กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การขับเคลื่อน ปศพพ. โดยใช้แผนการสอนที่สอดแทรก ปศพพ. ตามรูปแบบ สฑฐ.
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การขับเคลื่อน ปศพพ. โดยใช้แผนการสอนที่สอดแทรก ปศพพ. ตามรูปแบบ สฑฐ. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2556

การประชุมในวันนี้มีคุณครูจากโรงเรียนในเครือข่ายอีสานตอนบนทั้งหมด 60 คน จาก 26 โรงเรียน เปิดวงแลกเปลี่ยนโดย ดร.ฤทธิไกร กล่าวต้อนรับและทบทวนภาระกิจที่ได้ดำเนินงานทั้งหมดว่าได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว และมีทิศทางในการดำเนินงานอย่างไร การเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยน เช่น ทักษะในศัตวรรษที่ 21 การสอนที่ต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น การสอนแบบ PBL หรือ เรื่องของห้องเรียนกลับทาง วิทยากรหลักในวันนี้คือคณะครูจากโรงเรียนศูนย์ที่ได้ไปรับการอบรมที่ เช่น ครูไพรวัลย์ จากโรงเรียนเชียงขวัญ ครูอ้อ นาตยา จากโรงเรียนโพนทองวิทยายน ในช่วงเริ่มต้นให้คุณครูดูเอกสารที่ได้รับ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และทำไม จึงประกอบด้วยเอกสารชุดนี้ เช่น กรณีใบงานคู่ ในการแลกเปลี่ยนคุณครูบอกว่า แสดงว่าก่อนจะทำการเขียนแผนจะต้องมีถารถอดบทเรียนให้เข้ากับหลักของ ปศพพ. ครูเต้ยจากโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ได้กล่าวว่าแสดงว่า สพฐ. กำลังสอดแทรกการเขียนแผนโดยใช้หลัก ปศพพ.

เบรคเช้า เวลา 10.45 น. และจะมีก่ารจัดกลุ่มตามช่วงชั้น โดยแบ่งเป็นระดับ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยแบ้งเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้การแลกเปลี่ยนตรงกับความต้องการและการนำไปใช้มากขึ้น โดยเริ่มแรกเปลี่ยนในช่วงเวลา 11.00 น. โดยท่านคุณครูไพรวัลย์เป็นกระบวนกรหลัก และคุณครูจากโรงเรียนศูนย์ทุกท่านกระจายไปในแต่ละกลุ่มเพื่อเริ่มทำการแลกเปลี่ยน โดยให้นำหน่วยที่เคยสอนไปแล้วมาใช้ในการเขียนแผน เพราะจะทำให้คิดภาพของกิจกรรมให้ชัดเจน สรุปให้เขียนแผนในรายวิชาที่ตนเองสอน บรรยากาศในการทำงานเป็นแบบช่วยเหลือเพื่อตามรูปแบบครูพอเพียง คุณครูทำงานอย่างสบาย ๆ เพราะทุกคนมีเนื้อและกิจกรรมอยู่ในตัวของครูอยู่แล้ว แต่วันนี้ครูจะต้องนำ ปศพพ. เข้าไปมีส่วนร่วมในแผนมาก โดยการคนเดียวแต่ไม่โดดเดี่ยว แล้วก็แชร์กันด้วยความสุขที่ได้แขร์ และผ่านไป 30 1o นาที คุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองผักชี ได้ชี้แจงกิจกรรมที่น่าสนใจของธนาคารต้นไม้ เพื่อใช้ในการกิจกรรมการเรียนการสอน โดยนำต้นไม้ที่นักเรียนได้ฝึกทำการเพาะขยายพันธ์ โดยใช้พืชในท้องถิ่น โดยเลือกพื้ชที่เริ่มหาได้ยาก ที่กำลังสูญพันธ์ มาเพาะด้วยเมล็ด หรือพืชที่เพราะพันธ์งานสามารถทำโดยการชำ ผลจากการจัดการเรียนจะทำให้เด็กรักต้นไม้ และเหมาะกับเด็ก แต่กรณ๊ที่น่าสนใจคือมะค่าโมงเมล็ดจะแข็งจะต้องมีการเจาะเมล็ด เพื่อให้น้ำสามารถซึมเข้าไปได้ แต่สิ่งที่สำคัญครูจะต้องเตรียมความรู้ เป็นการฝึกเด็กทั้งทางด้านความรับผิดชอบ และรู้จักการรอคอย เกิดคุณธรรมในการทำงาน

­

­

ครูอ้อ ได้กล่าวถึงการเขียนแผนในการทำกิจกรรมการทดลอง จะต้องมีการเตรียมการที่ดี จะต้องสอดคล้องกับหลักของความพอเพียง โดยธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ จะสอดคล้องกับพลักพอเพียงอยู่แล้ว แต่ที่ยากน่าจะเป็นคณิตศาสตร์ น่าจะได้กระบวนการ ครูไพรวัลย์กล่าวถึงวิชาภาษาไทย ก็ต้องอาศัยเหตุและผลเช่นเดียวกัน ซึ่งจะสามารถสอดแทรกหลัก ปศพพ. ได้เช่นเดียวกัน ครูอ้อ เน้นว่าครูจะต้องวิเคราะห์ว่าหลักสูตรแกนกลางใด้ระบุให้ต้องใช้อยู่แล้ว คุณครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ได้แลกเปลี่ยนพบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียน และมีความพอประมาณ รอบคอบและพอประมาณในการปฏิบัติ์ พักเบรคทานอาหารกลางวันเมื่อเวลา 12.30 น.

­

เริ่มเบรคบ่ายเมื่อเวลา 13.20 น. ดร.ฤทธิไกร โดยทบทวนปัญหาของการดำเนินการในช่วงเช้า และจะต้องปรับอะไรในช่วงบ่าย โดยยกกรณีการสอนภาษาไทยของคุณครูไพรวัลย์ และวิพากษ์กรณีตัวอย่างนี้ โดยเสนอให้วิเคราะห์ว่าอะไรคือเป้าหมายของตัวชี้วัด เช่น เราต้องการให้เด็กเกิดอะไร แล้วจะต้องจัดกิจกรรมอะไรแก่ผู้เรียน อะไรคือเนื้อหา อะไรคือทักษะ สุดท้ายจึงขอปรับกิจกรรมในวันนี้เพื่อให้สอดรับกับเวลาที่จำกัด จากนั้นคุณครูไพรวัลย์ได้ชี้แจงกรณีหลักสูตรและตัวชี้วัด เพื่อประกอบในการเขียนที่กำหนดไว้แล้วในหลักสูตร อะไรคือรายวิชา หน่วยการเรียนคืออะไร อยู่ตรงหนของหลักสูตร จะนำไปแตกเป็นแผนอย่างไร ครูอ้อ เสนอแนะในเรื่องที่มาที่ไปในแผนว่า คุณครูต้องทำทั้งรายวิชา ต้องยึดหลักสูตรของสถานศึกษาด้วย วันนี้ขอให้จำลองมาหน่วยเดียว มีคุณครูในสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีครบทุกหน่วยรวมไว้ ดังนั้นจะค้องยกมาทั้งหมด เพื่อใช้ประกอบในแผน ดร.ฤทธิไกร เสนอแนะว่ากิจกรรมเหล่านั้นทำให้เด็กสังเคราะห์ความรู้เองได้ไหม เรียนรู้เองได้หรือไม่ สุดท้ายถ้าเราทำสำเร็จ เด็กนำไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ และจุดมุ่งหมายให้เอาเฉพาะในเทอมที่จะใช้สอนในเทอมนั้นเท่านั้น

­

เลิกประชุมเวลา 15.45 น.

­

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมขับเคลื่อนภาคอีสานตอนบน รายงาน

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

1. ครูได้รับประสบการณ์และมุมมองในการเขียนแผนการสอนที่สอดแทรก ปศพพ.

2. มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและแผนต้นแบบที่นำไปใช้ในการพัฒนาทั้งในสาขาที่ต้นเองสอนและเชี่ยวชสญและสาขาอื่นเพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับเพื่อนครู

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ