กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวที Thailand Scenario by New Gen 2 (Pre -Workshop)
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การจัดเวที Thailand Scenario by New Gen 2 (Pre-workshop) วันที่ 5 ตุลาคม 2556     มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายของคนรุ่นใหม่ให้เกิดความร่วมมือในการคิดและการทำงานร่วมกัน ผ่านกระบวนการ Transformative Scenario โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ ดังนี้

1. เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและทำความรู้จักให้แก่คนรุ่นใหม่กลุ่มต่างๆ

2. เพื่อทดลองแนะนำเครื่องมือ Transformative Scenario ให้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่

3. เพื่อสร้างฉันทามติ (Commitment)ของคนรุ่นใหม่ในการร่วมกันวางแผนจัดงาน Scenario by New Gen ครั้งที่ 2


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน


สรุปผลการจัดเวที Thailand Scenario by New Gen 2 (Pre-workshop)

  การจัดเวที Thailand Scenario by New Gen 2 (Pre-workshop) วันที่ 5 ตุลาคม 2556 มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายของคนรุ่นใหม่ให้เกิดความร่วมมือในการคิดและการทำงานร่วมกัน ผ่านกระบวนการ Transformative Scenario โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ ดังนี้

1.  เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและทำความรู้จักให้แก่คนรุ่นใหม่กลุ่มต่างๆ

2.  เพื่อทดลองแนะนำเครื่องมือ Transformative Scenario ให้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่

3.  เพื่อสร้างฉันทามติ (Commitment) ของคนรุ่นใหม่ในการร่วมกันวางแผนจัดงาน  Scenario by New Gen ครั้งที่ 2

  เวที Thailand Scenario by New Gen 2 (Pre-workshop) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน เป็นกลุ่มคนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม Thailand Scenario by New Gen ครั้งที่ 1 จำนวน 6 คน และคนรุ่นใหม่ที่เป็นเครือข่ายของคนที่เคยเข้าร่วม จำนวน 6 คน  ซึ่งในการดำเนินงาน ทางผู้จัดเวทีได้กำหนดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ช่วงที่ 1: เล่าเรื่องตนเองผ่านสิ่งของ

   คนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมได้สะท้อนตนเองผ่านสิ่งของที่หลากหลาย เช่น สเลท (Slate) กล้องวิดีโอ เครื่องบันทึกเสียง นาฬิกา คอมพิวเตอร์ รองเท้า โซ่ที่ไม่ถูกล็อค เครื่องบินกระดาษ กุญแจ ต้นไม้ และร่างกายของตนเอง มนุษย์หมาป่า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนถึงความเป็นคนที่เชื่อมั่นในตนเอง พร้อมที่จะเริ่มทำอะไรและเรียนรู้ในสิ่งใหม่ด้วยความอิสระ และไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สามารถทำให้ตนเองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่มองเรื่องความสมดุลทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะในตนเอง พร้อมที่จะทำความรู้จัก เปิดรับคนใหม่เพื่อสร้างเป็นเครือข่าย ใช้เวลาที่มีในการสร้างคุณค่ารวมทั้งสร้างสรรค์สิ่งใหม่และใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้อื่นต่อไป

 

  ถึงคนรุ่นใหม่จะมองว่าสิ่งที่แทนความเป็นตัวตนของพวกเขาจะมีความแตกต่างและหลากหลาย แต่สิ่งที่จะทำให้พวกเขาสามารถขับเคลื่อนไปได้พร้อมๆ กัน คือ การนำเอาความสามารถและศักยภาพของแต่ละคนมาผนวกรวมกันโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่าน

ช่วงที่ 2: กิจกรรมจับคู่สนทนาสะท้อนความคิดคู่สนทนา(Pair Walk)

  ในกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คู่สนทนาเกิดการเรียนรู้ในการรับฟังอย่างเปิดใจและทำความเข้าใจคู่สนทนาผ่านเรื่องเล่าของแต่ละคน โดยโจทย์ของการสนทนาในครั้งนี้ คือ “อะไรเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของชีวิต (คู่สนทนา) ที่ทำให้เขากลายเป็นคนที่มีทัศนคติและพฤติกรรม รวมถึงบุคลิกภาพอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้”  หลังจากจบกิจกรรมพบว่าผู้ฟังสามารถจดจำและเรียบเรียงเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง และสะท้อนเรื่องราวของคู่สนทนาตนเองผ่านการทำความเข้าใจและการตีความได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจำสามารถจำแนกประเภทของจุดเปลี่ยนของชีวิตได้ดังนี้

 

1.  จุดเปลี่ยนของชีวิตที่เกิดเกิดจากอุปสรรคและปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องครอบครัว ความเจ็บป่วย สิทธิเรื่องสัญชาติ เป็นต้น

2.  จุดเปลี่ยนของชีวิตที่เกิดจากความฝันและแรงบันดาลใจ เช่น  เป้าหมายในการประกอบอาชีพ ความสุข ความสบายใจ ความรัก เป็นต้น

3.  จุดเปลี่ยนของชีวิตที่เกิดจากประสบการณ์และมุมมองที่แตกต่าง เช่น การขัดเกลาจากครอบครัว ความรู้จากการศึกษา รวมถึงความขัดแย้งทางความคิดเรื่องการศึกษา เป็นต้น

  ไม่ว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่มีต้นกำเนิดแบบใดก็ตาม ท้ายสุดแล้วคนรุ่นใหม่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม และพยายามที่จะนำแนวคิด เรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ เหล่านั้นกลับมาสร้างสรรค์ให้เกิดการรับรู้ต่อสังคมต่อไป

  พี่เพชรเขาเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ทำงานบริษัทใหญ่คือ SCG แต่ในที่สุดเขาตัดสินใจเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองสบายใจ จะได้ไม่เสียเวลาชีวิต จุดเปลี่ยนคือ พ่อเขาป่วย เขาจึงต้องออกมาทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คือ เรื่องข้าว ข้าวคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนทั้งประเทศ เรื่องสารเคมี ผมกับเขาค่อนข้างจะต่างกัน คือ เขาใช้ชีวิตแบบพอเพียง แต่ผมค่อนข้างทุนนิยม เพราะผมทำตามเป้าหมายของชีวิต  แต่ผมว่าเราทำด้วยกันได้ คือ ผมมีสื่อและเขาอยากทำเพื่อสังคม เขามองในจุดที่ผมไม่ได้มอง และมีประโยชน์ต่อคนส่วนรวมมากๆ ผมจึงประทับใจพี่เขาในมุมนี้

    ปอนด์ 

ช่วงที่ 3: การสื่อสารและตีความ

กิจกรรมในส่วนนี้เป็นกิจกรรมเสริม เพื่อสร้างความสนุกสนานแต่มีนัยของการฝึกเรื่องการสื่อสารและการตีความ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนได้ว่า การกำหนดคำที่ใช้สำหรับการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร หากเป็นคำที่ใหญ่มีความหมายกว้าง ก็จะทำให้ผู้ชมตีความหมายได้หลายอย่างซึ่งถ้ามองในแง่บวก ก็จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้น แต่ถ้าหากมองในแง่ลบ ก็จะทำให้สารที่ต้องการสื่อนั้นถูกบิดเบือนไปจากประเด็นที่ถูกต้อง ส่งผลให้การสื่อสารเกิดความผิดพลาด ยกตัวจาก เช่น คำว่าวัฒนธรรม สามารถตีความได้ถึง นางสงกรานต์ นางรำ ประเพณีลอยกระทง การไหว้ เป็นต้น ซึ่งการตีความเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ด้วย ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสารและตีความที่ถูกต้อง ควรใช้คำที่ชัดเจนหรือระบุเฉพาะเจาะจง

ช่วงที่ 4: Gallery walk ชมผลงานของเก่า เล่าในสิ่งที่ได้เห็น

จากชุดภาพอนาคตที่ถูกนำเสนอ ได้รับการคัดเลือกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 5 ภาพ ดังนี้

1.  ภาพข้าวเป็นสุข (4 คน) สะท้อนให้เห็นความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง และความสมดุลของสังคม ที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามต้องมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีปะปนกันอยู่ และสิ่งที่ปะปนกันอยู่ก็ไม่ได้มีสิ่งที่ถูกที่สุดหรือผิดที่สุด หากแต่ขึ้นอยู่กับการตีความ สิ่งสำคัญจะหาจุดลงตัวให้ความแตกต่างของทั้งสองขั้วนี้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไรอย่างสมดุลที่สุด

  “ภาพนี้ไม่มีขาว ไม่มีดำ ถ้าเรามองลงไปลึกๆ เราจะเห็นว่า ดำอยู่ในขาว ขาวอยู่ในดำ สะท้อนสิ่งที่มีอยู่ในสังคม ว่าถ้าเรามองแค่ว่า อะไรถูก ใครถูก ใครผิด ก็จะมีแต่ความขัดแย้ง เราจะต้องมองภาพสิ่งเหล่านั้นไป ให้อยู่ได้ท่ามกลางความต่าง”

  โอม

2.  ภาพ Self-Fulfillment / Self-empowerment + Technology (2 คน) สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญกับคนรุ่นใหม่เพราะเป็นเครื่องมือที่ขัดเกลาความคิดและเป็นตัวขับเคลื่อนพลวัตรของสังคม

“ทุกอย่างกำลังเติบโต เทคโนโลยีขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ เติมเต็มเรา”    จันทร์

3.  ภาพปราสาททราย season 2 (2 คน) สะท้อนให้เห็นว่าน้ำทะเลเปรียบเสมือนปัญหาที่เข้ามากระทบปราสาททราย ถ้าหาเรามีการสร้างโครงสร้างหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้ปราสาททรายไว้อย่างแข็งแรง โอกาสที่ปราสาททรายจะพังทลายก็มียากขึ้น เช่นเดียวกัน หากมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็นให้แก่ประชาชน และสังคมมีโครงสร้างที่แข็งแรงก็จะสามารถต้านทานกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

4.  ภาพ Remix (1 คน) สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมมีส่วนเล็กๆ ที่เชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นในการขับเคลื่อนทางสังคม ไม่อาจมุ่งเป้าหมายไปยังจุดที่ใหญ่ที่สุดได้ทันที หากต้องค่อยๆ ขับเคลื่อนจากจุดเล็กๆ จนสามารถเชื่อมร้อยไปเป็นภาพใหญ่ได้

5.  ภาพการเรียนรู้องค์รวม (1 คน) สะท้อนว่า สังคมไม่สามารถแยกส่วนการมองเห็นของปัญหาได้ เพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยง บริบทต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ดังนั้นการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาต้องมองให้เห็นภาพขององค์รวมนี้ให้ได้

  สรุป ภาพของสังคมในอนาคตที่คนรุ่นใหม่มองเห็นนั้น เป็นสังคมที่มีการยอมรับความแตกต่างขององค์ประกอบทางสังคม เช่น ประชากร วัฒนธรรม การเมือง ความขัดแย้ง ฯลฯ เนื่องจากเชื่อว่าไม่มีสิ่งใดที่ดีหรือเลวที่สุด ความหลากหลายจะช่วยสร้างความสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น และเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการสร้างจุดร่วมของการยอมรับและการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมให้แข็งแรงและสมดุลอย่างแท้จริง จะเป็นส่วนที่ช่วยให้สังคมก้าวไปได้อย่างรวดเร็วพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยมีเทคโนโลยีเป็นส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากสภาพสังคมที่แบ่งสีขาวและดำอย่างชัดเจนก็จะถูกผสมกลมกลืนกันไปอย่าลงตัว

ช่วงที่ 5:ออกแบบและวางแผนงานร่วมกัน

  จากการระดมความคิดในการออกแบบงาน Thailand Scenario by New Gen 2 พบความต้องการและการมีส่วนร่วมทางความคิด ดังนี้

Øสถานที่ (Place) เป็นต่างจังหวัด ที่มีแหล่งเรียนรู้ให้ศึกษา หรือเป็นพื้นที่ที่สามารถสะท้อนภาพของอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้ สามารถเดินทางได้สะดวกใช้เวลาเดินทางไม่ยาวนาน เนื่องจากวันจัดกิจกรรมมีจำกัด  สถานที่ที่คนรุ่นใหม่เสนอ คือ  เสม็ด กาญจนบุรี (ทองผาภูมิ หรือ สังขละบุรี) นครสวรรค์ เชียงคาน เป็นต้น

Øระยะเวลา3 วัน 2 คืน ติดเสาร์อาทิตย์ เช่น ศุกร์- อาทิตย์ หรือ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2557

Øจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระสำคัญ 1) การคิดถึงส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม

2) การมองเห็นสังคมในมุมอื่นที่คนอื่นไม่เคยเห็น 3) สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต 4) การสร้างภาพและเรื่องราวของอนาคต  (ในมุมมองของคนรุ่นใหม่)

Øกลุ่มคนที่เข้าร่วม มีการนิยามคำว่า “คนรุ่นใหม่” ที่จะชวนเข้าร่วมเวทีไว้ ดังนี้

1.  อายุไม่เกิน 35 ปี

2.  เป็นคนที่มีทัศนคติหรือวิสัยทัศน์ต่อสังคม ไม่ว่าจะมีความคิดซ้ายจัด หรือขวาจัด

3.  ม่จำเป็นต้องมีบทบาทหลักทางด้านการขับเคลื่อนทางสังคมในประเด็นที่ชัดเจน แต่อาจมีอิทธิพลต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน หรือเป็นต้นแบบ (idol) ของคนรุ่นใหม่ หรือมีอุดมการณ์ที่น่าสนใจ

4.  ต้องมีความเป็นตัวแทนของความหลากหลาย เช่น เด็กที่เดินสยาม เด็กที่ชอบเรียนพิเศษ เด็กเรียนที่ได้รางวัลชนะการแข่งขันต่างๆ คนที่เป็นบริโภคนิยมหรือหรรษานิยม

5.  คนเหล่านี้ต้องมีจุดร่วมบางอย่าง ต้องอยากมีส่วนร่วม และยอมรับข้อผูกพันของโครงการ โดยจะมีการสร้างชุดคำถามในการคัดเลือกและตั้งเกณฑ์ให้ชัดเจนอีกครั้ง

Øจำนวนคนที่เข้าร่วมและช่องทาง รวมทั้งหมด ควรมีประมาณ 35 – 40 คน ช่องทางการหาหรือติดต่อ แบ่งเป็น 3 ช่องทาง 1) คนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม 2) ติดต่อผ่านเครือข่ายของคนที่เข้าร่วมกิจกรรม 3) คนใหม่ติดต่อผ่านทางมูลนิธิฯ หรือการประชาสัมพันธ์ข่าวสารรับสมัครคนรุ่นใหม่

Øข้อเสนอแนะอื่นๆ ขอสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต หรือ Wi-Fi ** (เพราะอาจต้องนำงานไปทำด้วย)

ช่วงที่ 6: ผู้ที่เชื่อมั่น และ ฝั่งที่เหยียดให้จม (Believers & Cynics)

 

จากการระดมความคิดเรื่องการออกแบบงาน Thailand Scenario by New Gen 2 ผู้ดำเนินกิจกรรมจึงใช้กระบวนการ “ผู้ที่เชื่อมั่น และ ฝั่งที่เหยียดให้จม (Believers & Cynics)” มาใช้ เพื่อเป็นการโน้มน้าวใจให้เกิดความเชื่อมั่น และหาความเสี่ยงของการจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้

Believers)   

·  แค่คิดจะเริ่มก็สำเร็จแล้ว

·  ดีกว่าอยู่เฉยๆ

·  คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องทางสังคมมากขึ้น

·  ทุกคนก็มีความดีอยู่ในตัว

·  เป็นปัญหาของทุกคน ถ้าช่วยกันร่วมมือก็สำเร็จ ถึงจะยากแต่ก็ดีกว่าย่ำอยู่กับที่

·  การวางแผนจะช่วยให้เราผ่านวิกฤต มีทิศทางและสามารถพัฒนาตนเองได้ถูกจุด

ผู้ที่เชื่อมั่น (

Cynics)   

·  ขนาดมาวันนี้ยังมาไม่ครบเลย

·  เดี๋ยวโลกก็แตกแล้ว

·  ทุกคนมีข้อจำกัดเยอะ มีข้อจำกัดส่วนตัว

·  แต่ละคนก็มีอัตตา

·  สังคมเป็นเรื่องใหญ่เป็นภาพใหญ่มาก มันยากที่จะแก้ไข และไม่มีใครอยากทำ

·  อนาคตจะคาดเดาได้อย่างไร

ฝั่งที่เหยียดให้จม (
 

ช่วงที่ 7: Check out

1.  สะท้อนสิ่งที่ตนเองอยากทำ 3 อย่าง ก่อนอายุ 35 ปี  (จำแนกตามความถี่)

สิ่งที่อยากทำ

จำนวน (คน)

อยากประสบความสำเร็จในอาชีพ หน้าที่การงานตามที่ตั้งเป้าไว้ (อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง มีรายได้ที่สูงและมีความมั่นคงทางการเงิน ที่สามารถดูแลตนเองครอบครัวได้)

8

นำสิ่งที่ตนเองมีศักยภาพมาช่วยพัฒนาสังคม และทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคม หรือในประเด็นที่ตนเองถนัดและสนใจ

7

พัฒนาตนเองหาความรู้เพิ่มเติม เรียนในระดับที่สูงขึ้น

4

เดินทางไปเรียนรู้ยังที่ต่างๆ ที่แปลกใหม่ ไปผ่อนคลายจากการทำงาน มีเวลาได้พักผ่อน

4

รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและมีสติ สมาธิในการใช้ชีวิต

2

2.  ความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

·  สนุก

·  กระบวนการดี ได้เรียนรู้และแบ่งปันทัศนคติ

·  ดีใจที่ได้เจอคนเก่งๆ เจ๋งๆ

·  ได้รับแนวคิดแรงบันดาลใจจากคนที่ไม่เคยรู้จัก

·  รู้สึกดีที่ยังเห็นว่ามีคนอยากทำอะไรเพื่อคนอื่นๆ เพื่อสังคม

·  เห็นจุดเริ่มต้นของสังคมน่าอยู่ในอนาคต

·  มีความหวัง มีพลัง ในการขับเคลื่อนสังคม

·  เห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น

 

 

 

 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ