เวทีความคิดจาก: ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้งานจริง และ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญและ Coach ประจำโครงการฯ (ค่าย Workshop 2) โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” รุ่นที่ 6
RATTANAPORN

ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้งานจริง 

และ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญและ Coach ประจำโครงการฯ (ค่าย Workshop 2) 

โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” รุ่นที่ 6

ระหว่างวันที่  28  มิถุนายน - 1  กรกฎาคม  2561

ณ  บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  สวทช.  จ.ปทุมธานี



โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีทักษะการพัฒนางานนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สู่ผู้ใช้งานจริง

กิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโครงการสู่การนำไปใช้งานจริงและ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญและ Coach ประจำโครงการฯ (ค่าย Workshop 2) โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่นที่ 6 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรับทุนต่อยอดผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ด้านการพัฒนาสร้างแสรรค์งานนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง  และรายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาผลงาน พร้อมรับคำแนะนำจากโคชนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  และคอมพิวเตอร์

กิจกรรมวันที่ 1 งานอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop2) โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่น 6

งานอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop2) โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่น 6

วันแรกกับการเรียนรู้ของเยาวชนนักพัฒนานวัตกรรม ทั้ง 15 ทีม ที่ผ่านการพิจารณารับทุนต่อยอดพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การนำไปใช้ประโยชน์จริง เริ่มต้นเรียนรู้กระบวนการ Business Process Management (BPM) ที่ช่วยให้น้องเยาวชน สามารถวิเคราะห์และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในยุคพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกด้านของการดำรงชีวิต และการจะเป็นนวัตกรในยุค 4.0 ต้องทำอย่างไร

เรียนรู้กระบวนการ Business Process Management (BPM) BPM โดยวิทยากร  พีรพัทธ์ นันนารารัตน์
ทำความเข้าใจกระบวนการ Business Process Management อบรม Business Process Management (BPM)
ลงมือทำ Business Process Management (BPM) นำเสนอ Business Process Management (BPM)

จะเป็นนวัตกรในยุค 4.0 ได้อย่างไร?

Digital Transformation by Business Process Management พีรพัทธ์ นันนารารัตน์


­

ท่ามกลางกระแสยุคดิจิทัล ที่เข้ามามีผลต่อทุกด้านในชีวิตของผู้คนอย่างมาก บทบาทของนักนวัตกรจึงไม่ได้อยู่แค่การพัฒนาชิ้นงานโปรดักส์เท่านั้น แต่อาจรวมไปถึงการเข้าใจตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ ไปจนถึงผู้ใช้งานได้ใช้โปรดักส์หรือบริการนั้นๆ เพราะหากไม่เข้าใจและไม่สามารถทำให้ “คน” เปลี่ยนพฤติกรรมได้ เทคโนโลยีจะดีแค่ไหนก็ไร้ประโยชน์

พี่ฮง – พีรพัทธ์ นันนารารัตน์ ได้มาชวนให้น้องๆ รู้จัก “Business Process Management หรือ BPM” ที่เป็นการทดลอง run กระบวนทำงาน หรือกระบวนการทางธุรกิจตั้งแต่ต้นจนจบ ใช้ทำความเข้าใจและจัดการกับกระบวนการทำงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ หรือเพื่อการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ๆ ใช้สื่อสารขั้นตอนการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงใช้พัฒนาโปรแกรมทำงานอัตโนมัติ โดยทำลักษณะคล้าย Flowchart มี 4 องค์ประกอบ คือ

1️. Activity คือ กิจกรรมที่ต้องทำเสมอของผู้ที่มีบทบาทหรือเกี่ยวข้องในกระบวนการทำงาน แทนด้วยสัญลักษณ์ “สี่เหลี่ยม”

2️. Event คือ เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ flow ให้เห็นว่าเริ่มจากจุดไหน และสิ้นสุดที่ตรงไหน แทนด้วยสัญลักษณ์ “วงกลม”

3️. Gateway คือ จุดที่มีทางเลือก หรือต้องตัดสินใจ หรือ Activity มีการถูกแยก flow แทนด้วยสัญลักษณ์ “สี่เหลี่ยมรูปเพชร”

4. Flow คือ ทิศทาง หรือความสัมพันธ์ของ Activity แทนด้วยสัญลักษณ์ “เส้น หรือลูกศร”

ซึ่งการทำเป็น Flowchart นี้ทำให้เห็นภาพและเข้าใจกระบวนการได้ง่าย ช่วยให้นักพัฒนาวิเคราะห์ลำดับขั้นตอนการทำงาน และตรวจสอบความถูกต้อง ค้นพบความต้องการในธุรกิจมากขึ้น และจะสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้สอดคล้องกับกระบวนการทาง Business

การเรียนรู้หัวข้อ “Digital Transformation by Business Process Management”
วิทยากร : คุณพีรพัทธ์ นันนารารัตน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพ อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด



ประมวลภาพกิจกรรมวันที่ 2 

วันที่สองกับการเรียนรู้ของเยาวชนนักพัฒนานวัตกรรม โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่น 6 กับหัวข้อ Design Master เรียนรู้การคิดออกแบบ คิดแก้ปัญหา Design Thinking และองค์ประกอบของการออกแบบ เป็นวิธีคิดพื้นฐานของนักพัฒนานวัตกรรมก่อนที่จะออกแบบแก้ปัญหาอะไรก็ตามต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ดีก่อน และต่อด้วยการอัพเดทความคืบหน้าการพัฒนาต่อยอดผลงานพร้อมรับคำแนะนำจากทีม Coach ปิดท้ายด้วยกิจกรรมนันทนาการที่ค้นหา “คุณค่า” ของการพัฒนาผลงานของน้องๆ เยาวชน ด้วยคำถาม “ถ้าผลงานนี้สำเร็จ...จะมีความหมายกับเรา และผู้อื่นอย่างไร”

อบรมการออกแบบ design ที่ดีต้องทำอย่างไร โดย รัฐ จำปามูลอบรมการออกแบบ design ที่ดีต้องทำอย่างไร โดย รัฐ จำปามูล
เยาวชนนำเสนอผลงานกิจกรรมค้นหา “คุณค่า” ของการพัฒนาผลงาน
เยาวชนร่วมกันคิด “คุณค่า” ของการพัฒนาผลงานเยาวชนนำ “คุณค่า” ของการพัฒนาผลงาน

­

­

❤️หัวใจของการออกแบบ คือ ความรักที่ให้ User

­

เรียนรู้หลักการออกแบบ design มาดูกันว่า องค์ประกอบของการ design ที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง โดย รัฐ จำปามูล

การออกแบบ (Design) แทรกอยู่ในชีวิตประจำโดยที่เราแทบไม่รู้ตัว ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนใช้กระบวนการคิดแบบ design อยู่ตลอด เพราะการ design เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่างผู้คน

ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ (Design) อะไรก็ตาม ถ้าอยากให้มีคนใช้ คนชอบงานที่เราสร้างขึ้น เราต้องรักคนใช้งาน (User) ของเราก่อน หมายความว่า เราต้องรู้ว่า User เขาชอบอะไร ไม่ชอบไม่อะไร เหมือนเราคนรักของ User ถ้าเราเข้าใจ user มากพอ เราก็จะสามารถออกแบบ (Design) ที่ตอบโจทย์ User ได้

พี่รัฐ จำปามูล จึงมาชวนน้องต่อกล้าฯ เรียนรู้หลักการออกแบบ design มาดูกันว่า องค์ประกอบของการ design ที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง?

3 หัวใจ ของการสร้างงาน design ที่ดี
1️⃣️ Design Thinking