กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การอบรมหลักสูตร PBL Classic Online โรงเรียนนำร่องเชิงระบบรุ่นที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ความเป็นมา

การจัดการเรียนรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน จากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบเดิม มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ครูผู้สอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจ องค์ความรู้ และวิธีการในการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยนวัตกรรมจิตศึกษา และ PBL ซึ่งในส่วนของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นพื้นฐานในการสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(Problem–based Learning : PBL) คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาที่ใกล้ตัวและพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นตัวนำหรือเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้แตกต่างจากระบบเดิม ที่ใช้ความรู้เป็นตัวนำ คือครูเป็นผู้สอนความรู้ให้ผู้เรียนจดจำ แล้วจึงยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบ เพราะครูผู้สอนจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงผู้เรียนได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ของปัญหาที่ท้าทายคือจุดสำคัญของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานนั้น ประกอบด้วย

1. ต้องมีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและใช้ปัญหานั้นมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

2. ปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมาจากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียน และผู้เรียนมีโอกาสพบเจอ

3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเลือกวิธีการในการแก้ไขปัญหาพร้อมประเมินผลได้ด้วยตัวเอง

4. เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อประโยชน์ในการค้นหาความรู้ และรับส่งข้อมูลร่วมกัน

5. เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

6. ผู้เรียนเกิดทักษะที่สอดคล้องต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

7. ใช้การประเมินผลตามสภาพจริง โดยพิจารณาความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของผู้เรียน

มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรม และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการจัดการอบรมหลักสูตร PBL Classic ขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2564 โดยมีคณะครูโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมเชิงระบบ รุ่นที่ 2 จำนวน 16 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมจำนวน 231 คน เข้าร่วมเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์

­

วัตถุประสงค์

  • 1.เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ได้
  • 2.เพื่อครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้Problem–based Learning (PBL) ต่อการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนของตัวเองได้
  • 3.เพื่อให้ครูสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้ Problem–based Learning (PBL) ต่อสมรรถนะของผู้เรียนได้
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ