กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและเรียนรู้การทำน้ำตาลมะพร้าวสำรวจทรัพยากรน้ำ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เยาวชนตำบลคลองเขินได้รู้จักการทำน้ำตาลมะพร้าว

2. เพื่อให้เยาวชนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมของตำบลคลองเขิน

3. เพื่อให้เยาวชนตำบลคลองเขินได้สำรวจทรัพยากรน้ำในตำบล

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

กลุ่มที่ 1

.1 .2 .3 .4 .5 .6 .7 .8 .9
คลองขุดเจ็ก คลองเขิน คลองขุดเจ็ก คลองศาลเจ้า คลองวัดดาวโด่ง คลองวัดใหม่ตาพัก คลองเก่า คลองยายอุ่น คลองขุดเจ็ก
คลองนางตะเคียนน้อย คลองเจริญสุข คลองเขิน คลองขวาง คลองโคก คลองตีไก่ คลองเขิน คลองเขิน คลองตามูล
คลองนางตะเคียน คลองผู้ใหญ่อร่าม คลองเจริญสุข คลองลึก คลองมะนาวหวาน คลองกง คลองลึก คลองเก่า
คลองขวาง คลองแม่กลอง คลองยายอุ่น คลองเขิน คลองตาแดง คลองตาหวาน
คลองแม่กลอง คลองคู้ คลองตายิ่ง คลองยายกี่ คลองตาอุย

วิธีทำน้ำตาลมะพร้าว

น้ำตาลมะพร้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากช่อดอกของมะพร้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “จั่น หรือ งวงมะพร้าว” ซึ่งจะให้น้ำตาลสด เมื่อต้นมะพร้าวมีอายุ 3-4 ปี

ในการทำน้ำตาลมะพร้าวนั้น ชาวสวนต้องรองน้ำตาลสดจากงวงมะพร้าวที่โน้มไว้ ถ้าเป็นตาลต้นสูงชาวสวนจะปีนต้นขึ้นไปรองน้ำตาล เรียกว่า “การขึ้นตาล”

การเตรียมตัวขึ้นตาลของชาวสวน

ชาวสวนจะแต่งกายตามสบายแต่เน้นเรื่องความคล่องแคล่วในการทำงาน โดยคาดมีดปาดตาลไว้ที่เอว ก่อนที่จะออกไปขึ้นตาลทุกครั้งชาวสวนจะลับมีดปาดตาลด้วยหินลับมีด เพื่อให้มีดมีความคมเพียงพอสำหรับการปาดงวงตาล

ชาวสวนจะเตรียมกระบอกตาลโดยใส่ไม้พะยอมหรือไม้เคี่ยมที่ก้นกระบอกตาล เพื่อกันไม่ให้น้ำตาลเสียง่ายเพราะต้องรองน้ำตาลไว้หลายชั่วโมงกว่าจะนำมาเคี่ยว จากนั้นจึงรวมกระบอกมัดเป็นกลุ่ม ๆไว้

แล้วใช้ไม้คานหาบกระบอกไปสวนมะพร้าวเพื่อเตรียมขึ้นตาลต่อไป

การขึ้นตาล

ในการขึ้นตาลจะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ เวลาเช้า และเวลาบ่าย โดยเวลาเช้าจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 5.00-12.00 นาฬิกา หรือ ตีห้าถึงเที่ยงวัน เรียกว่า "ตาลเช้า"

เวลาบ่ายจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00-22.00 นาฬิกาหรือบ่ายสองโมงถึงสองทุ่ม เรียกว่า

"ตาลบ่าย"

ชาวสวนจะเริ่มขึ้นตาลโดยนำกระบอกที่เตรียมมาเท่ากับจำนวนงวงตาลที่รองไว้เดิมต่อหนึ่งต้น อาจเป็น 2-3 กระบอกจากนั้นชาวสวนก็จะปีนพะองขึ้นไปถึงงวงเพื่อปลดกระบอกตาลลูกเดิมที่รองน้ำตาลไว้ออก ใช้มีดปาดตาลปาดที่ปลายงวงตาลบาง ๆ แล้วนำกระบอกลูกใหม่ที่เตรียมมาเปลี่ยน เพื่อรองน้ำตาลแทนที่กระบอกเดิมที่ปลดออก นำน้ำตาลที่ได้มารวบรวมไว้ที่โคนต้นจนครบทุกต้นจึงหาบกลับเตา

การเหนี่ยวงวงปาดตาล

เมื่อตาลมะพร้าวออกจั่นหรือดอกในขณะที่ยังตูมอยู่จะมีลักษณะเป็นงวงคล้ายงวงช้าง มีกาบเปี้ยวหุ้มอยู่ชาวสวนจึงเรียกว่า "งวงตาล" เมื่อดอกเริ่มแก่กาบเปี้ยวจะแตกออก ช่วงที่ดอกหรือจั่น กำลังจะเปลี่ยนดอกอ่อนจากสีเหลืองไปเป็นดอกแก่สีเขียว ธรรมชาติของงวงตาลจะชี้ขึ้นด้านบนไม่สามารถใช้กระบอกรองน้ำตาลได้ ชาวสวนจึงต้องเหนี่ยวงวงตามกรรมวิธีเพื่อให้งวงตาลโน้มลงจนสามารถเอากระบอกไปแขวนรองน้ำตาลได้ เรียกว่า "การเหนี่ยวงวงปาดตาล"

การเหนี่ยวงวงตาลนั้น มักจะทำกันในตอนเย็นเพราะตอนเย็นงวงตาลจะนิ่มเนื่องจากได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มาทั้งวัน แต่ตอนเช้างวงตาลจะแข็งและหักง่าย ชาวสวนต้องใช้การสังเกตและคาดคะเนดูว่างวงตาลที่จะเหนี่ยวได้ ต้องเป็นงวงตาลที่มีโคนงวงจะเรียวปลายงวงเริ่มกลม ๆ กาบเปี้ยวยังตูมและไม่นิ่มไม่แข็งเกินไป เมื่อปาดดูดอกภายในเป็นสีขาวอมเหลือง

ชาวสวนจะทำการเหนี่ยวงวงโดยปาดใต้ท้องที่โคนงวงจากนั้นจึงใช้มือค่อยๆโน้มลงมาช้า ๆ ซึ่งถ้ารีบร้อนโน้มเร็วเกินไปคองวงจะพับหัก น้ำตาลจะไม่ออก แล้วใช้เชือกผูกค่อนไปทางปลายงวง เหนี่ยวงวงไว้กับทางมะพร้าวที่อยู่ต่ำกว่างวง เพื่อให้งวงค่อยๆโน้มปลายลงทีละน้อยๆ ด้วยการร่นเชือกที่ผูกไว้ลงมา

ทีละน้อยๆ หรือ ร่นลงวันเว้นวัน

แล้วเริ่มปาดปลายงวงที่มีกาบเปี้ยวหุ้มอยู่ ปาดทุกวันจนกระทั่งเริ่มมีน้ำตาลไหลออกมา แต่ถ้าน้ำตาลยังเดินไม่ดี(น้ำตาลไหลน้อย)ชาวสวนจะปาดทิ้งไปประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของงวง หลังจากนั้นงวงตาลจะเริ่มมีน้ำตาลมากพอที่จะเอากระบอกมาแขวนเพื่อรองน้ำตาลสดได้

เมื่อดอกที่อยู่ภายในกาบเปี้ยวกำลังจะเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีเขียวหรือดอกแก่ กาบเปี้ยว จะแตกลาย ชาวสวนก็จะเลาะเอากาบเปี้ยวออก ซึ่งจะทำให้ก้านดอกมากมายบานออกเพื่อติดลูก ชาวสวนก็จะใช้เชือกมัดจั่น หรือ ดอกให้รวมเป็นมัดเหมือนตอนที่ยังมีกาบเปี้ยวหุ้มอยู่โดยมัดเป็นเปาะๆ แบบมัดข้าวต้ม งวงใหญ่มัดถี่ งวงเล็กมัดห่าง

การปาดงวงตาล ถ้าน้ำตาลออกดี ต้องปาดบาง ๆ เพื่อจะให้ปาดงวงได้นานและปาดจนถึงโคนงวง ถ้าน้ำตาลออกน้อย ต้องปาดหนา แต่จะทำให้งวงสั้นลงและน้ำตาลหมดเร็ว

การนวดงวง

ในตอนเช้าระหว่างที่เริ่มปาดตาล ชาวสวนจะเอามือแตะที่หน้างวงที่ปาดใหม่ให้มีน้ำตาลติดมือแล้วเอามือไปลูบไล้บีบนวดงวงตาลไปจนถึงโคน ทำเฉพาะตาลเช้าเท่านั้น ส่วนตาลเย็นไม่ต้องนวด การทำเช่นนี้จะช่วยให้น้ำตาลออกดี เรียกวิธีการนี้ว่า"การนวดงวง" และเพื่อป้องกันไม่ให้หนอนกินงวงที่เริ่มปาดแล้วชาวสวนจะรูดดอกออกไปในระยะที่ดอกกำลังจะเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีเขียว โดยจับปลายก้านดอกรูดที่ละก้าน

การเคี่ยวตาล

เมื่อขึ้นตาลเสร็จแล้ว ชาวสวนจะรวบรวมน้ำตาลสดมายังเตาตาล ก่อนที่จะเริ่มเคี่ยวตาล ทุกครั้งชาวสวนจะเตรียมเตาให้พร้อมก่อนโดย เริ่มจากการเตรียมฟืนที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง เตรียม

กระทะเคี่ยวตาลโดยล้างให้สะอาด

นำน้ำตาลใสที่ได้เทออกจากกระบอกใส่ภาชนะ แล้วนำไปเทใส่กระทะโดย กรองเอาเปลือกพะยอมหรือไม้เคี่ยมและเศษผงฝุ่นต่าง ๆ ออกเสียก่อน ซึ่งแต่ละกระทะจะใช้น้ำตาลใสประมาณ 2 ปี๊บ

เริ่มจุดไฟเพื่อทำการเคี่ยวน้ำตาล บนเตามีน้ำตาลใสประมาณ 4- 5 กระทะ แล้วเคี่ยวไปพร้อม ๆ กันประมาณ 20 นาที น้ำตาลจะเริ่มเดือดเป็นฟอง ใช้กระชอนตักฟองออก เคี่ยวต่อไปจนน้ำตาลเริ่มฟูล้นกระทะ ซึ่งเรียกว่า "น้ำตาลขึ้นดอกหมาก" แล้วใช้โคหรือกงครอบน้ำตาลในกระทะประมาณ 10- 20 นาที น้ำตาลจะเริ่มงวดลงไป จึงเอาโคออก

การใช้เนียนปาดน้ำตาล

ชาวสวนใช้เนียนปาดฟองน้ำตาลที่ติดข้างกระทะออกเพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้ แล้วปล่อยให้น้ำตาลปุดไปเรื่อย ๆ เมื่อน้ำตาลงวดเกือบได้ที่ชาวสวนจะเริ่มลดไฟลงให้อ่อนเรียกว่า "ราไฟ" แล้วใช้ผ้าจับกระทะหมุนเพื่อให้น้ำตาลได้ที่ มีลักษณะเหนียวเป็นยางมะตูม โดยสังเกตจากฟองน้ำตาลที่ปุดมารวมกัน

อยู่ตรงกลางหรือทดสอบโดยการใช้เนียมจุ่มลงในกระทะแล้วยกขึ้นดูถ้าน้ำตาลเหนียวได้ที่แล้วน้ำตาลจะไหลเป็นสายไม่ขาดเป็นช่วง ๆ

การกระทุ้งน้ำตาล

จากนั้นชาวสวนจึงยกกระทะน้ำตาลลงมาวางบนเสวียนรองรับกระทะ ปัจจุบันใช้ยางรถยนต์แทนเสวียน ใช้ไม้วีน้ำตาลคนหรือกระทุ้งจนน้ำตาลแห้งได้ที่

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ