กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Thailand Scenario by New Gen
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

  

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีหลายปัจจัยที่เอื้ออำนวยและส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง  อีกทั้งบทบาทของผู้ที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่ใช่ใคร หากแต่เป้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบประเทศ ส่วนผู้ที่รับผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็คงไม่ใช่ใครอื่นเช่นกัน หากแต่เป็นเยาวชนที่กำลังเติบโดอยู่ในปัจจุบัน


         ด้วยเหตุนี้จึงมีกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อบทบาทของตนเองในการขับเคลื่อนประเทศ โดยริเริ่มที่อยากจะชวนเครือข่ายเยาวชนที่เป็นแกนนำและมีบทบาทสำคัญในสังคม รวมทั้งมีความคิดดีๆ ต่อสังคม ให้หันมาเห็นภาพของอนาคตร่วมกัน จึงเกิดกิจกรรม  "Thailand Scenario by New Gen" ขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลุ่มย่อยที่จะมาชวนกันคุยและร่วมสร้างภาพอนาคตของประเทศไทย โดยมีเยาวชนคนรุ่นใหม่จากหลากหลายวงการ หลากหลายความคิด ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนที่มาจากงานด้านวิชาการ ด้านงานชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จริง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสารมวลชน ด้านกิจการเพื่อสังคม ด้านการเกษตร หรือ แม้แต่เยาวชนที่เกี่ยวข้องกับงานของภาครัฐบาล ฯลฯ ให้มาทำความรู้จักกัน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิด และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและจับมือกันในลักษณะของเครือข่ายเยาวชนที่จะขับเคลื่อนประเทศพร้อมๆ กันต่อไป




วัตถุประสงค์


1. เพื่อให้เยาวชนสร้างภาพของอนาคตที่มีความเป็นไปได้ร่วมกัน

2. เพื่อทำความรู้จักและเชื่อมโยงกลุ่มเยาวชนแกนนำให้เกิดขึ้นในลักษณะเครือข่าย


ผลที่คาดว่าจะได้รับ


1. เกิดภาพอนาคตร่วมกันจากกลุ่มเยาวชน

2. เกิดความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมครั้งต่อๆ ไป ในลักษณะ

ของเครือข่าย


ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม


22 มิถุนายน 2556

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน



กิจกรรม  "Thailand Scenario by New Gen"  


22 มิถุนายน 2556 ณ ห้องประชุม  Boardroom 3  Zone C ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์




ผู้เข้าร่วมเวที 


ลำดับ รายชื่อ ประเภท องค์กร/ หน่วยงาน/บริษัท

1 คุณกรนัท สุรพัฒน์ (เจ) SE/ Social org Co-Founder/Owner at Beyond Journey and Freelance facilitator at Freespirit,  AISEC
2 คุณวรวัส สบายใจ  (ป้อมปืน) Youth & Education/  (กลุ่มบ้านเรียน)
3 คุณปิยรัฐ จงเทพ(โตโต้) Youth & Education กลุ่มเยาวชนปฏิรูปการรับน้องประชุมเชียร์แห่งประเทศไทย (Anti-sotus)
4 คุณอาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ (ฉ๊ะ) Community & Agriculture/  (คนไทยพลัดถิ่น) เครือข่ายแก้ปัญหาสัญชาติคนไทย
5 คุณแบ๊งค์ งามอรุณโชติ Academic มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ธนบุรี)
6 คุณอัครกิตติ์ กีรติธนาไชยยศ (โอ๊ต) Government/ Quasi-Government สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
7 คุณอธิป วิชชุชัยอนันต์ (ต้น)  Media & IT(MD/Producer) บ.กระต่ายตื่นตัว จำกัด
8 คุณพีรพัฒน์ นันนานารัตน์ (ฮง) Media & IT (MD) IT เมฆา (CGbangkok Design)
9 คุณวาคิม เนียนทับทิม (ซัน) Media & IT  noominak(นักวิจารณ์หนัง)
10 คุณอนุกูล ศรีโกตะเพชร (แอคชั่น) SE/ Social org Volunteer Spirit
11 คุณวีระ นากระโทก (โอม) SE/ Social org ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บ.นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด)
12 คุณพีรพร ชุติสุนทรากุล(นวล) NGOs Change Fusion
13 คุณปราบ เลาหะโรจนพันธ์(ปราบ) SE/ Social org องค์กร New culture
14 คุณสกลฤทธ์ จันทร์พุ่ม(เก่ง) Social org มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
15 คุณปรีห์กมล  จันทรนิจกร (กิ๊ฟ) - -











ความคิดเห็นจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้




สถานการณ์ของประเทศไทยในสายตาคนรุ่นใหม่



1.  ความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมยังไม่ได้มีการแยกแยะหรือพิสูจน์ให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับเป็นการบอกต่อและการสร้างให้เกิดความเข้าใจด้วยการผลิตซ้ำ ผู้คนเหมือนถูกปิดตาไม่ได้รับรู้ในสิ่งที่เป็นจริง ถูกบิดเบือนข้อมูลจากผู้ที่มีอำนาจมากกว่า ความเหลื่อมล้ำของคนในระบบโครงสร้างของสังคมยังมีอยู่ชัดเจน


2.  ข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์ขัดต่อความเป็นอิสระของประชาชน


3.  สังคมถูกผูกขาดการกระทำกิจกรรมต่างๆ จากภาครัฐ ทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่กำลังจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงประเทศ



4.  สถานการณ์บางอย่างของประเทศเดินมาถึงจุดจบ แต่คนไม่ยอมรับและไม่ปรับเปลี่ยน  พยายามแสดงบทบาทหน้าที่เดิมของตนเองต่อไป


5.  ผู้คนพยายามกล่าวโทษผู้ที่มีอำนาจว่าเป็นผู้ที่กระทำผิด ซึ่งในความเป็นจริงประชาชนทั่วไปอาจเป็นส่วนที่ผลักดันหรือมีส่วนร่วมต่อการกระทำผิดเหล่านั้นก็เป็นได้ สิ่งที่สำคัญคือการย้อนกลับมาดูและพิจารณาที่ตนเอง


6.  การเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้คนสามารถลุกขึ้นมาเรียกร้องหรือต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียหากเกิดความเข้าใจผิดหรือได้รับข้อมูลที่มากเกินไปและเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง








แรงขับ (Driving force) ของภาพสังคมไทยที่เห็นในอดีตและปัจจุบัน จากสายตาคนรุ่นใหม่



 หลังจากที่ได้มีการลงกลุ่มเพื่อทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อภาพในอดีตที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อภาพปัจจุบัน กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ช่วยกันค้นหาแรงขับ (Driving force) ได้ 6 ประเด็น ดังนี้




1.  การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร  ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงคนด้วยเรื่องของใจเปลี่ยนไปในรูปแบบของการให้ผลประโยชน์ เกิดการให้คุณค่าของวัตถุมากกว่า ส่งผลต่อรูปแบบของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจากความเรียบง่ายกลายเป็นความซับซ้อน


2.  การพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย


3.  เทคโนโลยีในเรื่องของการสื่อสารสร้างผลกระทบต่อสังคม ในลักษณะของการบิดเบือนและการสร้างความเข้าใจผิด สิ่งที่สำคัญคือการขาดตัวกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและเกิดความยืดหยุ่นของผู้ที่รู้ และ ผู้ที่ไม่รู้


4.  การขาดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ขาดความร่วมมือกัน ในระบบโครงสร้าง มีการแบ่งแยกของกลุ่มคนอย่างชัดเจน ทั้งๆ ที่รู้ว่าแต่ละกลุ่มมีความขัดแย้ง แต่ในขณะเดียวกันความแตกต่างของแต่ละกลุ่มกลับมีบทบาทที่ส่งเสริมให้เกิดเป้าหมายเดียวกันได้


5.  ความไม่เท่าเทียมกันของสังคมอันเนื่องมาจากโครงสร้างของประชากร การเข้าถึงทรัพยากรและสิทธิต่างๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ยังมีคนออกมาเรียกร้อง ชุมนุม ประท้วง ฯลฯ ต่อเรื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นวาคนที่เป็นคนกดทับกันเองไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน





6.  การศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ เป็นการผลิตซ้ำ สร้างให้คนเกิดความเชื่อในสิ่งที่เรียนรู้ ขาดการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการค้นหาความรู้












แรงขับ (Driving force) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ต่อภาพอนาคตของสังคมไทย ในสายตาของคนรุ่นใหม่




  จากการทบทวนและร่วมกันระดมความคิดของกลุ่มคนรุ่นใหม่ พบว่าพวกเขาคิดว่า สิ่งที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมในอนาคตนั้นน่าจะประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้


1.  ความเป็นปัจเจก  หมายถึง ความแตกต่างของแต่ละกลุ่มจะมีการรวมตัวกันในลักษณะของเครือข่ายมากขึ้น คนที่มีความคิดเดียวกันก็จะมีการรวมตัว เกิดการตื่นตัวเกิดการรับรู้ของปัญหาที่ตนเองได้รับ และกลายเป็นกลุ่มที่ดำเนินการดูแลรับผิดชอบด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองมากขึ้น


2.  เทคโนโลยีการสื่อสารและการเชื่อมโยงความรู้ จะเกิดจากกลุ่มคนที่มีความคิดที่คล้ายคลึงกัน จะมีการสื่อสารและรวมตัวกันมากขึ้น คนที่ต้องการเรียกร้องก็สามารถถ่ายทอดหรือบอกกล่าวเรื่องราวของตนเองสู่สาธารณะได้มากขึ้น


3.  อำนาจและการจัดการ อำนาจทางการเมืองหรือการทำหน้าที่เป็นตัวแทน มาจากคนที่มีความสนใจจริงๆ คนที่มีแรงและมีพลังที่จะขับเคลื่อน ไม่ได้มาจากตำแหน่งหรือหน้าที่เหมือนที่ผ่านมา การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีอำนาจในการจัดการตนเองมากขึ้น


4.  ปัจจัยภายนอก อื่นๆ (สังคมวัฒนธรรม/ เศรษฐกิจ/ ปัญหาสิ่งแวดล้อม) เช่น การพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ จากการเปิดประเทศให้เป็น AEC  หรือการขยายความเป็นเมืองมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งผลกระทบที่ดีและไม่ดีได้เช่นกัน







เห็นภาพอนาคตร่วมกัน


ภาพที่ 1 Expansion of City


·  พูดถึงเรื่องของการขยายเมือง ซึ่งต้องดูว่าเป็นการขยายจากฐานโครงสร้างของเมืองที่เกิดจากการพัฒนาจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการอพยพย้ายถิ่นฐาน การที่คนเมืองย้ายไปสู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่ใช่การไปตั้งรกรากและทำความเข้าใจถึงความเป็นท้องถิ่นจริงๆ แต่กลับไปสร้างวัฒนธรรมหรือความเป็นเมืองที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมเสียหาย 


·  คนที่มีความรู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น คนรุ่นใหม่ไม่นิยมทำงานบริษัททำให้ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัว อาจต้องมีระบบการจ่ายสวัสดิการที่ดึงดูดมากขึ้น


·  การเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ (AEC)  แรงงานต่างด้าวอาจจะย้ายกลับไปสู่ประเทศตนเอง แรงงานที่เป็นคนไทยอาจปฏิเสธการทำงานบางอย่าง ทำให้รูปแบบของอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป แรงงานเปลี่ยนจากกำลังคนเป็นเครื่องจักรมากขึ้น


·  เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ดิน บริเวณชายแดนมีการเปลี่ยนผ่าน ผู้คนเกิดความเครียด มีธุรกิจการค้าประเวณีมากขึ้น




ภาพที่ 2 ข้าวสีนิล vs ข้าวมอนซานโต




การเมือง อีก 15 ปีข้างหน้า มีการกระจายอำนาจเกิดขึ้น ภูมิภาคสามารถจัดการตัวเองขึ้นได้มากขึ้น


เทคโนโลยีสื่อสาร การสื่อสารเพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับประชาชนมากขึ้น


ภัยธรรมชาติ คนรู้ทันสถานการณ์ สามารถรับมือและปรับตัวมากขึ้น


แต่ในทางตรงข้ามหากเกิดความไม่เข้าใจหรือการควบคุมจากภาครัฐก็จะเกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามขึ้น




ภาพที่ 3 ภาพความฝันปราสาททราย




ประกอบไปด้วย โลก ปราสาททราย และคลื่น

โลก เปรียบเสมือน ระบบเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และ การสื่อสาร

ปราสาททราย เปรียบเสมือน สังคมไทย ชุมชน

คลื่น เปรียบเสมือน กระแสของความเจริญและการพัฒนาที่นำการเปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่ประเทศ



“ โครงข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วเนื่องจากการพัฒนา การเปิดการค้าเสรีจากหลายประเทศ ทำให้กลายเป็นคลื่นทะลักเข้ามา ส่งผลต่อวัฒนธรรมการอยู่การกิน การใช้ชีวิต ทำให้สภาพความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป จากวิถีชีวิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในฐานะผู้ผลิต ต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจที่จะเป็นผู้กำหนดว่าสิ่งที่จะผลิตหรือบริโภคนั้นคืออะไร  เกิดเป็นเหลื่อมล้ำของสังคมมากขึ้น”










"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ