กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการพัฒนานักเรียนแกนนำและครูวิทยากรการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

1.เพื่อกระตุ้นการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษาของจังหวัด เพชรบุรี ที่ได้วางพื้นฐานไปบ้างแล้วให้สามารถดำเนินการพัฒนาแนวคิดและเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของเยาวชนให้ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ได้รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะให้กับนักเรียน เยาวชน จากโรงเรียนต่างๆในจังหวัดเพชรบุรี ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะนักเรียนแกนนำ

3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะแก่ครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงอย่างเป็นรูปธรรม มีผลงานจากการเรียนการสอนจนสามารถเป็นตัวอย่างได้ สามารถแนะนำเพื่อนครูในโรงเรียนได้อย่างดี ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาแนวคิดของนักเรียนที่จะนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงไปใช้กับการเรียนรวมถึงการดำรงชีวิตต่อไป

4. เพื่อให้ศึกษานิเทศก์สามารถเป็นที่ปรึกษาแก่ครู ในการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. เพื่อสร้างเครือข่ายสถานศึกษาต้นแบบที่ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างได้ผล สามารถเป็นที่ศึกษาดูงานแก่สถานศึกษาอื่นๆทั้งในจังหวัดเพชรบุรีและต่าง จังหวัด

6. เพื่อผลิตเอกสารประกอบการเรียนรู้ การวิเคราะห์และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

องค์ความรู้ที่เกิดจากผลการระดมสมองการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและบุคลากรทางการศึกษา

  • วิธีการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ คือการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระรวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและนำลงสู่วิถีชีวิตของนักเรียน
  • ปัจจัยที่ส่งผลให้งานขับเคลื่อนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ คือ ผู้บริหารและครูต้องมีความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถวิเคราะห์ได้ โดยเริ่มจากต้องรู้จักตนเอง ชุมชนและกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี

องค์ความรู้ที่เกิดจากผลการระดมสมองการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน

  • กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ กิจกรรมตามหลักสูตรการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งในโรงเรียนและชุมชน การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้กับการอ่านหนังสือ การใช้จ่าย การทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
  • ปัจจัยที่ส่งผลให้งานขับเคลื่อนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ คือ การได้รับคำแนะนำ ความช่วยเหลือจากโรงเรียน ครู อาจารย์ จากชุมชนและผู้ให้การสนับสนุน การทำงานเป็นทีม ระดมความคิดในการทำงานและแก้ปัญหาร่วมกัน การมีคุณธรรมในการทำงาน

โครงการเด่น / กิจกรรมเด่น

  • โครงการขับเคลื่อนสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สนองงานในพระราชดำริสมเด็จพระเทรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

เงื่อนไขความสำเร็จ

  • ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการทำโครงการต่างๆ กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
  • กิจกรรมต่างๆมุ่งผลให้เกิดกับนักเรียนเป็นลำดับแรก
  • ครู อาจารย์ให้ความร่วมมืออย่างดี
  • มีผู้ให้การสนับสนุน ( ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ) อย่างเต็มที่และเต็มใจ

ความรู้ที่ครูและนักเรียนได้รับ

  • การทำกิจกรรมต่างๆโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • มีหลักคิดในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
  • การได้รับการยอมรับจากสังคมในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

องค์ความรู้จากการดำเนินงานของโรงเรียน

  • การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
  • หลักการจัดค่ายให้ความรู้แก่นักเรียน เยาวชน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
  • การทำงานเป็นทีม
  • การประสานชุมชนทั้งในฐานะผู้ให้และผู้รับ

รางวัลความสำเร็จ

  • โรงเรียนต้นแบบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • โรงเรียนแกนนำการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
  • โรงเรียนเป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาของสถานศึกษาทั้งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันอุดมศึกษา

โครงการในอนาคตและความต้องการต่อยอด

โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนใน 4 มิติ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ