เก็บตกเวทีครูพอเพียง โดย คุณสุจินดา งามวุฒิพร
Atomdony Modtanoy


        การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแนะนำเครื่องมือในการจัดการความรู้ให้กับครูแกนนำ ให้ครูสามารถใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง และเพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างครูแกนนำกับผู้ประสานงานภาคของ สรส.ในการขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนของตนเองและในโรงเรียนเครือข่าย ในงานนี้มีครูพอเพียงเข้าร่วมกิจกรรมประมาณกว่า 60 คน



ดัง นั้นในงานนี้ นอกจากคุณครูจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการออกแบบการเรียนการสอนกันแล้ว ครูหลายท่านยังได้มีโอกาสฝึกการเป็นคุณอำนวย และคุณลิขิตกันอย่างออกรสเลยทีเดียว หัว ข้อของการแลกเปลี่ยนก็น่าสนใจไม่น้อย เป็นคำถามที่ทำให้คุณครูได้คิด วิเคราะห์ย้อนกลับว่าได้มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน ชีวิตและการทำงานของตนเองอย่างไร เช่น
  • "ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในชีวิต"
  • "การ สอนครั้งไหนที่สอนแล้วรู้สึกว่าประทับใจหรือมีความสุขที่สุด" และ "ความสำเร็จในครั้งนั้น คุณครูใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานอย่างไร"
การ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคุณครูทุกกลุ่มสาระน่าสนใจ และน่าเรียนรู้มาก จึงขอนำเรื่องที่ในกลุ่มเลือก และคุณครูนำเสนอบนเวทีมาเล่าสู่กันฟัง



กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
คุณครูพรรณทิพย์ภา จันทร์ตา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน (ย้ายมาจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐)
ประทับใจกับ "โครงการทำความดีกับการบ้าน ๕ ข้อ" เป็น การสอนหลักธรรมจริยธรรม ให้เด็กเรียนรู้ว่าการบ้านที่ทำ ทำเพื่อใครบ้าง เช่น ตัวเอง พ่อแม่ สังคม ประเทศ และโลก ใน ๑ เดือนเด็กจะเขียนได้ ๒๐ ข้อ ก็จะให้เด็กทำเป็นสมุดเล่มเล็ก เลือกความดีที่ภูมิใจที่สุด ทำเป็นหนังสือที่จูงใจให้น่าอ่านที่สุด เช่น เป็นนิทาน วาดการ์ตูนประกอบ เป็นต้น เพื่อให้เด็กเขียนหนังสือที่สอดแทรกคุณธรรมเข้าไปด้วย
เศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในการวางแผนการสอน
เงื่อนไขความรู้ :
- รู้ ภูมิหลังเด็กนักเรียน เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขามากกว่า ๑๐ เผ่า และเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งยาเสพติด ค้าประเวณี เป็นต้น ซึ่งเด็กชาวเขาจะมีความเชื่อและวิถีดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน
- ความรู้ในตัวเอง เพื่อสื่อเด็กได้เข้าใจ เช่น หลักธรรม
เงื่อนไขคุณธรรม : ต้องใช้ความอดทนเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตเด็ก มีเมตตาและหวังดีต่อเด็ก ใฝ่รู้เรียนรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอน เรียนรู้กระบวนการถ่ายทอด ทำอย่างไรให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่เราอยากถ่ายทอด

ผลที่เกิดกับเด็ก : เด็กปรับพฤติกรรมได้ดีขึ้น



กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
คุณครูอำพร ดวงวาส โรงเรียนสองแคววิทยาคม
โครงการ "Giving Direction" ให้นักเรียนใช้เศษผ้า (วัสดุเหลือใช้) สร้างเมืองจำลอง เช่น สีฟ้าแทนแม่น้ำ สีน้ำตาลเป็นถนน สีเขียวแทนต้นไม้ โดยใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษบ่งบอกถึงสถานที่ต่างๆ วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เด็กพูดบทสนทนาด้วยตัวเอง และสามารถให้คำแนะนำแก่ชาวต่างประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในการวางแผนการสอน
เงื่อนไขความรู้ : รู้ศักยภาพผู้เรียน
เงื่อนไขคุณธรรม : ครู ได้ฝึกความอดทน ยุติธรรมจากการให้ความทั่วถึงในการประเมิน นอกจากนี้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ มีความมั่นใจมากขึ้น ใช้ภาษาอังกฤษถูกกาละเทศะ เชื่อมโยงสู่วิชาศิลปะได้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นักเรียนเกิดความสามัคคีจากการทำงานเป็นกลุ่ม
พอประมาณ : วิเคราะห์ ศักยภาพผู้เรียน จากความรู้ภูมิหลังของผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษ ทำให้รู้ว่าควรสอนโครงสร้างประโยคอย่างไร เลือกใช้วัสดุในการสร้างเมืองสมมติอย่างเหมาะสม
ภูมิคุ้มกัน : นักเรียนก็เกิดคุณธรรมเรื่องของการแบ่งปัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดคำศัพท์ ฝึกสร้างประโยคและบทสนทนา

กลุ่มสาระสุขศึกษา พละศึกษา
คุณครูวาสนา อ่อนพูล โรงเรียนห้วยยอด
เนื่องจากเด็กเบื่อการสอนแบบเดิมๆ ครูจึงจัดการเรียนการสอนใหม่โดยใช้โครงงาน "แปรรูปพืชสมุนไพร" โดย มีแนวคิดให้เด็กคิดกันเองว่าจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อะไร เช่น เครื่องสำอาง น้ำสมุนไพรเพื่อการบริโภค ซึ่งเด็กจะสนุกสนาน มีส่วนร่วมและได้แสดงความสามารถตามศักยภาพ และทำให้ภาระครูเบาลง
คุณครูสุรชาติ โยธามาตย์ โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม
จากการที่ครูมีประสบการณ์ศิลปะป้องกันตัว จึงสอนให้เด็กรู้ "หลักศิลปะป้องกันตัวเอง" แก้ ปัญหาเมื่อเกิดอันตรายแล้วจะเอาตัวรอดได้อย่างไร และที่โรงเรียนมีเวทีมวยสำหรับเด็กฝึกฝนได้ และฝึกเพื่อแข่งขันชกในเวทีต่างๆ เป็นการหารายได้ได้
ขอเกริ่นนำ 3 กลุ่มสาระก่อนนะคะ สำหรับกลุ่มสาระอื่น โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ