โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กระบวนการพัฒนาเกมเศรษฐกิจพอเพียง "เกม The Leader และเกม Give and Take"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

             ภายหลังจากกิจกรรมค่ายอบรมและแข่งขันการออกแบบเกมเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 6 - 11 ตุลาคม 2551 ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก แล้ว มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ร่วมกับ บริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด และเยาวชนเจ้าของแนวคิดเกม ช่วยกันพัฒนาเกมเศรษฐกิจพอเพียงที่มีศักยภาพทำให้สำเร็จได้จริงในเบื้องต้นจำนวน 2 เกม คือ เกม Give & Take รู้ให้รู้รับ และ เกม The Leader ผู้นำพอเพียง จากนั้นได้นำไปทดลองเล่นจริงกับกลุ่มเป้าหมายหลากหลายกลุ่ม ควบคู่ไปกับการพัฒนาและแก้ไขเพิ่มเติมจนได้เกมเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเล่นได้จริง มีทั้งความสนุกสนานบันเทิง และสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสร้างสรรค์

­

เกม Give & Take รู้ให้รู้รับ

­

­

  • ปรับวิธีการเล่นให้สมดุลโดยคงแนวคิดเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด
  • ลดรายละเอียดที่ซับซ้อนและไม่ลงตัว
  • ปรับให้สามารถช่วยกันและแข่งขันกันได้ในคราวเดียว
  • ปรับลดชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น เลือกวัสดุและวิธีการผลิตที่เหมาะสม


เกม The Leader ผู้นำพอเพียง



  • ปรับเนื้อหาการเล่นจากเน้นเรื่องการแข่งขันให้เป็นช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • ลดรายละเอียดที่ซับซ้อนและไม่ลงตัว
  • ปรับเนื้อหาในการ์ดให้สมจริงและเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น
  • ปรับน้ำหนักคะแนนและขั้นตอนการเล่นให้สมดุล
  • ปรับลดชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นเลือกวัสดุและวิธีการผลิตที่เหมาะสม

­

การทดลองเกม สำรวจความคิดเห็น และพัฒนา

­

อ่านรายงานผลกิจกรรมเพิ่มเติมที่ กระบวนการพัฒนาเกมเศรษฐกิจพอเพียง "เกม The Leader และเกม Give and Take"

­

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม คลิก

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลความสำเร็จ


  • ได้เกมที่มีศักยภาพจำนวน 5 เกม ซึ่งมี 2 เกมที่ได้รับการพัฒนาจนสามารถนำมาใช้เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการเล่นเกมคือ เกมผู้นำพอเพียง (The Leader) ซึ่งเหมาะกับเยาวชนอายุ 12 ปีขึ้นไป และเกมรู้ให้รู้รับ (Give and Take) เหมาะกับเยาวชนอายุ 9 ปีขึ้นไป

­

  • เกมผู้นำพอเพียง (The Leader) และเกมรู้ให้รู้รับ (Give and Take) ที่ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วจึงเผยแพร่ไปยังภาคีและในโรงเรียนเครือข่ายอย่างแพร่หลาย ดังนี้

              กลุ่มที่ 1 โรงเรียนเครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจล

              กลุ่มที่ 2 โรงเรียนในเครือข่ายโครงการแม่ฟ้าหลวง

              กลุ่มที่ 3 โรงเรียนในเครือข่ายตลาดหลักทรัพย์

              กลุ่มที่ 4 มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล

              กลุ่มที่ 5 ศึกษานิเทศก์ขับเคลื่อนศกพ.

              กลุ่มที่ 6 สถานศึกษาพอเพียง

              กลุ่มที่ 7 กล้าใหม่ ใฝ่รู้

              กลุ่มที่ 8 อบต.

              กลุ่มที่ 9 ภาคีและโรงเรียนเครือข่ายมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

­

  • เกิดเครือข่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงที่ร่วมกันทำงานเป็นทีม
  • จากการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ทำให้เยาวชนได้แนวคิดที่จะนำไปพัฒนาขยายผลต่อที่โรงเรียนตนเอง
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ