เวทีความคิดจาก: ค่าย “ยุวกระบวนกร: แกนนําเยาวชนกระบวนทัศน์ใหม่”
นาถชิดา อินทร์สอาด


ค่าย “ยุวกระบวนกร: แกนนําเยาวชนกระบวนทัศน์ใหม่”

วันที่ ๑๖-๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑

ณ สวนซุมแซง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม


ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว เป็นความร่วมมือของสํานักงานกองทุนสนับสนุนวิจัย(สกว .) สถาบันเสริมสร้างสร้างการเรียนรู้ เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน ) ในความร่วมมือครั้งนี้มีภาพเป้าหมายที่สําคัญคือ ทีมนักถักทอชุมชน (ซึ่งประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัด เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น) แกนนําชุมชน และแกนนําเยาวชน มีความสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและการจัดการความรู้ อย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน นําไปสู่การพัฒนาระบบ/กลไก สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและเครือข่าย โดยมีระยะเวลาการดําเนินงาน๓ปี

เพื่อให้แกนนําเด็กเยาวชนและพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และ ขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนได้อย่างต่อเนื่องและเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือแกนนําเยาวชน พี่เลี้ยงเยาวชนอปท. และพี่เลี้ยงชุมชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการพัฒนา เด็กและเยาวชนได้

หลักการและเหตุผล

กระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงแล้ว จะต้องเป็นการเรียนรู้ชีวิตอย่างเป็นองค์รวม หลายๆ เรื่องของชีวิตไม่อาจเรียนรู้ได้โดยการนั่งเรียนในห้องเรียน หรือการอ่านข้อมูลจากสื่อต่างๆ ต้องอาศัยการได้ปฏิบัติการของกาย ใจ และสติปัญญาร่วมไปด้วยกัน ซึ่งประการหลังนี้ยิ่งใช้บ่อยยิ่งชํานาญ และเป็นการเรียนรู้แห่งตนที่คนอื่นทําแทนไม่ได้ ผู้เรียนจะต้องกระโจนเข้าสู่การเรียนรู้นั้นด้วยตัวตนของตนเองทั้งหมด

ดังนั้น ขอบเขตการศึกษาจึงกว้างขวางมากกว่าการศึกในระบบเท่านั้น หลายเรื่องต้องอาศัยครอบครัวเป็นผู้ให้การศึกษา หรือ สิกขาในภาษาบาลี หมายถึงการเรียนรู้ ฝึกฝน และขัดเกลาตนเอ กลไกของครอบครัวจึงสําคัญอย่างยิ่งที่จะทําให้เกิดกระบวนการนี้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในสังคมปัจจุบัน ครอบครัวอ่อนแอยิ่งนัก ครอบครัวจํานวนมากไม่สามารถที่จะเป็นแหล่งบ่มเพาะการเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชนได้ ด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจที่บีบคั้น และยากที่จะหลุดออกมาได้

ดังนั้น กลไกของชุมชนและท้องถิ่นจึงเป็นความหวังสุดท้ายที่จะช่วยบ่มเพาะการเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ และมีความต่อเนื่องเพราะถือเป็นกลไกที่ใกล้ชิดที่สุดและถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

ด้วยเหตุนี้ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันยุวโพธิชน สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ จึงได้จัดให้มีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เพื่อทําให้กลไกในระดับท้องถิ่นสามารถเป็นที่พึ่งในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ให้กับชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติ

ในครั้งนี้ จึงได้จัดให้มี“ค่ายยุวกระบวนกร”เพื่อพัฒนาแกนนําเยาวชน พี่เลี้ยงเยาวชนทั้งที่อยู่ใน อปท. และอยู่ในชุมชน ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้

คุณสมบัติของแกนนําเยาวชนที่พึงปรารถนา

รักและสมัครใจฝึกฝนตนเองตลอดเวลารู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณรู้จักแยกคุณค่าแท้ออกจากคุณค่าเทียมได้ รู้เท่าทันโครงสร้างอันอยุติธรรมของสังคมทั้งระดับชุมชน สังคมและระดับโลก รู้เท่าทันกลไกและชุดความคิดของความทันสมัยเห็นช่องทางที่จะทําให้สังคมและระบบธรรมชาติดีขึ้น มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่จะตัดสินใจทํางานเพื่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนอย่างเป็นหมู่คณะ ตามเงื่อนไขปัจจัยของตน รักและรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของบรรพชน ทวนกระแสสังคมปัจจุบันที่ดูถูกรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตน ภูมิใจและเห็นคุณค่าในรากเหง้าของตนเอง

หลักการศึกษา

เพื่อให้เกิดยุวกระบวนกรกระบวนทัศน์เราย่อมต้องใช้หลักการศึกษาอีกชุดหนึ่งดังนี้ วิถีชีวิตและการทํางานคือการศึกษาการศึกษามิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนหรือหลักสูตรฝึกอบรมเท่านั้น

หากเกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้ตลอดเวลาตราบใดที่มีชีวิตอยู่ กระบวนการเรียนรู้คือการฝึกให้ผู้เรียนได้ตรึกตรอง ทบทวนสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ต่างๆ ทั้งของตนเองและผู้อื่น

การตัดสินใจคือการศึกษาหากไม่เคยตัดสินใจ เราจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใดอย่างมีความหมายได้อย่างแท้จริง สิ่งสําคัญที่สุดในกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมคือผู้เรียนต้องมีโอกาสตัดสินใจในเรื่องสําคัญๆที่เกี่ยวข ยนรู้ของตนเองและหมู่คณะ และสรุปออกมาเป็นบทเรียนได้ นี่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่สุดในการเรียนรู้แบบองค์รวม เมื่อได้ร่วมคิดและตัดสินปัญหาสําคัญ

สัมพันธภาพคือการศึกษาสุขและทุกข์ในชีวิตของมนุษย์นั้น กว่าครึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราสัมพันธ์กับคนเป็นหรือไม่ ลึกซึ้งเพียงใด เราอยู่เพื่อนร่วมงานใกล้ชิดได้อย่างมีคุณภาพได้ไหม คนจํานวนมากในสังคมสมัยใหม่ ประสบความสําเร็จในการหาทรัพย์ อํานาจ ชื่อเสียง แต่ถ้าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในเรื่องสัมพันธภาพ ชีวิตก็หาความสุขไม่ได้และไร้ความหมาย

การฝึกฝนจิตเพื่อลดตัวตนคือการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของชาวเอเชียหลักๆ ทุกกระแสได้พัฒนาการฝึกสมาธิภาวนาขึ้นมาอย่างหลากหลายลึกซึ้ง และถือกันมาตลอดว่าเป็นส่วนสําคัญยิ่งของการศึกษา เป้าหมายร่วมของการภาวนาทุกวัฒนธรรมคือเพื่อลดอัตตา ความเห็นแก่ตัว หรือลดการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

การยับยั้งตนเองไม่ให้ทําร้ายชีวิตตนและผู้อื่นคือการศึกษาแต่ถึงอย่างไรการฝึกความคิดและจิตใจเพียงอย่างเ ดียวย่อมไม่เพียงพอ เพราะเมื่อถูกกระตุ้นจากความคิดในเชิงลบที่ไม่ดีงาม บางครั้งเราก็ทําร้ายตนเองและผู้อื่นได้ เราจึงต้องฝึกยับยั้งตนเองไม่ให้ทําร้ายตนเองและผู้อื่นทางกายและวาจาด้วย นอกจากนี้ยังสามารถฝึกการยับยั้งตนเองในรูปแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยกําหนดกฎเกณฑ์และกฎระเบียบของชุมชนตามความคิดเห็นของทุกคนที่คิดร่วมกัน ทบทวนร่วมกัน และทุกคนมีสิทธิตัดสินใจถึงหนทางดีที่สุดของการอยู่ร่วมกันโดยไม่ทําร้ายซึ่งกันและกันและไม่ทําร้ายธรรมชา

กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ที่สําคัญได้แก่

1.สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร

2.เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้

3.เน้นการใคร่ครวญตนเองเพื่อรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง ทั้งการภาวนาและอื่นๆ

4.เน้นการมองหลายมุมเพื่อคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยอภิปรายร่วมกัน

5.เน้นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองประกอบ

6.เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และการถอดบทเรียน

7.เน้นการลงมือทําในสิ่งที่ลงมือทําได้

เนื้อหาหลักสูตร

เนื้อหาหลักสูตรแบ่งออกเป็น8 หมวดหลัก ดังนี้หมวดรู้จักตนเอง หมวดรู้จักสังคมวดรู้จักธรรมชาติ หมวดรู้จักความจริงหมวดรู้จักความงามหมวดรู้จักความรักหมวดรู้จักความรู้และหมวดรู้จักความดี

เป้าหมาย

กระบวนการเรียนรู้ใน12 วันนี้ จะช่วยให้แกนนําเด็กเยาวชนได้ก้าวผ่านการฝึกเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งด้านหัวใจ หัวสมอง และทักษะ เพื่อเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีสติ รู้เท่าทันตน ตื่นรู้อยู่ในปัจจุบันขณะ ถึงพร้อม และจับหลักคิดได้อย่างมั่นคง ว่าจะจัดการเรียนรู้อะไรอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ของผู้เรียนและผู้คนที่เกี่ยวข้อ

กลุ่มเป้าหมาย

แกนนําเด็กเยาวชนในพื้นที่เครือข่าย 11 อปท.

เจ้าหน้าที่และพี่เลี้ยงเยาวชนในพื้นที่เครือข่าย11อปท.

จำนวน 45 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ด้านทัศนคติเมื่อเรียนรู้ชุดนี้แล้ว ผู้เรียนจะ

1.1มีสติ รู้เท่าทันตนมากขึ้น อยู่กับปัจจุบันขณะได้มากขึ้น ลดละอัตตาให้น้อยลงได้ตามลําดับ

1.2หมั่นทบทวนใคร่ครวญตนเองอยู่เสมอ ยอมรับความจริงของตนเองด้วยใจเป็นกลางทั้งจุดอ่อนจุดแข็ง รวมถึงลักษณะเฉพาะของตน

1.3รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน เปราะบางได้ และเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมกับมีความเข้มแข็งอยู่ภายใน พร้อม ๆ กันไป

1.4พร้อมฟังคําวิจารณ์น้อมรับคําท้าทาย

1.5เชื่อในศักยภาพของทุกคน

1.6เชื่อในการเรียนรู้ร่วมกันช่วยถอดบทเรียน สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน

1.7เชื่อญาณตนเองมากขึ้นตามลําดับ

2ด้านหลักคิดเมื่อเรียนรู้ชุดนี้แล้ว ผู้เรียนจะเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการต่อไปนี้ได้

2.1 หลักพื้นฐานการศึกษาแบบองค์รวมการตัดสินใจคือการศึกษา:ความสัมพันธ์คือการศึกษา การฝึกตนคือการศึกษา

2.2 หลักการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน สืบค้นร่วมกัน ถอดบทเรียนด้วยกันและสร้างพื้นที่ปลอดภัยสําหรับการเรียนรู้ โยงกับการคิดแบบองค์รวม

2.3 หลักเกี่ยวกับธรรมชาติของการรู้: ความรู้ ญาณหยั่งรู้ ความเห็นารตีความก การติดยึดความรู้ (ทิฏฐุปาทาน) ทฤษฎีความรู้สองแบบ ของอี เอฟ ชูม้าเกอสัจจะของผู้สอนเป็นเพียงสมมติฐานของผู้เรียน

2.4 เคารพตน เคารพความหลากหลายในกลุ่ม

2.5 การหาดุลสมองกายใจในการเรียนรู้

2.6 คิดอย่างมีวิจารณ์ญาณ คิดแบบองค์รวมจัดระบบคิ จัดหมวดหมู่

2.7 การรู้จักตนเองสติกับการลดอัตตา

2.8 กระบวนกรในฐานะผู้นําที่แท้

3ด้านทักษะเมื่อเรียนรู้ชุดนี้แล้ว: ผู้เรียนจะสามารถฝึกใช้ทักษะเหล่านี้เป็น

3.1ทักษะพื้นฐาน7อย่างถาม ฟังพูดกระชับสรุป ทวนคืน ถามเจาะ สังเคราะห์ประมวล

3.2จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเช่นช้วงจรเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และถอดบทเรียนใ

ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีต ใช้บทบาทสมมติและละครสั้นการสอนเนื้อหาหนักแบบมีส่วนร่วม

3.3อ่านพลังกลุ่มประเมินกลุ่มจัดการกลุ่มเปลี่ยนแปลงออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะหน้า

3.4รับมือกับผู้เรนที่ท้าทายและรับมืออย่างมีสติและกรุณา

3.5จัดกิจกรรมท้าทายกลุ่ม/กิจกรรมสร้างหมู่คณะ

3.6จัดกิจกรรมรู้จักตนเองรู้จักเพื่อน

3.7ใช้กิจกรรมพลังดาว สําหรับการวิเคราะห์สังคมเบื้องต้น

3.8คิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีวิจารณ์ญาณ

3.9การรู้จักฟังอย่างลึกซึ้ง

3.10 นําภาวนาเบื้องต้น

3.11สอนเป็นคณะ/ สอนกับคนอื่น

3.12การพูดในที่สาธารณะที่เราไม่คุ้นเคย

3.13ออกแบบการเรียนรู้

3.14การประสานงานเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนที่หลากหลาย

3.15การดําเนินการประชุมเพื่อให้เกิดการตัดสินใจร่วมกัน

3.16การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ในชุมชน เช่น งานบุญประเพณี และการทํานา เป็นต้น

3.17การสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์

­

ทีมกระบวนกร

1.คุณจรายุทธ สุวรรณชนะ

2.คุณนฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ

3.อ.สัญญา มัครินทร์

4.คุณนภา ธรรมทรงสนะ

5.คุณเพ็ญนภา กิตติมโนชัย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

วราภรณ์ หลวงมณีผู้อํานวยการสถาบันยุวโพธิชน ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาเยาวชน4ภาค พื้นที่สุรินทร์