ธนพล กัณหสิงห์
นักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ
ประวัติและผลงาน

­


 

นายธนพล กัณหสิงห์ หนึ่งในแกนนำชุมนุมโมโยรุ่น 2 ผู้ทำหน้าที่ฝ่ายวัดและประเมินผลของชุมนุม และอีกหนึ่งบทบาท คือ การคิดค้นและนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ต่อสมาชิกในชุมนุม เพื่อให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัด ทำแผนงานของชุมนุม


ธนพ ลเล่าถึงที่มาและการดำเนินงานของชุมนุมโมโยว่า เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 หลังจากมีนักเรียนแกนนำกลุ่มหนึ่งประมาณ 50 คนได้ไปเข้าค่ายผู้นำเยาวชนพอเพียง พอกลับมาก็อยากทำกิจกรรมต่อเนื่องและเห็นว่าจะรอแค่ไปเข้าค่ายปีละครั้งไม่ เพียงพอ จึงปรึกษาครูปริศนา และมีการตั้งเป็นชมรมขึ้นมาชื่อว่า “ชุมนุมโมโยคลับ” หลังจากนั้นก็เริ่มเรียนรู้กันเองในชุมนุมก่อน โดยเรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่เน้นเรื่องจิตอาสาและการให้ เพราะรู้ว่าเด็กโยธินมีศักยภาพในการให้ แต่ไม่รู้ว่าจะให้อย่างไร จึงคิดทำกิจกรรม เกี่ยวกับการบริจาค และคิดเกมสันทนาการต่างๆ ที่สามารถแทรกเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย โดยเกมที่คิดขึ้นจะมีลักษณะเรียนปนเล่น (Play and Learn) คือการนำเกมมาให้ทำก่อน แล้วถึงจะสามารถสรุปเอาความรู้ออกมาในตอนสุดท้าย


โดย ก่อนที่จะไปทำเกมให้คนอื่นเล่น มีการวางแผนเตรียมการล่วงหน้า โดยทดลองเล่นกันเองก่อน เมื่อลองทำกันจนชำนาญและมั่นใจจึงเริ่มไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมนุมข้าง เคียง โดยใช้ชั่วโมงชุมนุมทุกวันศุกร์ นำเกมนี้ไปขอลองเล่นกับเพื่อนในชุมนุมอื่น ลองทำไปเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญระดับหนึ่งว่า เกมนี้สามารถดึงความสนใจของคนที่จะมาร่วมชุมนุมได้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนในชุมนุมอื่นๆ ซึ่งระหว่างนี้ก็จะปรึกษาครูปริศนาเป็นระยะๆ


 

เมื่อ การทำกิจกรรมในโรงเรียนเป็นไปได้ดีระดับหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2550 - 2551ชุมนุมโมโยก็เริ่มออกไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนภายนอก ตามโครงการร่วมเรียนรู้สร้างเครือข่าย ขยายผล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยไปที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่ จ.นนทบุรี เป็นโรงเรียนแรกที่นำเกมเหยียบกระดาษที่ลองเล่นกันในโรงเรียนได้ผลมาแล้วใช้ ในการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ผลปรากฏว่าพอเล่นไปแล้วพบมีหลายอย่างไม่เป็นไปตามที่คาด เช่น เกมที่เล่นไม่ได้รับความเชื่อถือเพราะนักเรียนที่ไปสอนอยู่ในวัยใกล้กัน อีกทั้งพลาดที่ไม่ได้วางแผนไปก่อน ทั้งๆ ที่การวางแผนเป็นหลักหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นบทเรียนให้ได้ทบทวนและนำไปใช้ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป ว่าต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ต้องคิดก่อน หาข้อมูลก่อนว่าจะไปที่ไหน กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และควรทำอย่างไร นั่นคือต้องนำหลักเหตุผล พอประมาณ และภูมิคุ้มกันมาใช้ในการทำงานของชุมนุมด้วย 
 

เมื่อ ได้เรียนรู้ประสบการณ์และนำมาปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป นับเป็นการเตรียมภูมิคุ้มกันในการทำงาน ผลการออกไปขยายผลในโรงเรียนต่อมาจึงประสบความสำเร็จและภูมิใจ อยากทำต่อ นั่นคือการไปที่โรงเรียนแห่งที่สอง คือ โรงเรียนวัดโพธิ์ตรุ ต.บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโรงเรียนสอนระดับอนุบาลถึง ป.6 มีนักเรียนประมาณ 100 คน สภาพโรงเรียนเก่า ปลวกขึ้นอาคารเรียน ห้องสมุดปิดตายตั้งแต่โดนน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2538


สมาชิก จึงไปทำโครงการจิตอาสา ไปพัฒนาห้องสมุดให้น้อง และไปทำกิจกรรมเพื่อให้น้องได้มีความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย ใช้ชื่อว่าโครงการธารน้ำใจ พี่ให้น้อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ก่อนหน้านี้ครูปริศนาได้จัดให้มีชั่วโมงในการให้รุ่นพี่ ที่เรียนเก่งมาสอนหนังสือรุ่นน้อง และต่อมาเด็กๆ ก็คิดทำกิจกรรมการรับบริจาคสิ่งของเพื่อนำไปช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลน
 

แผนที่ เตรียมการไปคือทำอย่างไรจะให้น้องได้มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นจึงเริ่มคิดกันแล้วว่าจะแบ่งปันให้น้องได้มีความรู้เรื่องปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนที่พี่ๆ ทำกันมา จึงคิดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัยของน้องซึ่งอายุยังไม่ถึง 12 ปี ที่น่าจะสนใจและเข้าใจได้ง่าย นั่นคือ การเล่านิทาน เมื่อเล่าเสร็จก็สรุปให้น้องฟังว่านิทานเรื่องนี้ต้องการบอกอะไร พร้อมกับถามน้องด้วยว่าเข้าใจไหม เป็นต้น และการไปครั้งนี้เป็นเรื่องจิตอาสา ชุมนุมโมโยจึงไปชักชวนคนนอก หน่วยงานข้างนอก ชุมนุมอื่นๆ อย่างเช่น ชุมนุมอาสาพยาบาล มาจับมือกับชุมนุมโมโยออกไปพัฒนาห้องสมุดและห้องพยาบาลของน้องด้วยกัน โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ครึ่งวันเช้าเป็นการพัฒนา ส่วนครึ่งวันบ่ายเป็นการทำกิจกรรมสันทนาการกับน้อง โดยมีการเตรียมเกมไปให้น้องเล่น เช่น การเล่านิทาน เก้าอี้ดนตรี และกีฬาวอลเล่ย์บอล

 

การ ได้เห็นน้องยิ้มมีความสุข ก็เกิดความภูมิใจ ทำให้รู้สึกว่า สิ่งที่ได้ทำไปไม่ใช่เพียงการแบ่งปันความสุขให้คนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระจายความรู้ และขยายผลเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยกิจกรรมอย่างนี้ และคิดว่าโรงเรียนจะทำโครงการอย่างนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

ปัจจุบัน ชุมนุมโมโยกำลังเตรียมการทำกิจกรรมกับโรงเรียนนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากผลจากการไปครั้งแรกพบว่ายังมีอีกหลายส่วนที่น้องขาดแคลน และได้เขียนบันทึกไว้ให้กับคณะทำงานว่าสิ่งที่เขายังต้องการคือ หนังสือเรียน สมุด บอร์ดความรู้ รองเท้าแตะ (รองเท้าฟองน้ำธรรมดา) เมื่อรู้ความต้องการที่แท้จริงแล้ว ในชุมนุมก็จะมีการมาวางแผนกันว่าจะหามาจากไหน โดยใช้การบอกต่อไปยังเพื่อนกลุ่มต่างกลุ่มที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งการบอกต่อ นอกจากจะเป็นการขยายเครือข่ายแล้ว ยังก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนหลายๆ กลุ่มให้เขามีส่วนร่วม เหมือนกับการทำบุญที่มีการบอกบุญกันต่อๆ ไป

 

ธนพ ลสรุปว่าสิ่งที่ได้จากการมาอยู่ชุมนุมเป็นสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติ เช่น คิดล่วงหน้าเป็น สามารถคาดการณ์ คิดได้แม่นยำมากกว่าแต่ก่อน อย่างเช่นเมื่อก่อนจะประเมินไม่ได้ได้เลยว่าน้องที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเป็น อย่างไร แต่ตอนนี้คาดการณ์ได้แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

 

กิจกรรม นี้ทำให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของการแบ่งปันให้คนอื่น ซึ่งก็ตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กโมโยที่เป็นคนชอบกิจกรรม ในโรงเรียนโยธินบูรณะจะไม่มีชุมนุมไหนให้เด็กออกมาทำกิจกรรมเช่นนี้ ชุมนุมโมโยจึงเป็นกิจกรรมพิเศษ ที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออก มีความสุขในการทำงาน และที่สำคัญทำให้ได้พัฒนาตัวเอง ซึมซับเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในวิถีชีวิต แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ธนพลนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้กับการจัดการกับตัวเอง ทำให้มีการการบริหารเวลา และรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีการวางแผนมากขึ้น และมีการส่งต่อแนวคิดนี้จากรุ่นสู่รุ่น

 

ใน การทำงานของโมโยคลับ มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนตามความสามารถของสมาชิก โดยแบ่งออกเป็นสี่บ้าน คือ บ้านฝ่ายสมาชิก บ้านฝ่ายทะเบียนและประเมินผล บ้านฝ่ายกิจกรรมและนันทนาการ และบ้านฝ่ายสื่อประชาสัมพันธ์ โดยแต่ละบ้านมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป

 

­