เรื่องเล่าจาก“ประสบการณ์และบทเรียนการทำงานเยาวชน”

เรื่องเล่าจาก“ประสบการณ์และบทเรียนการทำงานเยาวชน”

นางชนม์ชนก เบญจวรรณ

ครู ศพด. องค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ฝึกการเล่าเรื่องด้วยวิธีเขียนในเวที”การเพิ่มสมรรถนะนักถักทอชุมชน :

การจัดการความรู้และการเป็นคุณอำนวย” วันที่ 20 – 22 มกราคม 256


“ไม่คิดว่าจะเป็นฉัน”

ฉันเป็นครูสอนเด็กปฐมวัย เป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่เคยคิดท้อแท้หรือน้อยใจในสิ่งที่เป็นอยู่ ฉันมีลูก 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน ฉันเป็นคนที่ชอบทำงานเพื่อชุมชน จิตอาสาทุกงานที่ทำได้ เป็นครู คศ.1 , อปพร. , กู้ชีพ ไม่ชอบมีเวลาว่าง ชอบทำงานและงานเพราะคิดว่าเกิดมาทั้งทีต้องทำตัวให้ดีและมีประโยชน์ต่อสังคม

อาจเพราะฉันเป็นคนมีจิตอาสา เป็นคนสาธารณะจึงได้รับมอบหมายงานหลาย ๆ อย่าง จากผู้บริหาร ฉันทำด้วยความตั้งใจ ไม่เคยมีคำว่า “ทำไม่ได้” ออกจากปากสักครั้ง รวมถึงงานโครงการเด็กและเยาวชนในครั้งนี้ดิฉันดีใจ ภูมิใจ และยินดีที่จะทำโดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้างใด ๆ เพราะเราอยู่ในพื้นที่ที่เยาวชนมีปัญหาเยอะมาก อยากแก้ไข อยากส่งเสริม อยากช่วยเหลือให้เยาวชนในชุมชน ซึ่งก็เปรียบเสมือนลูกหลานของตนเอง มีอนาคตที่ดี ช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้

จากการที่ได้รับมอบหมายงานให้ออกไปสำรวจข้อมูลเยาวชนทำให้เจอปัญหาอีกหลาย ๆ ด้าน เจอมุมมองและวิธีคิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ที่จะนำมาพัฒนาส่งเสริมเยาวชนให้หลุดพ้นจากปัญหาที่เผชิญอยู่ ผู้นำและเครือข่ายต่าง ๆ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเต็มที่

ดีใจ ภูมิใจที่ได้มาทำหน้าที่นักถักทอชุมชน เพราะเป็นความตั้งใจที่จะพัฒนาส่งเสริมเยาวชนอยู่แล้ว เด็ก ๆ ให้ความร่วมมือและยินดีบอกข้อมูลด้วยความเต็มใจ และมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการด้วยความยินดี ผู้นำและเครือข่ายให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและยินดีสนับสนุนเมื่อมีการขอความช่วยเหลือ ร่วมมือในการจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนและเด็ก

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก case อบต.หนองสนิท

1.เน้นเยาวชนที่สามารถนำความรู้มาพัฒนาชุมชน

2.อบรมพัฒนาเยาวชนในชุมชนให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว

3.อบต.หนองสนิท มีผู้สนับสนุนและเครือข่ายที่ให้ความร่วมมือในการทำงานและคอยสนับสนุน Support ให้กำลังใจตลอด

4.ผู้บริหารให้ความอิสระในการทำงาน เปิดโอกาสและมีส่วนร่วมตลอด

5.ความคุ้นเคยก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเข้าร่วมโครงการ

6.จัดโครงการต่อเนื่องใน 1 ปี ให้เด้ก ๆ เสนอและแสดงความคิดเห็น

7.เสียสละตนเองในการทำงานอย่างจริงจังและมุ่งมั่น

8.แรก ๆ น้องไม่อยากเข้าร่วมเรพาะคิดว่าคงไม่มีอะไร

9.มีส่วนร่วมในการทำงานตอบแทนชุมชนมากขึ้น

10.ไม่คาดหวังกับเด็กมากเกินไป จะทำให้เด็กกดดัน

11.สร้างอาชีพเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับเยาวชน ช่วยด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

12.มีหน่วยงาน มูลนิธิสยามกัมมาจล กสศ. อบจ.สุรินทร์

13.ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ต้องมีมุมมองเดียวกันเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

14.พัฒนาส่งเสริมเยาวชน ส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ได้พัฒนาไปด้วยกัน เช่น ผู้ปกครอง เยาวชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เยาวชนมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น โดยอัตโนมัติและพร้อมที่จะทำงานเพื่อชุมชน มั่นใจในตัวเองมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานเพื่อชุมชน

15.การดูแลเด็ก ผู้ช่วยผู้ใหญ่ สร้างความเชื่อใจให้กับผู้ปกครองในการให้เด็กมาร่วมกิจกรรมปฏิบัติตน วางตัวให้เด็กเชื่อถือ

16.ในการทำงาน ถ้ามีการทำงานผิดกฏข้อตกลงที่ทำร่วมกัน ใช้การพูดคุย ถามสาเหตุ และเหตุผล และทำข้อตกลงกันใหม่ เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช้การดุด่าหรือตี

17.พูดคุยชักจูงให้ผู้สนับสนุนเกิดความเชื่อถือในการบริหารจัดการและความโปร่งใสของโครงการและกิจกรรมให้เน้นประโยชน์และโทษรวมทั้งผลลัพธ์โดยรวมที่เกิดขึ้นให้รับทราบ

18.สังเกตุและให้เด็กได้เลือกกิจกรรมหรือฝึกอาชีพตามความชอบและความถนัดของตนเอง

19.มีการวางแผนและทำปฏิทินการทำงานหรือทำกิจกรรมในแต่ละเดือนโดยการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างเยาวชน ผู้คอยให้การสนับสนุน

20.มีการติดตามเยาวชนตลอด

21.เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชน เช่น เป็นหน่วยกู้ชีพ

22.ในการทำงานต้องมีผู้ที่สามารถทำงานแทนกันได้#