
การออกแบบโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่และ young active citizen ที่ทำงานมา 7 ปีร่วมกับภาคีเครือข่าย สิ่งสำคัญนั้นเชื่อว่า
1. การเรียนรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในโลกจริง การได้คิดเอง ทำเอง ทำงานเป็นทีม สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลาย ตามโจทย์ปัญหาของผู้คนในชุมชน ที่ทำงาน ที่บ้าน กลุ่มอาชีพ (learning from the real world situation)
2. การเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดขึ้น ช่วง ‘ภาวะสั่นคลอน’ ‘ตัวตนถูกท้าทาย’ นำมาซึ่งห้วงเวลาแห่งการคิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง นำพาการเปลี่ยนแปลง (transformative learning)
คำถามอันทรงพลังของโคช ที่มาถูกที่ ถูกจังหวะ ถูกเวลา จะเกิดขึ้นเมื่อถึงวาระแห่งการเปลี่ยนแปลง
3. การเรียนรู้เป็นการฝึกฝน ฝึกตน ฝึกนิสัย ทำซ้ำๆด้วยความมุ่งมัน ตั้งใจ อดทนจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย ยอมฝืนใจเพื่อเปลี่ยนตัวเองในหลายๆเรื่อง (Character building)
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเส้นทางการเรียนรู้ (learning journey) ในการทำโครงการเพื่อชุมชนหรือโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและโครงการอื่นๆ ที่เยาวชนจะได้เรียนรู้มากมาย...จากการจัดการตัวเองทั้งภายในและภายนอก เรียนรู้จากเพื่อนที่แตกต่างในการทำงานเป็นทีม และเรียนรู้จากการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ วางแผนและลงมือแก้ปัญหาในงานที่เป็นโจทย์ปัญหา ความรู้สึก ความต้องการของผู้คน
#learningdesign
#learningjourney
#ต่อกล้าให้เติบใหญ่ต่อยอดไอเดียคนรุ่นใหม่ใช้ได้จริง
#youngactivecitizen
ขอบคุณพี่สาวที่มาช่วยออกแบบการเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียนเยาวชนต่อกล้าให้เติบใหญ่ปี 6 อย่างเมามันส์ Kwanhatai Somkaew Weerawan Kang
จาก https://www.facebook.com/joepluemjit/posts/2219200928130981