กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทำน้ำหมักปุ๋ย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
  • 3ทำน้ำหมักปุ๋ย
  • -เตรียมแปลง,ซื้อเมล็ดพันธ์ที่เหมาะสมตามฤดูกาล
  • -แบ่งเวร
  • -ปลูกและดูแลรักษาโดยเวรประจำวัน
  • -ซื้อตะกร้า ซื้ออุปกรณ์ในการขาย
  • การทำน้ำหมักชีวะภาพ
    น้ำหมักชีวภาพ ที่สามารถทำเองได้
    ซึ่งเพื่อนๆไทยอาชีพเองที่สนใจ อาชีพเกษตรกรรม เองก็คงจะรู้เรื่องนี้ว่าการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพนั้นเป็นเหมือนกับการเลียนแบบการทำปุ๋ยจากธรรมชาติที่ธรรมชาติจะต้องทำตามกระบวนการอยู่แล้วซึ่งก่อนหน้านี้ผมเองผมเพิ่งจะพูดถึงปุ๋ยหมักสูตรชีวภาพเพื่อบำรุงดินเพื่อเสริมสร้างธาตุอาหารให้กับดินไปแล้วในบทความนี้ผมจะมาพูดถึง ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปลูกพืชให้สวยงามไม่แพ้กับปุ๋ยหมักชีวภาพเลย
    ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ จะมีลักษณะเป็นน้ำ โดยวิธีใช้จะใช้ในการฉีดพ่นไปที่ดินและที่ลำต้นร่วมถึงที่ใบไม้ของต้นไม้ด้วยเพื่อให้ทุกส่วนได้ปุ๋ยโดยตรงและสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เร็วขึ้นโดยวันนี้ผมจะมาบอกสูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติ
    การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย หน่อกล้วยเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายตามต่างจังหวัด ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำหัวเชื้อจุลินทรีย์มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างคือ
    1.หน่อกล้วย 3 กิโลกรัม
    2.กากน้ำตาล 1 ลิตร
    3.น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก
    หลังจากได้วัสดุมาครบแล้วก็น้ำเอาหน่อกล้วยมาสับให้ละเอียดหลังจากน้ำก็เอากากน้ำตาลมาคลุกเคล้ากับหน่อกล้วยที่สับละเอียดแล้วโดยคลุกเค้าให้เข้ากันและเอาน้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูกมาเทลงไปและคลุกให้เข้ากันอีกที่หนึ่ง ซึ่งวิธีนี้อาจจะทำในถังดำก็ได้เหมือนกัน
    นำส่วนผสมทั้งหมดว่าคลุกเคล้ากันให้เข้ากันและปิดฝาให้สนิทเมื่อทำกระบวนการข้างต้นเสร็จแล้วก็ทำการปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 10 ถึง 30 วัน เป็นอย่างน้อย พอครบกำหนดให้กรองเอาแต่น้ำใส่ขวดเก็บไว้เป็นหัวเชื้อเข้มข้นเพื่อไว้ขยายให้เพิ่มจุลินทรีย์หรือนำไปใช้ได้เลย
    การนำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ต้องระวังเรื่องอัตราส่วนโดยการใช้มีอัตราส่วนดังนี้
    หัวเชื้อ ครึ่งช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นหรือราด วันเว้นวัน หลังจากหมักเสร็จก็ทำการกรอกแต่น้ำหัวเชื้อมาใช้
    ประโยชน์ของหัวเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย
    สำหรับประโยชน์ของ หัวเชื้อจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย นี้จะช่วยในเรื่องของการกำขัดเชื้อราในดิน ทำให้ดินร่วนซุยโปร่งและมีการระบายอากาศรวมถึงน้ำในดินได้ดี และช่วยกำจัดหนอนที่อยู่ในดินทำให้ตัวหนอนไม่ลอกคราบซึ่งเป็นการหยุดยั้งกระบวนการเจริญเติบโตของนอน
    ถ้ารดถูกไข่หนอนจะทำให้ไข่หนอนฝ่อ ไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้ ยับยั้งโรคใบแห้งและใบจุดสีน้ำตาลในพืชผัก
    สูตรที่2 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรด
    สำหรับสูตรนี้ต้องระวังการนำไปใช้อย่างสูงเพราะว่าเปลือกสับปะรดมีความเป็นกรดเยอะซึ่งมีทั้งคุรและโทษถ้าเรานำไปใช้ไม่ถูกต้อง
    วัสดุที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรดมีดังนี้
    1. เปลือกสับปะรด สับระเอียด 3 กิโลกรัม
    2. กากน้ำตาล1 ลิตรหรือจะเป็นน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมก็ได้เช่นกัน
    3. ยาคูลท์ 2 ขวด
    ขั้นตอนการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรด
    โดยเอาถังพลาสติกสีดำมาใส่วัสดุทั้ง 3 อย่างไว้ในทั้งเดียวกันคลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วทำการปิดฝาให้สนิทโดยไม่ให้อากาศสามารถเข้าและออกได้เลย ระยะเวลาในการหมักก็ประมาณ 15 วันหลังจากนั้นก็ค่อยเติมน้ำอีก 5 ถึง 10 ลิตรหมักต่ออีก 1 เดือนแล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ขวดเก็บไว้เป็นหัวเชื้อเข้มข้นและสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้หรือนำไปใช้ได้เลย
    การนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรดไปใช้
    อัตราส่วนในการใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรด คือครึ่งช้อนโต๊ะ กับน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นราดรดวันเว้นวัน
    ประโยชน์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรด
    ประโยชน์ของ หัวเชื้อจุลินทรีย์ จากเปลือกสับปะรด นั้นก็คือจะช่วยย่อยซากอินทรีย์และแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินให้เป็นอาหารแก่พืชได้เร็วขึ้น
    การทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกอย่างถูกวิธีเพิ่มผลผลิต
    การเลือกพันธุ์ปลูก
    1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
    2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
    3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์
    การปรับปรุงบำรุงดิน
    1.เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
    2.ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
    3.ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
    4.ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
    5.ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
    6.ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์ โดยติดต่อสอบถามข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องที่หมอดินประจำตำบลของท่าน
    ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทยโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
    การปลูกพืชสวนครัวนั้นไม่ยากเลย ถ้ามองไปรอบด้านภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือบ้านในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ล้วนละลานตาไปด้วย "บ้านไทย" ซึ่งไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเหมือนทุกวันนี้ ซึ่งฝรั่งที่ตั้งใจมาเมืองไทยเพราะต้องการดู"บรรยากาศไทยๆ" ดังที่เคยเห็นในหนังสือ ตอนนี้เขบอกว่าบรรยากาศอย่างนี้ ต้องไปดู ที่ลาว ที่เขมรแทน เพราะเมืองไทยไม่ต่างจากเมืองเขาเท่าไหร่นัก บางแห่งดูจะยิ่งกว่า ด้วยซ้ำ ฝรั่ง คนนั้นจึงต้องกลับไปเที่ยว-นอนที่เขมร ลาวแทน เขาบอกว่าบ้านไทย ย้ายไปอยู่ ที่นั่น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดว่า น่าจะบอกเล่าเรื่องนี้ให้เกษตรกรไทยฟัง ให้เขารื้อฟื้น ความเป็นไทยกลับขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นทางออก พ้นจากความเป็นหนี้ นั่นคือเรื่อง "รั้วกินได้-สวน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ