กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กำหนดการประชุมวิชาการ : การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง 

ในงานอภิวัฒน์การเรียนรู้ สุ่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
วันที่ 6 พฤษภาคม เวลา 13.30-16.30 น.
ณ อิมแพคฟอรั่มเมืองทองธานี ห้อง Sapphire 205

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 สังคมไทย ต้องเผชิญกับสถานการณ์ปัญหาที่ซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องการให้คนในสังคมเข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมสร้างสรรค์ พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ “น่าอยู่-เป็นสุข” การสร้าง “สำนึกความเป็นพลเมือง” ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเรียน “วิชาหน้าที่พลเมือง” ผ่านตำราแต่ต้องเป็นการเรียนรู้จากการ “ลงมือทำ” โดยผู้ใหญ่ ต้องเปิดพื้นที่ เปิดโอกาส ให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับชุมชน สังคม อันจะทำให้เยาวชน “เข้าใจ” ความเป็นไป และปัญหาของสังคมไทยอย่างถ่องแท้ นำไปสู่การเชื่อมโยง “ตนเอง” กับสังคม เกิดเป็นสำนึกของพลเมือง ที่ไม่นิ่งดูดาย หากแต่พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมสร้างสรรค์สังคมไทย ให้พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องบนฐานคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน



ผู้ดำเนินรายการ
คุณณาตยา แวววีรคุปต์วิทยากร

1.คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล

2.คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม

3.คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้ชุมชนเป็นสุข(สรส.)

4.ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

­

คุณณาตยา แวววีรคุปต์:สวัสดีค่ะ ทุกท่านคะ ดิฉันณาตยา แวววีรคุปต์ ยินดีมากๆ คะที่ได้มาเป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงวันนี้ จริงๆ ดิฉันก็ได้คุ้นเคยกับคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ,คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ,คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ การประชุมวิชาการและ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มาบ้างแล้วนะค่ะ แอบได้ยินมาค่ะว่าวันนี้ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อารมณ์ค้างมาจากการสอนหนังสือในห้องเรียน แต่วันนี้อาจารย์คงจะได้ได้มาสอนบนกระดานดำ ปิ้งเครื่องปิ้งมาสอนกันในวันนี้ตอนช่วงท้ายละกันนะค่ะ เริ่มต้นเลยละกันนะค่ะ จากเมื่อสักครู่นี้ทุกท่านได้เขียนความคาดหวังต่อการร่วมงานกันไปแล้ว มีโจทย์ปัญหามากมายกันเลยทีเดียวค่ะ แน่นอนค่ะสิ่งที่ทั้ง 3 ท่าน รวมทั้ง คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ได้สนับสนุนเยาวชนกันตลอดนะค่ะ จริงๆ มันก็เริ่มมาจากโจทย์ว่าทุกท่านมีปัญหาอะไรกันค่ะถึงได้มาทำงาน ทำโครงการแบบนี้ ขอเริ่มจากคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ก่อนเลยนะคะ ทราบว่ามูลนิธิสยามกัมมาจลเป็นเจ้าภาพในการจัดหัวข้อในการประชุมครั้งนี้

­

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร :

ค่ะมีปัญหามากเลยค่ะ จริงๆ มูลนิธิสยามกัมมาจลหรือตัวพี่เอง คือเราไม่พอใจกับคนรุ่นใหม่ของประเทศ หรือ GEN-V มักจะคิดถึงแต่ตนเอง เรื่องของตนเองถ้าคุยเรื่องคนอื่นเป็นหลักจะไม่อยากคุย คุยแล้วปวดหัว ไม่สนใจเรื่องชุมชน สังคม เราจึงไม่ควรปล่อยให้คนรุ่นใหม่เป็นแบบนี้ คือสังคมหมู่มากมันลากพวกเค้าไป จนเราควบคุมไม่ได้ทุกท่านคิดแบบนี้ไหมค่ะ สิ่งแรกที่เราจะต้องเปลี่ยนเลยคือ ลูกตัวเอง ว่าทำไมลูกฉันถึงเป็นแบบนี้ ไม่ได้ดั่งใจ เพราะอะไรละเนื่องจากลูกเรา อยู่กับเพื่อนมาก เวลาของเราก็ไม่มีให้ลูกเลย สังคมสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวของลูกเรา ลูกเราแย่อย่างไร อย่าโทษครู ให้โทษตัวเอง เราเป็นคนอย่างไรทำไมลูกเราถึงเป็นแบบนี้ เราควรถามคนที่อยู่กับเด็กว่า เรามีบทบาทอะไรที่จะทำกับเด็ก อยากเปลี่ยนเด็กอย่างไร สิ่งที่เราเปลี่ยนแล้วคิดแล้วว่าดีหรือยัง เกิดจากการตั้งคำถามก่อน สิ่งที่มูลนิธิทำคือไปชวนคนที่คิดแบบเดียวกับเรามาทำงานกับเรา มูลนิธิเลยเริ่มจากจุดนั้นก่อนค่ะ

­

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ขอบคุณค่ะ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร บอกว่าเราอยากให้เด็กเป็นยังไงไม่ใช่บอกให้เขาเป็น แต่ว่า ทำตัวเองให้เป็นเพื่อให้เด็กเปลี่ยน

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : วิธีการไม่ใช่การบ่นเพื่อให้เปลี่ยน มันมีวิธีเปลี่ยน เราต้องมีวิธีการในการโค้ชเด็ก ไม่ใช่ไปบอกปากเปล่าให้เขาเปลี่ยน ยกตัวอย่างโค้ชวอลเล่ย์บอล พัฒนานักกีฬาทีละขั้น โดยผ่านวิธีการโค้ชที่ดี เขาพัฒนาต่างๆ ให้นักกีฬา

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : คือแปลว่าเราต้องพัฒนาการโค้ชของเราก่อน

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : ใช่ค่ะ สิ่งแรกที่เราจะเปลี่ยนไม่ใช่เด็กนะ ต้องเป็นเราที่จะต้องเปลี่ยนเป็นสิ่งแรก สิ่งที่เราต้องทำต้องเริ่มจาก ดูก่อนว่าคนที่เขาอยากจะเปลี่ยน เขาอยากเปลี่ยนแค่ไหน มีปัญหาอะไรไหม เริ่มอยากจะเปลี่ยนอะไร ค่อยวิ่งเข้าไปหาเขา

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ก็ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็นโค้ชตอนคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร มาสนับสนุนนะคะ แต่ทำมานานแล้ว มีปัญหาอะไรค่ะถึงมาทำงานแบบนี้

­


คุณพรรณิกา โสตถิพันธุ์
: พี่ไม่ชอบที่สังคมไทยคนด่าว่าเด็กว่าไม่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง แต่เด็กปกติสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจสังคมจริงๆ และก็ช่วง10 ปีที่ผ่านมาเคยได้ทำงานร่วมกับยูนิเซฟ ทำกับเด็กที่ก้าวพลาด เขายังคิดอยากจะทำอะไรดีๆ เพื่อสังคมได้เลย คิดได้มากกว่าเด็กปกติด้วยซ้ำ ก็เลยคิดว่ามีปัญหาและเราเลยคิดว่าน่าจะเปิดพื้นที่ เปิดเวทีเพื่อเด็กไปเลย เปิดพื้นที่ให้เขาได้ทำงานเขาจะได้มีเวทีที่เขาแสดงออกมาได้ เด็กที่อยู่กับพี่เขาไม่ได้มีสังกัดนะ เด็กบางคนที่มีมหาวิทยาลัยทำงานกับมหาวิทยาลัยเวลามีการขับเคลื่อนก็มักจะไปหาครูก่อนเสมอ แต่เด็กๆที่ทำงานกับพี่มีประสบการณ์จากจากเรื่องจริง สถานที่จริง กับบ้านเกิดตัวเองเลย


คุณณาตยา แวววีรคุปต์
: ค่ะ สงขลาฟอรั่ม ดิฉันคิดว่าทุกท่านน่าจะรูจักดี กับคนที่ทำงานในจังหวัดสงขลา

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : สรุปแล้วปัญหาที่พื้นที่เห็นเด็กไม่มีพื้นที่ในการทำงานในความหมายของพี่หนูคืออะไรค่ะ

คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ : มีอยู่คำพูดหนึ่งจากงานวิจัยของดร.อมรวิทย์ นาครทรรพ นะคะที่บอกว่า พื้นที่ชั่วมันมากกว่าพื้นที่ดี โดยเฉพาะจังหวัด มันเลยเป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะแก้ปัญหามันตรงนี้ คนในเมืองสมัยนี้ร้านคอมพิวเตอร์มีอะไรไม่ดีให้เด็กดูเยอะเลยมันโผล่ขึ้นเป็นดอกเห็ดเลย อย่าง ผับ บาร์ มีเยอะมากในจังหวัดใหญ่ๆ แต่พื้นที่ที่จะให้เด็กทำดีมีน้อยมากเลย ยกตัวอย่างเช่นในจังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) เราเปิดโอกาสให้เด็กๆ เป็นพื้นที่เล็กๆ แล้วนะคะ

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : สำหรับพื้นที่ที่พี่หนูว่ามามันคือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ค่ะเดี๋ยวจะให้พี่หนูเล่าในรอบที่ 2 ละกันนะคะ กับพื้นที่จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) นะคะ

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : มาถึงพี่ทรงพลทำงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นจำนวนมากเลยมาก แต่ก่อนหน้านั้นคือทำงานกับชุมชนโจทย์ของพี่คืออะไรกับการทำงานเพื่อสังคม

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ :

ครับอย่างที่เล่าให้ฟังว่าผมทำงานกับชุมชนมา 20 กว่าปีนะครับ ภายใต้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ทุกชุมชนบ่นเรื่องปัญหาเด็กในชุมชน เราก็เลยเปิดเวทีให้ชาวบ้าน ปัญหาของเด็กไม่ได้อยู่ที่เด็กแต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ เพราะสังคมมันเปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว ผู้ใหญ่สนใจเรื่องทำมาหากินมากกว่าดูแลลูกเพราะต้องทำมาหากิน ในขณะที่สื่อสมัยใหม่ก็เข้ามาเยอะ ชุมชนต่างคนต่างอยู่ มันไม่เหมือสมัยก่อนแล้ว นี่คือสภาพแวดล้อมที่เราพบว่าอะไรคือส่วนที่มันเป็นเบ้าหลอมที่ทำให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง ท่านหันกลับไปดูในชุมชนเถอะเพราะตอนนี้เบ้าหลอมของเรามันแตกแล้ว ทีนี้ถ้าเราจะทำงานลักษณะอย่างนี้ อบต.เขาเป็นรัฐบาลท้องถิ่น เขาก็มีงานสำหรับท้องถิ่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราควรเอาประสบการณ์ของเราเอามาทำเป็นหลักสูตร เราอยากเห็นเจ้าหน้าที่ลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านเป็นโค้ชให้ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล เพราะอบต.มีทั้งนักวิเคราะห์ นักสังคม นักพัฒนา อะไรเยอะแยะเลย โจทย์ของเราคือ อยากเห็นเจ้าหน้าที่ลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน รับรู้ถึงปัญหาของชาวบ้านเอง แล้วในขณะเดียวกันอยากให้เขามีวิธีคิดวิธีการ ที่มีความสุขด้วย ชาวบ้านมีความสุขด้วย อยากให้ทุกภาคส่วนของชุมชนมีส่วนร่วมด้วย


คุณณาตยา แวววีรคุปต์
: ค่ะและนี่ก็คือภาระกิจของสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้ชุมชนเป็นสุข(สรส.)โจทย์ของพี่อยู่ที่ท้องถิ่นของอบต. โครงสร้างบุคลากร พร้อมในการทำงานนี้ แต่ยังขาดความรู้ที่จะลงไปทำ ก็เลยสร้างหลักสูตรนักถักทอ ทำอะไรเดี๋ยวจะให้ไปเล่าให้ฟังในรอบที่ 2 นะคะ หรือพี่อยากจะเล่าอะไรให้ฟังเล็กๆ น้อยๆ ไหมค่ะสำหรับนักถักทอ


คุณทรงพล เจตนาวณิชย์
: ครับนิดเดียวครับกับหลักสูตรนักถักทอ เท่าที่เราทำงานมา 10 ปี 20 ปี เราพบว่าชุมชนแต่ละชุมชนมีคนสนับสนุนเยอะนะครับ เพียงแต่ขาดคนจัดการ ทั้งทุนในสังคม ทุนในประเทศ ในตำบลและนอกตำบล


คุณณาตยา แวววีรคุปต์
: ค่ะก็เลยเป็นที่มาที่ให้มีหลักสูตรนักถักทอขึ้นมาและก็ให้โครงการนี้จริงๆ แล้วหลายๆ ท่านในห้องนี้ก็สามารถเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักถักทอนี้ได้ใช่ไหมค่ะ แต่เดี๋ยวเราไปฟังอาจารย์ปริญญากันก่อนค่ะ เชิญอาจารย์ค่ะ

­

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล :

ผมสงสัยว่าประเทศไทยทำไมถึงเต็มไปด้วยปัญหา ทำไมปัญหาของเมืองไทยถึงถูกแก้ไม่ได้ ทั้งที่ทุกคนก็พยายามแก้ปัญหาอยู่ ปัญหาทุกปัญหา คนไทยเราเป็นคนโง่รึเปล่า เราก็โง่ เรามีการศึกษา เราขาดอะไรไป มีมหาวิทยาลัยเราก็มี 100 ว่าแห่ง 15 ปีนะครับ ที่ลูกของเราจะต้องไปอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนถึง 4 โมงเย็น อะไรที่เราผิดพลาดไป พ่อแม่ไม่สอนหรือโรงเรียนสอนไม่ดี หรือมหาวิทยาลัยเราสอนแย่คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : อาจารย์ค่ะ อาจารย์กำลังพูดถึงเรื่องของนักการเมือง มันเป็นปัญหาของเด็กหรือของพ่อแม่

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล : นี่อย่างไรครับ คุณณาตยา ก็ตอบโจทย์แล้วว่านี่คือปัญหาของนักการเมือง มันก็เลยแก้ไม่ได้ นี่แหละครับเราคิดแค่ว่ามันเป็นปัญหาของนักการเมือง เราไม่แก้ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา คำว่าพลเมืองคือ พละ+เมือง พลเมืองคือการลงมือทำ เราสร้างได้ แต่เรามีภาระของเมือง เรียกร้องแต่คนอื่นทำ ให้คนอื่นทำ แต่ถ้าเราหันมาลงมือทำเอง เราทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ เราสร้างได้ นี่แหละครับคือพลเมือง ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในห้องนี้เคยมีประสบการณ์อยู่แล้ว มันสร้างได้ มันอยู่ที่ว่าเราทำเป็นรึเปล่า

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ยังอยากจะถามอาจารย์ต่อค่ะ จริงๆ เราเห็นบทบาทของอาจารย์ตั้งแต่สมัยเป็นผู้นำนักศึกษากับบทบาทสมัยพฤษภาทมิฬ 2535 เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและสิ่งที่อาจารย์ทำในยุคนั้นกับในเวลานี้ อาจารย์มองพลวัฒน์มันเป็นอย่างไรค่ะ วันนี้อาจารย์มาทำหน้าที่ในห้องเรียนวิชา TU100 กับสิ่งที่อาจารย์ทำกับบทบาทในสมัยก่อน อาจารย์มองความเปลี่ยนแปลงเป็นยังไงบ้างค่ะ

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล : ผมมองในแง่ของบทบาทที่เยาวชนผมคิดว่านักศึกษาสมัยนี้ทำไมเป็นแบบนี้ผมคิดว่าข้อหนึ่ง อันนี้ผมเสริมทุกท่านเลยนะครับ ข้อหนึ่งที่เราลืมไปคือ โทษทีครับที่เราบ่นๆ เราว่าวัยรุ่น บ่นว่าเยาวชน บ่นว่านักเรียนนักศึกษาเนี่ย ขอโทษทีนะครับใครเลี้ยงเขามา ใครเลี้ยงเขามาครับ ขอโทษทีครับเค้าเป็นผลิตผลของใครครับที่เขาโตขึ้นมา สภาพแวดล้อมแบบนี้ เขาอยู่กับสื่อแบบไหน ทีวีแบบไหน หนังสือพิมพ์แบบไหน สภาพแวดล้อมแบบไหน ปัญหาของเขามันเกิดจากเราเอง เขาเติบโตกับสภาพสังคมที่ผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาเองครับ แก้ที่ใครละครับทีนี้ ต้องกลับมาหาพี่ปิยาภรณ์ครับ มันใช่ไหมครับ ทุกคนต้องลงมือแก้ใช่ไหมครับ มาเรามาเป็นพลเมืองกันเถอะครับ ให้คือลงมือทำนะครับ

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ค่ะ แต่ละท่านก็กำลังทำหน้าที่ของตัวเองยืนอยู่ ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และก็พัฒนาความเป็นพลเมืองจากจุดที่ตัวเองทำงานอยู่นะคะ อาจารย์ปริญญาก็เอาห้องเรียนเปลี่ยนวิชาพื้นฐานเป็นวิชาจดบันทึกธรรมดาๆ ที่มันน่าเบื่อ นั่งหลับบ้าง มาทำให้มันสนุกสนานกันนะคะ สักครูเราจะมาฟังในรอบที่ 2 กันนะคะ อันนี้บวกเพิ่มให้ ส่วนพี่ทรงพล ก็ใช้ประสบการณ์จากการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น มาโค้ช อบต.และเจ้าหน้าที่ต่างๆ มาให้สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมกับเยาวชนนะคะ ส่วนพี่หนูพรรณณิภา ใช้ประสบการณ์เป็นป้าหนูของเด็กๆ ที่สงขลารวมถึงที่หาดใหญ่ด้วยค่ะมาทำกระบวนการชวนเด็กๆ มาคิดและก็สร้างพื้นที่ในการทำงานของเด็กๆ จะให้ทั้ง 3 ท่านเล่าให้ฟังว่าทำอะไรมาแล้วสิ่งที่ทุกท่านทำมามันจะตอบโจทย์กับสิ่งที่ทุกท่านอยากรู้หรือเปล่า เริ่มจากพี่หนูก่อนดีกว่าค่ะ พี่หนู มีเพลง เพลงหนึ่ง พี่หนูพูดเองดีกว่าค่ะ

คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ : คือจริงๆ แล้วเป็นเพลงที่ประมวลให้เห็นว่าจริงๆ แล้วเด็กมีศักยภาพ ที่จะทำสิ่งดีๆ จังหวัดไหนๆ ก็มีโครงการต่างๆอยู่แล้วทีนี้เราก็เลยคิดว่าจะมีอะไรแตกต่างๆ กันบ้าง ก็เลยเกิดเพลงๆ นี้ขึ้นมา มีพลังที่จะสามารถส่องแสงได้ ส่องความดี การมีจิตใจเพื่อส่วนรวม จิตสำนึกเพื่อพลเมือง เพลงนี้จะพูดภาพรวมได้ดีทั้งหมด เป็นเพลงที่น้องๆ ช่วยกันแต่งร่วมกัน เยาวชนในจังหวัดอื่นๆ อาจจะมีศักยภาพมากกว่าที่สงขลาทำก็ได้นะคะ บทเพลงบอกหมดแล้วเกี่ยวกับคนสงขลา ความจริงเรามีสิ่งดีๆ ในเด็กเยอะมาก จริงๆ เด็กเป็นคนทำหรือผู้ใหญ่เป็นคนสร้าง เค้ามีศักยภาพภาพที่จะไม่เป็นภาระของสังคม


คุณณาตยา แวววีรคุปต์
: คือเป็นเพลงที่น้องๆ แต่งขึ้นมาจากการทำงานของพวกเขาในกระบวนการที่ผู้ใหญ่เอื้ออำนวยพื้นที่ให้พวกเขาได้ทำงานทางความคิดและปฏิบัติการของเขา

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : เพลงสามนาที ทำให้เราเกิดคำถาม เด็กเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ภายใต้อะไร ผู้ใหญ่มีบทบาทอะไรในกระบวนการที่เด็กทำ

คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ : โดยหลัก เรามีทีมอีก 6 คน ครึ่งหนึ่งเด็กฟอรั่ม อีกครึ่งเป็นเด็กจบใหม่ เราทำงานด้วยกัน ความซึมซับในสิ่งที่งานพาไป อันแรก เราผสมผสานกับเด็กจบใหม่ ถ้าเขาเลือกประเด็น เขามีโอกาสได้พัฒนามัน เขาเลือกเรื่องอะไร เราก็จะมีวิทยากรที่มาตอบคำถามในหัวข้อที่เค้าเลือก โดยเราเคารพในการตัดสินใจของเขา เราไม่จำเป็นต้องเลือกหลายประเด็น บางทีประเด็นเดียวก็สามารถแตกออกเป็นหลายประเด็นได้ ปัญหาที่แท้จริง กลไกลของราชการ ระบบนิเวศหาด กฎหมายที่คุ้มครองหาดในประเทศไทยก็ยังไม่มี กลไกที่ต้องสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนระบบนิเวศ เขาสามารถค้นคว้า และลงไปทำกับนักวิจัย สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาเติบโต เรียนรู้มากขึ้น เขามองลึกไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจึงจำเป็นต้องใช้นักวิชาการในพื้นที่ บุคลากรในพื้นที่ ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องชายหาด และผู้ใหญ่ทุกคนที่เข้ามาช่วยในโครงการนี้มาจากการเต็มใจที่จะมาทำ (โครงการหาดเพื่อชีวิต)

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ยังมีเด็กกลุ่มอื่นๆ ที่ทำโครงการอื่นอีก อยากให้เล่าให้ฟัง

คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ : ปีที่แล้ว 22 โครงการ ปีนี้อีก 25 โครงการ มื่อเด็กเข้ามาพัฒนาโครงการ โครงสร้าง พื้นฐานที่สุดคือ เด็กต้องพูดคุย ดูตัวเอง เกี่ยวกับทักษะชีวิต ระบบคิดของตนเอง การจัดการทางอารมณ์ เพราะวัยรุ่น ต้องมีการจัดการด้านอารมณ์ เรื่องของการสื่อสาร เราต้องให้เขาเรียนรู้เพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น เรื่องสุดท้ายคือ จิตใจเพื่อส่วนรวม เมื่อเกิดโครงการ ควรจะขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น เด็กจะได้เรียนรู้ศักยภาพเหล่านี้ เช่น โครงการห้องสมุดคาเฟ่เคลื่อนที่พี่สอนน้อง เนื่องจากห้องสมุดในโรงเรียนไม่น่าสนใจ เลยอยากทำให้ห้องสมุดนี้ดูมีความสุข โดยการเอาหนังสือที่น่าสนใจใส่ตระกร้า ไปหาน้องตามแต่ละสถานีต่างๆ เด็กกลุ่มนี้รวมตัวกัน 5 คน ปัจจุบันมีสำนักพิมพ์บริจาคหนังสือจำนวนมากมาให้น้อง โครงการนี้ที่ประสบความสำเร็จเพราะคนกับคนช่วยกันฟูมฟักดูแล

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : เด็กได้ฝึกทักษะการจัดการ ได้ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น ฝึกศักยภาพ

คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ : ที่นี่ที่ชื่นชมคือ เด็กเติบโตขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น บางโครงการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เขาแทบจะรันโครงการเค้าไม่ได้เลย แต่ตัวเด็กเติบโตขึ้น เขาได้เรียนรู้ว่าจะทำอะไรกับชุมชนต้องลงไปเรียนรู้ชุมชนนั้นๆ เด็กมองเห็นอะไรหลายๆ อย่าง ได้เรียนรู้และเติบโตจากปัญหาที่เกิดขึ้น ทักษะชีวิตจะนำไปสู่ทักษะการเป็นพลเมือง

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : พี่ทรงพลทำงานกับท้องถิ่น ในมุมของนักพัฒนาเอกชน พี่ไม่ได้รับทุนใดๆ แต่ อบต มีโครงสร้างต่างๆ อยู่พร้อม ความเป็นจริงมันเป็นอย่างไร การสร้างกระบวนการการมีส่วมร่วมมักเป็นปัญหาของแต่ละท้องถิ่น อยากให้เล่าให้ฟัง

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ : สร้างเงื่อนไขให้เขาได้ลงไปทำจริง สร้างความเข้าใจของกระบวนการการมีส่วนร่วม สอนหลักสูตรให้เขา

ขอเชิญผู้ที่เข้าร่วมหลักสูตรนักถักทอชุมชนมาพูดให้ฟังครับ เริ่มจากนายสมเกียรติ สาระหัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.หนองอียอ อ.สนม จ.สุรินทร์

­

สมเกียรติ สาระ:

ผมได้เข้ารับหลักสูตร นักถักทอ การทำงานในตำบล เรายังไม่มีความรู้เรื่องประสานงานต่างๆ แต่พอมาเรียนเราได้ฝึกการเรียนรู้จากการปฎิบัติจริง นำปัญหา ความสำเร็จมาคุยกัน ผลที่เกิดเรื่องเด็กและเยาวชน ยังขาดการมีส่วมร่วมทั้งภายในและภายนอก พอได้เรียนรู้เราได้นำไปปฎิบัติ หลังจากนั้นเราก็ได้รับความร่วมมือ ในการจัดการเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนมากขึ้น เด็กใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากขึ้น

สุริยา ดวงศรีแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหนองอียอ :

หลักจากที่เกิดนักถักทอ เราได้เชื่อมเครื่อข่ายกันในหลายๆที่ เราได้สร้างเครือข่าย โรงเรียนครอบครัว ทำให้เด็กมีพื้นที่ได้แสดงศักยภาพในสิ่งที่เค้าอยากทำ ถ้าเรามีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงพลังอย่างเต็มที่ เค้าก็ได้แสดงกันอย่างเต็มที่ เมื่อก่อน พื้นที่นี้เด็กตีกันบ่อย แต่หลังจากที่มีการเชื่อมร้อยถักทอ ปัญหานี้ก็ลดลงไป เราพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เด็กๆ มีความสัมพันธ์กันดีมากขึ้น มีกิจกรรมให้เด็กทำมากขึ้น

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : น้องเขียวเป็นเด็กเกเรมาก่อน เมื่อก่อนเป็นอย่างไร คะ

สุริยา ดวงศรีแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหนองอียอ : เมื่อก่อนทะเลาะวิวาทบ่อย เมื่อก่อนเป็นเด็กแว๊น และติดสุรา แต่ดี๋ยวนี้เลิกหมดแล้ว สิ่งที่ทำให้เปลี่ยนคือ ช่วงชีวิตหนึ่งเราคิดได้ว่า ทำไมชีวิตเราวุ่นวายจัง ถามตัวเอง ทำให้เราฉุกคิดว่า ถ้าเราทำตัวให้มีค่าบ้าง มันจะเป็นยังไง พอเจอพี่สมเกียรติ (สมเกียรติ สาระ) ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำ

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ถ้าไม่มีพี่สมเกียรติเรามองออกไหมว่าจะเปลี่ยน

สุริยา ดวงศรีแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหนองอียอ : ยังมองไม่ออกเหมือนกันครับ ในช่วงแรกเราอยากทำโครงการเกี่ยวกับสังคม เพราะเราเป็นคนกว้างขวางในสังคม แรกๆ เราได้เป็นประธานสภา เราจะคอยดูแลน้องๆ ที่เกเร คุยทำความเข้าใจกับน้องๆ

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : เขียวคิดอะไรถึงได้ทำหน้าที่แบบนั้น

สุริยา ดวงศรีแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหนองอียอ : ผมไม่มีโอกาสได้เรียน เราอยากเรียนแต่ไม่มีเงิน เราเห็นเด็กที่เกเรแต่มีโอกาสได้เรียน แล้วเขาไม่เรียน เราเลยคิดว่าจะทำอย่างไรให้เขากลับไปเรียน ลงไปคลุกคลีให้เขาไว้ใจกับเรา และเราค่อยเริ่มคุยกับชีวิตของเขาว่าเกิดปัญหาอะไร เราค่อยๆ บอกเล่าประสบการณ์ของเรา ให้เขาฟัง พอเขาเริ่มสนใจ เราก็ชักจูงเขาให้กลับไปเรียน ปัจจุบันมีแกนนำเพิ่มมากขึ้นมาก อีกไม่นานจะมีโครงการ และเราจะใช้แกนนำหลักในการขับเคลื่อนโครงการนี้

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : มาถึงตอนนี้ อยากถามน้องเขียวเกี่ยวกับ นิยามพลเมืองที่เข้มแข็ง

สุริยา ดวงศรีแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหนองอียอ : คือการที่ทุกคนช่วยกันพัฒนา ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ประเทศชาติก็จะพัฒนาไปได้ครับ

­

คุณสวัสดิ์ กันจรัตน์ กรรมการที่ปรึกษา(ปลัด อบต.หนองสาหร่าย) โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย :

ทุกกระทรวงโยนงานให้เราหมด แต่ไม่มีเงินให้ เราต้องการบุคคลากรในการขับเคลื่อนทุกอย่าง เราแทบไม่มีเวลาคิดงานใหม่ๆ แต่พอมีน้องๆ เจ้าหน้าที่เข้ามา เขาเพิ่งจบจากการศึกษา ได้รับความรู้จากตำราเรียน แต่น้องๆ ยังไม่มีความรู้ในการเข้าหาคนในสังคมมากพอ เขาไม่รู้ว่าจะเข้าหาคนเหล่านั้นยังไง โรงเรียนส่วนมากก็สอนแต่วิชาการเยอะ แต่วิชาชีพไม่ค่อยสอน แต่ท้องถิ่นเรา มีการบูรณาการโดยการนำหลักสูตร วิชาชีพ กับวิชาการ มารวมกัน ทำให้น้องๆ มีศักยภาพมากขึ้น หลักสูตรนี้ช่วยเสริมทำให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกันมากยิ่งขึ้น

­

นายประเสริฐ สุขจิต นายกอบต.เมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ :

ผมได้รับการอบรมให้เป็นวิทยากรกระบวนการ ได้มีโอกาสได้ลงพื้นที่เห็นปัญหาชุมชนหลากหลาย ต่อมาได้รับการนำเสนอ โครงการนักถักทอชุมชน ก็สนใจและมองว่าเป็นโครงการที่ดี เราอยากจะพัฒนาชุมชนโดยไม่ต้องรอนักการเมือง นโยบายใหม่ๆ เข้ามา บางทีนโยบายเก่าๆ ก็ถูกยุบทิ้ง เราเลยอยากทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งนักการเมือง มีหลายหน่วยงานที่พัฒนาชุมชน แต่ส่วนมาก ต่างคนต่างทำ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถทำให้เกิดกระบวนการที่ยั่งยืนได้ นักถักทอชุมชน ทำให้น้องได้แลกเปลี่ยนกัน เข้าถึงชุมชนด้วยตนเอง และเข้าถึงผู้ใหญ่ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง น้องๆขับเคลื่อนโครงการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอให้ผู้ใหญ่ช่วย

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : การทำหลักสูตรนี้ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะไปตอบโจทย์ อบต. ทั่วประเทศไหมค่ะ

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ : เราพยายามแชร์ประสบการณ์ การจะอบรมคน เราควรจะจัดกิจกรรม ไม่ควรจะเป็นการอภิปรายอย่างเดียว เราคัดเลือกจาก อบต. ที่สนใจเราก่อน เราจึงค่อยเข้าไปแชร์สิ่งที่เรามี

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ที่พูดทั้งหมด ต้องจ่ายเงินเรียน?

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ : ใช่ครับ เรียนทั้งปี แต่เงินส่วนมากเรานำไปจ่ายค่าที่พัก พบกันไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง

­

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร : นอกจากจะสนใจ และเสียเงินมาเรียนอย่างเดียวไม่พอ แต่คนที่อยากมาเรียนต้องยอมรับว่าจะเจอกับงานที่หนักด้วย

  • Work Shop วิชาพลเมือง : บทบาทอาจารย์ในการเป็นโค้ช เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง

คุณณาตยา แวววีรคุปต์ : ค่ะมาถึง วิชาพลเมือง ซึ่งวันนี้อาจารย์จะสาธิตกระบวนการจัดการเรียนรู้การสอนในห้องเรียน อยากให้อาจารย์เล่าถึงหลักสูตร TU 100 สักนิดหนึ่งค่ะ

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล :

ก่อนอื่นเราต้องทำห้องเรียนให้ไม่เป็นห้องเรียน เมื่อเดือนก่อน ผมไปที่หลีเป๊ะ ผมเจอเศษแก้ว ผมรู้สึกโกรธคนที่ทิ้ง ตอนแรกผมเดินผ่าน แต่ผมก็ฉุกคิดได้ว่าถ้ามีคนมาเหยียบ ผมก็ต้องผิด ที่ไม่เก็บ จากนั้นผมก็เก็บไปทั่วชายหาด จากนั้นผมก็ฉุกคิดได้ว่า ตอนแรกผมโกรธคนทิ้ง แต่พอผมเก็บ ผมรู้สึกมีความสุข จริงๆ แล้ว ถ้าเราเก็บเรามีความสุขกับการให้ การเป็นพลเมือง คือการที่เราเริ่มที่จะทำ ไม่ใช่พูดอย่างเดียวแต่ไม่ทำ เราเอาแต่เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจมาช่วยเหลือเรา แต่เราไม่เคยเริ่มต้นทำที่ตัวเรา เราสร้างห้องเรียนของเราให้เป็นการลงมือทำ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไม่ได้ถ้าเราไม่ลงมือทำ การติดป้ายคำขวัญ ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาโดยตรงสักเท่าไหร่ ปัญหาเรื่องสำนึกพลเมือง มันคือความคิด การสร้างความคิดมันเกิดจากการ ให้คำถาม สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างให้เขาคิดด้วยตัวเขา การเป็น Active Citizen “ประชาธิปไตย” บทเรียนจากสงครามการเมืองของอเมริกา ทำให้สูญเสียคนมากมาย คนที่ยอมตายมีจิตอาสาทั้งคู่ พลเมืองอาจทำให้เกิดสงครามการเมืองเพราะจิตอาสา เพราะเราไม่เข้าใจคำว่า “ประชาธิปไตย” ทุกวันนี้ฟุตบอลแข่งกันมีแพ้ชนะ เพราะมีกติกา ประชาธิปไตยไม่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย เพราะประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศไทย เพราะคนไทยไม่เคารพกฎกติกา ประชาธิปไตยในโลกนี้มีเพียง 30 % ที่ประสบความสำเร็จ ปัญหาที่ประชาธิปไตยล้มเหลวคืออะไร ประชาธิปไตยคือสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ จริงๆ แล้วกฎธรรมชาติคือการเห็นแก่ตัว ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ประชาธิปไตยสอนให้ไม่เห็นแก่ตัว ประชาธิปไตยจึงไม่สำเร็จโดยตัวองมันเอง เราทุกคนเคยให้สินบน โกงกิน ทั้งนั้น ปัญหาคอรัปชั่นคือภาพสะท้อนของประชาชน ประเทศที่ประชาธิปไตยดี ทำให้มีคอรัปชั่นน้อย ประเทศที่คอรัปชั่นน้อย ประชาธิปไตยจึงดี อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล บทเรียนอุบัติเหตุเครื่องบิน klm ชนกับ pan am ชนกัน ผลลัพธ์ คือมีคนตายจำนวนมาก ปัญหาคือ การละเมิดกฎการนำเครื่องบินขึ้น ทำให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย ทุกระบอบทำผิดได้หมด แต่มีเพียงระบอบเดียว ที่นายกทำผิดแล้วประชาชนสามารถทักท้วงได้

­

ทำไมต้องประชาธิปไตย

ยกตัวอย่างกีฬาฟุตบอลสองทีมสามารถแข่งขันกันได้โดยไม่มีการฆ่ากัน เพราะมีกฎกติกา การเคารพการแตกต่างแต่ละฝ่าย อยู่ที่การมอง แผนที่โลก อะไรคือ “ตะวันตก” อะไรคือ “ตะวันออก” เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนถูกอันไหนผิด จริงๆ แล้วมันคือสิ่งที่ชาวต่างชาติเขียนขึ้นมา ไม่มีอะไรถูกหรือผิด โดยตรง ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่เรามองจากมุมไหน สิ่งที่พูดมา อยากให้เรามองเรื่อง มุมมองที่เราจะมองแต่ละปัญหา การเคารพกฎกติกา ขัดแย้งแค่ไหนก็ไม่ฆ่ากันอยู่ในกติกา เราเป็นเจ้าของประเทศมากแค่ไหน คนอื่นก็เป็นเจ้าของประเทศเท่ากัน เราควรเคารพการตัดสินใจของคนอื่นเช่นกัน
สำนึกพลเมือง คือการทำตามหน้าที่ เช่นการอ่านหนังสือพิมพ์แล้วเก็บเข้าที่ ไม่ใช่เรียกร้องให้คนอื่นมาเก็บ หรือแก้ไขปัญหา ทั้งๆ ที่เราเป็นคนก่อ การสร้างเงื่อนไขการเรียนรู้ : การตั้ง Learning Outcome (ตั้งเป้าหมาย) ก่อน แล้วออกแบบ “คำถาม” หรือ “กิจกรรม” เพื่อนำไปสู่ “การเรียนรู้”

ตัวอย่าง ถ้าได้รับเชิญไปสอนนักโทษ กำลังจะพ้นโทษ เรื่อง “พลเมืองดี” ท่านจะ “ตั้งคำถามอย่างไร”

เป้าหมายของนักโทษคือ เสรีภาพ เป้าหมายของเราคือ ไม่ให้เขากลับมาติดคุกใหม่ แล้วเราจะตั้งคำถามให้เขาอย่างไร คำถามคือ

“ทำอย่างไรจะไม่กลับมาติดคุกอีก”

“เมื่อออกไปแล้วจะอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไรโดยไม่กลับมาติดคุกอีก”

“เมื่อพ้นโทษไปแล้วอีก 3 เดือนจะทำอะไร”

คำตอบคือ เขาอยากเป็นพลเมืองดี เขาคิดเองได้ด้วยเพียงเราตั้งคำถาม อี

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ