การออกแบบการเรียนรู้เพื่อนำสู่การสร้างอุปนิสัยพอเพียง




                      








 ประกายความคิดในวันเริ่มต้น



 


ในปี พ.ศ. 2547


ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้เป็นครูผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนหลัก


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโยธินบูรณะ จึงได้ตอบรับที่จะทำในทันที


ด้วยเห็นว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ในฐานะข้าแผ่นดินสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์


จึงยินดีและเต็มใจที่จะทำอย่างยิ่ง แม้จะยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรก็ตาม




                     








จุดเริ่มต้นมาจากการทำความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ด้วยการให้นักเรียนทำกิจกรรมลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อในหลวง


และมีการทำวิจัยเล็กๆ เพื่อสำรวจพฤติกรรมนักเรียน


แล้วนำมากำหนดเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน


โรงเรียน ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริโภค ด้านการเรียน และการใช้เวลาว่าง


ด้านพฤติกรรมและการประหยัดพลังงาน


สุดท้ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ซึ่งทำให้ทราบบริบทของโรงเรียนและพบว่านักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะมีศักยภาพ


ในการเก็บออมและแบ่งบันแต่ยังทำน้อยเกินไป


จึงนำมาสู่การคิดกิจกรรมหรือแนวทางที่จะให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด






 




 


แนวทางในการปฏิบัติ



 ค่ายผู้นำเยาวชนพอเพียง และการขยายผล



 




กิจกรรม


ที่ทำเป็นกิจกรรมแรกคือการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มหนึ่งราว 50 คน


ไปเข้าค่ายสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


เพื่อพัฒนาให้เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนภายในโรงเรียน








หลังจากกลับมาแล้วนักเรียนเกิดความคิดอยากทำให้ต่อเนื่อง


ครูจึงให้เขารวมกลุ่มและค่อยๆ สร้างตัวตนขึ้นมา


พร้อมกับการสร้างความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจนขึ้น


โดยจัดให้มีการประกวดสัญลักษณ์ของชุมนุม ซึ่งเขาก็จะไปทำ story board


มาแข่งขันกัน


โดยโจทย์ที่ให้คือต้องอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ที่ออกแบบมาว่าคืออะไร


หมายถึงอะไร พอมาถึงขั้นนี้เมื่อได้สัญลักษณ์มาแล้ว เด็กๆ


ก็มีคำถามขึ้นมาเองว่า แล้วสัญลักษณ์นี้จะไปอยู่ที่ไหน


ครูจึงให้เด็กช่วยกันคิดต่อ ซึ่งเขาก็เสนอหลายอย่าง เช่น เอาไปติดบนเสื้อ


จากนั้น จากนั้นตั้งโจทย์ต่อ


โดยออกอุบายให้เขียนเรื่องที่ไปเรียนรู้มาจากการเข้าค่ายมาคนละเรื่อง


พร้อมวิเคราะห์ว่าเป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร นั่นคือ


การนำสิ่งใกล้ตัวเด็กมาสอน


และช่วยย้ำให้เด็กเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ในที่สุด


แกนนำกลุ่มนี้ ได้รวมตัวกันตั้งชุมนุมขึ้นชื่อ ชุมนุมโมโย (Moderate Youth


Club) หมายความถึง เยาวชนที่เดินทางสายกลางตามแนวพระราชดำริ








ครู


ปริศนานำกระบวนการที่ได้จากค่ายมาสู่การจัดตั้งและดำเนินกิจกรรมของชุมนุมโม


โย ออกแบบการเรียนรู้ให้เด็กอย่างง่ายๆ ให้เด็กมีอิสระในการคิด


และให้มีส่วนร่วม ในลักษณะเด็กคิด เด็กทำ ส่วนครูมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง


คอยถาม คอยชี้แนะว่า เมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้าจะต้องแก้ไขอย่างไร


โดยใช้วิธีให้นักเรียนช่วยคิดและค้นหาคำตอบ ครูมีหน้าที่สร้างโอกาส


เปิดเวทีให้เขาได้เรียนรู้ และให้เขาทำ และสอนเขาจากสิ่งที่เขาทำ




































  












































ผล


การออกแบบและการสอนดังกล่าวทำให้ในสองปีแรกของชุมนุมโมโย


คิดกิจกรรมออกมาจำนวนมาก


โดยเฉพาะการออกแบบเกมที่สอดแทรกการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


เป็นลักษณะของเกมเรียนปนเล่น เช่น เกมเหยียบกระดาษ เกมยกป้ายแฟนพันธุ์แท้


(ดูรายละเอียดในเรื่อง “โมโย : ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง)


โดยทดลองทำกันในโรงเรียนก่อน เมื่อมั่นใจว่าทำได้ และเข้าใจดีแล้ว


จึงคิดขยายออกไปทำกิจกรรมกับนักเรียนโรงเรียนอื่น และในช่วงสองปีหลัง


“โมโย” สามารถยกระดับขึ้นมาเรื่อยๆ


โดยมีการกลับมาทบทวนสรุปบทเรียนของการไปทำกิจกรรมแต่ละครั้ง จุดเด่น


จุดด้อย ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น มีการแก้ไขอย่างไร


เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป 








ครู


ปริศนากล่าวว่า


การที่ครูโหมเกลียวกระตุ้นให้นักเรียนคิดและทำอย่างรอบคอบโดยใช้หลักปรัชญาฯ


เป็นหลักยึด ทำให้พบว่าชุมนุมโมโยยกระดับตัวเองมาเรื่อยๆ


จากในปีแรกเป็นการเริ่มสร้างตัวตนของเด็ก พอเด็กเริ่มรู้สึกมีตัวตน


พอมีเด็กรุ่นน้องๆ ตามมา


ก็เริ่มติดยึดตัวตนว่าจะทำอะไรก็ต้องชุมนุมโมโยของเรา ครูจึงเกิดความคิดว่า


ถึงเวลาที่โมโยต้องสลายตัวตน


เด็กต้องไม่ยึดมั่นว่าการทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเป็นโมโยทำเท่านั้น


แต่ต้องให้เด็กเข้าใจในส่วนลึกว่า สิ่งที่เขาทำคืออะไร


ความดีที่ทำมามีคุณค่าให้กับตัวเองอย่างไร


ฉะนั้นสองปีหลังนี้ครูจึงออกแบบวิธีการโดยให้นักเรียนไปชวนเพื่อนในชุมนุม


อื่นๆ มาร่วมทำกิจกรรมร่วมกันโดยดูที่เป้าหมายของสิ่งที่ทำ คือ


อุดมการณ์ยังอยู่ คุณค่าในตัวเองยังอยู่


ในขณะเดียวกันนักเรียนจะทำกิจกรรมอยู่ในชุมชนใดก็ได้


ไม่จำเป็นต้องอยู่ชุมนุมโมโย แต่ขอให้เอาหลักคิด


หลักการและหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้


ซึ่งครูพบว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถเสริมสร้างและ


สอนทักษะชีวิตที่แทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียนได้ดี


และเด็กเหล่านี้ก็ทำหน้าที่ไปขยายต่อให้กับเพื่อนในโรงเรียน


โดยครูมีหน้าที่สร้างโอกาส ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ชี้แนะความคิด




การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลงในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม




การ


นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในวิชาสังคมศึกษาทำได้ไม่ยากเพราะ


เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียน และมีกำหนดไว้ในหลักสูตร


ในมาตรฐานและตัวชี้วัดอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น


การทำแผนที่ความดีกับการสอนเรื่องค่านิยมความพอเพียงในสาระที่ 2


หน้าที่พลเมือง และการทำโครงงานประวัติศาสตร์


กับการสอนเรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ


เพียง








“การ


สอนเรื่องใดก็ตามที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของตัวนักเรียน


จะเป็นเรื่องที่สอนแล้วก่อให้เกิดพลังขึ้นในตัวเด็ก


ยิ่งเมื่อนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเองแล้วจะยิ่งทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้


ลึกซึ้งและเร็วกว่าการสอนแบบบรรยายหรือวิธีสอนอื่นๆ


แต่การเรียนแบบนี้จุดสำคัญจะอยู่ที่ครูที่จะต้องคอยเป็นผู้แนะนำ เชื่อมโยง


ให้ความรู้ที่นักเรียนยังไม่เข้าใจอยู่เป็นระยะๆ


ระหว่างทำก็ให้นักเรียนพยายามค้นหาสิ่งที่ครูต้องการ


คือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้วยการตั้งคำถาม ชวนคิด


เปิดโอกาสให้นักเรียนในห้องมีส่วนร่วมในการซักถามและเรียนรู้ไปพร้อมกัน”






 




การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
















  • เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน มีอิสระในการเรียนรู้





  • สร้างให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้ เพราะความสุขเป็นเงื่อนไขสำคัญที่พาให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน





  • ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่




 




การทำแผนที่ความดี



 




แผนที่


ความดี เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางฯ


คือ การเป็นพลเมืองที่ดี แผนที่ความดี


เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง


เรียนรู้จากการปฏิบัติ (learning by doing) โดยครูใช้กระบวนการสร้างความรู้


ผ่านวิธีการสืบค้นด้วยตนเอง กระบวนการคิด


และสุดท้ายเป็นการนำเสนอด้วยการเขียน และการเล่าเรื่องเร้าพลังในกลุ่ม กับ


การเล่าหน้าชั้นเรียน






 




ครูออกแบบการสอนแผนที่ความดี เป็น 3 ส่วน



 




ส่วนที่ 1


นักเรียนสืบค้น ความหมายของคำ 5 คำ คือ ความรู้ ความจริง คุณค่า ความดี


และความพอเพียง จากนั้นให้นักเรียนสังเคราะห์ความหมายของคำเหล่านั้น


ในมุมมองของตนเอง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้








ส่วนที่ 2 หาคนต้นแบบ นักเรียนค้นหาคนที่เขาประทับใจ โดยนักเรียนเลือกตัวอย่างคนดีจากคน ใกล้ชิด คนในครอบครัว หรือบุคคลอื่น








ส่วนที่ 3


ถอดบทเรียนจากบุคคลที่ประทับใจ ว่าทำไมนักเรียนจึงคิดว่าเขาเป็นคนดี


เขามีคุณธรรมอะไรบ้าง ซึ่งเป็นขั้นที่เด็กต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์


และสังเคราะห์ให้เห็นว่าคนที่ตนเองเลือกนั้นดีอย่างไร






 




ดัง


นั้น ทุกห้องก็จะมีเรื่องประทับใจ ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้


เด็กได้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการทำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้


และสิ่งสุดท้ายที่ได้คือ


เขาจะรู้ว่าการเป็นพลเมืองดีและในความหมายที่กว้างกว่าที่กำหนดไว้ในวิชา


หน้าที่พลเมือง คือ


รู้ว่าพลเมืองดีนอกจากเคารพกฎหมายแล้วยังต้องเป็นคนดีด้วย




 







ผล


ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมแผนที่คนดี คือ


นักเรียนและครูได้เรียนรู้เรื่องราวความดีมากมายที่เด็กทำ ทั้งนี้


ระหว่างที่เด็กเล่าเรื่อง ครูก็ทำหน้าที่เหมือน


“คุุณอำนวย”ที่


คอยซักถามเด็กว่า ใช้อะไรเป็นหลักยึดในการทำความดีนั้นๆ


และเมื่อทำความดีแล้วรู้สึกอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร


และเกิดคุณธรรมอย่างไรกับตัวเอง 








การ


ทำบันทึกความดีของนักเรียนตามการทำแผนที่คนดี


ก่อให้เกิดตัวอย่างคนดีมากมายที่นักเรียนได้ค้นพบด้วยตัวเอง


ทั้งที่เป็นคนดีตามหลักคำสอนของศาสนา คนดีที่สังคมยอมรับ คนดีของครอบครัว


เป็นต้น ซึ่งครูสามารถหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในการสอนอีกครั้งหนึ่ง


พร้อมกับสอนเรื่องความพอเพียงไปพร้อมกัน ดังเช่น


เรื่องเล่าของนักเรียนคนหนึ่งชื่อ


“บุญ (อัมรินทร์)” เขา


เล่าว่าทุกวันจะไปวิ่งออกกำลังกายบริเวณสายใต้ใหม่


แล้วมีอยู่วันหนึ่งมีขอทานมาขอสตางค์ค่ารถกลับบ้าน


แวบแรกที่เขาเห็นสภาพของคนนั้นเขารู้สึกอยากช่วยเหลือเพราะสงสาร


จึงควักไปในกระเป๋าพบว่ามีธนบัตรใบละ 500 บาทอยู่ใบเดียว


บุญตัดสินใจให้เงินกับขอทานไป แล้วผลก็คือบุญก็กลับบ้านไม่ได้


ต้องโทรศัพท์หาคุณแม่ว่าจะนั่งแท๊กซี่กลับไปแล้วให้คุณแม่มารอพร้อมกับ


เตรียมจ่ายค่าแท๊กซี่ให้ด้วย


ครูจึงขออนุญาตบุญนำเรื่องนี้มาเป็นตัวอย่างในการสอนเศรษฐกิจพอเพียงว่านี่


เป็นการกระทำที่ไม่พอดี ไม่พอประมาณ ไม่มีเหตุผล บุญจึงไม่มีภูมิคุ้มกัน


บุญเสี่ยงที่จะไม่ได้กลับบ้าน ถ้าโทรศัพท์เสีย หรือโทรไปแล้วแม่ไม่อยู่บ้าน


บุญจะทำอย่างไร เป็นการนำเรื่องเล่าในบันทึกความดีของเด็กมาสอนต่อ 








วิธี


การสอนผ่านกิจกรรมบันทึกความดีนี้ ทำให้ครูปริศนาค้นพบว่า


แทนที่ครูจะไปสอนคุณธรรม ค่านิยมและ เศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน


ก็เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง


ทำให้เกิดความรู้ที่คงทนฝังแน่นมากกว่าการเรียนรู้แบบอื่นๆ








กิจกรรม


นี้ทำให้ผู้เรียนทุกคนมีสมุดบันทึกความดีที่ทำขึ้นเองที่เขาภาคภูมิใจ


และผลจากการสอนครั้งนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถให้นิยามคำว่า “ความดี” “คนดี”


ในหลากหลายมิติ ได้เห็นแนวทาง วิธีการในการทำความดี


และสามารถบอกได้ว่าระหว่างทำและหลังทำความดีแล้วนั้นเกิดคุณธรรมในด้านใด


บ้าง


และยังได้คัดเลือกสมุดบันทึกความดีบางส่วนส่งไปให้โรงเรียนในเครือข่ายเพื่อ


เป็นการขยายผลด้วย










 




























On


Ratchadamnoen Road คือ โครงงานที่เด็กกลุ่มหนึ่งทำแล้วประทับใจเพื่อนๆ


มาก


โดยเด็กกลุ่มนี้เลือกไปเรียนรู้บนถนนราชดำเนินว่าบนถนนสายนี้มีประวัติ


ศาสตร์อะไรบ้าง


เริ่มจากการที่นักเรียนไปรวมตัวตั้งต้นกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


และไปศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุดธรรมศาสตร์


แล้ววางแผนการทำงานแต่ละสัปดาห์ว่าจะเดินไปที่ไหนบ้าง


เสร็จแล้วในการนำเสนอซึ่งครูไม่ได้กำหนดรูปแบบ


เด็กกลุ่มนี้เขาสมมติตัวเองเป็นนักเขียนที่ต้องการเขียนเรื่องที่ไปรู้มาใน


ลักษณะคอลัมนิสต์








 โครงงานประวัติศาสตร์ไทย








การ


เรียนรู้ผ่าน “โครงงาน”


มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้เด็กเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยอย่างลึกซึ้ง


ไม่ใช่เรียนประวัติศาสตร์แบบท่องจำ


โดยเน้นการเรียนรู้จากการได้ทำด้วยตัวเอง


เพื่อแก้ปัญหาเด็กเบื่อไม่อยากเรียน และให้เด็กทำเรื่องใกล้ตัว


แล้วใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์แล้วให้พอเหมาะกับความรู้ความสามารถของผู้


เรียน








ครู


จึงเลือกวิธีสอนโดยใช้โครงงาน


ด้วยการแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มแล้วให้ผู้เรียนคิดว่าในพื้นที่บริเวณใกล้ๆ


โรงเรียน มีอะไรที่น่าเรียนรู้


โดยให้เด็กใช้เวลาว่างนอกชั่วโมงเรียนหรือวันหยุดทำกิจกรรมนี้







ก่อน


ลงมือปฏิบัติ ครูยกตัวอย่าง “ถนนเกียกกาย”


ที่อยู่หน้าโรงเรียนว่าเป็นถนนสายปฏิวัติ


เพราะมีหน่วยงานทหารหลายหน่วยงานตั้งอยู่รายรอบ


เวลาเกิดปฏิวัติแต่ละครั้งจะมีรถทหารใช้เส้นทางถนนนี้ในการเดินทางไปรัฐสภา


ไปทำเนียบรัฐบาล และมีการปิดถนนบริเวณหน้าโรงเรียนเป็นอันดับแรก


เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ








จาก


นั้นให้ผู้เรียนเลือกสถานที่หรือบริเวณที่เขาจะไปค้นหาประวัติศาสตร์ที่พวก


เขาอยากเรียนรู้ ทั้งนี้


ครูไม่ได้กำหนดรูปแบบของโครงงานว่าควรจะออกมาในรูปแบบใด


แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดเองว่าแต่ละกลุ่มจะนำเสนอในรูปแบบใด


ซึ่งพบว่าระหว่างทำโครงงานเด็กจะรู้สึกสนุกสนานมาก


และแต่ละกลุ่มก็จะแข่งขันกันปิดเป็นความลับว่าทำเรื่องอะไร


ระหว่างทำกิจกรรม แต่ละกลุ่มจะต้องเขียนโครงเรื่องมาให้ครูดูก่อน


โดยครูจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเป็นระยะๆ








จะ


เห็นว่าในกระบวนการสอนดังกล่าวข้างต้น


ทำให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ตั้งแต่


เริ่มวางแผนการทำงานที่ต้องพอประมาณกับเวลา เพราะนักเรียนชั้น ม.6


มีข้อจำกัดด้านเวลามาก ฉะนั้นจึงจะต้องทำอะไรที่พอดีกับเวลาที่มีอยู่








การ


วางแผนก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน


โดยระหว่างที่เขาทำงานและมาปรึกษากับครูเป็นระยะๆ


นั้นครูก็จะแนะนำว่าเมื่อมีเวลาน้อย


ก็ต้องทำให้พอเหมาะพอดีตามเหตุผลของแต่ละชิ้นงาน


เพราะหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เนื้อหาแต่เป็นหลักการที่จะนำไปใช้


เป็นแนวทางในการปฏิบัติ


ดังนั้นจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องที่ทำ








และ


หากนักเรียนต้องทำเป็นหนังสือขาย


ทำอย่างไรให้มีความน่าสนใจเหมือนหนังสือบนแผงหนังสือ


สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่ครูปริศนามอบให้เมื่อนักเรียนมาปรึกษา


และในที่สุดเด็กๆ ก็เลือกเขียนในแบบของตัวเองเสร็จแล้วก็นำมารวมเป็นเล่ม


รายงานเล่มนี้จึงไม่เหมือนรายงานทั่วไปแต่เป็นเหมือนหนังสือรวมเรื่องสั้น


งานชิ้นนี้จึงเป็นความภาคภูมิใจของครูปริศนา


ขณะที่นักเรียนเองก็มีความภาคภูมิใจในผลงานตนเองเช่นกัน






 




การขยายผลสู่ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ



 




การ


ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแบบของโรงเรียนโยธินบูรณะ


มีลักษณะเป็น bottom up คือ ข้างล่างเสนอขึ้นไป


ปัจจัยที่เอื้อให้การขับเคลื่อนของโรงเรียนโยธินบูรณะมีการพัฒนาอย่างต่อ


เนื่อง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและฝ่ายบริหารที่ยึดหลักกระจายอำนาจ


โดยจะเปิดโอกาสให้ทุกคนทำงานอย่างเท่าเทียมกัน


เปิดโอกาสให้คิดเหมือนกับที่ครูทำกับเด็ก


เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมที่จะทำอะไรก็เสนอไปได้


ท่านมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน


โดยในเรื่องนี้ท่านผู้อำนวยการเห็นด้วยในการนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใส่


ไว้ในวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปในฝ่ายต่างๆ


ของโรงเรียน








ครูปริศนากล่าวว่า ในบทบาทผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อน ในปีแรกซึ่งครูยังไม่เข้าใจ จึงใช้วิธีการหาพันธมิตรมาเป็น


“หัวหมู่ทะลวงฟัน” คือ ไปหาเพื่อนครูในกลุ่มสาระต่างๆ ที่สนใจ เช่น ภาษาไทย ศิลปะ การงานอาชีพ ให้มาดู มาช่วยก่อน และเป็นลักษณะ “พาดูพาทำ” พอ


เป็นพันธมิตรกันได้แล้ว ในปี พ.ศ. 2549


โรงเรียนจึงนำไปบูรณาการในการเรียนการสอน โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ หนึ่งคือ


บูรณาการแบบสอดแทรกไปในหลักสูตรที่สอน โดยครูคนเดียว สองคือ


สอนโดยใช้โครงงาน มีการบูรณาการแบบสหวิทยาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้


ซึ่งการออกแบบการสอนเป็นจุดที่สำคัญ และในปีถัดมาจึงเปลี่ยนวิธีการใหม่


โดยออกแบบชิ้นงาน กำหนดชิ้นงาน มาก่อน


ตามด้วยการจัดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และตัวชี้วัด


เมื่อสอนจบก็ตรวจชิ้นงาน