โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

             มูลนิธิสยามกัมมาจลได้ร่วมมือกับ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ กระทรวงศึกษาธิการจัดทำโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียงพัฒนาตนเป็น "ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" จำนวน 84 แห่งในปี 2555 เพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนทั่วประเทศ



              เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียน รู้รอบ 2 จำนวน 14 แห่ง และเปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับศูนย์การเรียนรู้เดิมทั้ง 13 แห่ง ตลอดจนรับฟังนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจลจึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์บริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืนขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม - อังคารที่ 29 พฤษภาคม ณ ศูนย์ประชุมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จังหวัดชลบุรี



 


วัตถุประสงค์


  •  เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้รอบ 2 จำนวน 14 แห่ง
  •  เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร และครูจากศูนย์การเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
  •  ถอดบทเรียนความสำเร็จในการทำงานของศูนย์ทั้ง 27 แห่ง
  •  ศูนย์รับฟังนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ


ผู้เข้าร่วม  ผู้บริหารและครูจาก 27 ศูนย์การเรียนรู้


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
28/5/55

บทเรียนความสำเร็จของผู้บริหาร



 

“ใช้วิธีประชุมทีมครูบ่อยๆ เน้นให้ครู นักเรียนถอดบทเรียนจากสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครูและนักเรียนเข้าใจหลักปรัชญาฯ มากขึ้น จนเกิดกลุ่มครูแกนนำนักเรียนแกนนำที่มีสามารถขยายผลได้ทั้งในโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่าย”

นายระวี ขุณิกากรณ์ ผอ.รร.เชียงขวัญพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด

 

“เริ่มจากให้ครูนำพระราชดำรัสของในหลวงมาปฏิบัติเน้นให้ครูมีเป้าหมายร่วมกันที่ตัวเด็กสร้างความเข้าใจตรงกันว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิด ให้ความรู้ เป็นพี่เลี้ยง ให้ทุนครูที่มีและนำแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้คนละ 1,000 บาท และตรวจแผนของครูสม่ำเสมอ”

นายธีระเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล ผอ.รร. ประชารัฐสามัคคี  จ.นครราชสีมา


 

ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยใช้วิธี  “ทำให้เห็น” แนวทางที่เน้นคือการพัฒนาจิต เรื่องการพัฒนาความเป็นมนุษย์ หลักคิดคือให้เด็กวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ทำดีต่อตนเองหรือดีต่อผู้อื่นหรือไม่ อย่างไร  ครูมีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ เพราะถ้าครูเข้าใจและปฏิบัติจริง ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะถ่ายทอดให้เด็ก

นางลัดดา จุลวงศ์ ผอ.รร.สัตยาไส จ.ลพบุรี


 

“เจ้าของโรงเรียนคือชุมชน เลยคุยกันว่าถ้าจะดีต้องดีด้วยกัน เลยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตั้งแต่เป็นโรงเรียนในฝัน ไม่เน้นสร้างหนี้” “ทุกวันนี้ก็พัฒนามาเรื่อยๆ สิ่งที่ผมพอใจมากคือ เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น ปัจจุบันเด็กที่โรงเรียนสังคมต้อนรับ ไปสอบเข้าที่ไหนก็ได้”

นายสวัสดิ์ มะลาหอม  ผอ. รร. ชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพ 206 จ. ขอนแก่น

 

“ใช้หลักการบริหารที่ให้ความสำคัญกับตัว “คน” เพราะจะทำอะไรก็แล้วแต่ หากคนไม่เข้าใจ คนไม่มีแรงบันดาลใจก็ไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นให้ความสำคัญกับครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เน้นการมีส่วนร่วมทั้งของครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนทุกคน หากครูมีปัญหา ผู้บริหารก็ต้องสามารถให้คำปรึกษา และเป็นผู้นำทางให้ครูได้ กำหนดให้ครูวิเคราะห์แผนงานและแผนการเรียนการสอนได้โดยยึดหลักวิชาการ  โครงการเกิดจากความต้องการของครู แต่ผลต้องเกิดกับเด็กเป็นที่ตั้ง โดยผอ. จะตั้งคำถามกับครูเสมอว่า “ทำแล้วเด็กจะได้อะไร” หลักคิดนี้ถือปฏิบัติกันจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการทำงานของครูในโรงเรียน”

นายแสน แหวนวงศ์ ผอ. รร.ศรีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์

 

                           _________________________________________________________

บทเรียนความสำเร็จของแกนนำขับเคลื่อนและครู

 


 

“เราทำวิจัยเราจึง พบว่าจริง ๆ แล้วต้องลงไปที่ตัวเด็ก แล้วเราจะทำอย่างไรให้เด็ก 6,000 กว่าคนได้รับตรงนี้ เราจึงไปศึกษา หลักปรัชญาฯ พบว่าคือ “หลักคิด” ถ้าเราจัดกิจกรรมผ่านเด็กทั้งหมด โดยสอนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลน่าจะ ยั่งยืนเขาสามารถนาไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่างๆ ได้เยอะมาก เพราะฉะนั้นกิจกรรมจะเป็นตัวตั้ง แต่ กระบวนการจะใช้กระบวนการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขในการทำงาน”

นายดุษิต พรหมชนะ  ผู้ช่วยผอ.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  จ.เชียงใหม่


 

ครูทุกคนที่โรงเรียนมี “พลัง”อยู่ในตัวอยู่แล้ว โดยไม่รู้ตัว ใครจะไป ใครจะมาไม่สาคัญ สังเกตได้จากการให้ไปอบรมดูงานตามที่ต่างๆ ครูที่ได้รับมอบหมายล้วนยินดีไปเรียนรู้ทุกคน ครูมาใหม่ทุกคนจะต้องได้ไปอบรม และทุกภาคเรียนโรงเรียนจะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนแผน และให้ส่งแผนทุกภาคเรียนด้วย การเลือกครูแกนนำไม่เน้นว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรือไม่ แต่เน้นที่ “ความตั้งใจ” เป็นหลัก

นางสาวพนมพร แก้วใส  รองผอ.โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จ.สุรินทร์


 

ขับเคลื่อนสู่ครูได้โดยเราต้องเคลียร์ “คอนเซ็ปต์” คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงก่อนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน โดยใช้ “เทคนิคการถอดบทเรียน” ทำให้ครูเข้าใจ หลังจากนั้นชวนวิเคราะห์หลักสูตร ทำแผนการเรียนรู้ และนำไปใช้โดยเน้นการถอดบทเรียน

นายฉลาด ปาโส ครูโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด


 

“ขับเคลื่อนหลักปรัชญาฯ ดำเนินการผ่าน 3 ทีม คือ 1.ทีมนำได้แก่ บริหารซึ่งผู้อานวยการโรงเรียน และรองผู้อานวยการเป็นผู้กำหนดนโยบาย หลักการวิธีการ 2.ทีมทางาน ได้แก่ ครูแกนนำ หรือกองเลขาที่จะไปรับวิธีการองค์ความรู้ใหม่ๆ ขยายผลให้กับบุคลากรในโรงเรียนทั้งโรงเรียน และ 3. ทีมประสานได้แก่ ครูในกลุ่มสาระต่างๆ เป็นผู้ทำงานต่อไป” “กลยุทธ์ การสร้างทีมของโรงเรียนจะทำผ่านหลัก 5 ส. พอเพียง คือ สร้างความศรัทธา สร้างแกนนำ สร้างครือข่าย สร้างโอกาส และสร้างผลงานเชิงประจักษ์ คือให้โอกาสครูได้แสดงผลงานเวลามีคนมาศึกษาดูงาน เพื่อให้ครูเกิดการพัฒนาต่อไป”

นายวีระพล สายหอม รองผอ. รร.สาโรงทาบวิทยาคม จ.สุรินทร์


 

จุดเปลี่ยนของครูสัตยาไสเกิดขึ้นเมื่อได้ไปประชุมที่กรุงเทพฯ ทำให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่อง “แนวคิด” ที่ต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน หลังกลับจากการประชุม ครูในโรงเรียนมีการถอดองค์ความรู้โดยเริ่มที่ตัวเองว่าตัวเองได้ทำอะไร เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ้าง ได้นาเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตอย่างไร ให้ถอดเป็นองค์ความรู้มา ทำให้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในสายเลือดของเราโดยที่เราไม่รู้ ตัว มีการทำ Pre-Test และ Post Test ใช้วิธีการถามนาเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด

นางสาวปฏิภรณ์ พิทักษ์ ผอ.รร. สัตยาไส  จ.ลพบุรี


 

จัดกิจกรรมให้เด็กได้ “หลักคิด” ในการทำงาน เช่น กิจกรรมรียูสกู๊ดไอเดีย ตั้งว่าทำแล้วได้ ที่โรงเรียนเน้นมากคือ ทุกครั้งจะให้เด็กถอดบทเรียน นอกจากนี้กิจกรรมในห้องเรียน แล้วจะให้บันทึกผลการเรียนรู้ทุกครั้ง เพื่อเราจะได้ประเมินเด็กได้ว่า เข้าใจคำว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแค่ไหน ซึ่งเราวัดได้จากการเรียนรู้ของเด็กส่วนหนึ่งและวัดจากพฤติกรรมเด็กอีกส่วน หนึ่ง เราจะทำทุกครั้งจนเด็กของเราสามารถเข้าใจและซึมซับจากสิ่งที่เขาลงมือ ปฏิบัติ

นางสาวบุญยรัตน์ ลมงาม ครูรร.สตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี 


 

ให้เด็กเรียนรู้จากการเผชิญปัญหาที่เกิดในสังคม สำรวจปัญหา บางคนไปสัมภาษณ์ บางคนทำแบบสอบถาม สร้างความตระหนักให้กับชุมชน เมื่อเด็กกลับมาเราจะตั้งคำถามชวนให้เด็กคิด ให้เด็กทำเป็นโครงงานเพื่อแก้ปัญหาที่พบ และเขียน “อนุทิน” เพื่อให้เขาได้ทบทวนตัวเองว่า วันนี้ไปทำอะไรมา ได้เรียนรู้อะไร เพื่อเขาจะนำเรื่องการสำรวจนี้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องใดต่อไป

 นางสาวนาตยา โยธาศิริ  ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ รร.โพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด


 

ที่เห็นชัดเจนคือทักษะการทางานของเด็ก เวลาที่เขาจะทำงานเขาจะรู้ว่าต้องวางแผนและแบ่งงานกันทำอย่างไรเพื่อให้ทุก คนได้ทำงาน และนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน มีเด็กที่ได้ทุนเศรษฐกิจพอเพียงเขาจะขึ้น Facebookว่า “มันเป็นความเหนื่อย แต่เป็นความเหนื่อยที่คุ้มค่าและเต็มใจที่จะเหนื่อย”

นางเพลินจิตร โพธิ์กระจ่าง ครูกรรมการศูนย์ฯร.ร.โยธินบูรณะ  จ.กรุงเทพฯ


 

“ถ้าเด็กรู้จักและรักตัวเองแล้ว เขาก็จะรักคนรอบข้าง และครอบครัวมากขึ้น จากนั้นจะนำไปสู่ชุมชน และสังคมต่อไป”

นายสุทธิรัตน์ เสนีชั ครู รร.ห้วยยอด จังหวัดตรัง

 

“ไป เรียนรู้ดูงานที่โครงการชั่งหัวมัน เมื่อเด็กเข้าไปเด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจว่าที่นี่เป็นที่ของพ่อ เราจะใช้ตรงนี้เป็นกรอบให้เขาภูมิใจเสมอ เราสามารถสร้างเด็กให้มีหลักคิด กระบวนการ ทำอะไรก็คิดถึงคนอื่น เพราะโรงเรียนเราเป็นประจำ เราสามารถพูดคุยกับเขาได้ตลอดเวลา

นายพรไพรสน คนมี  ครู รร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

 _______________________________________________________________________________________________
29/5/55

การระดมสมองผู้บริหารและครูศูนย์การเรียนรู้ฯ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศูนย์การเรียนรู้ยั่งยืน

 

1.  กระทรวงศึกษาธิการกำหนดหน่วยงานดูแลที่มียุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ชัดเจน

  • กำหนดมาตรฐานของการเป็นศูนย์ที่ชัดเจน
  • มีการระบบติดตามดูแลประเมินผลอย่างการทำงานของศูนย์ที่เป็นรูปธรรมอย่างน้อย 3 ปีครั้ง
  • วางแผนการทำงานที่สอดคล้องกับหน่วยงานประเมินต่างๆ เช่น แผน 5 ปีสอดคล้องกับสมศ. แผน 3 ปี การประเมินคุณภาพภายใน และ การประเมินตนเอง(SAR)ทุกปี
  • พัฒนาบุคลากรด้านการประเมินให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน มีมาตรฐานเดียวกัน

2.  ได้รับการสนับสนุนยกย่องจากต้นสังกัด

3.  มีโครงสร้างเชิงระบบภายในโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน

  • มีครูแกนนำโดยจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการทำงาน
  • มีระบบพัฒนานักเรียนแกนนำสืบทอดรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
  • ดึงการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ กรรมการสถานศึกษา ชุมชน  และหน่วยงานต้นสังกัด
  • สร้างแรงจูงใจให้ครู

4.  พัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์ที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

5.  มีกิจกรรมสร้างความตระหนักให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง

6.  ใช้กระบวนการสะท้อนการทำงานทุกระดับทุกกิจกรรม

7.  มีกิจกรรมสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลากรให้ครูมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการกระตุ้นศูนย์การเรียนรู้ เช่นตลาดนัดความรู้ เรื่องเล่าเศรษฐกิจพอเพียง หรือการอบรมเสริมความรู้ (Refreshment)

 

 

ความต้องการสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ฯ

  • กระทรวงกำหนดเป็นนโยบาย เป็นยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน
  • หน่วยการต้นสังกัดต้องรับรอง ยกย่อง ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุนกำลังคน กำลังงบประมาณ ประเมินให้ความดีความชอบ
  • สำนักงานทรัพย์สินสนับสนุนการสื่อเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ เพื่อจัดทำห้องเกียรติยศ
  • มูลนิธิสนับสนุนให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนและนำกระบวนการไปพัฒนาการสอนในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างครูที่เข้าใจหลักปศพพ.
  • การจัดทำสื่อของศูนย์การเรียน รู้ฯ ทั้งในด้านอุปกรณ์ เทคนิค และมีช่องทางสื่อกิจกรรมกังกล่าว เช่นมีพื้นที่แสดงผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บไซด์
  • พัฒนาวิทยากรให้ความรู้เติมเต็มสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
  • พัฒนาผู้ประเมินศูนย์การเรียนรู้ฯ และสถานศึกษาพอเพียง (ศึกษานิเทศก์) ให้เข้าใจชัดเจน มีมาตรฐานที่ตรงกันเกี่ยวกับเกณฑ์และตัวชี้วัด
  • สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ประเมินอื่นๆ เช่นสมศ. ผู้ตรวจผลงานวิชาการ
  • ในการประเมินวิทยฐานะครู ประสานให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่มาเรียนรู้ และนำรูปแบบที่กคศ.กำหนดมาทาบที่ศูนย์เพื่อช่วย ร.ร. /ครู

 

 

บทบาทของศูนย์การเรียนรู้ในการสนับสนุนเครือข่าย

  • สร้างเครือข่ายการเรียนรู้โดยมีนำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ เข้ามามีส่วนร่วม
  • สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็น โรงเรียนแม่
  • พัฒนาสถานศึกษาพอเพียงและศูนย์การเรียนรู้ในบทบาทวิทยากร และพี่เลี้ยง
  • นิเทศและช่วยจัดการประเมินภายในให้กับ ร.ร.เครือข่าย

ผลที่เกิดขึ้น

  • ผู้บริหาร และครูเกิดกำลังใจที่มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อแผ่นดิน
  • ได้เรียนรู้เทคนิคการทำงานใหม่ๆโดยเฉพาะโรงเรียนศูนย์ใหม่
  • ผู้บริหารและครูมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของความเป็นศูนย์การเรียนรู้
  • ได้ ความรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานของผู้บริหารและครู ซึ่งนำเผยแพร่ผ่านเว็บ ไซด์ของมูลนิธิ และจะทำเป็นหนังสือเส้นทางสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ต่อไป
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ