กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพครูแกนนำภาคกลาง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

             อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพ ครูแกนนำ ภาคกลาง เพื่อพัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการออกแบบการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหิดล

­

             “โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียงได้พัฒนาตนเองเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” และมีความพร้อมที่จะเป็นแกนนำสำคัญในการขยายผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศ ตามยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงศึกษาธิการ

­

             ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นผู้ดำเนินการสนับสนุนด้านวิชาการและการจัดกระบวนการเสริมศักยภาพให้กับครูแกนนำของโรงเรียนในภาคกลาง ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2554 ณ ณ โรงแรม เอส.ดี.อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร มีจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมทั้งหมด 9 โรงเรียน มีครูแกนนำเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 90 คน ซึ่งดำเนินกระบวนการโดยทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหิดล

­

วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการออกแบบการเรียนรู้ในสถานศึกษาภาคกลาง ดังนี้

  1. เพื่อเสริมสร้างครูแกนนำในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

  2. เพื่อให้ครูแกนนำในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถออกแบบกิจกรรมในการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรม

  3. เพื่อปรับมโนทัศน์ของการจัดการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าถึงนักเรียน


16/10/54
  • บรรยายพิเศษ โดย  คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร เพื่อปรับมโนทัศน์ แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูแกนนำ และสร้างแรงบันดาลใจในการนำปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดผลต่อการออกแบบหน่วยการเรียนการสอน

­

  • กิจกรรมสานสัมพันธ์มุ่งมั่นสู่ศูนย์การเรียนรู้พอเพียง เป็นกิจกรรมชวนคิดชวนคุย และการสร้างบรรยากาศที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (จิตปัญญา) Deep listening, Get together เพื่อสร้างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และให้ครูแกนนำมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความพร้อมในแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาร่วมกัน ซึ่งดำเนินกระบวนโดย ศูนย์์จิตปัญญาศึกษา ม.มหิดล



17/10/54
  • ตลาดนัดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบกิจกรรมแต่ละกลุ่มสาระ/กิจกรรมโดยใช้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ครูแกนนำได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบกิจกรรมและตอกย้ำความเข้าใจ ตลอดจนสร้างจุดร่วมของดารออกแบบกิจกรรมแต่ละกลุ่มสาระ/กิจกรรมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งขยายแนวคิดและรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน

­

  • กิจกรรมการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ตามกลุ่มสาระวิชาต่างๆ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือที่เป็นชุดคำถามต่างๆ เพื่อทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดตามปรัชญาของหลักเศรษฐกิจพอเพียง และทำให้ครูแกนนำของสาระวิชาสามารถออกแบบการเรียนรู้ตามแผนการสอนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรม

  • นำเสนอตามกลุ่มสาระ/กิจกรรม โดยใช้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระวิชา/กิจกรรม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิฯ ให้คำแนะนำเพิ่มเติม



18/10/54
  • ประชุมกลุ่มแต่ละโรงเรียนเรื่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรม (ตัวอย่างโครงการบูรณาการ) โดยให้เวลาครูแต่ละโรงเรียนได้เขียนแผนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรม และนำเสนอแผนตามแต่ละโรงเรียนในเรื่องของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและกิจกรรม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและเครือข่ายครูแกนนำในการปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

­

  • แต่ละโรงเรียนนำเสนอแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระต่างๆ เพื่อให้ทิศทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ตัวผู้เรียน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและเครือข่ายครูแกนนำในการปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

­

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

        ผลที่ได้รับจากการอบรมเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคกลาง


  • บรรยายพิเศษ ปรับมโนทัศน์แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของครูแกนนำ ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และสามารถถ่ายทอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ตัวผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัยในแต่ละช่วงชั้น โดยไม่มุ่งเน้นการสร้างฐานเรียนรู้แบบต่างๆ อาทิเช่น ฐานด้านการเกษตร การออมทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็น "หลุมดำ" ของการดำเนินงานโครงการ 

  • กิจกรรมเล่นเกมส์ผู้นำพอเพียง (The Leader) ครูแกนนำในแต่ละโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมอบรม มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีเหตุผล รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้ภาระกิจต่างๆ บรรลุเป้าหมาย

  • กิจกรรมสานสัมพันธ์มุ่งมั่นสู่ศูนย์การเรียนรู้พอเพียง (จิตปัญญา) Deep listening, Get together สร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทลายกำแพงระหว่างบุคคลให้เกิดการเปิดใจเปิดกายเตรียมพร้อมที่จะรับการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

  • ตลาดนัดความรู้ ครูแกนนำแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรมจากโรงเรียนต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดการการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกัน ตลอดจนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และได้เรียนรู้ถึงบริบทของโรงเรียนต่างๆ ต้นทุนที่ส่งเสริมและสนับสนุน กระบวนการ ปัญหาและอุปสรรค และการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และได้เรียนรู้จากเรื่องเล่าเด่นๆ ของกลุ่มสาระหรือกิจกรรมในแต่ละโรงเรียน

  • กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการตามกลุ่มสาระและกิจกรรมครูแกนนำแต่กลุ่มสาระหรือกิจกรรมสามารถเข้าใจและออกแบบการเรียนรู้ตามแผนการสอนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • กิจกรรมการออกแบบหน่วยการเรียนการสอนเชิงบูรณาการของแต่ละโรงเรียน แต่ละโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถออกแบบหน่วยการเรียนการสอนเชิงบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และได้โครงงานตัวอย่างในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรายวิชาต่างๆ ได้

  • กิจกรรมการนำเสนอแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามกลุ่มสาระ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะร่วมกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและครูแกนนำแต่ละโรงเรียน เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการในโครงงานตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ตัวอย่างความสำเร็จ

 

กลุ่มสาระศิลปะ

        ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิชาศิลปะให้คำนิยามของการเรียนการสอนวิชาศิลปะตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า คือ การจัดการเรียนการสอนให้ครูและนักเรียนเรียนรู้วิชาศิลปะอย่างมีความสุข โดยอาจมีการตั้งคำถามในการเรียนรู้ร่วมกันจากสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน เหตุการณ์สมมุติ และการจำลองสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ในสิ่งเรียนรู้ว่าตนเองมีความรู้เดิมอย่างไร และต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องอะไร หรือมีอะไรที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมอีก ซึ่งศิลปกรรมการออกแบบหน่วยการเรียนรู้กลุ่มวิชาศิลปะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังจากการได้รับการฝึกอบรมสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

  1. การออกแบบหน่วยการเรียนวิชาศิลปะโดยการใช้ Backward Design 
  2. การออกแบบหน่วยการเรียนวิชาศิลปะแบบ Project Based Learning (PBL)
  3. การประเมินผลการเรียนรู้แบบ Project Based Learning (PBL)
  4. การสรุปหรือการถอดบทเรียนหลังการเรียนรู้ Reflection

โดยครั้งนี้ในกลุ่มสาระวิชาศิลปะมีครูแกนนำ ดังนี้

  1. นายณรงค์เดช สุขสามชล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานนทบุรี
  2. นางลัดดา จุลวงศ์ โรงเรียนสัตยาไส จ.ลพบุรี
  3. นางสาวศศิกานต์ วีระวัฒน์โยธิน โรงเรียนอวังนนทบุรี

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ