กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
Workshop การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

Workshop การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษา ที่ศูนย์นวัตกรรมไหม มมส

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. .ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนในเครื่อข่ายศูนย์อีสานตอนบน

2. ทราบถึงวิธีการดำเนินการในฐานะของโรงเรียนศูนย์ฯ ต่อการให้บริการการศึกษาดูงาน โดยไม่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนปกติ

3. เพื่อทบทวนและเตรียมความพร้อมของโรงเรียนพอเพียงในการเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ ในอนาคต

­



25/7/56

            ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักสูตรสถานศึกษาในเขคภาคอีสานตอนบนในครั้งนี้ จัดขึ้นเพียงวันเดียว คือวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ที่ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารสถานศึกษาและครูแกนนำขับเคลื่อนจากโรงเรียนทั้งหมด 26 โรงเรียน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 52 คน ในการประชุมครั้งนี้ ดร.ฤทธิไกร หัวหน้าทีมแกนนำขับเคลื่อนได้เปิดวงสนทนาเมื่อเวลา 9.00 น. โดยกล่าวสรุปจากไปร่วมประชุมร่วมกับส่วนกลาง ว่ามีผลการประชุมเป็นอย่างไร และมีนวัตกรรมไหม่ๆ อะไรบ้างเพื่อแลกเปลี่ยนรู้กับที่ประชุม หลังจากนั้น จึงเปิดเวที่แลกเปลี่ยนจากโรงเรียนเครือข่าย โดยให้โรงเรียนนำเสนอไทม์ไลม์และโมเดล โดยในช่วงเช้า โรงเรียนโคกเพชร โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม และโรงเรียนบ้ายเป้าวิทยา

            กิจกรรมในช่วงเช้าไปพักเพื่อทานอาหารเที่ยงเวลาเที่ยงครึ่ง และมีนัดหมายรอบบ่ายหลังเที่ยง โดย ดร.ฤทธิไกร เริ่มเข้าสู่ฐานเพื่อพูดคุยกับคุณครูรายโรงเรียน เช่น โรงเรียนดอนช้าง โคกเพชร หนองหว้า แล้วนำข้อสังเกตที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูประจำฐานต่างๆ พบว่้าโมเดลส่วนใหญ่กระบานทัศน์ในการทำงานชัดเจนดี แต่กระบวนการในการจัดกิจกรรมยังไม่ชัดเจน จังไม่เห็นภาพในเชิงปฏิบัติ จึงขอให้โรงเรียนนำไปปรับและไปทำข้อตกลงรวมกัน หลังจากนั้นในช่วงบ่ายประมาณ 14.15 น. ได้มีการนำเสนอไทม์ไลม์ของโรงเรียนที่เหลือ โดยฌโรงเรียนโพนทองวิทยายน นำเสนอโดยครูอ้อ นาตยา เป็นผู้นำสเนอ ในฐานะของโรงเรียนศูนย์ฯ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารแต่ระบบก็ยังสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี การดำเนินงานของโรงเรียนจะเน้นที่เด็ก ที่จะต้องได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ และเป็นไปตามความมุ่งหวังของชุมชน และโรงเรียนจะต้องเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ หลังจากนั้นเปิดให้มีการแลกเปลี่ยน และตามด้วยโรงเรียนเชียงขวัญซึ่งเป็นโรงเรียนศูนย์ฯอีกแห่งหนึ่ง การนำเสนอครั้งท่าน ผอ.ได้เป็นผู้บรรยายถึงกระบวนการในการตั้งรับของโรงเรียน ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนศูนย์แต่ก็เป็นโรงเรียนขนาดกลางซึ่งขาดแคลนอุปกรณ์พอสมควร ดังนั้นการดึงชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนตัวจริงมาช่วยในการพัฒนาโรงเรียนจึงเป็นเป้าหมายแรกทันทีที่ย้ายมารับตำแหน่งใหม่ ซึงพบว่าชุมชนให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง เช่น การขอความอนุเคราะห์บริจาคสิ่งของ หรือการงานผ้าป่าเพื่อพัฒนากิจการของโรงเรียน นั้นแสดงว่าชุมชนเป็นที่พึ่งของโรงเรียนและลูกหลานของเขาเอง และประเด็นต่อมาคือการตั้งรับในฐานะของโรงเรียนศูนย์ซึ่งมีโรงเรียนมาขอศึกษาดูงานมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อเวลาในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน จึงต้องทำให้ต้องจัดการใหม่ โดยตกลงกันว่าโรงเรียนจะต้องสร้างวิทยากรผู้นำให้มากกว่า 50% ของบุคลากรทั้งหมด และจะต้องผลัดเปลี่ยนการทำหน้าที่ ใครที่ชั่วโมงสอนต้องสอน ใตรว่างเป็นวิทยากร การดูงานต้องดูจากสภาพการปฏิบัติงานจริง ครูสอนไป คนดูงานก็ดูไป สงสัยสอบถามได้ที่วิทยากร และยังให้สรุปเพิ่มเติมด้วยว่า สามารถรวมหลายโรงให้มาดูงานในวันเดียวกันได้ไหม หรือเอาวันหยุดได้ไหม เป็นต้น 

ช่วงบ่ายปิดวงการประชุมประมาณเวลา 16.30 น.

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมขับเคลื่อนศูนย์อีสานตอนบน รายงาน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เป้าหมายหรือผลสำเร็จของการจัดโครงการในครั้งนี้ คือ

1. สมาชิกในเครื่อข่ายได้แลกเปลี่ยนเรียนในการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์ฯ

2. ได้หลักสูตรในการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. โรงเรียนพอเพียงได้รับทราบแนวทางของโรงเรียนศูนย์และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานของตนเอง

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ