โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการเรื่องเล่า "บทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการการเรียนรู้"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

     จากการดำเนินการโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โครงการฯ ได้ค้นพบผู้บริหารและครูที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางจัดการสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน จนประสบความสำเร็จที่จะสามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้สนใจนำไปปรับใช้จำนวนมาก
     

     เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และสร้างความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา มูลนิธิสยามกัมมาจลจึงร่วมมือกับโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำ โครงการเรื่องเล่า "บทเรียนความสำเร็จในการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดการการเรียนรู้" สำหรับสถานศึกษาพอเพียงปี 2550 และโรงเรียนเครือข่ายของมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ถอดบทเรียนตนเอง และเขียนเรื่องเล่าความสำเร็จที่ภูมิใจส่งเข้ามา เพื่อมีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงาน และเผยแพร่เรื่องราวดีๆ สู่วงกว้างเพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางให้สถานศึกษาที่สนใจนำไปปรับใช้ตามบริบทต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : โครงการเรื่องเล่า "บทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการการเรียนรู้"

­

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสรรหาแบบปฎิบัติที่ดี วันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงเรียนเพลินพัฒนาและหอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)กรุงเทพมหานคร

­

- มีผู้ส่งผลงานทั้งสิ้น 215 ชิ้นงาน (ผู้บริหาร 45 คน ครู 143 คน กลุ่ม 27 กลุ่ม) จาก 139 โรงเรียน

- ได้ตัวอย่างความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 38 เรื่อง ผู้บริหาร 13 คน ครู 22 คน ผลงานกลุ่ม 3 กลุ่ม จาก 22 โรงเรียน

- แบบปฏิบัติที่ดีที่สุดรวม 14 เรื่อง (ผู้บริหาร 6 คน ครู 7 คน ผลงานกลุ่ม 1 กลุ่ม) ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ“ประสบการณ์จริงบนเส้นทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และวิดีทัศน์ “เรื่องเล่าบทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการการเรียนรู้"

­

­

                                                          ดาวน์โหลด


­

­ชมวิดิทัศน์

กรรณิการ์ มาบุญมี        มาลินี ทับทิมชัย

กัญพิมา เชื่อมชิต          วลีรัตน์ บำเพ็ญเกียรติคุณ

กุณฑีรา บุญเลี้ยง         วาริน รอดบำเรอ

คเณศ เทพสุวรรณ         วิรัช กิมทรง

ครูเล็ก (สรุปประเด็นครู)  วีระ สำเนียงแจ่ม

จุติพร สุขสิงห์               ศิวพร แย้มแตงอ่อน

ชนันศิริ โคตรุฉิน            สมนึก จันทร์แดง

ชวลิตร วรรณดี               สวลี มีสวัสดิ์

ธนียา บุญมี                    สารภี สายหอม

ธีระวัธน์ สิงหบุตร           สิริมา เจริญศรี

นวรัตน์ ศรีอักขรกุล         เสาวคนธ์ โอภาสถิรกุล

นิรมล โชติช่วง              แสน แหวนวงศ์

ประภาส ศรีเจริญ            อนันต์ บุญชู

ปริศนา ตันติเจริญ          อัจฉรา สุขพิบูลย์

พัทธนันท์ นิลพัฒน์       อันเร ไชยเผือก

พูนเกียรติ ศรีปัญญา       เอื้ออำไพ สุวรรณยืน

ไพลิน ส่งวัฒนา             ฮุสนา เงินเจริญ

ภัทรวรรณ ทองด้วง        ครูเล็ก (สรุปประเด็นผู้บริหาร)

­


­

กิจกรรมศึกษาดูงานโครงการเรื่องเล่า"บทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการจัดการการเรียนรู้" วันที่ 12 - 14 มีนาคม 2553 ณ รร.บ้านหนองบัวแดง โครงการแม่ฟ้าหลวง และโครงการปลูกป่่าปางมะหัน


ดูงานโรงเรียนบ้านหนองบัวแดง

คณะผู้บริหารและครู ได้เรียนรู้แนวคิดและรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอน ผ่านการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และสิ่งแวดล้อม 7 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่

  • ฐานการรับประทานอาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ : ฝึกระเบียบวินัย ปลูกฝังสำนึกความพอดี
  • ฐานปลูกผักกางมุ้ง / ฐานการเลี้ยงกบ ฐานการเลี้ยงหมู และบ่อก๊าชชีวภาพ /ฐานการเลี้ยงโค-กระบือ /
  • ฐานจุลินทรีย์น้ำ EM : ปลูกฝังหลักคิดการพึ่งพาตนเอง และการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ฐานบริหารจัดการการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน : เปิดวงสนทนาเพื่อให้คณะครูที่เยี่ยมชมเห็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

­

ดูงานโครงการแม่ฟ้าหลวง

  • ประสบการณ์บริหารจัดการท้องถิ่น ของ อบต.แม่ฟ้าหลวง : การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานของอบต. แม่ฟ้าหลวง
  • บริษัทนวุติ : การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า / การศึกษาวิจัยการตลาด /การสร้างแบรนด์ ฯลฯ )
  • การส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ กาแฟ และแมคคาเดเมีย และสวนแม่ฟ้าหลวง : การสร้างอาชีพ และรายได้ บนฐานอาชีพเกษตรกร ที่นำความรู้ใหม่เข้ามาพัฒนาการผลิต การพัฒนาทักษะ และส่งเสริมให้ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการ
  • โรงงานกระดาษสา /โรงงานทอและเย็บผ้า /โรงงานเซรามิก : การสร้างอาชีพ บนฐานภูมิปัญญา และทรัพยากรของชุมชน การเพิ่มมูลค่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และการตลาดเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • พระตำหนักดอยตุง : หลักคิด หลักการทรงงาน และ การดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียงของสมเด็จย่า
  • หอแห่งแรงบันดาลใจ : พระจริยวัตรและหลักการทรงงานที่เรียบง่าย เปี่ยมด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ที่มุ่งพัฒนาความอยู่ดีกินดีของคนไทย และสร้างประโยชน์สุขแก่แผ่นดินของราชสกุลมหิดล
  • โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ : การแก้ไขปัญหาความยากจน และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูป่า รวมทั้งการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามหลักคิด “ปลูกคน เพื่อปลูกป่า”

­

 
โรงงานเซรามิก                 การปลูกพืชเศรษฐกิจ

 
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ                       โรงงานทอและเย็บผ้า

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสรรหาแบบปฎิบัติที่ดี


­

- ได้เรื่องเล่าเร้าพลังที่ผ่านการคัดสรร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม เป็นแบบปฏิบัติที่ดีที่สุดรวม 14 เรื่อง

- ตัวอย่างการถอดบทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการการเรียนรู้ ที่สะท้อนถึงแรงบันดาลใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาเรื่องเล่าเร้าพลังของผู้บริหารและครูและการออกแบบการเรียนรู้ของครู

- ผู้บริหารและครูเกิดพลังใจมากขึ้นจากการฟังเรื่องเล่าของแบบปฏิบัติที่ดีและเกิดเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่แน่นแฟ้นขึ้น

- ผู้บริหารและครูได้แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงใหม่ๆ ตลอดจนเข้าใจการใช้เครื่องมือจัดการความรู้มากขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ที่โรงเรียน

- สื่อต่างๆ ให้ความสนใจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ได้ขอเรื่องเล่าไปลงใน เอ็กซ์ไซท์ ไทยโพสต์ รายการข่าวเที่ยงวัน ช่อง 9 Modern nine TV และรายการ D-Station มาสัมภาษณ์ออกข่าว

­

     กิจกรรมศึกษาดูงาน โครงการเรื่องเล่า"บทเรียนความสำเร็จในการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการจัดการการเรียนรู้

­

ดูงานโรงเรียนบ้านหนองบัวแดง

- เห็นตัวอย่างการปลูกฝังหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เรียนในบริบทโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของรัฐบาลในพื้นที่ชนบท

- เห็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัด การเรียนการสอน (ผู้ปกครอง สนับสนุน แรงงาน อุปกรณ์/ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมคิด ร่วมวางแผน สนับสนุน งบประมาณ)

- การปลูกฝังหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เยาวชนด้วยหลักการฝึกให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

­

ดูงานโครงการแม่ฟ้าหลวง

- ได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิด หลักทรงงาน ของสมเด็จย่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และเห็นรูปแบบการแปลงหลักคิด หลักการทำงาน ที่ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

- ได้เรยนรู้ตัวอย่างการสร้างผู้นำเพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนา (รองนายกอบต.แม่ฟ้าหลวง)

- เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูพอเพียงกับเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาดอยตุง

- เกิดแนวคิดที่ต่อยอดจากการดูงานครั้งนี้ เช่น

  • ได้หลักคิด หลักการทำงานที่ เน้นให้ผู้เรียนได้สัมผัสของจริงและลงมือปฏิบัติ เกิดความต้องการเรียนรู้ ระเบิดจากภายใน โดยนำไปต่อยอดให้เกิดกิจกรรมห้องเรียนเข้มแข็ง โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากผู้นำชุมชน และนักวิชาชีพในชุมชน อาทิ แพทย์ ตำรวจ
  • นำหลักคิด การสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ในสิ่งที่ทำ รัก ร่วมดูแล และพัฒนาโรงเรียน
  • การนำแบบอย่างของการพัฒนาดอยตุง ในการใช้ข้อมูล ความรู้ ในการปรับปรุง หรือสร้างสรรค์การทำงานให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน
  • ในโรงเรียนและชุมชน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ