โครงการการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อการจัดการตนเอง กลุ่ม sullaminulum
โครงการการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อการจัดการตนเอง กลุ่ม sullaminulum
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน​ โครงการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อจัดการตนเอง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการ เรียนรู้หลักศาสนาเพื่อจัดการตนเอง


โจทย์ปัญหา

โรงเรียนทางธรรมวิทยามูลนิธิประสบปัญหาขยะเยอะ บริเวณพื้นที่ว่างรกร่าง เต็มไปด้วยขยะและหญ้า และเด็กนักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขัดต่อหลักคำสอนและหลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เช่น สูบบุหรี่ โดดเรียนและสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น สาเหตุมาจากนักเรียนในโรงเรียนขาดจิตสำนึกเรื่องการรักษาความสะอาดและขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักคำสอนและปฏิบัติของอิสลาม จึงทำให้มีความกล้าที่จะกระพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ทางกลุ่มจึงมองว่า ถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว ในอนาคต อาจจะทำให้โรงเรียนเต็มไปด้วยขยะ บริเวณพื้นที่ว่างก็จะรกร้างมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายต่างๆเด็กนักเรียนจะไม่เกรงกลัวต่อบาปมากขึ้นจะทำให้นักเรียนเห็นแก่ตัว กล้าที่จะกระทำสิ่งที่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามและอาจรวมไปถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ดังนั้นทางกลุ่ม sullamin ulum จึงคิดที่จะทำโครงการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อจัดการตนเอง โดยการใช้พื้นที่ว่างและรกร้าง จัดกิจกรรมเพื่อเรียนรู้หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้นักเรียนเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมากขึ้น มีจิตสำนึกที่ดีไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด เกรงกลัวต่อบาปจนนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ตลอดจนแกนนำเยาวชนเองได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองในด้านต่างๆ



เป้าหมาย :

เพื่อนได้รู้หลักศาสนาอิสลามเมื่อรู้แล้วนำไปปฏิบัติ อยากให้เพื่อนยึดหลักศาสนาไว้ใจ ถ้าเพื่อนๆเข้าใจว่าศาสนาคืออะไรศาสนาเกี่ยวกับอะไร เพื่อนจะรู้ถึงบาปบุญคุณโทษก็จะไม่กล้าที่จะกระทำความผิด และแกนนำเยาวชนได้รู้หลักศาสนานำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำให้เพื่อนเกิดความสามัคคี และความเสียสละซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากว่าศาสนาอิสลามนั้นสอนให้มนุษย์นั้นเกิดความเสียสละให้คนอิสลามนั้นเกิดความรักต่อกัน รักกันฉันท์พี่น้องดั่งคำว่า มุสลิมทุกคนคือพี่น้องกัน เมื่อเราเป็นพี่น้องเราก็ต้องมีความรักต่อกัน ไม่ทะเลาะในหมู่พี่น้องกันความเสียสละ ก็ตามมา

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการ เรียนรู้หลักศาสนาเพื่อจัดการตนเอง


แกนนำเยาวชนกลุ่ม sullamin ulum  มี 5  คน เป็นนักเรียน โรงเรียนทางธรรมวิทยา มูลนิธิ มีรายชื่อดังนี้

  1. นางสาว มุมีนะ       อักษร (มูนะห์)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  2. นางสาว ฮันซาลา  เด็นมานิ (ดา)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  3. นางสาวจุฑามาส   มะสะ (มะห์)      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  4. นางสาวรอกีเยาะ   เดหลำ (เยาะ)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  5. นางสาวณัฐณิชา   หัดสมัด (นัต)     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5



ที่ปรึกษาโครงการ:   นายมาหามะ   กูเต๊ะ 

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

E-mail : mabkuteh@windowslive.com 


พี่เลี้ยงกลุ่ม   นางสาวนูรอามีนี   สาและ 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม  หัวหน้างานปฏิบัติการ


โจทย์ปัญหา

โรงเรียนทางธรรมวิทยามูลนิธิประสบปัญหาขยะเยอะ บริเวณพื้นที่ว่างรกร่าง เต็มไปด้วยขยะและหญ้า และเด็กนักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขัดต่อหลักคำสอนและหลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เช่น สูบบุหรี่ โดดเรียนและสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น สาเหตุมาจากนักเรียนในโรงเรียนขาดจิตสำนึกเรื่องการรักษาความสะอาดและขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักคำสอนและปฏิบัติของอิสลาม จึงทำให้มีความกล้าที่จะกระพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ทางกลุ่มจึงมองว่า ถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว ในอนาคต อาจจะทำให้โรงเรียนเต็มไปด้วยขยะ บริเวณพื้นที่ว่างก็จะรกร้างมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายต่างๆเด็กนักเรียนจะไม่เกรงกลัวต่อบาปมากขึ้นจะทำให้นักเรียนเห็นแก่ตัว กล้าที่จะกระทำสิ่งที่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามและอาจรวมไปถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย


ดังนั้นทางกลุ่ม sullamin ulum จึงคิดที่จะทำโครงการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อจัดการตนเอง โดยการใช้พื้นที่ว่างและรกร้าง จัดกิจกรรมเพื่อเรียนรู้หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้นักเรียนเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมากขึ้น มีจิตสำนึกที่ดีไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด เกรงกลัวต่อบาปจนนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ตลอดจนแกนนำเยาวชนเองได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองในด้านต่างๆ


เป้าหมาย :

เพื่อนได้รู้หลักศาสนาอิสลามเมื่อรู้แล้วนำไปปฏิบัติ อยากให้เพื่อนยึดหลักศาสนาไว้ใจ ถ้าเพื่อนๆเข้าใจว่าศาสนาคืออะไรศาสนาเกี่ยวกับอะไร เพื่อนจะรู้ถึงบาปบุญคุณโทษก็จะไม่กล้าที่จะกระทำความผิด และแกนนำเยาวชนได้รู้หลักศาสนานำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำให้เพื่อนเกิดความสามัคคี และความเสียสละซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากว่าศาสนาอิสลามนั้นสอนให้มนุษย์นั้นเกิดความเสียสละให้คนอิสลามนั้นเกิดความรักต่อกัน รักกันฉันท์พี่น้องดั่งคำว่า มุสลิมทุกคนคือพี่น้องกัน เมื่อเราเป็นพี่น้องเราก็ต้องมีความรักต่อกัน ไม่ทะเลาะในหมู่พี่น้องกันความเสียสละ ก็ตามมา


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและรวบรวมข้อมูลที่เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติที่เป็นคำสอนหลักศาสนาอิสลาม

1.1  ศึกษาจากฮาดิษ

1.2  ศึกษาจากอัลกุรอ่าน

1.3  ศึกษาจากครูสอนศาสนา

กิจกรรม 2 ออกแบบกิจกรรมเพื่อเรียนรู้หลักศาสนา

กิจกรรม 3 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

3.1  ประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง

3.2  ติดใบประกาศ

3.3  รับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ 20 คน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 4 คน

กิจกรรม 4 อบรมการเรียนรู้หลักศาสนา

กิจกรรม 5 ศึกษาดูงาน(เกษตรพอเพียงตามหลักศาสนา)

กิจกรรม 6 จัดกิจกรรมเรียนรู้หลักศาสนาโดยใช้พื้นที่ว่างพัฒนาเป็นแปลงเกษตร

6.1  ประชุมโดยการพูดคุยหารือกับสมาชิกโครงการเพื่อออกแบบแปลงเกษตร(ช่วยออกแบบเรียนรู้หลักศาสนา)

6.2  แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำโครงการ(เรียนรู้หลักศาสนา)

6.3  ปฏิบัติการทำแปลงเกษตรปลูกผักตลอดจนดูแลรักษา(เรียนรู้หลักศาสนา)

กิจกรรม 7 สรุปและประเมินโครงการ



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

จุดเริ่มต้นของแกนนำแกนนำเยาวชนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมมาก่อน แล้วมาหลงรักการทำงานเพื่อส่วนรวม มากกว่าการที่ต้องดำเนินโครงการให้เสร็จตามหน้าที่ คือการเริ่มมองเห็นสภาพปัญหาที่อยู่ใกล้ตัว คือตัวเองและเพื่อนๆในโรงเรียน มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษ โดดเรียน ติดเสพยาเสพติด สร้างความรำคาญให้กับเพื่อนๆในโรงเรียน แกนนำแกนนำเยาวชนมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำให้เด็กนักเรียนในอนาคตจะไม่เกรงกลัวต่อบาป นักเรียนเห็นจะเห็นแก่ตัว กล้าที่จะกระทำสิ่งที่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามและอาจรวมไปถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงรวมตัวกัน 5 คน แล้วสร้างสรรค์โครงการที่มีกิจกรรมการฝึกอบรมเรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม เรียนรู้การทำเกษตรแบบพอเพียง และการใช้พื้นที่รกร้างในโรงเรียนเป็นพื้นที่ทำการปลูกผัก และคาดหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ตนเองและเพื่อนในโรงเรียนเกิดการเรียนรู้หลักคำสอนศาสนาผ่านการฟังและลงมือปฏิบัติจริงแล้วหันมาจัดการตนเองหรือปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของศาสนาอิสลาม


การเปลี่ยนแปลงของแกนนำเยาวชน จากที่เป็นลูกคุณหนูทำอะไรไม่ค่อยเป็น หนักไม่เอาเบาไม่สู้ แต่กลับมาทำทุกอย่างเป็น และทำทุกอย่างด้วยความรักคือ การที่แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้จากการลงมือทำโครงการด้วยตนเองตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นการคิดและสร้างสรรค์โครงการและพัฒนาโครงการด้วยตนเอง จากการไปเข้าร่วมพัฒนาโครงการและเป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะที่ตนเองต้องคิดมาก ต้องคิดให้ละเอียดและรอบคอบ ซึ่งจากการที่ได้สังเกตบุคลิกแกนนำเยาวชนในครั้งแรกที่เจอ คือแกนนำเยาวชนจะเป็นคนขี้อาย จะพูดสั้นๆ หรือไม่ก็พูดกว้างๆไม่สามารถกระชับให้ตรงประเด็นที่ต้องการจะทำ พี่เลี่ยงต้องคอยตั้งคำถาม ต้องขยายความและยกตัวอย่างเวลาตั้งคำถาม บางคนก็จะไม่พูดเลยเวลาถามก็ยิ้มเป็นส่วนมาก แต่หลังจากทางกลุ่มได้กลับมาดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้ใน


ขั้นตอนแรก คือ ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีผู้สมัคร 17 คน ในขั้นตอนนี้แกนนำแกนนำเยาวชนเล่าว่าเขาได้ฝึกความกล้าที่จะคุยเชิญชวนเพื่อนๆ ได้ฝึกการพูดว่าจะพูดอย่างไรที่จะทำให้เพื่อนเข้าใจตนเองและโครงการอย่างไร เพราะเป็นการเชิญชวนปากต่อปาก บางคนก็ให้ความร่วมมือ บางคนก็พูดจาสบประมาท ว่าแกนนำเยาวชน “จะทำได้ไหม จะทำงานรอดหรือ จะทำได้สักกี่วัน ตัวเองก็ยังเอาตัวไม่รอด” แต่แกนนำเยาวชนก็ได้เอาคำเหล่านี้มาเป็นแรงผลักว่าเราจะทำให้เขาดูว่าเราทำได้


ขั้นตอนที่ 2 คือการปลูกผัก โดยให้สมาชิกในโครงการร่วมการปลูกผัก ทำแปลงเกษตรโดยการแบ่งพื้นที่ทำแปลง โดยมีผู้รับผิดชอบแปลงละ 3 คน ซึ่งต้องรับผิดชอบและดูแลรักษาพืชผักของตนเอง ตั้งแต่การทำร่องปลูกผัก รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงแรกๆ ทุกคนช่วยกันดูแลเป็นอย่างดี แต่พอช่วงโรงเรียนปิดเทอมผักบางแปลงก็ขาดการดูแลทำให้ผักบางส่วนตาย แต่แกนนำแกนนำเยาวชนก็ได้เรียนรู้ว่าการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ว่าใครเป็นอย่างไร ใครมีความรับผิดชอบ ไม่มีความรับผิดชอบ จนทำให้เรารู้ว่าเราควรมอบหมายงานให้กับใครได้บ้าง และในขั้นตอนนี้ถ้าเรามีการวางแผนที่ดี งานเราไม่ออกมาเป็นแบบนี้ และเรายังเรียนรู้ว่า พืชผักเราจะสมบูรณ์ได้ ถ้าทุกคนช่วยกันดูแล ซึ่งเราเข้าใจการทำงานการเป็นทีมมากขึ้น เราต้องมีการเสียสละ มีความรับผิดชอบ เพราะถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นพืชผักของเราก็จะตายหมด


ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมอบรมเรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยเชื่อมโยงหลักศาสนากับกิจกรรมที่ทำว่า การทำงานที่เริ่มต้นด้วยการศรัทธาจบด้วยการศรัทธา มีความอดทนที่เหมือนท่านศาสดาที่มีความอดทนและมีความรับผิดชอบ ซึ่งวิทยากรจะใช้หลักจากคำภีร์อัลกุรอาน มาบรรยาย ในกิจกรรมนี้ทำให้แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้ การเตรียมสถานที่ การออกแบบงาน การประสานงาน การจัดกิจกรรม เพราะตัวเองก่อนทำโครงการส่วนมากเป็นแค่คนเข้าร่วมแต่กิจกรรมนี้เราต้องทำด้วยตนเอง และกิจกรรมนี้ทำให้เราแกนนำได้เรียนรู้เรื่องศาสนามากขึ้น แกนนำเยาวชนรู้สึกว่าเขารักผักและโครงการนี้มาก เหมือนหลักคำสอนของศาสนาที่สอนว่าให้เราทำทุกอย่างด้วยความศรัทธา ทำด้วยความรักไม่ใช่ทำเพราะหน้าที่ เพราะถ้าเราทำอะไรสักอย่างตามหน้าที่ สักวันหนึ่งพอหมดหน้าที่เราก็จะละเลยมัน แต่ถ้าเราทำด้วยความรัก เราไม่สามารถทอดทิ้งมันได้เลยเพราะเรารัก เหมือนโครงการนี้ก็เหมือนกันในตอนแรกแกนนำเยาวชนจะบ่นว่าทำไมยาก ร้อนก็ร้อน มือก็เจ็บ และจะโทษครูตลอดว่าทำไมต้องให้พวกเขาทำโครงการ แต่พอเขาเริ่มทำอะไรด้วยตนเองแล้ว เขารู้สึกว่านี้คืองานเขา เขารักมัน เขาอยากให้สำเร็จ


ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาดูงานการทำเกษตรพอเพียง ที่เกาะสะบ้า ในขั้นตอนนี้แกนนำเยาวชนได้เล่าว่าเขาได้เรียนรู้การจัดการกับอารมณ์มาก เพราะกิจกรรมนี้แกนนำเยาวชนจัดช่วงปิดเทอม ทำให้การประสานงานกับเพื่อนๆลำบากมาก ต้องโทรเช็คทีละคน บางทีโทรไปเพื่อนยังไม่อาบน้ำ ซึ่งตัวเองรู้สึกโกรธมาก แต่ต้องอดทน เก็บอารมณ์ ดังคำสอนของศาสนาอิสลามที่ว่า ความอดทนเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา ทำให้เขาใช้วิธีบอกเพื่อนให้รีบๆ กิจกรรมนี้ทำให้เขาได้เข้าใจหัวอกของคุณครูว่า เวลาจัดกิจกรรมที่ต้องรอนักเรียนจะมีความรู้สึกอย่างไร และกิจกรรมนี้ทำให้แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบพอเพียงต้องทำอย่างไร และนำความรู้มาใช้ในการทำกิจกรรมใน


ขั้นตอนที่ 5 คือปลูกผักและสอดแทรกความรู้หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม เช่นการทำงานทุกขั้นตอนด้วยความศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ ทำให้เราเริ่มต้นการทำงานด้วยสติปัญญา ใจที่บริสุทธิ์ เขาเชื่อว่าถ้าเราทำงานด้วยความศรัทธางานของเขาก็จะออกมาดี ซึ่งมันก็เป็นจริงเมื่อแกนนำเยาวชนเริ่มต้นทำงานในขั้นตอนนี้ โดยนำบทเรียนในการปลูกผักครั้งแรกเรามาปรับใช้ เช่นการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ และผลัดเวรกันดูแลพืชผัก โดยแต่ละคนต้องเชิญชวนเพื่อนมาเสริมแรงตัวเอง เพื่อไม่ให้ผักตายเหมือนการปลูกผักในครั้งแรก


สำหรับคุณค่าของการเรียนรู้จากการลงมือทำครั้งนี้ แกนนำเยาวชนเล่าว่าการดำเนินโครงการทำให้ตนเองเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก เช่น


น้องนะห์ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำโครงการตนเองไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ อารมณ์ร้อน พูดไม่คิด แต่พอได้ทำโครงการรู้สึกว่าตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำงานไม่ใช้อารมณ์ คิดก่อนพูดเพราะถ้าเราทำงานแล้วใช้อารมณ์จะทำให้เพื่อนๆเสียใจไม่อยากทำงานร่วมกับเรา


น้องรอฮีมะห์ ก่อนหน้านี้ตัวเองไม่มีความรับผิดชอบเวลาว่างก็จะอ่านแต่นิยาย เป็นคนที่ไม่ค่อยคิดอะไรมาก คิดตื้นๆ แต่พอมาทำโครงการรู้สึกว่าตัวเองมีความคิดเป็นผู้ใหญ่ เรามีการพัฒนาด้านความคิด ก่อนจะทำอะไรต้องคิดมาก คิดให้ละเอียดรอบคอบ ต้องคิดว่าถ้าทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร และรู้สึกว่าตัวเองมีสมาธิและมีความเสียสละมากขึ้น


น้องเราะห์ จากที่เป็นคนหนักไม่เอาเบาไม่สู้ แต่งานนี้ทำให้ตัวเองมีความอดทน อดกลั้นเพื่อให้โครงการสำเร็จ น้องดาก่อนหน้านี้เป็นคนที่ขี้เอาแต่ใจ ไม่ค่อยฟังเพื่อน แต่ตอนนี้ลดลง พอมาทำโครงการรู้สึกว่าจะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น จะไม่พูดจาเพื่อให้เพื่อนเสียใจ สามารถทำแปลงผักได้ด้วยตนเอง จากที่ทำแปลงผักไม่เป็น นอกจากนี้แล้วตนเองยังเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มที่ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากขึ้น


น้องเย๊าะ แต่ก่อนเป็นคนขี้เกียจ ไม่ชอบทำอะไรที่ทำให้เหนื่อยและร้อน เพราะตัวเองชอบเป็นลมเวลาอยู่กลางแดด แต่พอทำโครงการนี้ที่เห็นเพื่อน รุ่นน้องมาช่วยกัน เห็นความสามัคคีแล้วอยากทำด้วย จนได้ลองทำจนทำเป็น แล้วยังเอาความรู้เรื่องปลูกผักไปปลูกผักสวนครัวให้คุณแม่ที่บ้านอีกด้วย นอกจากนี้แล้วการดำเนินงานโครงการ ทำให้แกนนำเยาวชนและสมาชิกในโครงการ ได้พูดคุยกันมากจนทำให้เข้าใจกันมากขึ้น มีการเชื่อมความสัมพันธ์กัน ระหว่างเรา เพื่อนๆ และ ครูในโรงเรียน จนเกิดความรัก ความเข้าใจกัน การทำโครงการทำให้เราได้ฝึกความอดทน อดกลั้น จากที่เป็นคนที่หนักไม่เอา เบาไม่ค่อยสู้ แต่ตอนนี้เราสู้ทุกอย่างเพื่อให้งานของเราออกมาดี รู้จักวางแผนงานเป็นระบบ นอกจากนี้แล้วโครงการยังทำให้เราและเพื่อนๆเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวกับหลักศาสนาเพิ่มขึ้นและหันมาปฏิบัติตัวตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม เกิดการให้เกียรติ การเคารพผู้อื่น ไม่เอาเปรียบกัน และไม่ยึดหลักความคิดของตนเองเป็นหลัก ยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เช่นก่อนทำกิจกรรมเวลาว่างเรามักจะทำอะไรเพื่อตนเอง แต่ไม่เคยทำเพื่อส่วนรวม แต่พอทำตรงนี้ทำให้เรารู้ว่า ถ้าเวลาว่างที่เราหาความสุขใส่ตัวเอง แต่ไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กับคนอื่นและตัวเราด้วย เราก็จะมีความสุข คนอื่นก็มีความสุขอีกด้วย และการทำโครงการนี้ทำให้เพื่อนๆในโรงเรียน จำนวน ๑๗ คนได้เข้ามามีส่วนร่วมและเรียนรู้กับพวกเรา รู้จักการแบ่งปัน โดยการนำผักที่ได้เอาไปให้แม่ครัวที่โรงเรียนทำกับข้าวเลี้ยงเพื่อนๆ นำผักที่ได้มาแจกให้ชาวบ้านที่อยู่ข้างๆโรงเรียน ส่วนที่เหลือเรานำไปขายในราคาถูกๆโดยการไปขายในชุมชนใกล้โรงเรียนทำให้เราได้ผูกมิตรกับคนในชุมชนอีกด้วย


นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่เยาวชนมองเห็นตัวเองแล้วคุณครูที่ปรึกษาประจำกลุ่มคุณครูมาหาม๊ะ กูเตะ ยังมองว่านอกจากที่แกนนำเยาวชนได้พัฒนาแล้วโครงการยังทำให้คุณครูในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนมากขึ้น นักเรียนในโรงเรียนหันมาจัดการตัวเองแบบง่ายๆเช่นเรื่องการแต่งกายของนักเรียน การตรงต่อเวลา การเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างของโรงเรียนซึ่งถ้าแต่ก่อนต้องตาม ตามแล้วก็ไม่มา และเวลามีบุคลากรภายนอกมาติดต่อโรงเรียนแกนนำเยาวชนทั้ง 5 คน สามารถต้อนรับและสื่อสารกับผู้มาเยือนได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งคุณครูรู้สึกภาคภูมิใจกับน้องๆแกนนำเยาวชนเป็นอย่างมาก

นี้คือการเปลี่ยนแปลงของแกนนำเยาวชนที่ค่อยๆเติบโตเหมือนผักที่เขาได้ปลูกไว้ ซึ่งโครงการเรียนรู้หลักศาสนาเพื่อการจัดการตนเอง เป็นโครงการที่สามารถทำให้แกนนำเยาวชนและเพื่อนๆเครือข่ายจำนวน 17 คน ได้เรียนรู้หลักศาสนาและหันมาจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งมองได้จากที่ช่วงแรกๆที่แกนนำเยาวชนไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ จะทำๆเพื่อให้เสร็จๆเพราะกลัวคุณครูจะว่า เวลาร้อนก็จะบ่นครู ว่าคุณครู และฝืนทำเพราะกลัวครูจะเสียหน้า แต่พอได้ดำเนินงานโครงการ แกนนำเยาวชนเริ่มเข้าใจเรื่องของศาสนาที่เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรมที่ทุกคนต้องมี เขาก็เริ่มใช้หัวใจที่เต็มไปด้วยความศรัทธามาทำงาน จนตนเองและเพื่อนๆเกิดการเรียนรู้ และนำการเรียนรู้เหล่านั้นมาจัดการตนเองได้ 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ