โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
โครงการปลูกใจ รักษ์โลก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบหลักสูตรพัฒนาเยาวชน และการใช้เว๊บไซต์โครงการ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบหลักสูตรพัฒนาเยาวชน และการใช้เว๊บไซต์โครงการ

­

               เจ้าหน้าที่จากโครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน ได้ร่วมเรียนรู้ในเวที "ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบหลักสูตรพัฒนาเยาวชน และการใช้เว๊บไซต์โครงการ" วันที่ 27-29 เมษายน 2555 ที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

29/4/55


      กิจกรรมภาคเช้าของวันแรก เจ้าหน้าที่โครงการร่วมเรียนรู้ร่วมกันกับภาคีเครือข่ายโครงการสนับสนุนองค์เพื่อพัฒนาเยาวชน โดยมี อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ เป็นวิทยากรชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนถึง กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม, ICT, และความเจริญของเมือง เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลต่อคนรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21


      จากการแลกเปลี่ยน 3 ประเด็นข้างต้น นำมาสู่การระดมความคิดเห็น ภายใต้โจทย์ “สิ่งที่มากระทบเยาวชนในโลกยุคโลกาภิวัฒน์คืออะไรบ้าง” 



                                


      กระแสที่มากระทบต่อการพัฒนาเยาวชน ได้แก่ ระบบการศึกษา, การเมือง,เศรษฐกิจ,สังคม และ สื่อต่างๆ


      สำหรับกิจกรรมภาคบ่ายเป็นการนำเสนอผลการแลกเปลี่ยน สะท้อนการเรียนรู้และข้อคิดที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่าง 3 โครงการ คือ สิ่งแวดล้อม ICT และเมือง แนวคิดของขั้วตรงข้าม (The World of Paradox) และการสร้างความเป็นพลเมืองของเยาวชนคนรุ่นใหม่ (Systemic young citizen) นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาเยาวชน  


วิสัยทัศน์โครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมฯ

      "เป็นกลไกสร้างการพัฒนาเยาวชน ให้เกิดการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชน ให้เยาวชนสามารถคิดวิเคราะห์  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เกิดสำนึกรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าทำเพื่อส่วนรวม มีความเป็นผู้นำ สามารถสื่อสารและสร้างเครือข่ายเยาวชน ที่มีบทบาทในเรื่องสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย"


     อีกทั้งยังได้พูดคุยกันถึง คุณค่าหลัก(Core Value) ที่บุคลากรของโครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมฯ ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ และการสื่อสาร เป็นต้น



                                   


วันที่ 2 ของการอบรมเชิงปฎิบัติการฯ จากการแบ่งกลุ่มย่อย ร่วมระดมความคิดและแลกเปลี่ยนภายใต้โจทย์

  • วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และกำหนดบทบาทผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
  • กำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
  • ออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของโครงการ
  • กำหนดเนื้อหาหลักสูตรการพัฒนาเยาวชนของโครงการ

­


                                 

                                   


กลุ่มเป้าหมายของโครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย


1) กลุ่มที่ต้องพัฒนาศักยภาพร่วมกัน ได้แก่ แกนนำเยาวชนและพี่เลี้ยงในพื้นที่, เจ้าหน้าที่โครงการ, มูลนิธิสยามกัมมาจล
2) ผู้เกี่ยวข้องร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายโครงสนับสนุนการพัฒนาเยาวชน และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม โดยมีพื้นที่การเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่

  1. ห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะและเสริมสร้างการเรียนรู้ ที่มีทั้งการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือกระบวนกร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานจากเพื่อนและเครือข่าย โดยมีผู้จัดการฝ่ายพัฒนาศักยภาพของโครงการ ทำหน้าที่อำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมกำหนดหลักสูตร กระตุ้นให้เกิดการพูดคุย สรุปและวิเคราะห์ประเด็น ยกระดับการพูดคุยให้เห็นคุณค่าการทำโครงการของเยาวชน

  2. พื้นที่ทำกิจกรรม/ชุมชน เป็นพื้นที่การเรียนรู้ผ่านการลงปฏิบัติจริง โดยเยาวชนและพี่เลี้ยง ที่จะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่

  3. เว๊บไซด์ เป็นพื้นที่ที่ให้เยาวชน พี่เลี้ยง ผู้เกี่ยวข้อง ได้บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และเป็นพื้นที่ให้เยาวชนและคนทั่วไปได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้จัดการฝ่ายจัดการความรู้และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างความเคลื่อนไหว นำเสนอข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

  4. เวทีเครือข่าย เป็นพื้นที่การเรียนรู้ยกระดับการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายของกลุ่มเยาวชน โดยมีผู้จัดการฝ่ายพัฒนาศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายฯ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เยาวชนและพี่เลี้ยงเห็นภาพการทำงานร่วมกัน

  5. เพื่อนโครงการอื่นๆ ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ให้กลุ่มเยาวชนในโครงการสามารถลงไปเรียนรู้กระบวนการทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่โครงการทำหน้าที่มอง ชี้เป้า เชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนเรียรู้ หรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

­

     จากพื้นที่การเรียนรู้ทำให้เห็น "โครงสร้างความสัมพันธ์" ที่รองรับการพัฒนาเยาวชน ซึ่งแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเยาวชนที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

­

                                   

­

วิชา/เนื้อหาที่จำเป็นในการพัฒนาเยาวชนมีดังนี้

  • การสร้างแรงบันดาลใจ.......
  • การคิด วิเคราะห์ เชิงระบบจากสถานการณ์ในสังคม ปัญหาในชุมชนและพื้นที่
  • การสืบค้นข้อมูล (ทรัพยากร ภูมิปัญญา ชุมชน คน)
  • การทำงานเป็นทีม
  • การเป็นผู้นำ
  • การบริหารจัดการโครงการ (แผนการทำงาน รายงานและประเมินผล)
  • การสื่อสารที่มีพลัง ผ่านระบบ IT เล่าเรื่อง การเขียน
  • การสรุปบทเรียนการทำงาน
  • การวิเคราะห์และทำงานร่วมกับชุมชน
  • การเชื่อมเครือข่ายการทำงานร่วมกัน

­

      หลังจากที่ได้เรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายโครงการสนับสนุนเพื่อพัฒนาเยาวชน และวิทยากร ทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจร่วมกันและเห็นเป้าหมายของการพัฒนาเยาวชนที่ต้องให้ความสำคัญของการสร้างแรงบันดาลใจ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการลงมือทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้

  • กระบวนการสร้างพลังจากภายในของคนทำงาน
  • ได้เปิดโลกการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น สามารถคิด วิเคราะห์ และเชื่อมโยงกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมกับการทำงานพัฒนาเยาวชน
  • ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของเพื่อน เห็นช่องทางการเชื่อมงานและหนุนเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน

­

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ