โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก
โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวที "จูงมือเพื่อน จูงมือน้อง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง" ณ ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการ “จูงมือเพื่อน จูงมือน้อง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง”


ความเป็นมา

ท่ามกลางกระแสการพัฒนาของประเทศที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปที่ความเจริญทางด้านวัตถุ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก รวมถึงให้ความสำคัญต่อตัวเลขของรายได้ประชาชาติ (จีดีพี) เป็นตัวชี้วัดการกินดีอยู่ดีของประชาชน และลืมความสำคัญการพัฒนาทางด้านจิตควบคู่กัน ส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ต่างใช้ชีวิตเร่งรีบ แข่งขัน เพียงเพื่อต้องการหารายได้ให้ครอบครัว ขาดสำนึกต่อส่วนรวม จิตอาสาลดน้อยลง ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มทำงานเพื่อสังคมทั้งในรูปแบบของอาสาสมัคร ตัวอย่างเช่น อสม. อปพร. แกนนำชุมชน เยาวชน แต่ก็ไม่เพียงพอ จากสถานการณ์ดังกล่าว มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้ดำเนินโครงการ Active Citizen เพื่อสร้างเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เกิดสำนึกและรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสาธารณะ และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ โดยได้เลือกพื้นที่นำร่อง 4 ภาค ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสมุทรสงคราม โดยในส่วนของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้สนับสนุนงบประมาณผ่าน ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อดำเนินงานโครงการ พลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินงาน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีรูปแบบให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

ในครั้งนี้ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดกิจกรรม “จูงมือเพื่อน จูงมือน้อง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง” ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ วาดภาพ เรียงความ จัดทำโลโก้ ภาพถ่าย หนังสั้น และชุดการแสดง ภายใต้หัวข้อ “สร้างสำนึก ปลุกพลเมือง” โดยในกิจกรรมยังเปิดพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสนใจและต้องการเรียนรู้ เทคนิคการตัดต่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยเน้นกลยุทธ์ไปที่ เด็ก และเยาวชน ต้องไปชักชวนเพื่อนๆ น้องๆ ส่งผลงานประกวด หรือ พาตนเองเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ทั้งประเภท ทีม และ ประเภทเดี่ยว ทางผู้จัดฯ คาดหวังว่ากิจกรรมดังกล่าว สร้างกระแส ตื่นตัว ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นคุณค่าตนเองเพียงเริ่มจากกิจกรรมพื้นที่เล็กๆ ที่ เด็ก และเยาวชน สามารถทำได้ โดยมีโครงการฯ ทำหน้าที่พี่เลี้ยงคอยอำนวยการ เพื่อจุดประกายความเป็นพลเมืองสำนึกและรับผิดชอบต่อ ตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการเปิดตัวและประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวการขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนภาคตะวันตกให้กับประชาชนทั่วไปและสื่อสาธารณะได้รับทราบ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปบทเรียนการจัดกิจกรรม“จูงมือเพื่อน จูงมือน้อง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง”

เมื่อเรียนรู้ถึงความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานทุกคน ทำให้ทราบความพร้อมของทีมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากนั้นมีการสรุปบทเรียนการจัดกิจกรรมใน 4 ระดับ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเด็กและเยาวชน ได้แก่ คนทั่วไป เยาวชน พี่เลี้ยง ภาคีท้องถิ่น / คนทำงานเยาวชน ฯลฯ ภายใต้โจทย์ดังนี้

  • ·คาดหวังอะไรบ้างจากการจัดงาน
  • ·สิ่งดีๆ คุณค่าที่เราเห็น
  • ·เห็นโอกาสทำต่ออย่างไร

ความคาดหวัง

  • ·เปิดตัวโครงการให้สาธารณะรับทราบ ทั้งภาคีเครือข่ายท้องถิ่น คณะทำงานเรื่องเด็กและเยาวชน ครู ผู้ปกครอง และเด็กและเยาวชน ให้เข้าใจเรื่องสำนึกพลเมืองในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก
  • ·ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจความหมายของคำว่า “พลเมือง” รับรู้การทำงานของโครงการ สามารถไปบอกต่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
  • ·ค้นหาทุนทางสังคมในพื้นที่ ทั้งคน เครือข่าย พื้นที่ และการทำงานเชื่อมโยงระหว่างภาคีที่ทำงานเยาวชน
  • ·ได้ข้อมูลและความรู้เพื่อนำไปออกแบบกระบวนการทำงานต่อ
  • ·ได้พัฒนาคนทำงานผ่านการจัดกิจกรรม การวางแผน การบริหารจัดการ และการทำงานเป็นทีม
ระดับ ความคาดหวัง คุณค่า / สิ่งดีๆ โอกาส

ในการขับเคลื่อนงานต่อ

เยาวชน
  • ·เด็กได้มีพื้นที่ในการทำงาน / แสดงออก ได้ความรู้ในการทำงาน
  • ·ทราบแนวคิดเรื่องจิตสำนึกพลเมืองของเด็กในช่วงอายุ 7 – 15 ปี ที่มีค่อนข้างน้อยในระบบการศึกษา
  • ·เด็กกล้าพูดกล้าคิด กล้าแสดงออก
  • ·จุดประกายและสร้างแรงกระเพื่อมให้กับเด็กเรื่องสำนึกพลเมือง
  • ·รู้จักเยาวชนเพิ่มขึ้น เพื่อการวางแผนพัฒนาศักยภาพต่อได้
  • ·เยาวชนสามารถพัฒนาต่อได้ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • ·เด็กแต่ละช่วงวัยยังมีความเข้าใจเรื่องสำนึกพลเมืองแตกต่างกันไป
  • ·การถ่ายทอดสำนึกพลเมืองตามการตีความของการทำกิจกรรม
  • ·เด็กและเยาวชนรู้จักแบ่งปันและการทำงานเป็นทีม
  • ·เด็กเป็นครูซึ่งกันและกัน
  • ·เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันในหลายช่วงอายุ สามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเป็นพลเมืองที่ดีต่อไป
  • ·เด็กมีความรู้สึก ความคิด และความตั้งใจในการสื่อความหมายเรื่องพลเมืองที่ดี หากเราหนุนเสริมผ่านการดำเนินโครงการ สามารถพัฒนาศักยภาพและปลุกจิตสำนึกพลเมืองได้
  • พี่เลี้ยง
    • ·รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของโครงการ จะได้หนุนเสริมการทำงานด้านเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสม
    • ·ทำความรู้จักทีมงานหลายฝ่าย จะได้เรียนรู้ แบ่งบัน และถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานระหว่างทีม SCB กับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งสะท้อนบทเรียนและนำข้อเสนอแนะไปปรับใช้กับการทำงานร่วมกันในระยะต่อไป
  • ·รูปแบบการสอนเด็กอาจต้องปรับเปลี่ยนไป เพื่อให้เด็กมีความสุข
  • ·นำรูปแบบกระบวนการจัดกิจกรรมไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน
  • ·ทราบสถานการณ์ปัญหาจริงเรื่องการจัดการศึกษาของเด็กและเยาวชน
  • ·ทราบศักยภาพของเด็กที่พามาว่าเป็นอย่างไร เช่น การเรียงความ การวาดภาพ เป็นต้น จะได้หนุนเสริมได้อย่างเหมาะสม
  • ·เด็กและเยาวชนมีพลังทุกช่วงวัย ทำให้สามารถเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในแต่ละช่วงวัย
  • ·พี่เลี้ยงสามารถเห็นแนวแนวทางการเข้าไปหนุนเสริมเด็กในแต่ละช่วงอายุได้
  • ภาคีท้องถิ่น / คนทำงานเยาวชน
    • ·เกิดความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมงาน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการทำงานเด็กและเยาวชนร่วมกันทุกช่วงอายุ
    • ·เกิดความร่วมมือ / ความสามัคคีในการทำงานของทีมงาน และอยากให้งานออกมาดี
    • ·ทำความรู้จักโครงการก่อนที่จะนำเสนองานสื่อสารทั้งในมุมของคนทำงาน กระบวนการทำงาน ผลกระทบต่อสังคม ชุดความรู้ในหลายระดับ รวมทั้งโอกาสในการสื่อสารงานเยาวชนใน 4 จังหวัดร่วมกัน
    • ·ต้องการทำให้คนรู้จักโครงการเพิ่มขึ้น และเพิ่มจำนวน fan page ผ่านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านการจัดนิทรรศการ
  • ·เรียนรู้ตนเองกับการทำงานด้านเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น
  • ·ทิศทางการสนับสนุนงานเด็กและเยาวชนมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น
  • ·นายก อบจ.เคยทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์มาก่อน ทำให้มีความสนใจที่จะหนุนเสริมเพิ่มขึ้น
  • ·ผู้ที่เข้าร่วมงานทราบว่ามีโครงการแบบนี้ จะได้กลับไปคิดงานต่อได้
  • ·มีกิจกรรมดีๆ ที่เกิดประโยชน์กับน้องเยาวชน และให้การสนับสนุนต่อได้
  • ·ความประทับใจน้องทีมงานที่มีสำนึกพลเมือง ได้มีส่วนร่วมในการช่วยงาน ทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่า
  • ·ความร่วมมือและการให้กำลังใจซึ่งกันและกันของทีมงานในระหว่างการดำเนินงาน
  • ·ผู้ใหญ่สื่อสารด้วยภาษาที่ไม่เป็นทางการ ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันได้ตลอดกิจกรรม รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างเข้าใจ
  • ·การช่วยตั้งคำถามในระหว่างทำกิจกรรม สามารถสร้างการเรียนรู้ร่วมกันได้ และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานต่อไปได้
  • ·หลายพื้นที่เด็กและเยาวชนมีศักยภาพ เช่น วัดอมรดี พื้นที่ตำบลนางตะเคียน เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มเยาวชน และเยาวชนมีความสามารถ ทีมงานสามารถไปช่วยพัฒนาโจทย์ในพื้นที่ต่อได้
  • คนทั่วไป
    • ·จุดประกายและ ประชาสัมพันธ์โครงการกับคนทั่วไปในพื้นที่
    • ·มุมมองใหม่เรื่องการหนุนเสริมเยาวชนในช่วงอายุต่างๆ เพื่อเอากลับไปใช้กับลูกหลานที่บ้าน
  • ·มีความสนใจในการเข้าร่วมงานบางคนขอสมัครเข้าร่วมประกวดเรียงความ และผู้ปกครองจูงลูกหลานเข้ามาร่วมในงาน
  • ·รับรู้ว่าจังหวัดสมุทรสงครามมีงาน / กิจกรรมด้านเด็กและเยาวชน ได้มุมสะท้อนกับการเลี้ยงดูลูกหลานได้
  • ·เห็นการแสดงที่น่าสนใจและหาดูได้ยาก
  • ·ทราบแนวทางการสื่อสาร เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กระแสการปลุกจิตสำนึกพลเมืองให้กับคนทั่วไปได้หลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
  • บทเรียนที่ได้เรื่องกลุ่มเป้าหมาย

    • ·มีความหลากหลาย ทำให้มีส่วนร่วมได้ตามความสนใจของกิจกรรมในแต่ละช่วงวัย
    • ·ดึงคนให้เข้ามารับรู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาเป็นครอบครัว ทำให้เราสามารถสื่อสารออกไปได้
    • ·การมองเด็กเป็นรายบุคคล ทำให้เห็นพัฒนาการ คุณค่าของเด็ก และสามารถออกแบบการพัฒนาศักยภาพได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
    • ·เด็กเล็กๆ อยากให้พ่อแม่มาเห็นว่าเขามาทำอะไรกัน และหากพ่อแม่รู้ว่าเราทำกิจกรรมอะไรกันน่าจะภูมิใจ จึงควรจะชักชวนครอบครัวมาร่วมกิจกรรมด้วย
    • ·การปลูกฝังค่านิยมในช่วงปฐมวัย เด็กจะจำ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นจะต้องอาศัยความถี่ในการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะต้องสร้างสำนึกตั้งแต่เด็กๆ
    • ·ควรดึงเด็กเข้ามาร่วมขับเคลื่อนบางกิจกรรมได้ เช่น มุมมองของเด็กต่อการจัดการตลาดน้ำอัมพวา เพราะว่าเด็กมีความเข้าใจพื้นที่เป็นอย่างดี มีพลัง ทำงานเล็กๆ แต่สามารถขยายผลในพื้นที่ได้ เป็นต้น
    • บทเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรม
    • ·อย่าตัดสินคนจากพฤติกรรมภายนอกที่เห็นเท่านั้น
    • ·ควรส่งเสริมเรื่องความภาคภูมิใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น คุณลุงที่เก็บผักตบชวาบริเวณหน้าบ้าน เป็นต้น
    • ·ควร post คำพูด ภาพถ่าย และเรียงความขึ้น website เพื่อการสื่อสารโครงการ และสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ที่สนใจงานด้านนี้
    • ·การช่วยกันเติมเต็มในทีมงาน ทำให้ทราบว่ามีเด็กอยากร่วมกิจกรรมในการทำงานต่อ เช่น การทำหนังสั้น สอบถามและสนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้อีก เป็นต้น
    • ·กระบวนการทำงานเด็กและเยาวชนจะขับเคลื่อนได้ จะต้องมีการกระตุ้นเรื่องสำนึกพลเมืองอย่างต่อเนื่อง และทำให้เห็นว่ามีประโยชน์กับครอบครัวอย่างไร
    • ·การสื่อสารเรื่องพลเมืองควรออกแบบให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กเล็กเข้าใจและบอกต่อผู้ปกครอง และผู้ปกครองที่สนใจ / มีความรู้
    "ขออภัย"
    ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
    ภาพกิจกรรม
    วิดีโอแนบ
    ไฟล์แนบ