กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ค่ายพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้จริง โครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่"

ค่ายพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้จริง

ระหว่างวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2557

ณ  บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  สวทช.  จังหวัดปทุมธานี



          ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ดำเนินโครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" เพื่อพัฒนากลไกการจัดการโครงการพัฒนาเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการต่อยอดผลงานของเยาวชนให้สามารถพัฒนาต่อไปสู่ผู้ใช้งาน มีเยาวชนต้องการต่อยอดผลงานและสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 67 โครงการ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายมีทั้งสิ้น 13 โครงการ ดังนี้

­

          1. Mommon Dash เกมส์แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน แนว Endless Run

          2. นายซอมบี้กับเคมีที่รัก (Zombio) โปรแกรมสื่อการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุล มีเนื้อหาบทเรียน แบบทดสอบ และห้องแลปจำลอง

          3. Scan To Buy (ซื้อง่ายด้วยคิวอาร์) แอพพลิเคชั่นซื้อขายสินค้าที่ช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้ผู้ไที่ไม่มีเวลาว่าง

          4. Cooking Family เกมทำอาหารไทย สามารถเล่นบน PC ใช้คู่กับอุปกรณ์ Leap Motion และบน Tablet, SmartPhone

          5. Military Assistance Robot (MAR) สิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์บังคับสำรวจภาคพื้นดิน

          6. Quick Dyeing นวัตกรรมเครื่องย้อมเส้นไหมด้วยหลักการของเซลล์ไฟฟ้าเคมี

          7. Easy phone for blind แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้เหมือนคนทั่วไป

          8. Personal Health Assistant แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เพื่อการบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ และการแปลผล

          9. Jack find the treasure สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรูปแบบเกม เพื่อความสนุกสนานในการเรียนรู้

        10. Monster Land เกมแนว Casual ผสม ARPG โดยใช้ Virtual Pad ควบคุม บนสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Android

        11. ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ BRIGHT! ระบบควบคุมไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์

        12. BadGreen เกมผจญภัยปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนว RPG ผสมแนว Puzzle

        13. Beamify ซอร์ฟแวร์บนสมาร์ทโฟนเพื่อสร้างสัญญาณเครือข่ายส่วนตัว ใช้ติดต่อสื่อสาร ส่งไฟล์ โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ WiFi หรือ Internet


วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้จริง ครั้งนี้ เพื่อเติมศักยภาพการทำงานต่อยอดผลงาน โดยการเปิดคลินิกให้คำปรึกษาด้านการวางแผนทางธุรกิจสำหรับผู้เริ่มต้นกับโครงการด้านไอที (First Business Model)   คลินิกด้านการวางแผนทางธุรกิจสำหรับผู้เริ่มต้นกับโครงการด้านไอที (First Business Model)  และคลินิกด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับโครงการไอที (IT Developer) ช่วยให้เยาวชนวางแผนการต่อยอดผลงานให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดการใช้งานจริง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เปิดคลินิกให้คำปรึกษา

ด้านการบริหารจัดการโครงการ (Project Management)

ด้านการวางแผนทางธุรกิจสำหรับผู้เริ่มต้นกับโครงการด้านไอที (First Business Model) และด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับโครงการไอที (IT Developer)

โครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่"

ค่ายพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้จริง

ระหว่างวันที่ 8 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ณ ห้องประชุม Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิริธร  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

          เยาวชนเข้ารับคำปรึกษา คำแนะนำ และการโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน หลังจากนั้นจึงคำแนะนำที่ได้ไปปรับปรุงกับโครงการ นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง โดยโครงการทั้ง 13 โครงการได้รับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้


1. โครงการ : Media Beamer

  • แอพฯของเราเป็นกลุ่มไหน ถ้าเป็นกลุ่มที่ Userneed เราก็ต้องไปหา User ที่เขา need ไปหาให้เจอ
  • ถ้าจ่ายในราคา 199 บาท ในห้องนี้เขาจะซื้อหรือไม่
  • หัวใจหลักของแอพฯนี้คือการถ่ายโอนข้อมูลหากัน และเป็น Real Time Communication ตอนนี้ยังเป็น One to One ซึ่งไม่แตกต่างจากแอปพลิเคชั่นการถ่ายโอนข้อมูลมือถือในท้องตลาด
  • ได้ทดสอบหรือไม่ว่าไกลแค่ไหน
  • ลองศึกษาเทรนนี้เขาจะทำใน Android ในอนาคตหรือไม่
  • ถ้ามองในด้าน Business Model การเอาไปขายให้ User โดยตรงอาจจะลำบาก บางทีไม่ต้องคิดถึงว่าคนใช้เป็นคนจ่าย อาจะมีคนอื่นเป็น sponsor แล้วจ่ายให้ก็ได้
  • ยกตัวอย่าง ในห้างสรรพสินค้า เจ้าของห้างอาจจะเป็นคนจ่ายเงินให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ไปซื้อสินค้า เขาอยากให้ข้อมูลหรือส่งไฟล์บางอย่างให้ลูกค้า หรือโฆษณา
  • เวลานำเสนอ 4P ให้เริ่มต้นที่ Product ก่อน คนต้องรู้ก่อนว่าสินค้าเราคืออะไร
  • แอปพลิเคชั่น จะมีประโยชน์เมื่อตอนไม่มี network เมื่อไรบ้าง เช่น เกิดภัยพิบัติ หรือช่วงที่คนเยอะๆ อย่างรับปริญญา แต่ว่าจะลงทุน 199 บาท เพื่อใช้ในงานรับปริญญาพี่ก็ไม่ซื้อ ทางที่ดีให้มันมีอยู่ไว้ในเครื่องแล้ว เช่น ขายให้บริษัทมือถือ



2. โครงการ : Monmon Dash

  • เมื่อเราสโคป คิดว่าใครคือกลุ่มคนที่จะเล่น จำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหนบ้าง จะทำให้เราโฟกัสได้ง่าย ทำแผนโปรโมทได้ถูก
  • นอกจากแบ่งตามระดับชั้นแล้ว ยังแบ่งเป็นเด็กสายวิทย์ สายศิลป์ เด็กเที่ยว เด็กเรียน ฯลฯ
  • จะทำโมเดลโฆษณา แล้วรู้หรือไม่โฆษณาเขาลงอย่างไร ถ้าจำนวนไม่มากพอเขาอาจจะไม่ยอมลงโฆษณา
  • โปรดักช์โฆษณาตรงกับกลุ่มเป้าหมายเกมส์เราหรือไม่
  • บางคนก็ทำเกมส์เพื่อแค่ให้คนรู้จักแบรนด์ของเขา
  • ต้องทำ Marketing เยอะ เพราะ User เราเยอะ คือต้องการให้คนรู้จักเยอะ


3. โครงการ : Monster Land

  • เห็นพัฒนาการจากครั้งที่แล้ว
  • ส่วนที่อยากจะให้เพิ่มเติม อันนี้มันเป็นเฟสแรก อุปสรรคมันใหญ่มาก ถ้าเราแก้ไขไม่ได้เราจะไม่สามารถดำเนินการได้เลย
  • ตัวเลขที่ออกมา อยากให้เห็นต้นทุนที่แท้จริง
  • หลังจากวิเคราะห์ SWOT แล้ว เราอาจจะ Overcome เสริมการแก้ปัญหานี้อย่างไร
  • เรื่องเลขเวอร์ชั่น การจะเอาโปรดักช์ปล่อยไปที่ตลาดเป็นที่รู้จัก ครั้งแรกเราต้องสร้างความมั่นใจ เวอร์ชั่นแรกเห็นยังเป็น 0.1 (เหมือนยังไม่พร้อม) คนใช้จะคิดว่าตัวเองเป็นหนูทดลองหรือไม่
  • เวอร์ชั่นแรกมันเหมือนต้องซื้อใจคนระดับหนึ่ง ให้ทดสอบจนมั่นใจว่าคนชอบค่อยปล่อยไปลงตลาด
  • หลังจากวิเคราะห์อุปสรรค ทำให้น้องปรับโครงการน้องลงหลายอัน
  • หลายงานที่ดึง outsource มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ให้โฟกัสกับงานที่เราควบคุมได้ ไม่ได้เป็นก้อนใหญ่ของงานเรา


4. โครงการ : บุญอิ่มริมรั้ว

  • ชอบคาแรคเตอร์การ์ตูน มีความโดดเด่น เป็น International
  • อย่ายึดติดกับเทคโนโลยีมากเกินไป สำรวจว่าลูกค้าหรือผู้ใช้นิยมอะไรมากกว่า
  • ทำให้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย easy access
  • สามารถต่อยอด Content อาจจะดึงข้อมูลที่เป็น World Class อาจจะเป็นสูตรของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
  • ชื่อเกมยังไม่สื่อความหมายน่าสนใจ
  • ให้ลองเข้าไปดู Business model ของ top 10 แนว cooking games
  • ให้มองว่าจริง ๆ แล้วคนที่เล่นเกมส์แนวนี้เขาเล่นเพราะสนใจในเนื้อหาหรือเล่นเพื่อแก้เบื่อ
  • เห็นพัฒนาการของน้องพี่รู้สึกว่าพี่อยากจะเล่น
  • เรื่อง leave motion เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน


5. โครงการ : Jack find the Treasure

  • เป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ขายได้และเป็นที่ต้องการของตลาด
  • กลุ่มเป้าหมายคือผู้ปกครอง ถ้าทำให้เขาเห็นคุณค่าด้านพัฒนาการภาษาอังกฤษของลูก
  • เรื่องคำศัพท์ ไม่ต้องหาเอง ลองขอความช่วยเหลือที่กลุ่มสาระภาษาอังกฤษของโรงเรียน
  • กิจกรรมตอนเช้าของเด็กคือนั่งติวในรถ แล้วเรามีแอปพลิเคชั่นตัวนี้ในโทรศัพท์แล้ว มันเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกัน เด็กก็สนุก ผู้ปกครองก็จะไม่เบื่อ
  • ให้เครดิตโรงเรียน เช่น ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน ลองไปคุยกับอาจารย์
  • แอปพลิเคชั่นอาจจะให้โหลดฟรี แต่เราขายแพคเกจเนื้อหา แต่ละหมวด แต่ละเรื่อง


6. โครงการ : Bad Green (Scavenger Hero)

  • กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเท่าไร แล้วในนี้มีผู้ใช้ iOS เท่าไร แล้วมีคนสนใจเล่นเกมเท่าไร
  • ต้องนิยามยอดดาวน์โหลด แค่ไหนจึงจะเรียกว่าสูง
  • คนไม่ซื้อเกมส์ด้วยการเป็นประเทศใดประเทศหนึ่ง
  • ออกแบบ story game ให้ดี ถ้าช่วงดีไซน์ช้าจะทำให้ process ข้างหลังช้าไปด้วย
  • ควรมีกิจกรรมในเกมทุกวัน ให้คนเข้ามาต้องล่นเกมเรื่อยๆ
  • นึกถึงเรื่องการซื้อ ขาย จ่ายเงิน


7. โครงการ : Scan to Buy

  • เขาจะรู้จักเว็บไซต์ของกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร
  • ต้องยอมรับว่ามันมี potential แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด
  • ความยากมันไม่ใช่เรื่องแอปพลิเคชั่น มันเรื่องของหลังบ้านที่ต้องจัดการอีกเยอะ
  • ความสำเร็จไม่ใช่คนใช้แอปพลิเคชั่นอย่างเดียว ต้องมีศักยภาพของร้านค้าด้วย
  • ตั้งเป้าหมายให้ดี เวลาที่เหลือจะทำอะไรบ้าง
  • อาจจะขายร้านค้าเป็นแพคเกจ
  • หาจุดเด่นที่แตกต่างจากเจ้าอื่น


8. โครงการ : Personal Health Assistant

  • เป็นโปรเจคที่ดี ความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้สูง
  • ถ้าเอาไปขายให้ผู้บริโภคโดยตรงเลย เขาอาจจะไม่ใส่ใจ ขายให้โรงพยาบาลไปเลย
  • ในส่วนของโรงพยาบาล อะไรที่เกี่ยวข้องในเรื่องสุขภาพพวกนี้บ้าง
  • อีกพาร์ทหนึ่งที่สามารถเป็นไปได้ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่เขาเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพคนก่อนป่วย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษา ค่ายา แล้วก็จะมีในส่วนของผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ คิดว่าทาง สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เองน่าจะมีโครงการที่มาสนับสนุนด้านนี้อยู่
  • Health Application แบบนี้ ให้ลองคิดถึงมุมของโรงพยาบาลดวยว่าเขาอยากได้อะไรให้ลูกค้าของเขา คือคนป่วย ไปใช้บริการเขาบ่อยๆเยอะๆ ให้เขามีรายได้มากขึ้น
  • โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐ ศึกษาว่าเขาอยากได้อะไร โรงพยาบาลทั้งสองอย่างนี้ความต้องการไม่เหมือนกัน
  • ให้หา reference ที่น่าเชื่อถือ


9. โครงการ : Magic class room

  • ลูกค้าลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเ ถ้าเป็นมุมธุรกิจมันคุ้มค่าที่เขาต้องซื้อหรือไม่
  • ทำข้อมูลให้ลูกค้าเห็นว่าเมื่อเขาลงทุนไป มันจะช่วยให้เขาประหยัดได้และคืนทุนได้เมื่อไหร่
  • ตอนลงไปทดลองจริง ลองหา Requirement ว่ามีอะไรบ้าง ลองหาในมุมที่เราไม่มี
  • การใช้กล้องมือถือ มองไม่ออกว่าเอาไปติดตั้งอย่างไร มือถือมันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อถ่ายภาพ อายุการใช้งานจะคุ้มค่าหรือไม่

10. โครงการ : เครื่องย้อมเส้นไหมด้วยเซล์ไฟฟ้าเคมี

  • ให้ concern เวลาไปคุยกับลูกค้า เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากใช้คำว่า “ดีกว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน” ชาวบ้านอาจไม่พอใจ เพราะเป็นสิ่งที่เขาภาคภูมิใจ
  • บอกให้เห็นคุณค่าว่าอำนวยความสะดวกให้เขาอย่างไร
  • ฝากการบ้านเรื่องการตั้งราคาขาย อาจรวมถึงมูลค่ารวมของตลาด
  • การประชาสัมพันธ์อาจะไม่ใช่แค่ปากต่อปาก อาจะเป็นการเทรนนิ่งไปกับศูนย์ฝึกอาชีพ
  • ประชาสัมสัมพันธ์ใช้วิธีการ Educate เพราะเป็นเรื่องใหม่ แล้วใส่โปรโมชั่นเช่น ลดครึ่งราคา
  • ฝากเนคเทคเรื่องกระบวนการจดสิทธิบัตรให้น้องด้วย



11. โครงการ : Easy Phone for Blind

  • แอปพลิเคชั่นต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหน้าจออื่นๆหรือไม่
  • การเข้าโหมดแอพทำอย่างไร
  • ผู้พิการทางสายตามีหลายประเภท เช่น พิการตั้งแต่กำเนิด พิการทีหลัง จะมีผลแตกต่างกันหรือไม่
  • ธุรกิจที่ทำกับคนด้อยโอกาส End User ไม่ได้ซื้อเอง น่าจะขายไปกับองค์กรที่สนับสนุนหรือไม่
  • เรื่องรายได้อาจจะไม่เน้น อาจจะเน้นไปทางผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์
  • อาจจะนำไปสู่การแข่งขัน ของ อ.วันทนีย์ ได้


12. โครงการ : Zombio นายซอมบี้กับเคมีที่รัก

  • เห็นพัฒนาขึ้นเยอะ เริ่มมีข้อมูลมาสนับสนุนมากขึ้น
  • โรงเรียนที่เปิดสอน ม.ปลาย กลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นผู้บริหาร
  • มันจะเป็นประโยชน์มากกับโรงเรียนที่ไม่มีแลป
  • พรีเซ้นต์ดีมาก รูปสวย กราฟฟิคดี ดูสบายตา
  • ห่วงเรื่อง Content ที่ใส่ไปในแอปพลิเคชั่น อยากให้ใช้เวลาที่ทำอย่างไรให้ดูน่าสนใจและเพียงพอ
  • ให้ไปดูเรื่อง License และบริการหลังการขาย



13. โครงการ : Airboat

  • Presentation ไม่ค่อยสวย แต่เนื้อหาเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ทำได้ดีมาก
  • น้องได้ทำการวิเคราะห์แล้ว รู้ว่าปัญหาคืออะไร เห็นจุดเด่น จุดด้อยของตนเองอย่างชัดเจน และก็มี solution มีแผนการดำเนินงานที่จะแก้ไขจุดต่างๆเหล่านั้น
  • หนึ่งในปัญหาคือ จำนวนผู้ใช้งานน้อย ดังนั้นอาจจะต้องสร้าง Demand ให้มันเกิดขึ้น หรือนอกจากในมุมของแท่นขุดเจาะน้ำมัน ยังมีอุตสาหกรรมไหนที่น่าจะใช้ได้บ้าง
  • เรื่องตั้งราคา เป็นไปได้ไหมที่ทำเป็น module ใส่ option เพิ่มเข้าไป ซึ่งราคาก็เพิ่มไปตามสเต็ป concept การตั้งราคามันไม่จำเป็นที่จะต้องเอาแค่ต้นทุนมาคำน วณกับจำนวนผู้ใช้ แต่มันมีมูลค่าทางการตลาด มูลค่าทางอุตสาหกรรม เช่น ประหยัดงบประมาณ ประหยัดเวลา ช่วยเรื่องความปลอดภัย
  • เป็นห่วงเรื่องทำไม่เสร็จ อยากให้ทดลองในสถานการณ์ต่างๆ เช่น วิ่งบนน้ำ วิ่งบนบก วิ่งบนพายุ ฯลฯ เมื่อลูกค้าถาม จะได้ตอบได้ว่าผลงานเราผ่านการทดสอบแล้ว




ข้อเสนอแนะภาพรวมจากวิทยากร

คุณชาญชัย จันฤาชัย  “จากที่ดูกลุ่ม software ยังมองไม่ขาดถึงตลาดของตัวเอง บางคนมองว่ายอด Download ได้แน่ๆ ซึ่งจริงๆแล้ว แอพฯเราเป็นแค่หนึ่งในหลายแสนแอพฯจะมั่นใจได้อย่างไรว่ายอด Download มันจะสูงแน่ๆ จะทำอย่างไรที่จะสร้างความแตกต่างจากแอพฯในตลาดให้คนมา Download เยอะพอที่จะเป็น Top Application เพื่อให้คนอื่นๆ มา Download ต่อได้อีก เพราะที่เห็นหลายตัวยังมี feature ซ้ำกับเดิมๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งถ้าแอพฯเราอยู่หลังตลาดเมื่อหลายเดือนที่แล้วและจะอยู่ได้ไม่นาน ณ ปัจจุบันเราควรที่จะคิดทำ feature ที่คนอื่นเขาคาดไม่ถึง”

­


คุณศุภโชค ศันติวิชยะ   “เห็นพัฒนาการที่ดีและรู้สึกชื่นชม ส่วนใหญ่ก็ทำได้ดี เท่าที่สังเกตงบประมาณเราจะหมดไปกับค่า License เป็นส่วนใหญ่ อยากให้ลองดู Software open source ตัวอื่นที่สามารถทดแทน Software ที่ต้องเสียค่า License จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้”

­


คุณศรินทร์ วัชรบุศราคำ  “ตั้งแต่วันแรกที่เจอกันที่หาดตะวันรอน หลายคนยังไม่รู้จัก Project Management จึงค่อยๆสอน ไม่อัดเนื้อหาแน่นมาก เพื่อที่จะชวนน้องได้ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำ ไอเดียที่น้องมีค่อยๆ ตกผลึก อย่างที่เห็นเมื่อวาน มันช่วยให้น้องตัดงาน (ที่ไม่จำเป็นต้องทำ)ได้ออกไปอีกหลายงาน การทำ SWOT ช่วยให้น้องเห็นตัวน้องเอง และทุกกลุ่มจะเห็นเหมือนกัน คือเวลาไม่ทัน และน้องจะยอมรับด้วยตัวน้องเองว่ามันทำไม่ได้ พอน้องยอมรับ น้องก็เริ่มเปลี่ยน ค่อยๆแก้ปัญหา หันมาโฟกัสกับงานหลักจริงๆ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่น้องได้มาทำแบบนี้ เดี๋ยวพอได้ประสบการณ์ทุกอย่างมันจะง่ายขึ้น จะมองออกหลายอย่าง ทั้งชีวิตตัวเองด้วย ทั้งงานด้วย น้องก็จะเริ่มแบ่งเวลาได้ เริ่มจัดสรรงานได้ เริ่มแตกงานเป็น ที่สอนเรื่องเงินก็เพื่อที่น้องจะตอบกรรมการได้ หรือคนไหนที่เรียนจบแล้วจะไปตั้งบริษัทซอร์ฟแวร์ก็จะได้เห็นค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ ซึ่งไม่ใช่น้อยและต้องคิดอย่างรอบคอบ และเรื่องการสร้างภาพของผลิตภัณฑ์ก็ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ค่อยๆปรับ เพื่อสร้างภาพจำให้กับผลิตภัณฑ์ เรายังพอมีเวลาก็ค่อยๆทำไปค่ะ”



คุณชัชวาล สังคีตตระกาล “โดยภาพรวมจากครั้งนี้เมื่อเทียบจากครั้งที่แล้ว น่าปลื้มใจ น้องมีพัฒนาการดีมาก ครั้งนี้มีหลายผลงานที่พี่เองก็อยากจะได้ จากคราวที่แล้วที่ไม่รู้เลยว่าทำไมต้องทำผลงานนนี้ขึ้นมา ความคิดของน้องมันเริ่มตกผลึก แล้วเมื่ออยากนำไปต่อยอดมันก็จะเริ่มง่ายขึ้น วันนี้ก็คงเริ่มเห็นทางไปต่อบ้างแล้ว ซึ่งมันอาจจะไม่ได้จบจากตรงนี้ที่เดียว ยังไปต่อในที่อื่นได้อีก หลายๆกลุ่มมีศักยภาพพอ หลายคนประสบปัญหาไม่รู้ว่าจะขายให้ใคร ปัญหามันมีตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว ว่าเราจะทำผลงานเพื่อแก้ปัญหาอะไร ให้คนกลุ่มใด เราก็จะรู้ว่าเราต้องขายให้ใคร แต่ถ้าเกิดขึ้นเพราะแค่อยากจะทำ มันก็จะมีปัญหาตามว่าทำไปให้ใครใช้ ดังนั้นในการเริ่มต้นตั้งแต่แรกไปมองหาปัญหาก่อนว่าในชีวิตประจำวัน อาจจะโฟกัสไปที่คนสักกลุ่มหนึ่งว่าเขามีปัญหาอะไร และเริ่มทำสิ่งที่เป็นปัญหา จากนั้นก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครใช่ตราบใดที่ปัญหามันยังคงอยู่ เพราะว่าคนที่เขาจะมาซื้อของกับเรา เขาไม่ได้มองว่าเราทำอะไร แต่เขามองว่าทำไมถึงโปรแกรมนี้ ถ้ามันเป็นสิ่งที่เขาต้องการมันก็ไม่ยากถ้าทำให้เขาซื้อ เรื่องการตั้งราคาจริงๆเราไม่ได้มองจากมูลค่าของต้นทุน แต่เรามองจากคุณค่าของสิ่งนั้น หากของนั้นไม่มีคุณค่าแม้ว่าขายถูกก็ไม่มีคนซื้อ เพราะฉะนั้นเราจะต้องสื่อสารให้คนเห็นคุณค่าของสินค้าของเรา แม้ว่าเราจะทำสินค้าได้ดีแค่ไหน ใช้เทคโนโลยีสูงยังไง ถ้าเราสื่อสารไปไม่ดีก็ไม่มีคนซื้อ สุดท้ายที่ห่วง คือเรื่องเวลา ดังนั้นโฟกัสให้ดีว่าช่วงเวลาที่เหลือจะทำอะไรบ้าง ไม่อย่างนั้นจะทำไม่เสร็จ ฝากน้องๆไว้ด้วยครับ”



คุณปฤษฎา หิรัญบูรณะ  “เห็นน้องๆมีพัฒนาการในระยะสั้นได้ดีมาก ขอให้น้องๆประสบความสำเร็จ ในการที่จะทำอะไรมันบางทีมันอาจจะไม่ต้องมีเหตุผล สัมผัสมันให้ได้ ต้องรู้สึกถึงมันได้ แต่การดำเนินการบางครั้ง บางทีเหตุผลก็ไมใช่เรื่องสำคัญลองอารมณ์ดูบ้าง แต่ต้อง Balance มันให้ดี ให้ถูกต้อง ไม่ใช่ใช้อารมณ์เพียงอย่างเดียว น้องทุกคนมีความฝัน ทำความฝันด้วยใจของน้อง โชคดีครับ”



คุณณัฐพล นุตคำแหง  
“ตั้งแต่แรกได้ดูโครงการน้องหลายที บอกตามตรงไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่ว่าก็ผิดคาด ได้เห็นพัฒนาการของน้องๆ ที่อยากจะฝากถึงเรื่องกระบวนการที่ทางเนคเทคและทีมงานได้ช่วยกันจัดเตรียมมา พบว่าได้ผลในระดับหนึ่ง ทุกๆคนพยายามช่วยน้องๆเต็มที หลังนี้เหลือตัวเราเอง ที่น้องๆต้องไปดำเนินงานต่อเอง เรื่องอื่นๆทุกท่านได้พูดไปหมดแล้ว จึงอยากจะฝากไว้อีกเรื่องเดียวคือใน slide ที่พูดเมื่อวานว่า ความล้มเหลว คือ gateway to success เราวางแผนอะไรไว้ อย่าไปกลัวที่มันจะล้มเหลว ในภาคธุรกิจให้คำนึงถึงสองเรื่องคือ เรื่องแรก Product และสองคือตัวคุณ เพราะฉะนั้นตอนนี้ product มันเริ่มโอเค มันปรับแต่งได้ สุดท้ายมันขึ้นอยู่กับตัวเรานี่แหละว่าเราจะมุ่งมั่นกับมันซักแค่ไหน ขออวยพรให้ประสบความสำเร็จนะครับ"

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ