โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
การอบรม เชิงปฏิบัติการ "เสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้าน การศึกษา" วันที่ 20-22 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล "บ้านผู้หว่าน" อ.สามพราน จ.นครปฐม

จาก การประชุมผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการ ศึกษา พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และแกนนำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ในงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 3 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ที่ ประชุมมีมติเห็นควรจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมศักยภาพ (Refresh) ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ฯ เพื่อเป็นการเสริมพลังในการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

มูลนิธิสยามกัมมาจล จึงเรียนเชิญอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม เป็นวิทยากรออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้าน การศึกษา” ขึ้น ระหว่างวันที่  20-22 สิงหาคม 2554  ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” อ.สามพราน จ.นครปฐม

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหารและครูแกนนำศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษารุ่นแรก 13 โรงเรียน รวมโรงเรียนละ 3 คน
  • มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง

 

วัตถุประสงค์

  • เติมแนวคิดและกระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อโรงเรียนนำไปปรับใช้ และสร้างความยั่งยืนของการเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
  • ให้ผู้บริหารได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการ
  • ผู้บริหารได้ฝึกกระบวนการคิดเชื่อมโยง คิดเป็นระบบ เชื่อมสิ่งที่ตนเองทำกับเศรษฐกิจพอเพียง และเชื่อมตัวเรากับสิ่งต่างๆ
  • สร้างเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

การอบรม “เสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้าน การศึกษา” โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ เป็นผู้ออกแบบและวิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้นี้ ด้วยหลักคิดที่ว่า “หัวใจที่จะผลักดันงานเศรษฐกิจพอเพียง คือ ใจ ทั้งใจที่เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใจที่ศรัทธาเห็นคุณค่าความหมายของเรื่องนี้ต่อชีวิตและสังคม” ซึ่งก็คือการเริ่มต้นจากตนเอง

สิ่ง สำคัญในการจัดการอบรมผู้บริหารและครูแกนนำขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ฯ นี้ อาจารย์ชัยวัฒน์ใช้กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าอบรมเห็นว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้มีความหมาย ความสำคัญต่อชีวิต ชุมชน สังคมอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ต้องคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) เห็นความเชื่อมโยงของตนเองกับแนวโน้มสำคัญของโลกและสังคมไทย

 

ใน ตอนท้าย อาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ให้ผู้เข้าอบรมได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับคุณค่าหลัก (Core Value) ที่ตนเองยึดถือในชีวิต แล้วเชื่อมกับภาพอนาคตที่ปรารถนาเกี่ยวกับตนเองและที่อยากเห็นของสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและทำแผนปฏิบัติการของผู้บริหารและครู แกนนำขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ฯ สำหรับการขับเคลื่อนสร้างความยั่งยืนภายในโรงเรียน และขยายผลเครือข่ายต่อไป 
 

ตลอด กระบวนการ วิทยากรใช้การตั้งคำถามกระตุ้นคิด และให้ผู้เข้าอบรมมีการครุ่นคิด ตั้งใจฟัง ตั้งใจพูด ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างลุ่มลึกและมีความหมายกระทบใจ

 

จากการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ของผู้เข้าอบรม สรุปได้ว่า

  • ได้ เรียนรู้กระบวนการสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของการน้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตและปลูกฝังสู่นักเรียน ที่ผู้บริหารและครูสามารถนำไปเป็นแนวทางจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนได้
  • เปิดมุมมองที่หลากหลายของความหมายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ได้ เรียนรู้เครื่องมือและกระบวนการต่างๆ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างความยั่งยืนแก่ศูนย์การเรียนรู้ได้ และการนำไปใช้สร้างการเรียนรู้เพื่อการขยายผลต่อ เช่น กระบวนการ Reflective and Generative Conversation กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การทำแผนปฏิบัติงานโดย Core Team เป็นต้น
  • เกิดเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารและครูแกนนำศูนย์การเรียนรู้ฯ

 

ตัวอย่างผู้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ผอ.วัฒนชัย ศิลารัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด
    “เห็น ความคิด กระบวนการที่ท่านอาจารย์ได้จัดให้พวกเราในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การที่จะสร้างพลังร่วมทางความคิด นั่นก็คือให้นักเรียนสะท้อนปัญหาหรือแนวโน้มของปัญหา อย่างเช่นให้พวกเราสะท้อนปัญหาระดับโลก ระดับประเทศ เราสามารถเป็นแนวคิดนำสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน อาจจะให้เด็กสะท้อนปัญหาในเชิงของภายในโรงเรียนและในครอบครัวและในชุมชน เป็นปัญหาในระดับของนักเรียน หลังจากนั้นก็ให้เขาคิดวิธีการที่จะลดภาระปัญหานั้นแก้ปัญหานั้น ผมคิดว่าน่าจะเกิดกระบวนการคิดในเชิงระบบที่ชัดเจนมากขึ้น”

    อ.ดุษิต พรหมชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่


“ผมเคยศึกษาแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้มาบ้าง เป็นการศึกษาด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือ ทำให้เราได้ความรู้และความคิดมาระดับหนึ่ง แต่เมื่อได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมยังทำให้ ผมได้เรียนรู้มากขึ้น และได้รับความคิดใหม่ๆ กลับไปปรับใช้ที่โรงเรียนด้วย”

    

  • อ.คณิตา สุขเจริญ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
    “การอบรม ครั้งนี้ทำให้มองเศรษฐกิจพอเพียงกว้างขึ้น จากแต่ก่อนที่มองเศรษฐกิจพอเพียงเฉพาะที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และการจัดการเรียนการสอนแก่ลูกศิษย์ในบริบทของสังคมไทยเท่านั้น แต่ไม่เคยคิดเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงกับบริบทของสังคมโลก กระทั่ง ดร.ชัยวัฒน์ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงนี้ จะนำกลับไปบอกให้ลูกศิษย์ที่เกิดและเติบโตมาในยุคปัจจุบันได้ทราบด้วย เชื่อว่าจะทำให้เขารู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น”

   

  • อ.กัลนิถา สังแก้ว ตัวแทนจาก มรภ.เพชรบุรี
    “กระบวน การของอาจารย์ชัยวัฒน์และสิ่งที่อาจารย์พยายามที่จะทำให้พวกเราได้เข้ามา สัมผัส ไม่ว่าจะในเรื่องของการเรียนรู้เรื่องของทีม การที่จะมี Core Value ร่วมกันหรือภาพฝันร่วมกัน ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ในการที่เราจะมองมิติอีกมิติหนึ่งในการที่เราจะไปเป็น พี่เลี้ยง ไม่ใช่ไปบอกให้เขาทำอย่างนี้ๆ นะ ถ้าเป็นอย่างนั้น มันจะไปวังวนหลุมดำเหมือนเดิม

 

 

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ