โครงการลดมลพิษพลิกฟื้นชีวิตดิน ปี 2 (กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคาม)
โครงการลดมลพิษพลิกฟื้นชีวิตดิน ปี 2 (กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคาม)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เปิดเวทีเสวนา ขับเคลื่อนโครงการ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลผลิตที่ได้

ผลลัพธ์ตามจุดประสงค์

1.1 ได้สร้างกลุ่มกลุ่มเยาวชนในชุมชนรู้เข้าใจทักษะการละคร

1.2 กลุ่มเยาวชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร

1.3 สร้างวิถีเกษตรอินทรีย์ในชุมชนได้ในระดับรู้เข้าใจ

ด้านเยาวชน

เยาวชนเครือข่ายในชุมชนได้นำกระบวนการทางละครมาปรับใช้ มาใช้ในการเรียนรู้ปัญหาในชุมชนของตนเอง ได้สะกิดปัญหาของชุมชนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงพิษยาฆ่าแมลง ด้วยความละมุดละหม่อม ไม่กร้าวร้าว สังเกตได้จาก “ขณะดูละคร เห็นรอยน้ำตาจากยายๆ ป้าๆ ร้องไห้ และเมื่อเปิดวงเสวนา เมื่อเกมถูกพี่ๆถาม ด้วยความมีโอกาสเปิดใจ เกมร้องไห้ ยายร้องไห้ ป้าๆ ร้องไห้ตามหรือแม้แต่ในการฝึกแต่ละครั้งไม่มีเลยที่สมาชิกมาไม่ครบอาจมาช้าก็จะได้ยินคำว่า“ขอโทษ ”จากเพื่อนๆ

แสดงให้เห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในในตัวเยาวชนเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลการเรียนแล้วส่วนมากเป็นเด็กที่มีผลการเรียนปานกลาง ชุมชน ได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงสาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมของหมู่บ้านที่เริ่มเปลี่ยนไป จากวงเสวนาเช่น

- พ่อแม่ตระหนักรู้แต่ยังคงติดว่าต้องใช้หนี้และต้องหาเงินส่งลูกเรียน
- ต้องใช้หนี้ ทำอย่างอื่นได้เงินไม่ทันใจ
- คนในชุมชนได้รายได้ดีขนาดนี้ แล้วทำไมยังเป็นหนี้ ?
- พี่พยาบาลถามว่าที่ว่าส่งลูกเรียนนั้น สถิติพบว่าเรียนจบ ป.ตรีกันน้อยมาก
- คนในชุมชนอายุเกิน 45 ปีก็เริ่มเจ็บป่วย มีคนเป็นมะเร็งตายเยอะ เป็นโรคตับตายก็เยอะ
- รายได้สุทธิ 2 แสนบาทนั้นยังไม่ได้หักค่าสุขภาพและความอบอุ่นในครอบครัว
- คนในชุมชนรู้สึกว่าเกษตรอินทรีย์ไม่มีตลาด
- คนในชุมชนรู้สึกว่าหากไม่ใช้สารเคมีจะได้ผลผลิตไม่ทันใจ

- คนในชุมชนรู้สึกว่าตนเองรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ดีอยู่แล้วเพราะดูงานมาหลายครั้ง
แสดงให้เห็นว่าเกิด เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในชุมชน สังเกตได้จากวงเสวนา

น้องตุ๋มเกษตรอินทรี(น้องตุ๋ม+น้องเเบงค์ สหมิตรครูจากกาฬสินธุ)พูดถึงเกษตรอินทรีที่ตนเองทำ เรียกความสนใจของชาวบ้านเป็นอย่างดีเยี่ยม ชาวบ้านต้องการไปดูงานที่ไร่ของน้อง

-ท่านเกษตรอำเภอ พูดเรื่องเกษตรปลอดภัย การใช้สารเคมีมีผลต่อดินอย่างไร ทำให้ชาวบ้านสนใจเกษตรอินทรีมากกว่า

สิ่งที่คาดว่าจะได้ผลตามมา คือ เกิดเยาวชนที่เป็นผู้นำในชุมชนที่มีฐานการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน

กลุ่มเยาวชนแกนนำ

- ได้พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการสื่อสาร

สรุปผลผลิตที่ได้คือ

- ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา

-พวกเขาได้เรียนรู้วิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข บนความคิดเห็นต่าง

- ได้ความรู้โดยที่ครูไม่ต้องสอนในชั้นเรียนคนที่เรียนอ่อนหรือเก่งได้เรียนรู้ได้เท่ากัน

- ได้ผู้นำในชุมชนที่กล้าคิด กล้าทำ และมีคุณธรรม

ครูผู้ดูแลโครงการ

ได้กระบวนการละครเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่21

ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

- เวลาไม่พอ

- ภาระการเรียนในเนื้อหาของหลักสูตร

- การไม่ยอมรับของสังคมเพื่อน

เปิดเวทีเสวนา (อ่านรายละเอียด)

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ