กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรมประชุมทีมสรุปข้อมูล
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

-เพื่อสรุปข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลในชุมชน

-เพื่อจัดแยกข้อมูล ด้านดนตรี คุณค่า พิธีกรรมและประเพณีดั้งเดิมของชาวกวย

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ได้ผลสรุปข้อมูลในการประกอบพิธีกรรมสะเอง ดนตรี และคุณค่าได้จัดทำปฏิทินประเพณีกวย

  • ประวัติความเป็นมาในการจัดพิธีกรรมสะเอง

สะเองเป็นพิธีกรรมการรักษาโรคผ่านเสียงดนตรีซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกหนึ่งตามความเชื่อของชาวกวยใน ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บรรพบุรุษ มาให้ความช่วยเหลือขอคำแนะนำหาสาเหตุของการเจ็บป่วยผ่านล่ามหรือคนทรงหรือที่เรี่ยกว่าแม่ครู (สะเอง) จากการศึกษาและลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลในตำบลโพธิ์กระสังข์จาก คุณตาพรมมา โพธิ์กระสังข์ ปราชญ์ผู้รู้ด้านการบรรเลงดนตรีเล่าว่า สะเองมีต้นกำเนิดมาจากประเทศลาวและเข้าสู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ชาวกวยที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับเอาอิทธิพลความเชื่อการเล่นสะเองมาด้วย ในการประกอบพิธีกรรมจึงมีบทขับร้องเป็นภาษาอีสานหรือภาษาลาว บ้านโพธิ์กระสังข์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตชายแดน ติดต่อกับประเทศกัมพูชา เป็นชุมชนชาวกวย ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อตั้งขึ้นโดย คุณตาทวดใบ วรรณทอง คุณตาทวดอุ่น กาฬปัก (ข้อมูลจากการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ในโบสถ์วัดโพธิ์กระสังข์) คุณยายเล็ก บุญสอน (เล่าให้ฟัง) เมื่อปี พ.ศ.2521 ได้มีการแยกหมู่บ้านเป็นบ้านโพธิ์กระสังข์เหนือ มี 200 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,079 คน ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการเล่นสะเองมาด้วยได้สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่น จากอดีตถึงปัจจุบัน

คุณค่าของสะเอง

การจัดพิธีกรรมสะเองเกิดจากการที่บนบานไว้แล้วหายป่วยจริงจึงจัดขึ้นแล้วจะเกิดความสบายใจและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งชาวกวยในตำบลโพธิ์กระสังข์ ยังคงยึดถือและปฏิบัติกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายและยังคงสืบสานกันไปตลอดชั่วลูกหลานที่มีเชื้อสายสะเอง

ประเภทของสะเอง

สะเองมี 2 ประเภท

  • 1.สะเองเลียง คือ การจัดสะเองครั้งแรกหรือครั้งที่สอง
  • 2.สะเองโรง คือ การจัดสะเองครั้งที่สามหรือเลี้ยงสะเอง
  • ขั้นตอนในการเล่น

1.ไปดูเลิกงามยามดีว่าวันไหนวันดีที่จะเล่นสะเอง

2.นัดหมายกันว่าจะทำพิธี ไม่นิยมเล่นสะเองในช่วงเข้าพรรษาและวันพระ

3.โปงขะเหวือน คือ การเลี้ยงพระแม่ธรณี บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางก่อนจัดปะรำพิธี ประกอบไปด้วยสำรับข้าว 1 สำรับ หมากพลู เหล้าน้ำส้ม เซ่นไหว้บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง

4. วอโตบ คือ การทำปะรำพิธี สมัยก่อนนิยมใช้ใบมะพร้าวมุงเป็นหลังคาโดยให้ปลายใบมะพร้าวชี้ไปที่ทิศตะวันตกทุกก้าน

5.ตูมซอม คือ การห่อข้าวต้มมีทั้งใบมะพร้าว(ซอมทางตูง) ใบกล้วย(ซอมคลาเปลียด)

  • ในการห่อข้าวต้ม มักจะห่อเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมและแม่สะเองทุกคนที่ได้เชิญมา
  • 6. เตรียมสิ่งของที่จะเล่น เช่น ขันห้าขันแปด 2 ถาด
  • 7. ข้าวต้มมัดกล้วย 1 หวี พลูหมาก เหล้า ให้แม่ครูได้กล่าวบอกของแม่ครูเอง ซวย 2 คู่ เทียน 1 คู่
  • 8. เชิญลูกศิษย์ลูกหาของแม่ครูมาเล่นในพิธีกรรมที่บ้านคนป่วย
  • 9. มาเตรียมสิ่งของที่จะประกอบพิธีไว้ที่โตบหรือปะรำพิธี
  • 10.ขันห้า ขันแปด 2 ถาด เหล้าเบียร์อย่างละขวด ถาดเล็กถาดใหญ่ ถาดใหญ่ 500 ถาดเล็ก 250 ผ้าไหม ผ้าถุง ผ้าสะโล่ง อย่างล่ะผืน ข้าวสาร กล้วย ข้าวต้ม ขันครูของหมอปี่หมอกลองอย่างล่ะถ้วย ซวย 2 คู่ เหล้า 1 ขวด เทียน 1 คู่ เงิน 25 บาท ค่าขันครู
  • ขันดอกไม้เพื่อแห่พิธีกรรม
  • หิ้ง 1 อัน น้ำขมิ้น 1 ขัน มัดเชือกฟาง 1 รอบปรำพิธีเพื่อมีไว้มัดกล้วยข้าวต้มดอกจำปา
  • มีดดาบ กะบุงสี่ น้ำขมิ้น 4 ขวด กระจก แป้ง ตะเกียง หวี่ น้ำมันมะกอก
  • ผู้ที่จะมาเล่นพิธีกรรมเครื่องทรงเตรียม กระปุกน้ำอบ หูช้างกับอาหารช้าง ข้าวสาร 1 ขัน ซวย 2 คู่
  • เมื่อแม่ครูประทับทรง
  • เจ้าบ้านมานั่ง 1คน คนที่อยู่รอบๆตบมือ เพื่อเรียกแถนให้เข้าทรงแม่ครูก็เรียกวิงวอนให้แถนเข้าทรง
  • ถ้าเข้าร่างทรงมือจะสั่นและสั่นแรงไปเรื่อยๆมือจะตบเข่าซ้ายกับเข่าขวา เมื่อเข้าเต็มองค์แล้วจะลุกขึ้นเลือกผ้าไหมชุดที่จะนุ่งเป็นเครื่องชุดประจำกายของแถนคนนั้น บริวารทุกคนที่จะมาเล่นเข้าทรงกันทุกคนแล้วก็ลุกขึ้นมาร่ายรำ พอถึงเทียงคืนแล้วก็หยุดเซนปี่เซนกลอง (เซ่นปี่เซ่นกลอง) แล้วก็พักกินข้าวต้มเพื่อให้มีแรงในการเล่น แม่ครูก็เอาผีบรรพบุรุษลงให้ลูกหลานถามว่าอยู่สบายไหมลำบากไหม แล้วแต่วิบากกรรมของแต่ละคน แล้วก็ร่ายรำต่อพอถึงตี 4 ตี 5 ใกล้จะสว่างแถนทุกคนก็บอกกันว่าจะเล่นวัวเล่นควายสว่างแล้วเด็ดเอาข้าวต้มกล้วยดอกจำปาทีแขวนไว้ใส่ในในกระบุงเพื่อจะมีคนแย่ง แล้วก็แห่ขันดอกไม้ 3 รอบ แล้วก็ร่ายรำอีกสักพักก็ไหว้หมอปี่หมอกลอง เพื่อไหว้อำลา เอาหูช้างก้มไหว้เทวดาอยู่เบื่องบนผู้ใหญ่ ผีแถนออกจากร่างทรงกลับไปที่หิ้งเดิม แล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี

เพลงในการเล่นสะเองหรือที่เรียกว่าพญา

ฆ้องๆน้อยดังมาให้มันหม่วนเคาะบาทหนึ่งให้ดังก้องทั่วนะพา เคาะบาทสองนั้นให้ดังก้องทั่วโลกา

เคาะบาทสามนั้นให้ดังก้องทั่วพะยาแถน สาธุเด้อให้อยู่แดนพูค้า ข้างใด๋ก็ให้มันเฟื่อง ดังๆ ท้อนซึอพูขาให้ร้อนาม สาธุเด้อให้มีคนเกร่งถามทั่งสามให้มันดังเด้อ แม่ครูบาเอ๋ย

ดนตรีในการประกอบพิธีกรรมสะเอง

  • เครื่องดนตรีในการเล่นสะเอง มี 3 ชนิด
  • 1. ปี่ มีวิธีการเล่น ปี่ใช้เป่าไปตามจังหวะทำนอง ทำจากต้นกู่ มี 6 รู
  • 2. ฆ้อง มีวิธีการเล่น ฆ้องใช้ตี 1 จังหวะตามทำนอง
  • 3. กลอง มีวิธีการเล่น ตี 3 จังหวะ จังหวะช้า จังหวะกลาง จังหวะเร็ว หนังที่ใช้หุ้มกลอง (ฉะขลอล) มีหนังงูใหญ่ หนังตัวเงินตัวทอง
  • มีผู้เล่นที่เหลืออยู่ในชุ่มชน 4 คน กลอง 2 คน ฆ้อง 1 คน ปี่ 1 คน
  • เครื่องดนตรีซื้อจากหมู่บ้านอื่น ในหมู่บ้านไม่มีใครที่ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเป็นนอกจากปี่ที่ คุณตาพรมมา โพธิ์กระสังข์ ประดิษฐ์เป็นคนเดียวในชุมชน
  • การไหว้ครูดนตรี
  • ก่อนการประกอบพิธีกรรมสะเอง จะมีการเซ่นไหว้ครู เครื่องเซ่นประกอบไปด้วย

หมากพลู กล้วย ข้าวต้ม สำหรับข้าว 1 สำรับ

การเซ่นไหว้ครูช่วงที่ 2 ช่วงเที่ยงคืน เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบไปด้วย ไก่ต้ม 1 ตัว

หมากพลู กล้วย ข้าวต้ม เหล้า 1 ขวด น้ำส้ม 1 ขวด เบียร์ 1 ขวด กับข้าว 1 สำรับ

ในช่วงนี้จะมีการเสี่ยงทายด้วยคางไก่และไข่ต้ม

ประวัติปราชญ์ผู้รู้

1.คุณตาพรมมา โพธิ์กระสังข์ อายุ 78 ปี บ้านเลขที่ 22/2 หมู่ 7 บ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ปราชญ์ผู้รู้ด้านการบรรเลงดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ปี่และแคน เริ่มบรรเลงตั้งแต่อายุ 12 ปี จนถึงปัจจุบันรวม 66 ปี

2.คุณตาทิพย์ ทองละมุล อายุ 83 ปี บ้านเลขที่ 91 หมู่ 12 บ้านโพธิ์กระสังข์เหนือ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

  • ปราชญ์ผู้รู้ด้านการบรรเลงดนตรีประเภทตี ได้แก่ โทนและแคน
  • 3.คุณยายกัณหา จันทะสน อายุ 67 ปี บ้านเลขที่ 109 หมู่ 2 ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ปราชญ์ผู้รู้ด้านการประกอบพิธีกรรมสะเอง (แม่ครู)
  • 4.นายอดิเรก โพธิสาร อายุ 29 ปี บ้านเลขที่ 284 หมู่ 2 บ้านโพธิ์กระสังข์ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ปราชญ์ผู้รู้ด้านการประกอบพิธีกรรมสะเอง
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ