กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร ครั้งที่ 1 งานพลังกลุ่มและความสุข
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

งานพัฒนาศักยภาพภาคี เรื่อง ทักษะกระบวนกรพัฒนาเยาวชน 


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเป็นโค้ช การออกแบบการเรียนรู้ การถอดบทเรียนการเรียนรู้ สำหรับเจ้าหน้าที่โครงการ
  2. เพื่อเปิดพื้นที่ (platform) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของเจ้าหน้าที่โครงการ ที่ทำหน้าที่ Coach

­

ระยะเวลาในการอบรม 4 ครั้ง (เมษายน -  กันยายน  2558) 


ครั้งที่  1  งานพลังกลุ่มและความสุข (วันที่ 28 - 30 เมษายน 2558)

  • การสื่อสาร  การฟัง  พื้นฐานด้านจิตใจและโลกทัศน์ของกระบวนกร
  • การทำงานเป็นทีม
  • การเป็นผู้นำ  ผู้ตาม

­

ครั้งที่  2  ทักษะพื้นฐานกระบวนกร  (วันที่  26 - 29  พฤษภาคม  2558)

  • การตั้งคำถามกระตุ้นคิดอย่างลึกซึ้ง  การฟังด้วยหัวใจ
  • การจับประเด็น
  • การดำเนินการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม
  • อุปสรรค  และแนวทางแก้ไขการจัดประชุม

­

ครั้งที่  3  ทักษะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้  (วันที่  22 - 25  กรกฎาคม  2558)

  • ทักษะ  และกรอบวิธีคิดในการออกแบบให้เข้าถึงเนื้อหา
  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน
  • ฝึกนำกระบวนการ  และสรุปบทเรียนครบกระบวนการ

­

ครั้งที่  4  ทักษะการสรุปบทเรียน  (วันที่  7 - 10 กันยายน 2558)

  • การสรุปบทเรียนการทำงานของเยาวชน
  • การตั้งคำถาม - การฟัง - การจับประเด็น  



วิทยากร  ทีมเสมสิกขาลัย


­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปการอบรม“งาน พลังกลุ่ม และความสุข”

มูลนิธิสยามกัมมาจล

วันที่ ๒๘ – ๓๐ เมษายน ๒๕๕๘

ณ กนกรัตน์รีสอร์ท สมุทรสงคราม

ทีมวิทยากรโดย เสมสิกขาลัย



วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘

กิจกรรม แนะนำตัว

โจทย์   ให้ทุกคนแนะนำตัวโดยบอกข้อมูล ดังนี้

      ๑) ชื่อจริงและชื่อเล่นตำแหน่งหน้าที่ หน่วยงานที่สังกัด

      ๒) ความรู้สึกในการมาอบรมครั้งนี้

      ๓) ความคาดหวังที่มีต่อการอบรมครั้งนี้ เมื่อผ่านการอบรมอยากได้อะไรเพิ่มขึ้น


ความคาดหวังที่มีต่อการอบรมครั้งนี้

  • ตื่นเต้นที่จะใช้หลักสูตรใหม่ในการอบรมและเรียนรู้ร่วมกัน
  • คาดหวังว่าจะสนุกในการที่จะเรียนรู้ร่วมกัน
  • อยากเห็นกระบวนการที่ลึกลงไป
  • ได้พัฒนาทักษะในการพัฒนากระบวนกร
  • ออกแบบกระนบวนการได้
  • ได้ กระบวนการใหม่ๆใปใช้ในพื้นที่
  • เข้าใจการทำกระบวนการ
  • ได้เข้าใจการทำงานของตัวเองมากขึ้น
  • อยากเห็นศักยภาพของตัวเองและนำไปใช้ประโยชน์ในงานคือ งานเยาวชน งานเครือข่าย งานชุมชน
  • อยากได้ทักษะอื่นๆเพิ่มเติม เช่น เทคนิคการสื่อสาร เพื่อไปใช้ในการทำงานให้ชัดเจนขึ้น
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับงานของตัวเอง
  • นำสิงที่ได้เรียนรู้กลับไปทำงาน
  • เป็นนักเรียนที่ดีที่เก็บเกี่ยวสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้
  • มาเติมไฟ เพื่อไปทำงานในพื้นที่
  • ได้เทคนิคและความมั่นใจในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย
  • พัฒนาตัวเองเพื่อเป็นกระบวนกร
  • ต่อยอดและเติมเต็มกระบวนการในงานที่ทำงานอยู่
  • ได้รับทักษะในการเป็นกระบวนกร และเทคนิคในการทำงาน/เติมไฟในการทำงาน
  • ได้พัฒนาทักษะในการเป็นกระบวนกรและมีทักษะใหม่ๆในการทำงาน
  • มีศักยภาพมากขึ้น มีเครื่องมือในการทำงานมากขึ้น
  • เข้าใจตัวเอง เพื่อนและกระบวนการมากขึ้น
  • อยากได้ทักษะการสรุปบทเรียน
  • ได้การเรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน
  • คาดหวังว่าจะเข้าใจตัวเอง เพื่อน กระบวนการทำงานมากขึ้น
  • เชื่อมั่นในหลักสูตร ว่าจะช่วยในกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีความมั่นคงภายในมากขึ้น
  • คาดหวังว่าจะมีความมั่นใจในการงานที่ทำอยู่
  • อยากให้โอกาสน้องๆที่จะเรียนรู้กระบวนการแบบเสมฯเพื่อนำไปเปลี่ยนแปลงชุมชน และนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป

­

­


ตารางกิจกรรม

๙.๐๐ – ๙.๒๐ น.ภาวนา

๙.๒๐ – ๑๒.๒๐ น.กิจกรรมเช้า

๑๒.๒๐ – ๑๓.๒๐ น.อาหารเที่ยง

๑๓.๒๐ – ๑๔.๐๐ น.นอนผ่อนคลาย

๑๔.๐๐ – ๑๘.๓๐ น.กิจกรรมบ่าย

๑๙.๐๐ – ๒๑.๓๐ น.กิจกรรมกลางคืน (เฉพาะวันที่สองของการอบรม)

­

­



ข้อตกลงร่วมกัน

     ๑. เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     ๒. ร่วมทำกิจกรรม เปิดใจเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอย่างเต็มที่

     ๓. รับฟังกันและกันอย่างตั้งใจ งดการพูดคุยแทรกขณะที่เพื่อนกำลังพูดแลกเปลี่ยนในวงใหญ่

     ๔. ถอดวางบทบาทหรือสถานภาพที่จะเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้

     ๕. ปิดเสียงโทรศัพท์ หากมีความจำเป็นสามารถปลีกตัวใช้โทรศัพท์นอกห้องประชุมได้

­


การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

ปัญหาที่มักพบ

  • ขาดการสรุปบทเรียนการทำงาน เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้
  • ผู้จัดเชื่อว่าตนมีความรู้มากกว่า จัดกระบวนการที่ครอบงำความคิด
  • กลุ่มเป้าหมายไม่มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้
  • ขาดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

­

­



การอบรมชุดนี้

ครั้งที่ ๑ งาน พลัง กลุ่มและความสุข

ครั้งที่ ๒ ทักษะพื้นฐานการจัดกระบวนการ

ครั้งที่ ๓ การออกแบบกิจกรรม เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง

ครั้งที่ ๔ การสรุปบทเรียนแบบเชิงลึก

­

­



ที่มาของการอบรมครั้งนี้

     ๑. คนทำงานไม่มีความสุข/หมดไฟ– ความสุขน้อยลง หงุดหงิดง่าย เปราะบาง อารมณ์ขุ่นมัว หมดพลัง คิดลบง่าย

     ๒. ความสัมพันธ์ในกลุ่ม/องค์กร เหินห่าง ขัดแย้ง มีความเป็นกลุ่มเป็นก้อน – คุยกันไม่รู้เรื่อง มีความขัดแย้งรุนแรง แบ่งพรรคแบ่งพวกโจมตีกัน กลุ่มมีความหลากหลายแต่ไม่สามารถโฟกัสให้เป็นพลัง

     ๓. งาน–มีปัญหาเรื่องระบบงาน โครงสร้างงาน งานไม่ได้ผล ไม่มีคุณภาพ

     ๔. สถานการณ์ภายนอกมาคุกคาม การเปลี่ยนแปลงของโลก สังคม วิถีชีวิตเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงาน ไม่สามารถทำงานเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆได้

­

­



กระบวนการเรียนรู้

  • เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การทำกิจกรรมและการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน
  • สำรวจสภาพการทำงานในองค์กรร่วมกัน หาสาเหตุและทางออกร่วมกัน

­

­



กิจกรรม ปรบมือเรียกชื่อ

โจทย์

     ๑) ทำท่า ๖ จังหวะพร้อมกันอย่างต่อเนื่องโดยตบหน้าขา ๒ ครั้ง ปรบมือ ๒ ครั้ง ดีดนิ้วมือขวา นิ้วมือซ้าย

     ๒) ให้คนที่เริ่มต้นคนแรกดีดนิ้วมือขวาเรียกชื่อตนเอง ดีดนิ้วมือซ้ายเรียกชื่อเพื่อนคนไหนก็ได้ที่นั่งอยู่ในวง

     ๓) คนที่ถูกเรียกให้ทำตามขั้นตอนเดิม ดีดนิ้วมือขวาเรียกชื่อตนเอง ดีดนิ้วมือซ้ายเรียกชื่อเพื่อนคนอื่นต่อไป

     ๔) ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆให้นานที่สุด

     ๕) หากมีคนใดทำพลาด ช้าหรือไม่ตรงจังหวะจะต้องหยุดทั้งวง แล้วให้คนที่ทำพลาดลุกไปนั่งที่เบาะเริ่มต้นหน้าห้องส่วนคนอื่นๆ ต้องขยับที่นั่งตามลำดับจนมีที่นั่งลงตัวทุกคน และให้คนที่พลาดเป็นคนเริ่มเรียกชื่อในรอบต่อไป

­


สรุปบทเรียนจากกิจกรรม

อะไรที่ทำให้เราพลาด

     ไม่มีสติ เพราะ

  • คิดเรื่องอื่นมากเกิน
  • จดจ่อมากเกินไป
  • ไม่ผ่อนคลายมากพอ
  • ยังไม่ทันตั้งรับ
  • ไม่อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับอนาคตและอดีตมากไป
    • ไม่นิ่งพอ
    • ควบคุมอารมณ์ ความคิดตัวเองไม่ได้
    • ติดกับอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง
    • ไม่ได้ฝึกฝนให้รู้สึกทุกขณะจิต ในทุกๆการกระทำ
    • ทำตามความคุ้นเคยเดิม มีความชอบไม่ชอบ ทำตามความสนใจตัวเอง
      • ส่งผลให้
        • ทำงานพลาด
        • คนเปราะบาง

ยังไม่คุ้นจังหวะเกมส์ที่เล่น ตั้งรับไม่ทัน

  • ในชีวิตจริง กิจกรรมที่คุ้นเคยเรามักไม่มีสติในการทำเพราะ
    • เชื่อว่าเราไม่พลาด
    • ประมาท
    • ตั้งใจมากเกินไป เพราะ
      • ไม่อยากพลาด
      • คาดหวังว่าตัวเองต้องทำให้ถูก
      • กลัวว่าเราจะทำผิด ทำให้งานเสียหายเพราะเรา
      • กลัวโดนเพื่อนตำหนิ

เพราะเหตุใดเราจึงหวั่นไหวกับเสียงของคนอื่น

  • เราให้ความสำคัญกับคนๆนั้น ไม่อยากให้เขาผิดหวัง
  • ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์
  • เมื่อเราทำไม่ได้ดั่งใจคน เรามักโดน
    • ตำหนิ
    • ผิดหวัง แสดงความเสียใจต่อการกระทำของเรา
    • แสดงสีหน้าผิดหวัง
    • วิจารณ์การกระทำ ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกล้อ ประณาม ทำให้แย่ ลดความเป็นมนุษย์
    • เพิกเฉย ไม่มอบหมายงานให้ต่อไป
    • ถูกประเมิน โดยไม่มีการสืบค้น ความจริง
  • เราถูกหล่อหลอมให้เชื่อว่าคนมีคุณภาพต้องทำถูกต้องเสมอ จึงยอมรับได้ยากกับความผิดพลาด

เจตนาของคนที่ตำหนิบ่น ด่า

  • อยากให้เราปรับปรุงพัฒนา
  • อยากให้งานออกมาดี

เพราะเหตุใดเราจึงยังเลือกบ่น ตำหนิ คาดโทษ นินทาคนอื่น

  • รู้สึกผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจ
  • เห็นการกระทำต่อๆกันมา
  • คิดว่าเป็นวิธีที่ได้ผล (ไม่ได้พิจารณาว่าได้ผลจริงหรือไม่)
    • มักได้ผลชั่วคราว ในกรณีที่คนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
    • มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
    • ไม่ใช้ท่าทีรุนแรงต่อเนื่อง
  • ไม่เคยใช้วิธีที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาคน
  • ง่ายที่จะแสดงท่าทีรุนแรง เพราะ
    • เราอยากระบายอารมณ์
    • ไม่มีพื้นที่ กระบวนการณ์ในการจัดการกับอารมณ์ของตนเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
    • ไม่อยากเสียเวลาพูดคุย คิดหาความจริง หาทางออกร่วมกัน
    • ไม่เห็นความสำคัญในการใช้พลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาคน
  • ไม่จัดสรรเวลาเพื่อรักษาสมดุลชีวิตของตน ขาดความมั่นคงภายใน


วิธีการที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาคน

  • พูดคุยทำความเข้าใจอย่างเปิดใจ
  • ทำให้คนกล้าพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งด้านดีและไม่ดี
  • ลด ละวางอคติที่มีต่อกันโดยใช้สติกำกับเท่าทันอารมณ์ความคิดตนและยอมรับมันให้ได้
  • ให้เวลาในการรู้จักกันและกันอย่างลึกซึ้ง
  • มีพื้นที่ค้นหาความจริง และสำรวจปัญหาและหาทางออกร่วมกัน

­

­



กิจกรรม เป็ดเจ้าปัญหา

โจทย์  ช่วยกันรักษาเบาะว่างไว้ให้นานที่สุด

กติกา

     ๑) ห้ามเคลื่อนย้ายเบาะ

     ๒) ห้ามกั๊กเบาะ

     ๓) ห้ามกีดขวาง หรือทำร้ายเป็ด

     ๔) ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ห้ามผูกขาดการวิ่ง



­

สรุปบทเรียนจากกิจกรรม

แผนการเล่นของกลุ่มดีหรือไม่ อย่างไร

  • ดี ในกรณีที่คนวิ่งทัน
  • ยังมีช่องโหว่
    • เพราะเป็ดดักทาง แก้เกมได้
    • ไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้
    • ไม่สามารถแก้จุดอ่อนของวิธีการเล่นได้

เพราะอะไรเราจึงเสียพื้นที่เร็ว

  • ไม่ได้มองภาพรวม ของกระบวนการแก้ปัญหาทั้งหมด ใช้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่น
  • ไม่สามารถคิดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาใหม่
  • ไม่ได้วิเคราะห์ปัญหาอย่างชัดเจน (การเดินของเป็ด)
    • อาจส่งผลให้ปัญหาอื่นๆตามมา
  • เข้าใจกันคนละอย่าง ไม่มีคนสรุปความเข้าใจของแต่ละคน
  • ขาดการวางแผนสำรองเพื่อรองรับความผันผวนของกระบวนการ
  • มีความไม่ชัดเจนในเรื่อง
    • บทบาทหน้าที่
    • วิธีการเล่น วิธีการสื่อสาร
    • โจทย์ ปัญหา สภาพ
    • เป้าหมาย
      • ส่งผลให้
        • แผนการทำงานไม่ชัด
        • มีการเพ่งโทษ ตำหนิกันเมื่อพลาด
        • คนทำงานเสียกำลังใจ
  • ขาดคนนำกระบวนการ คนนำคุย
  • ขาดกระบวนการที่จะนำไปสู่

        ๑. ดึงความคิดที่จะนำไปใช้

        ๒. เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกัน

        ๓. เปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง

        ๔. หาข้อสรุปร่วมกัน

  • ไม่ได้ทดลองทำจนครบกระบวนการ ซึ่งจะช่วยให้
    • มีข้อมูลในการเลือกใช้วิธีการ
    • เห็นความเป็นไปได้
    • คนทำงานเข้าใจตรงกัน
  • ขาดการสรุปบทเรียนร่วมกัน ทบทวนจุดอ่อน จุดแข็ง อุดช่องโหว่การทำงานที่ผ่านมา
  • คนทำงานรับรู้ข้อมูล เห็นภาพไม่เท่ากัน ไม่ตรงกัน
    • ในชีวิตจริง การมีช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำระหว่างกันในองค์กรเป็นปัจจัยทำให้เกิดความเข้าใจผิด การทำงานผิดพลาด
    • ความยึดติดในสถานภาพมีผลทำให้คนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะหากมีความคิดเห็นที่ต่างกัน
    • บรรยากาศการพูดคุยที่มีการตอบโต้เร็ว ฟังไม่จบ ใช้อารมณ์ยิ่งทำให้คนไม่อยากแสดงความคิดเห็น
    • การทำงานที่เร่งรัด ภาระงานหนัก ยิ่งทำให้คนไม่มีเวลาสร้างพื้นที่ การพูดคุยอย่างสร้างสรรค์
    • ไม่มีโอกาสรู้จัก ทำความเข้าใจกันและกันอย่างลึกซึ้ง

­

­



กิจกรรม ข้ามแม่น้ำพิษ

โจทย์   ให้ทุกคนข้ามแม่น้ำพิษไปได้อย่างปลอดภัย

กติกา

     ๑) มีหินให้ ๑๖ ก้อน เพื่อใช้เดินข้ามแม่น้ำพิษจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด

     ๒) หากร่างกายไม่อยู่บนหินและโดนแม่น้ำพิษ ส่วนนั้นจะพิการใช้ไม่ได้

     ๓) หากหินวางอยู่ โดยไม่มีส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัส หินนั้นจะโดนจระเข้คาบไปได้

     ๔) เมื่อเข้ามาอยู่ในเขตแม่น้ำแล้ว ทุกคนต้องมีการสัมผัส/เชื่อมโยงกันด้วยอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จนกว่าคนสุดท้ายจะข้ามเสร็จ หากหลุดออกจากกัน ทุกคนจะต้องเริ่มต้นใหม่

     ๕) หากใช้เวลานานเกินไปจะมีเขื่อนปล่อยน้ำท่วมโดยมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า

­


สรุปบทเรียนกิจกรรมแม่น้ำพิษ

สิ่งที่ทำได้ดีขึ้นช่วงที่วางแผน

  • วางแผน และคุยจนจบ เห็นวิธีการชัด แก้จุดอ่อนที่เกิดขึ้น
  • มีคนนำกระบวนการ

สิ่งที่คนนำกระบวนการทำได้ดี

  • ทำให้แต่ละความคิดให้ชัด
  • ผู้นำกระบวนการเปิดรับทุกความคิด เปิดพื้นที่ทุกความคิดเห็น
  • มีการสรุปยอดความคิด โดยการสรุปประเด็น วาดภาพ
  • ชวนคุยทีละประเด็น
  • สร้างบรรยากาศการพูดคุยที่จริงจังแต่ผ่อนคลาย
  • พาคุยไปทีละประเด็น
  • ทำให้คนสนใจประเด็นเดียวกัน
  • คุมเวทีให้พูดทีละคน
  • ทำให้ได้วิธีการที่หลากหลายก่อนที่จะเลือกวิธีที่ดีที่สุด
    • สิ่งที่ต้องปรับปรุง
      • ยังไม่ได้สรุปข้อเสนอวิธีอื่นๆ
    • วิธีที่จะดึงข้อเสนออื่นๆ
      • ตั้งคำถาม เปิดพื้นที่ให้คนแสดงความคิดเห็นเพิ่ม
      • เปิดโอกาสให้คนที่มีอำนาจน้อย ได้แสดงความคิดเห็นก่อน
      • ให้คนได้ทบทวนโดยการเขียนหรือบันทึกส่วนตัวก่อน
      • แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนพูดคุยกันก่อนแล้วค่อยระดมความเห็นไปยังกลุ่มใหญ่
  • ทุกคนมีความเป็นเจ้าของเกมมากขึ้น ได้ลองเล่นตามวิธีของตัวเอง
  • เห็นโจทย์ เห็นเป้าหมาย บริบทร่วมกัน
  • ความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้กระบวนการทำงานเรียบง่ายขึ้น รู้จักดีขึ้นมากกว่ารอบเช้า
  • มีการเรียนรู้จากความผิดพลาดจากกิจกรรมเป็ด
  • มีการแบ่งบทบาทการทำงาน วางแผนการทำงาน

ในชีวิตจริง การสรุปบทเรียนจะได้ผล ในกรณี

  • คุยกันด้วยเหตุผล
  • มุ่งสำรวจปัญหา สาเหตุ ของข้อผิดพลาดมากกว่าเพ่งโทษคนทำงาน

"เมื่อมีคนมาสะท้อนตัวเรามักจะไม่ฟัง เพราะมีอีโก้(Ego) ปกป้องตัวเอง ไม่ยอมรับความเป็นจริง ว่าเราเป็นส่วนหนึ่ง องค์กรเป็นส่วนหนึ่ง"

  • รับฟังกันและกันมากขึ้น
  • การลองผิด ลองถูกทำให้เห็นข้อผิดพลาด เห็นวิธีการ แก้ปัญหาได้ตรงจุด
    • มีการปรับบทบาทคนทำงานในการแก้ปัญหาให้เหมาะสม
    • ทุกคนเห็นข้อผิดพลาดร่วมกัน
    • ลดการโต้แย้งทางความคิด
    • เห็นความชัดเจนของแต่ละวิธี
    • เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละวิธี และหาทางแก้ได้
    • ได้ความมั่นใจในการทำงาน เกิดความไว้วางใจของทีมทำงาน

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

  • มีการวางแผนที่ดี
  • เชื่อมการสื่อสารเป็นระบบ
    • เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ดี
    • มีการตักเตือนกัน สะท้อนกันอย่างสร้างสรรค์
  • มีความเชื่อมั่นในทีมงาน จะช่วยสนับสนุนเราได้

"ในชีวิตจริง เราไว้ใจกันและกันยากเพราะไม่เชื่อมั่นในความซื่อสัตย์ของเพื่อน ความไม่เอาเปรียบกัน"

  • มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดจาก มีเป้าหมายร่วมกัน
  • ในชีวิตจริง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน
    • การมีต้นแบบที่ดี
    • มีการให้กำลังใจกันและกัน
    • มีความสัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นพี่เป็นน้อง รู้จักกันอย่างลึกซึ้ง
    • มีความเป็นธรรมในองค์กร
    • ทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
    • มีโครงสร้างที่ยุติธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ
  • การมีเป้าหมายร่วมกัน
  • ในชีวิตจริงการมีเป้าหมายร่วมกันมีความสำคัญเพราะ
    • ทำอย่างไม่ลังเล
    • ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
    • รู้สึกร่วมกับสิ่งที่ทำ (เป็นเจ้าของ)
    • เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกัน

ปัจจัยการทำงานกลุ่ม

  • การวางแผนที่ดี
  • การสื่อสารที่สร้างสรรค์
  • การไม่เพ่งโทษคน
  • การเข้าใจและยอมรับความหลากหลายกันและกัน

­

­



วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘

­

เรียนรู้บุคลิกภาพของมนุษย์ผ่านทฤษฎีกงล้อ ๔ ทิศ

          บุคลิกภาพของคนเราแตกต่างกัน บางคนคิดเร็วทำงานเร็วมุ่งผลลัพธ์แต่ขาดความประณีต บางคนทำงานประณีตแต่ช้า บางคนมุ่งงานเกินไปไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ บางคนมุ่งความสัมพันธ์แต่ไม่ค่อยทำงาน หากเราเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนร่วมงานหรือคนใกล้ชิด ก็จะช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและดำเนินชีวิตได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

           Celtic เป็นชนเผ่าหนึ่งแถบสก็อตแลนด์ที่เรียนรู้บุคลิกภาพของมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของสัตว์ทั้ง ๔ ประเภท ปัจจัยที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราประกอบด้วย การเลี้ยงดู สถานภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อม อาชีพ รวมถึงการเรียนรู้และเติบโตภายใน

ทฤษฎีกงล้อสี่ทิศ(Celtic Wheel of Being)

­



กิจกรรม ทฤษฎีกงล้อสี่ทิศ

โจทย์ ๑    ให้ทุกคนเดินอ่านแผ่นป้ายกงล้อ ๔ ทิศ แล้วเลือกทิศที่ตรงกับเรามากที่สุด โดยขอให้ถอดวางบทบาท ตำแหน่ง หน้าที่การงานหรือสถานภาพ แล้วพิจารณาดูว่าเรามีลักษณะบุคลิกภาพเป็นอย่างไร

­


จุดแข็งและจุดอ่อนของทั้งสี่ทิศ


ทิศเหนือ ชาวกระทิง

จุดแข็ง / ลักษณะเด่น

          บุกตะลุย ลงมือทำไม่ลังเล ทำอะไรรวดเร็ว กล้าได้กล้าเสียเด็ดขาดกล้าตัดสินใจ ชอบท้าทายความสามารถ รักความยุติธรรม รักพวกพ้อง ชอบนำ ยืนยันสิทธิของตนและกลุ่ม กระตือรือร้น มุ่งมั่น รักอิสระ เปิดเผย ตรงไปตรงมา

จุดอ่อน/ สิ่งที่ควรปรับปรุง

          ใจร้อน ขาดความรอบคอบ หงุดหงิดง่าย ด่วนตัดสินคน อยู่นิ่งๆไม่ได้ ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ชอบแข่งขัน/เอาชนะ ถือตนเป็นใหญ่ โต้แย้งและปกป้องตนเองเมื่อถูกวิจารณ์ ชอบผลักดันให้มีการตัดสินใจก่อน


ทิศใต้ ชาวหนู­

จุดแข็ง / ลักษณะเด่น

          ใส่ใจความรู้สึกของคน ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นที่พึ่งพิง รับฟัง ให้กำลังใจ ซื่อ ไว้วางใจคน (บนพื้นฐานของความเปิดเผยจริงใจ) มองโลกในแง่ดี อ่อนโยนเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมในการทำงาน เป็นคนรักความสงบ เป็นผู้ประสานกลุ่ม เป็นนักไกล่เกลี่ยที่ดี รักสันติ ไม่ชอบความขัดแย้ง

จุดอ่อน/ สิ่งที่ควรปรับปรุง

          ขี้เกรงใจ เก็บกด เก็บความรู้สึก ไม่กล้าตัดสินใจ ลังเล เมื่อเก็บความรู้สึกๆมากๆมักจะระเบิดอารมณ์ ไม่มั่นใจในตนเอง วิตกกังวลไม่ยืนยันสิทธิ์ของตน ไม่กล้าปฏิเสธหรือขัดแย้งเมื่อมีความเห็นที่แตกต่าง ลำบากใจเมื่ออยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง อ่อนไหว ไว้ใจคนง่าย ไม่ชอบนำ

­


­ทิศตะวันออก ชาวเหยี่ยว

จุดแข็ง / ลักษณะเด่น

          มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ มองการณ์ไกล มีไหวพริบ (เน้นเป้าหมายในอนาคต) คิดเร็ว ชอบทดลอง ประดิษฐ์ คิดค้น ชอบของแปลกใหม่ มีโครงการใหม่ๆ ยืดหยุ่นสูง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่ยึดติด มองโลกในแง่ดี รักการเรียนรู้ แบบกว้างๆ

จุดอ่อน/ สิ่งที่ควรปรับปรุง

          เบื่อง่าย ทิ้งงานกลางคันโดยเฉพาะงานซ้ำๆ ปัญหาเดิมๆ สมาธิสั้น ใจจดจ่อเป็นพักๆ ไม่ชอบกิจกรรมเดียวแบบต่อเนื่อง ขาดความอดทน รอบคอบ ไม่ลงรายละเอียด สนุกกับการใช้ความคิด แต่ไม่ค่อยทำ ขาดความจริงจัง ไม่อยู่กับปัจจุบัน มักถูกดึงดูดใจจากสิ่งรอบข้างได้ง่าย เพื่อนๆ ตามความคิดไม่ค่อยทัน ไม่ชอบสถานการณ์ขัดแย้ง ทำอะไรซ้ำๆ


ทิศตะวันตก ชาวหมี

จุดแข็ง / ลักษณะเด่น

          วิเคราะห์ ประเมินวางแผน อย่างรัดกุม ใฝ่รู้ เก็บข้อมูล สุขุมรอบคอบ ลงรายละเอียด มีหลักการ ขั้นตอน เป็นรูปธรรม นักวิเคราะห์ ยึดหลักเหตุ–ผล ความเหมาะสม ตัดสินผิดถูกตามหลักการ รักษากติกา คำพูด เอาจริงเอาจัง รับผิดชอบสูง อดทนต่ออุปสรรค ทำอะไรอย่างต่อเนื่องและลงลึก เปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีเหตุผลที่ดี มีโลกส่วนตัว

จุดอ่อน/ สิ่งที่ควรปรับปรุง

          เชื่อมั่นเหตุผลความรู้ตัวเอง ดื้อ เอาแต่เหตุผลของตัวเอง เชื่อหรือยอมรับคนอื่นยากไม่ยืดหยุ่น คุยด้วยยาก ปรับตัวยาก ยึดติดในหลักการสูง คิดในกรอบ คาดหวังสูง เครียด กังวลในความผิดพลาด ไม่ไว้ใจคนอื่น ตัดสินใจช้า เย็นชา มองข้ามเรื่องความรู้สึก เก็บตัวไม่ยุ่งกับใคร คาดหวังสูง กลัวความผิดพลาด

­

­



โจทย์ ๒

     ๑) เมื่อเลือกทิศที่ใกล้เคียงกับตัวเรามากที่สุดแล้ว ให้บอกจุดแข็งและจุดอ่อนในทิศของตัวเองอย่างละ ๒ ข้อ พร้อมยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันประกอบ

     ๒) แบ่งปันเรื่องราวที่บอกถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเราให้กับเพื่อนในกลุ่มฟัง

­

­


ชาวกระทิง

จุดเด่น

๑. รักความยุติธรรม ไม่ชอบถูกเอารัดเอาเปรียบ

  • ชนกับทุกอย่าง

ลักษณะที่แสดงออก

  • ตัวสั่น
  • โกรธ
  • แสดงสีหน้า/ท่าทางไม่พอใจ

เหตุที่เป็นเช่นนั้น

ประสบการณ์วัยเด็ก

  • เกิดจากการสะสมตั้งแต่เด็ก ถูกบังคับ เห็นความไม่ยุติธรรมตั้งแต่เด็ก
  • มีความเป็นเจ้าของสิ่งนั้นหรือการทำงานแล้วถูกละเมิด
  • ถูกปลูกฝังความยุติธรรมตั้งแต่เด็ก
  • คาดหวังสูงกับสิ่งที่ทุ่มเทไป
  • รู้สึกเป็นเจ้าของสิ่งที่ทุ่มเท มีความรู้สึกหวงแหนสิ่งในสิ่งนั้น

ผลกระทบ

  • พุ่งเข้าจัดการปัญหา ไม่ฟังเหตุผลรอบข้าง ทำให้เกิดการแตกหัก มองอีกฝ่ายเป็นปรปักษ์มากกว่าการทำความเข้าใจ จนมองไม่เห็นทางออกที่สร้างสรรค์
    • หยุดคิดประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา
    • มีกา
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ