การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “นักถักทอชุมชน: เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว” เปิดเวทีเรียนรู้ของนักถักทอชุมชน รุ่น 2 ครั้งที่ 8 โซนภาคอีสาน จังหวัดสุรินทร์ โดย อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ วิทยากรกระบวนการหลักของหลักสูตรนักถักทอชุมชน ภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัวดำเนินการโดย สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสนับสนุนโดย มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2558 ณ ศูนย์ฝึกอบรมเนท ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์

­



โดย อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของเวทีเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อให้นักถักทอชุมชนมีโอกาสในการถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งแนวทางในการขับเคลื่อนงานในระยะต่อไป ทั้งปัญหา อุปสรรค ต่อนายกฯและปลัดของตนเองได้รับทราบอีกด้วย พร้อมทั้งให้ได้รับทราบตัวอย่างวิธีคิด วิธีการและผลการขับเคลื่อนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความก้าวหน้าที่โดดเด่น และเป็นเวทีที่ทำให้นักถักทอชุมชน นายกฯ ปลัด เกิดการทำงานเป็นทีมมากขึ้นนั่นเองสำหรับประเด็นในการนำเสนอนั้น นักถักทอชุมชนได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาเด็ก เยาวชน ครอบครัวในพื้นที่ของตนเองรวมทั้งสาเหตุ และภาพที่อยากเห็น เป้าหมายปลายทาง รายทาง และกิจกรรมที่ทำมาแล้ว และมีสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน โรงเรียน ฯลฯ

เปิดเวทีภาคอีสานครั้งที่ 8
“การเรียนของนักถักทอชุมชนคือการเรียนวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาเด็ก เยาวชนให้เป็นเด็กดี เด็กเก่ง ของพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นพลเมืองดีของชุมชน คือไม่สร้างภาระ มีจิตอาสาช่วยสังคม ฝึกเด็กโดยให้เด็กทำโครงงานที่ชอบที่ถนัดทำแล้วมีโอกาสได้นำเสนอให้ชุมชนรับทราบเช่น ในวันเด็กที่ผ่านมา ค่อยๆ ทำจากข้างล่างขึ้นมาเพื่อให้มีกลไกที่ยั่งยืน มีแกนนำเยาวชนที่ส่งไม้ต่อรุ่นต่อรุ่นมีท่านทั้งหลายได้เกื้อหนุนงานเด็ก เยาวชน” อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ กล่าวเปิดเวที

­



ปลัดสุรศักดิ์ สิงห์หาร ปลัดเทศบาลตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ในฐานะนักถักทอชุมชนรุ่นพี่ มาเล่าการทำงานเส้นทางพัฒนาเด็ก เยาวชนทต.เมืองแก เริ่มตั้งแต่ปี 2549 จากทำเป็นแค่กิจกรรมแล้วก็จบไปไม่สามารถแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนได้ยั่งยืน จนกระทั่งปี 55 เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้าเรียนในหลักสูตรนักถักทอชุมชน เจ้าหน้าที่ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำงานได้ How To ในการทำงานเด็ก เยาวชนจนเกิดการขยายสู่เจ้าหน้าที่ในอบต.ทุกคนปัจจุบันงานพัฒนาเด็ก เยาวชน วันนี้ทต.เมืองแกเกิด 4 วิชาคือ

วิชาชีวิต คือกิจวัตรประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนถึงเข้านอน การช่วยเหลืองานในบ้าน

วิชาชุมชน คือการสืบค้นประวัติชุมชน การจัดทำแผนที่เดินดินในหมู่บ้าน

วิชาชีพ คือการฝึกผู้ปกครองทำร่วมกับลูก เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ การทำไข่เค็ม ฯลฯ

วิชาการ คือใช้พี่สอนน้อง สอนซ่อมเสริมให้เยาวชนที่เป็นรุ่นพี่มาสอนวิชาการกับน้อง

สรุปกรอบหลักสูตร โรงเรียนชุมขน เกิด 12 โครงงานที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน เช่นโครงงานไข่เค็มจากเดิมซื้อไข่เป็ดมาทำกลายเป็นเยาวชนร่วมกลุ่มกันเลี้ยงเป็ดเพื่อให้ช่วยลดต้นทุน

สุดท้าย ปลัดสุรศักดิ์ สิงห์หาร ปลัดเทศบาลตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ การถอดบทเรียนการทำงานให้เกิดความสำเร็จในทต.เมืองแก

  • ทำงานกับชุมชนต้องสร้างประโยชน์ร่วมกัน
  • ไม่ใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือในการสร้างผลงานต้องคำนึงถึงประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก
  • สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
  • เจ้าหน้าที่ต้องฝึกฝนทักษะเพื่อบริหารจัดการตนเอง
  • สร้างวัฒนธรรมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • เอาชุมชนเป็นตัวตั้ง หาเป้าหมายร่วมกัน ทุกคนรู้บทบาทตัวเอง
  • สร้างผลงานให้เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น ศรัทธา
  • พัฒนาทำงานกับนักการเมือง ขยัน ไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก มีความสามารค ลงมือทำงานเรียนรู้จากงานที่ทำเป็นไปตามเป้าหมาย


“เห็นบทเรียนการทำงานของพวกเราแล้ว หวังว่าท่านจะได้บางอย่างที่จะไปช่วยขยับการทำงานของท่านได้ต่อไป”

­


นายจักรกฤษณ์ พาณิชย์กิจเจริญ นายกเทศมนตรี ทต.เมืองแก กล่าวในฐานะนักบริหาร...

“..เมื่อก่อนทต.เมืองแกก็ทำงานแบบสะเปะสะปะ ตอนหลังเรามาเริ่มสร้างความสามัคคีให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนใครจะประจบสอพลอไม่ได้ เลิกหมด การทำเรื่องเด็ก เยาวชนก่อนอื่นเราต้องคุยกับปลัดมาคุยกันว่าเราอย่าทะเลาะกันท่านมีอะไร อะไรที่สั่งไปถ้าไม่ถูกก็แย้งได้ เปิดอกพูดคุยกัน ปล่อยให้เขาทำงาน ถ้าไปตามเรื่องเงินไม่มีใครอยากทำกับเรา ปล่อยให้เขาทำงานอิสระ จบงานมีปัญหาอะไรก็มาพูดมาคุยมาแก้ไข ต้องเปิดอกกันสำคัญมากเรื่องงบประมาณเจ้าหน้าที่อยากทำอะไรให้เขาทำอย่างต่อเนื่อง เราอย่าไปตั้งเป้า ว่าทำแล้วได้ 90 ร้อยเปอร์เซนต์ ได้สิบเปอร์เซนต์ก็นับว่าดี พอจบงานก็มาคุยกันช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น สุดท้ายขอฝากกับท่านผู้บริหาร ปลัด น้อง ๆ ให้มีสามัคคีกัน จะทำอะไรก็ราบรื่นได้ตามเป้าหมายที่วางไว้”

จากนั้นนักถักทอชุมชนรุ่น 2 รายงานความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนงานของนักถักทอชุมชนของแต่ละพื้นที่เริ่มที่

ทต.กันตวจระมวล

นำเสนอโครงงานที่เยาวชนในทต.กันรวจระมวล กำลังทำคือโครงงานสานต่อศูนย์เรียนรู้พลังงานเรียนรู้พลังงานทางเลือก ที่ต้องเกิดการสะดุดเพราะผู้ใหญ่ใจดีไม่ว่าง ถอดบทเรียนการทำงานที่สำคัญ “อย่าให้ความอยากของน้อง หยุด สะดุดลง ให้น้องได้สานต่อกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะทำให้เยาวชนอยู่กับเราได้นาน”

อบต.โคกยาง

ทุกปีที่อบต.โคกยาง มีกิจกรรมให้เยาวชนได้รักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีการเดินป่าในชุมชนเพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ จากการสังเกตจากการทำกิจกรรม เห็นเยาวชนสามารถดึงกลุ่มเพื่อนในหมู่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมได้ มีความเป็นผู้นำได้ เด็กอยากทำสิ่งต่างๆ เพื่อหมู่บ้านของตนเองมากขึ้น

สิ่งดีๆ ที่ได้เด็กคิดกิจกรรมการเพาะเห็ดในตะกร้า ได้ข้อคิดจากหน่วยงานที่ไปปรึกษา

“เด็กคิดได้แต่เวลาทำ เด็กจะทำได้หรือเปล่า ให้ดูเรื่องความสัมพันธ์ในชุมชน ผู้ใหญ่ใจดีในชุมชนด้วยเพราะต้องเป็นผู้ช่วยเด็ก”




อบต.โชกเหนือ สิ่งที่เด็กๆ เห็นปัญหา

ผลวิเคราะห์สถานการณ์เด็กอบต.โชกเหนือจากแกนนำเยาวชนคือ เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ ติดเกมออนไลน์ มั่วสุมเหล้าบุหรี่ เพราะตามเพื่อน เลียนแบบเพื่อน ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่ ระบบการศึกษาไม่มีคุณภาพ ครอบครัวขาดความอบอุ่น

การแก้ไข ควรปลูกจิตสำนึกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพ ร้านเกมควรมีจรรยาบรรณ เปิด ปิด เป็นเวลา ไม่อยู่ตามลำพังกับคนต่างเพศ การสร้างอาชีพให้กับเด็ก ให้พ่อแม่เอาใจใส่มากขึ้น ควรจัดกิจกรรมให้เยาวชนมากขึ้น

“...เพราะน้องๆ ต้องการทำกิจกรรมแต่ไม่มีคนผลักดัน นักถักทอชุมชนจึงเข้ามาช่วยเสริมหนุน เพราะหลักสูตรนักถักทอชุมชนได้สอนเรื่องการเชื่อมร้อยคนทำงานนั่นเอง การเข้าร่วมครั้งนี้ทำให้เกิดสิ่งดีๆ คือ ได้ทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนมากขึ้น จากเมื่อก่อนถูกมองข้ามไป” นางอาภาบุญศักดิ์ (อ๋า) นักพัฒนาชุมชน อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ นำเสนอ

­


อบต.บ้านไทร

จากการวิเคราะห์สถานการณปัญหาของเด็ก เยาวชนในชุมชนอบต.บ้านไทรร่วมกับชุมชน ทำให้ชุมชนเริ่มตระหนักถึงปัญหา และเริ่มเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ

ความรู้ที่นักถักทอชุมชนได้จากการทำกิจกรรมคือการเลือกใช้สื่อในการทำกิจกรรมกับเด็ก ทำให้เด็กไม่เคอะเขิน สามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้มาก...

กิจกรรมที่ทำในชุมชน มีโรงเรียน อบต. วัด บ้าน มาร่วมพูดคุยกัน เช่น เรื่องกิจกรรมสิ่งแวดล้อมที่หมู่บ้าน การบริหารจัดการด้านขยะชุมชน มีการจัดการอย่างถูกวิธี ระดมความคิด จนเกิดกิจกรรมชุมชนหมู่บ้านน่ามองฯ กิจกรรมสืบค้นชุมชนผ่านสมุดเล่มเล็ก เด็กหมู่ 4 จะมีการประชุมกันทุกเย็น เด็กจะร่วมกันออกแบบ ส่วนนักถักทอชุมชนได้เป็นที่ปรึกษา เข้าไปถาม ไปกระตุ้นให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรม

อบต.เพี้ยราม ผู้ใหญ่ร่วมแก้ไข

ผู้ใหญ่ในชุมชนมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้โอกาสเด็ก เด็กก็จะไม่สามารถทำกิจกรรมหรือพัฒนาตนเองได้ วันนี้ผู้ใหญ่ในชุมชนให้การยอมรับปัญหาในชุมชนว่ามีอะไร และพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ทำให้อบต.เพี้ยรามมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน ชัดเจนขึ้น

­



หลังจากเสร็จสิ้นการนำเสนอรายงานของนักถักทอชุมชนต่างร่วมสะท้อนความคาดหวังต่อผู้บริหารดังนี้

  • ขอให้เข้าใจบทบาทของนักถักทอชุมชน
  • หนุนด้านงบประมาณช่วยผลักดันการทำงาน
  • หนุนให้บุคลากรและทีมงานมาช่วยงาน ต้องการให้ทีมงานในอบต.มาช่วยกันทำงาน
  • การมีส่วนร่วมให้กำลังใจ ต้องการผู้บริหารให้กำลังใจในการทำงาน
  • เปิดใจยอมรับความคิดเห็นไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวมาใช้กับงาน
  • ไม่อิงการเมือง งานด้านเด็ก เยาวชน ขับเคลื่อนได้ดี ต้องปลดล็อกตรงนี้
  • นโยบาย ความคิดเห็นของผู้บริหารขอให้มีแนวทางเดียวกัน
  • ช่วยประสานภาคีเครือข่ายภายนอก ทั้งประสานงานและงบประมาณ
  • เป็นส่วนหนึ่งของนักถักทอชุมชน คือ การมาเป็นหัวหน้าทีมในการขับเคลื่อนงาน
  • เมื่อส่งมาเรียนหลักสูตรฯแล้ว อยากให้ส่งเสริม ผลักดันให้ถึงเป้าหมายคือการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง
  • ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่อบต. งานนี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีเป้าหมายร่วมกัน ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ร่วมกันคือความภาคภูมิใจขององค์กร
  • ไม่ใช้มาตรฐานตำแหน่งงานมาแบ่งงาน เช่น งานกีฬา เป็นงานของส่วนการศึกษา เป็นต้น อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน
  • คาดหวังให้ผู้บริหารปรับทัศนคติ ให้คิดว่างานเด็ก เยาวชนเป็นงานของภายในองค์กร
  • ขอให้บรรจุแผน เด็ก พัฒนา ให้อยู่ในแผนพัฒนา 3 ปี
  • มีการประชาสัมพันธ์ทีมงานนักถักทอชุมชน ให้ชุมชนได้รับทราบว่านักถักทอชุมชนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
  • พัฒนาไปด้วยกัน พัฒนาคน งาน องค์กร

­


จากนั้นผู้บริหารสะท้อนความคิดเห็นต่อนักถักทอชุมชนดังนี้

  • คาดหวังให้นักถักทอชุมชนมาขับเคลื่อนงานในองค์กร
  • คาดหวังให้เป็นวิทยากรกระบวนกร
  • อยากให้ทำงานสำเร็จลุล่วง มีการประสานงานกันมากกว่านี้
  • มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา กล้าคิด กล้าทำ
  • ยินดีสนับสนุนการทำงานของนักถักทอชุมชน
  • มีกระบวนการทำงานพัฒนาชุมชนที่ชัดเจนขึ้น
  • อยากให้นักถักทอชุมชนเข้าไปสืบค้นในชุมชน ให้เด็ก เยาวชน นำเสนองานผ่านนักถักทอชุมชน
  • ต้องการสร้างศูนย์เรียนรู้ของนักถักทอชุมชน
  • ต้องการให้นักถักทอชุมชนร่วมกับผู้บริหาร ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้เจ้าหน้าที่คนอื่นได้รับรู้ด้วย
  • อยากเห็นการทำงานอย่างต่อเนื่องถึงแม้หลักสูตรนักถักทอชุมชนจะจบไปแล้ว

­


นักถักทอชุมชนภาคอีสานเข้าร่วมเวทีครั้งนี้ได้แก่

1. นางวรนุช มีโชค (หน่อย) รองปลัด อบต.อบต.เพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
2. นางศิริเพ็ญ ดาบทอง (เจน) หัวหน้าสำนักงานปลัดอบต.เพี้ยรามอ.เมือง จ.สุรินทร์
3. นางสุภัทรา สุรินต๊ะ (พุธ) จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต.เพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
4. นางพรปวีณ์ สังข์พิทักษ์กุล (แต็ป)นักพัฒนาชุมชน อบต.เพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
5. นางสาวทักษพร ชาญเจริญ จ๊ะเอ๋ นักวิชาการศึกษา อบต.เพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
6. นางนงลักษณ์ พรหมขันธ์ (เล็ก) นักพัฒนาชุมชน อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
7. นายประเมท เพราะคำ (เมท) หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
8. นางสาวจิรัฐติกาล อยู่แล้ว แหม่ม นักพัฒนาชุมชน อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
9. พ.จ.อ.ไสว สัชชานนท์ (ไหว)รองปลัด อบต.อบต.บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
10. นางสาววิมล สืบสันต์ (มล) หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
11. นางพัตรพิมล มณฑล (จิ๊ก) หน.ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.บ้านไทร จ.สุรินทร์
12. นางสุวิมล บุญเดีย (นก) นักพัฒนาชุมชน อบต.บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
13. นางสาวอาทิตยา บุญสม (เอม) ผช.จนท.วิเคราะห์นโยบายฯ ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
14. นางสาวพัชรี สายวงษ์ (ปุ๊) นักพัฒนาชุมชน ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
15. นางสาวจิราพร น่าชม (มาง) ผช.นักวิชาการเกษตร ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
16. นางสาวสายสุนีย์ แก้วสอน (ปุ้ย) ผช.นวก.ส่งเสริมสุขภาพ ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
17. นางสาวบังอร บุญเนือง (ปอนด์) หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์
18. นางอาภา บุญศักดิ์ (อ๋า) นักพัฒนาชุมชน อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์
19. นางทัศนี ประดุจชนม์ (อี๊ด) จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์
20. นายสราวุธ สายธนู (วุธ)นักวิชาการศึกษา อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์


นายกและปลัดที่มาร่วมในเวทีครั้งนี้ได้แก่

1.นายสุทัศน์ชิดชอบ นายก อบต.องค์การบริหารส่วนตำบลเพี้ยรามอ.เมือง จ.สุรินทร์
2.ว่าที่ร.ท. สิทธิชัยคงใจดี ปลัด อบต.องค์การบริหารส่วนตำบลเพี้ยราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3.นายนำระเมียดดี นายก อบต.อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
4.นายเสนีย์มั่นหมายปลัด อบต.อบต.โคกยาง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
5.นายเหินจุไรย์ นายก อบต. อบต.บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
6.นายชาติชายกล้าเชี่ยวปลัด อบต.อบต.บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
7.นายสุข แนมดี นายก อบต.ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
8.นายธีรชาติแสนชมภู ปลัด อบต. ทต.กันตวจระมวล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
9.นายบัณฑัตจารัตน์นายก อบต. อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์
10.นายบุญส่งสายไทย ปลัด อบต.อบต.โชกเหนือ อ.ลำดวน จ.สุรินทร์

การขับเคลี่อนงานเด็ก เยาวชนในพื้นที่โซนภาคอีสาน ทำให้เห็นพลังในการทำงานของบุคลากรท้องถิ่นที่ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด ถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของข้าราชการไทยเลยทีเดียว