เลี้ยงโครงการก่อน

8.ให้บันทึก ความรู้ที่เกิดจากกิจกรรมในค่าย ลงในสมุดบันทึกที่โครงการแจกให้

(21.00 น.) ..พักผ่อน...


BAR คณะทำงานและพี่เลี้ยง (21.00-21.30 น.)

คณะทำงานและพี่เลี้ยงกลุ่มชี้แจง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกำหนดการ และกำหนดบทบาทของแต่ละคนสำหรับกิจกรรมที่จะเริ่มในวันพรุ่งนี้ (16 กันยายน 2555)

      

ภาพ BAR (Before Action Review) ของคณะทำงานและพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม วันแรก

คณะทำงานและพี่เลี้ยง ประกอบด้วย

(1) คณะทำงานหลัก : มูลนิธิกองทุนไทย

(2) วิทยากรหลัก : กลุ่มไม้ขีดไฟ

(3) พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม และผู้ช่วยวิทยากร : พี่มด พี่ใหม่ พี่เจน (กลุ่มหุ่นไล่กา) พี่เก๋ (สมาคมป่าชุมชนอีสาน) พี่บอย (กลุ่มรักษ์เขาชะเมา) พี่โจ้ และ พี่แจง (มูลนิธิสยามกัมมาจล)

(4) Note Taker : พี่โอเล่ (มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์)

วันที่ 16 ตุลาคม 2555

ภาคเช้า:8.30 – 12.00 น.

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (1 ชั่วโมง)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม และเป็นการละลายพฤติกรรมของน้องๆ ในวันแรกๆ ของการพบกัน ทำให้น้องๆ รู้จักและสนิทสนม กล้าพูดคุยกันมากขึ้น

วิทยากร 

1. คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ

2. คุณพงศกร เถาทอง กลุ่มหุ่นไล่กา

    

ภาพ บรรยากาศกิจกรรมสัมพันธ์ของน้องๆ ในวันที่สอง

กิจกรรม Check in (10 นาที)

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้

วิทยากร

น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

กระบวนการ 

แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 5-6 คน ให้น้องๆ นั่งหลับตา จับความรู้สึกของตัวเอง ประมาณ 1 นาที หลังจากนั้น ให้แต่และคนพูดถึงความรู้สึกของตัวเองว่า “เช้านี้รู้สึกอย่างไร..?” แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่มย่อย

กิจกรรม “ภาพชุมชนของเรา” (50 นาที)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อทบทวนสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่และชุมชน เตรียมความพร้อมสู่การวิเคราะห์ปัญหา 
  • เพื่อให้เห็นถึงปัญหาสำคัญๆ ของชุมชน

วิทยากร

น.ส.รัตนติกา เพชรทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

อุปกรณ์ 

กระดาษฟลิปชาร์ท, สีช็อค, สีเมจิ

กระบวนการ 

ให้น้องๆ แบ่งกลุ่มตามโครงการ และให้ช่วยกันวาดภาพ “ทรัพยากร ทุนชุมชน สถานการณ์สิ่งแวดล้อม” เพื่อจะนำไปสู่กระบวนการนำเสนอและช่วยกันวิเคราะห์ เชื่อมโยงปัญหาที่โครงการต้องการแก้ไข กับสถานการณ์ของชุมชนต่อไป

     

ภาพ  น้องๆ ช่วยกันวาดภาพ “ทรัพยากร ทุนชุมชน สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน” 

น้องๆ แต่ละกลุ่มได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีพี่เลี้ยงคอยชวนคิดชวนคุยเพื่อดึงให้ภาพในความคิดของน้องๆ ชัดเจนยิ่งขึ้นและสื่อสารออกมาให้เพื่อนเข้าใจได้มากที่สุด ซึ่งน้องๆ ให้ความสนใจกันกิจกรรมนี้เป็นอย่างมากดูได้จากความตั้งใจในการบรรยายภาพชุมชนของตนเองออกมาเป็นภาพ

เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมวาดภาพแล้ว “กิจกรรมตลาดนัดความรู้” เป็นการเดินเรียนรู้ชุมชนของเพื่อนผ่านภาพวาด โดยมีเจ้าของชุมชนเป็นผู้เล่าให้ฟัง

    

ภาพ  กิจกรรม “ตลาดนัดความรู้” เดินเรียนรู้สถานการณ์ ปัญหา ในชุมชนของเพื่อน

กิจกรรม “บทบาทพี่เลี้ยง” (50 นาที)

วิทยากร 

  1. คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ
  2. คุณสุมณฑา ปลื้มสูงเนินกลุ่มไม้ขีดไฟ

อุปกรณ์ 

กระดาษฟลิปชาร์ท, บัตรคำ, ปากกา

พี่เลี้ยงที่มากับน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ที่ปรึกษา หรือพี่ที่พาน้องมาค่าย จะถูกแยกตัวออกไปอีกห้องหนึ่งเพื่อให้พี่เลี้ยงทำความเข้าใจถึงบทบาทและหัวใจของการทำหน้าที่หนุนเสริมและพัฒนาเยาวชน ด้วยการให้พี่เลี้ยง เขียนแนวคิดการมีส่วนร่วม วิเคราะห์กรณีศึกษา และระดมความเห็นสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำต่อไป ถือเป็นสิ่งที่โครงการพยายามฝึกติวเข้ม “บทบาทพี่เลี้ยง” เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและเป็นเสาหลักให้กับน้องๆ ให้พัฒนาโครงการต่อไปได้ด้วยดี


     

ภาพ บรรยากาศการแยกห้องติวเข้ม “บทบาทพี่เลี้ยง” ในการทำหน้าที่หนุนเสริมและพัฒนาเยาวชน

ผลลัพธ์การติวเข้ม “บทบาทพี่เลี้ยง”

สิ่งที่พี่เลี้ยง ควรทำ..

- แสดงเหตุผลร่วมกัน

- ส่งเสริมให้ความคิด/กระตุ้น

- ชื่นชม เมื่อน้องๆ ทำดี

- ไม่แทรกแซงความคิด

- แนะนำและเปิดโอกาสให้ตัดสินใจ

- เคารพการตัดสินใจของกันและกัน

- เป็นแบบอย่างที่ดี

- ส่งเสริมให้ลงมือทำ

- ใส่ใจในกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์

- เชื่อมั่นเด็ก

- เชื่อมให้เห็นคุณค่า/ อนาคต

- มีเป้าหมายร่วม

- ทักษะการยอมรับ / ทำใจ

- ทำหน้าที่ช่วยคุยกับผู้ปกครอง

สิ่งที่พี่เลี้ยง ไม่ควรทำ..

- ดุ! เมื่อไม่เห็นด้วย

- ซ้ำเติมเมื่อล้มเหลว

- เลือกปฏิบัติ


ภาพ ผลลัพธ์จากการติวเข้ม “บทบาทพี่เลี้ยง”


เบรกภาคเช้า (10.30-10.50 น.)

กิจกรรม “ต้นไม้ปัญหา” (10.50-12.00 น.)

วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่กลุ่มเยาวชนสามารถร่วมกันแก้ไขได้

วิทยากร  

คุณสุมณฑา ปลื้มสูงเนินกลุ่มไม้ขีดไฟ

อุปกรณ์ 

กระดาษฟลิปชาร์ท, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

 ให้แต่ละโครงการเลือกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะดำเนินการมา 1 ปัญหา จากนักวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยวิทยากรให้โจทย์ “ทำไม...?” “และจะเกิดอะไรขึ้น” คำตอบที่ได้คือ ปัญหาที่มีความซับซ้อนกันอยู่ดังเช่นต้นไม้ปัญหา

  

ภาพ  ตัวอย่างต้นไม้ปัญหา  ภาพ  ปัญหา (สีเหลือง) รวมกับภาพวาด

ภาคบ่าย: 13.00 – 17.00 น.


กิจกรรม “สันทนาการ” (15 นาที)

วิทยากร 

คุณเกษณี ซื่นรัมย์ สมาคมป่าชุมชนอีสาน

ไปรษณีย์มาแล้วจ้า...(วิทยากร) มาทำไม...(ผู้เข้าร่วม) มาส่งจดหมาย... (วิทยากร) มาส่งถึงใคร...(ผู้เข้าร่วม) เมื่อเอ่ยชื่อใครให้คนนั้นมาต่อท้ายวิทยากร เรียกคนต่อไปเรื่อยๆ เมื่อได้หลายคน และเมื่อวิทยากรบอกว่า “จดหมายผิดซอง!” ให้ทุกคนหาที่นั่งที่ไม่ใช่ที่เดิม คนที่นั่งคนสุดท้ายให้มาเป็นบุรุษไปรษณีย์แทน

กิจกรรม “ภาพฝัน” และ “ภูเขา 3 ลูก” (1 ชั่วโมง)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินโครงการในระยะยาว และเพื่อเป็นการวางเป้าหมายในแต่ละระยะของโครงการ

วิทยากร 

  1. คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ
  2. คุณสุมณฑา ปลื้มสูงเนินกลุ่มไม้ขีดไฟ

อุปกรณ์

กระดาษฟลิปชาร์ท, บัตรคำ, ปากกาเมจิ

กระบวนการ

เป็นกิจกรรมที่สร้างเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินโครงการในระยะยาว และเพื่อเป็นการวางเป้าหมายในแต่ละระยะของโครงการ รวมทั้งช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ในระยะเวลา 8 เดือนที่ดำเนินโครงการ

โดยวิทยากรแจกกระดาษรูปดาว (สีเหลือง) และให้โจทย์ “เป้าหมายสูงสุด” ต่อมาให้วาดรูปภูเขา 3 ลูก และให้โจทย์ “ระหว่างดำเนินการ 8 เดือนนี้ อยากเห็นอะไร” (กระดาษสีเขียว) และกระดาษสีชมพู “เขียนสิ่งที่เราจะทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายสูงสุด” 


   

ภาพ ภาพตามโจทย์ที่วิทยากรให้      ภาพ  ภาพฝัน และ ภูเขา 3 ลูก ของน้องๆ

กิจกรรม “เปิดโลกทัศน์ คิดสร้างสรรค์” (1.15 นาที)

วิทยากร  

คุณศรัทธา ปลื้มสูงเนิน กลุ่มไม้ขีดไฟ

อุปกรณ์ 

กระดาษฟลิปชาร์ท, บัตรคำ, ปากกาเมจิ

กระบวนการ  

เป็นกิจกรรมเพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้ สืบค้น แนวทาง วิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากช่องทางที่หลากหลาย ไม่ซ้ำรูปแบบเดิมๆ ด้วยการให้น้องๆ ดูวีดิทัศน์ตัวอย่างการคิดอย่างสร้างสรรค์ เกมส์ระดมสมอง แบ่งกลุ่มหาข้อมูล และหาช่องทางการเข้าถึงข้อมูล

ช่วงแรก วิทยากรบรรยายเรื่อง เปิดโลกทัศน์ คิดสร้างสรรค์ ด้วย power point พร้อมกับสื่อสารกับน้องๆ ด้วยการถามอยู่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น หัวข้อบริหารจินตนาการ ก็เปิดเพลงให้น้องๆ ฟัง และถามถึงความคิด จินตนาการ เมื่อได้ฟังเพลงแล้ว

หลังจากนั้น เปิดโอกาสให้น้องใช้เวลา 30 นาที ในการค้นหาวิธีที่สร้างสรรค์ ที่สามารถจะนำมาพัฒนาโครงการของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น และนำเสนอในเวลาต่อมา

ภาพ  ชวนเปิดโลกทัศน์ คิดสร้างสรรค์

  

ภาพ น้องๆ เปิดโลกทัศน์สร้างสรรค์ด้วยหนังสือ และ internet

ตัวอย่าง  ..การนำเสนอ Idea จากการเปิดโลกทัศน์ คิดสร้างสรรค์ของน้องๆ ..

กลุ่ม 1 เสนอนวัตกรรมกังหันน้ำ คือหยอดเหรียญเพื่อให้กังหันปั่นน้ำเพื่อเติม Oxygen ให้กับน้ำ โดยเมื่อหยอดเหรียญแล้วจะได้เห็นการ์ตูนตลกๆ เป็นสินค้า

กลุ่ม 2 เสนอการนำน้ำจุลินทรีย์ไปแลกกับน้ำเสียของชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านนำน้ำจุลินทรีย์ไปเติมในแหล่งน้ำเสียในชุมชน

กิจกรรม “วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย” (1.10 ชั่วโมง)

พี่ๆ วิทยากร เล่าตัวอย่างโครงการดีๆ ที่แก้ปัญหาได้ชัดเจน เพื่อให้น้องๆ เห็นภาพ และสามารถออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้ โดยยกตัวอย่าง เรื่องของนักวาดภาพธรรมชาติท่านหนึ่งที่ชอบเข้าป่าเพื่อไปวาดภาพ ซึ่งก่อนที่จะวาดทุกครั้งก็จะทำสมาธิเงียบๆ และในขณะที่เงียบอยู่นั้นก็จะได้ยินเสียงสัตว์ เสียงนกร้องอยู่เสมอ จึงทำให้เขามีจิตผูกพัน รักธรรมชาติ

พี่โจ้ (มูลนิธิสยามกัมมาจล) ยกตัวอย่างเรื่องของโรงเรียนชาวนา เป็นเรื่องของนักทดลอง โดยเริ่มจากการไล่จับแมลงที่อยู่ในนาทุกชนิด มาวาด และแบ่งกลุ่มแมลงที่สร้างประโยชน์กับแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับนา เขาพบว่าแมลงที่สร้างประโยชน์มีมากกว่า จึงค้นพบว่าปล่อยให้แมลงจัดการกันเองด้วยวิธีธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลงอีกต่อไป เพื่อชี้ให้น้องๆ เห็นประเด็นความเชื่อมโยงของปัญหาและวิธีการหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์

ภาคค่ำ: 19.00 – 21.00 น.

สันทนาการ (30 นาที)

เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ต่อไป

ภาพ สันทนาการรอบดึก น้องๆ ยังคงร่าเริงและสนุกสนาน


กิจกรรม เรียนรู้ ดูหนัง “ดวงดาวหิ่งห้อย” (1.30 ชั่วโมง)

วิทยากร 

น.ส.รัตนติกา เพชรทองมา มูลนิธิกองทุนไทย

เพื่อให้น้องๆ ได้เห็นตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมร่วมกันแก้ปัญหาชุมชน บนพื้นฐานศักยภาพของเยาวชน และเพื่อให้เห็นบทบาท หน้าที่ ในการทำงานแบบมีส่วนร่วม

 

ภาพ กิจกรรมดูหนัง “ดวงดาวหิงห้อย” และกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังชมภาพยนตร์

หลังจากชมภาพยนตร์เสร็จแล้ว น้องๆ ได้กลับมานั่งล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยน “สิ่งที่เห็น และได้เรียนรู้จากภาพยนตร์” และจากการได้ลงไปสังเกตการณ์บรรยากาศภายในวง หลายเสียงของน้องๆ สื่อถึงการได้เรียนรู้ตัวอย่างของการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน ความมุ่งมั่น และตั้งใจทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างทุ่มเท รวมทั้งการข้ามผ่านอุปสรรค์ปัญหาไปด้วยกันของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่พี่เลี้ยงพยายามพาน้องให้เห็นคือวิธีการที่จะไปถึงเป้าหมาย ซึ่งประเด็นที่น้องจะทำควรต้องมาจากความต้องการแก้ปัญหาหรืออยู่ในความสนใจจริงๆ เพราะนั่นหมายถึงแรงผลักดันและแรงจูงใจให้บรรลุเป้าหมายได้

AAR คณะทำงาน (วันที่สอง 16 ก.ย.55)

ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบในวันนี้

1. พี่เลี้ยงมี 2 ประเภท คือ 

(1) ชอบตัดสินใจแทนเด็ก  (มีอำนาจเหนือ) และ 

(2) เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก (อำนาจร่วม)

วิธีแก้ไข: คณะทำงานเข้าดูแลอย่างใกล้ชิด

2. พี่เลี้ยงมาแต่ไม่ร่วมกิจกรรม

วิธีแก้ไข:คณะทำงานช่วยกันตามพี่เลี้ยงให้เข้ากิจกรรมกับโครงการ เมื่อเขาเต็มใจเข้าร่วม

3. ภาษาชนเผ่าที่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารและเรียนรู้กิจกรรม ทำให้เรียนรู้ได้ช้ากว่ากลุ่มอื่น

วิธีแก้ไข: คณะทำงานเข้าให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอย่างใกล้ชิด

4. บางกลุ่ม เช่น กลุ่มธนาคารขยะ กลุ่มปากน้ำประแสร์ ยังติดกรอบเดิมๆ อยู่ ตีโจทย์ หรือมองรากเง้าปัญหาไม่ออก ทำให้โครงการยังแก้ปัญหาไม่ออก

วิธีแก้ไข: คณะทำงานใช้การพิจารณาอีกครั้งเมื่อจบค่าย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของโครงการในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด

วันที่ 17 ตุลาคม 2555


กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (45 นาที)

กิจกรรม Check in (25 นาที)

วิทยากร

น.ส.ลัดดา วิไลศรี มูลนิธิกองทุนไทย

กระบวนการ 

เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวาน และเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ วิทยากรจึงให้น้องๆ นั่งหลับตา จับความรู้สึกของตัวเอง ประมาณ 1 นาที

หลังจากนั้น ให้น้องๆลืมตาและเขียน “เช้านี้รู้สึกอย่างไร..?” และ “เมื่อวาน เราได้เรียนรู้อะไร..?” ลงในสมุดบันทึกของตัวเอง พร้อมกับพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยมีพี่ๆ คณะทำงานลงประกบในกลุ่ม

   

ภาพ  น้องๆ เขียนความรู้สึก และบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวาน

ความรู้สึกจากน้องๆ ..

จากตัวแทนน้องๆ เล่าถึงความรู้สึกและสิ่งที่ตนได้เรียนรู้เมื่อวานให้เพื่อนกลุ่มใหญ่ฟังว่า “สนุกกับการเล่นเกมส์เช้านี้ ทำให้หายง่วง และเห็นเพื่อนมีความคิดดีๆ มากมาย และจากหนังเรื่องหิงห้อยทำให้ได้เรียนรู้ว่าเขาเปลี่ยนแรงกดดันให้เป็นความสำเร็จของเขาได้” (กลุ่มภูแล)

“ได้เรียนรู้การเขียนโครงการแบบเป็นขั้นตอน เรียนรู้การดูหนังสั้น ได้แนวคิดจากหนังเพื่อมาปรับโครงการ และได้รู้จักเกมส์ใหม่ๆ เช่น แมงปอ”

“เช้านี้เราได้รู้จักกันมากขึ้น เมื่อวานทำให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ มีกำลังใจทำงานต่อ”

“เช้านี้รู้สึกคุ้นเคย สนิทกันมากขึ้น และพร้อมที่จะเรียนต่อในวันนนี้ เมื่อวานได้เรียนรู้การเขียนโครงการ เรียนรู้การเติมกำลังใจจากเรื่องหิงห้อย เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน” เป็นต้น

กิจกรรมทบทวน 2 วันที่ผ่านมา.. (15 นาที)

พี่เอ (กลุ่มไม้ขีดไฟ) ชวนน้องๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา 2 วัน เริ่มจาก วาดภาพปัญหาในชุมชน ตีโจทย์ปัญหาให้แตก จากปัญหานี้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อโครงการ (หลักการและเหตุผล) ภาพฝัน/ภูเขา 3 ลูกเพื่อให้เห็นเป้าหมายและสิ่งที่เราจะทำ (วิธีการโครงการ) กิจกรรมชวนค้นหา หนังสือ internet หาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำวิธีคิดไปออกแบบกิจกรรมของเรา คิดแบบนอกกรอบมีมุมมองที่แตกต่าง (ออกแบบกิจกรรม) กิจกรรมดูหนัง (ออกแบบกิจกรรม)

วิเคราะห์ศักยภาพกลุ่ม (45 นาที)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มเยาวชน

วิทยากร

คุณไพลิน กล้าจริง สมาคมสร้างสรรค์ไทย

อุปกรณ์

กระดาษฟลิปชาร์ท, ปากกาเมจิ

กระบวนการ 

วิทยากร ชี้ชวนให้น้องๆ เห็นความสามารถข้อจำกัดของกลุ่มในการดำเนินโครงการ นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมและการใช้จุดแข็งในการแก้ปัญหา ด้วยการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของโครงการ

ภาพ  ตัวอย่างตามโจทย์ของวิทยากร


ภาพ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง


Morning Break (10.50-11.10 น.)


กิจกรรม “รวบยอดความคิด” (50 นาที)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อให้น้องๆ สามารถสรุปแนวคิด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กิจกรรม ก่อนนำไปสู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และเตรียมนำเสนอในตลาดนัดโครงการต่อไป

วิทยากร

คุณไพลิน กล้าจริง สมาคมสร้างสรรค์ไทย

อุปกรณ์ 

กระดาษฟลิปชาร์ท, ปากกาเมจิ, สีช็อค

กระบวนการ 

ปล่อยอิสระให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปคุยกันและสรุปข้อมูลภายใต้โจทย์

1) ในพื้นที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอะไร

2) ทำไมถึงเลือกแก้ปัญหาสิ่งแวดนั้น สำคัญอย่างไร

3) ทำกิจกรรมอะไร

4) กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร โดยจะนำเสนอเป็นภาพวาด, Mind map ก็ได้

  

ภาพ  รวบยอดความคิดจากทุกกิจกรรมที่ผ่านมา

รับประทานอาหารกลางวัน (12.00-13.00 น.)


ภาคบ่าย: 13.00 – 17.00 น.

กิจกรรม “ตลาดนัดโครงการ” (2 ชั่วโมง)

วัตถุประสงค์

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาของเพื่อนต่างโครงการ

วิทยากร 

คุณไพลิน กล้าจริง สมาคมสร้างสรรค์ไทย

อุปกรณ์

ระฆัง

เป็นกิจกรรมที่สร้างโอกาสในการเรียนรู้แนวคิด วิธีการทำโครงการของเพื่อนๆ กลุ่มอื่น รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำหลักการไปพัฒนาโครงการของตนเองต่อไป

โดยมี วิทยากร ผู้ดำเนินรายการ วิธีการเริ่มจากการจัดหมวดประเด็นสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็น คือ ดิน น้ำ ป่า และขยะ ซึ่งน้องๆ แต่ละกลุ่มจะได้ไปเยี่ยมชมผลงานของเพื่อนได้ 4 รอบ (รอบละ 15 นาที) เงื่อนไขในแต่ละรอบคนขายต้องไม่ซ้ำกันและห้ามพี่เลี้ยงเป็นคนขาย แล้วกลับมาเพิ่มเติมประเด็นในกลุ่มของตัวเอง (รอบละ 10 นาที) กล่าวคือ

รอบที่ 1 ให้ shopping ความรู้ใน “ประเด็นเดียวกัน” เช่น น้ำดูกลุ่มน้ำ

รอบที่ 2 เปลี่ยนคนขายให้ shopping ความรู้ “ประเด็นเดียวกัน” เช่น ป่าดูกล

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ