โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก
โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “นับหนึ่ง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง”
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “เยาวชนนับหนึ่ง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง”

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากความเจริญด้านวัตถุส่งผลให้คนส่วนใหญ่เห็นคุณค่าของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ชุมชน และจิตอาสาลดน้อยลง ขณะที่เยาวชนมีพฤติกรรมบริโภควัตถุนิยมชอบความสะดวก สบาย ฟุ่มเฟือย ขาดหลักคิดการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ไม่สนใจต่อสังคมรอบข้าง ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ เด็ก และ เยาวชน เหล่านั้นขาดแบบอย่างที่ดีสำหรับการใช้ชีวิต จากประเด็นดังกล่าว มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันคิดค้นกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนได้มีพื้นที่ “สร้างสรรค์” ทำดีต่อสังคม มุ่งเน้นให้เกิดจิตสาธารณะ ร่วมรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ หรือ Active Citizen โดยสนับสนุนให้ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามจัดทำโครงการ พลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสงคราม สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการในโครงการ อาทิเช่น เปิดพื้นที่เล็กๆ ให้เด็กและเยาวชน ได้นำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ สะท้อนให้เห็นคุณค่า ความเป็นพลเมือง สร้างพื้นที่การเรียนรู้โดยผ่านชุมชนต้นแบบเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้สำรวจและค้นหา วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสรุปบทเรียนเป็นระยะๆ รวมถึงสนับสนุนทุนให้กับเด็กและเยาวชนได้นำเสนอโครงการเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม

ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น วาดรูป เรียงความ ภาพถ่ายเล่าเรื่อง ภายใต้หัวข้อ “สร้างสำนึก ปลุกพลเมือง” โดยรูปแบบกิจกรรมดังกล่าว เน้นที่ตัว เด็ก และ เยาวชน ได้สะท้อนคุณค่าความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม ขณะที่ศูนย์ประสานงานฯ มีความเชื่อว่าการทำงานเด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องสร้างกลไกขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งรูปแบบภาคีเครือข่ายและภาคีความร่วมมือ ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้นำชุมชน ที่สนใจและต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กและเยาวชนใส่ใจ ชุมชน สังคมของตนเอง

จากที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์ประสานงานฯ เห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานเด็กและเยาวชน จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เยาวชนนับหนึ่ง สร้างสำนึกปลุกพลเมือง” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการทำงานและค้นหารูปแบบการพัฒนาแผนงานที่เหมาะสมสำหรับ เด็ก และ เยาวชน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และ สมุทรสงคราม โดยมุ่งหวังว่าการประชุมในครั้งนี้ จะได้ข้อคิดและมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงาน รวมถึงรูปแบบกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ซึ่งเป็นความคิดของเยาวชนโดยมีผู้ใหญ่ให้คำปรึกษา อันนำมาสู่จุดประกายในการทำงานสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ภายใต้ แนวคิด สร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดสำนึกพลังพลเมือง หรือ Active citizen ต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานและค้นหาแนวทางการพัฒนาแผนงานโครงการสำหรับเด็กและเยาวชน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และ สมุทรสงคราม ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
  2. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น มุมมอง แนวคิด แผนงานโครงการของเยาวชน ใส่ใจห่วงใย ชุมชน และบ้านเกิด สร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดสำนึกพลังพลเมือง Active citizen

ขั้นตอนการทำงาน

  • 1.ประชุมทีมเพื่อวางแผนงาน ออกแบบกิจกรรม และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  • 2.ประสานงานส่งหนังสือเชิญหน่วยงานและภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมประชุม
  • 3.ดำเนินการตามแผนกิจกรรมที่วางไว้
  • 4.สรุปผลการประชุมและจัดทำรายงานสรุปการประชุมนำเสนอต่อภาคีที่เกี่ยวข้อง

วันที่จัดประชุม

  • ·วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2557

สถานที่

  • ·ห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

กลุ่มเป้าหมาย

  • ·ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ เช่น ครู รพสต. อปท. รวม 10 คน
  • ·ผู้นำชุมชน / เครือข่ายองค์กรชุมชน รวม 10 คน
  • ·กลุ่ม /แกนนำเยาวชน รวม 50 คน
  • ·ทีมงานมูลนิธิสยามกัมมาจล รวม 2 คน
  • ·ทีมงานศูนย์ประสานงานฯ รวม 8 คน
  • รวมทั้งสิ้น 80 คน
  • งบประมาณ
  • ·มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดมหาชน
  • ·สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลที่คาดว่าได้รับ

  1. แกนนำ / เครือข่ายองค์กรชุมชน ร่วมรับฟังความคิดและให้ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการของแกนนำกลุ่มเยาวชน ทั้ง 4 จังหวัด
  2. แกนนำกลุ่มเยาวชนทั้ง 4 จังหวัดได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและร่วมรับฟังกรอบแนวคิดในการนำเสนอโครงการฯ จากเพื่อนภาคีเครือข่ายอื่น 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ