กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การเขียนบล็อกในเว็บไซต์มูลนิธิสยามกัมมาจล
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การเขียนบล็อกในเว็บไซต์มูลนิธิสยามกัมมาจล วันที่ 22 สิงหาคม 2556 ที่โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม

­

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. การรับฟังบรรยายการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

2. การประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อกำหนดแนวทางของ CADL เพื่อพัฒนาโรงเรียนในเครื่อข่า

3. การเขียน blog ของมูลนิธิและของ gotonow

­


22/8/56


        ผู้เข้าประชุมในวันนี้ที่ห้อง ห้องตกสิลาบอลลูม มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400 คน โดยมีผู้ประสานงานจากกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปของ มมส. คณะครูของสถานศึกษาของ สพป.1 กาฬสินธุ์ สพป.3 มหาสารคาม และโรงเรียนในโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล

­

       เริ่มเปิดการประชุม เวลา 9.00 โดย รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ จากนั้นบรรยายสรุปโดย ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม ได้ทบทวนในการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาในการขับเคลื่อนสถานศึกษาของ สพป.1 กาฬสินธุ์ สพป.3 มหาสารคาม และโรงเรียนในโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล ว่าในรอบปีนี้ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนที่มี MOU ร่วมกันไว้แล้วว่าเห็นอะไร จะทำอย่างไร กับการขับเคลื่อนต่อไป อะไรคือแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากโรงเรียน เพื่อสะท้อนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำบางส่วนที่เห็นว่าสอดคล้องกับบริบทของตนเอง และทราบว่ามีใครทำอะไรบ้าง เราจะดูของจริงได้ที่ไหนกับใคร แล้วปิดเบรคเวลา 10.00 น หลังเบรคนี้จะมีการบรรยายพิเศษจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล เริ่มบรรยายเมื่อเวลา 10.43 น. โดยขอสรุปความดังนี้

­

         บทบาทของชุมชนต่อการจัดการศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิม มีสิ่งยั่วยุรอบตัวเด็กมากมาย จุดที่สำคัญคือครูอย่าตกหลุมแบบเดิมเพราะที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วทำไม่สำเร็จ การเรียนรู้ยุกต์ไหม่ ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทั้ง ปัญญา อารมณ์ สังคม เด็กต้องเห็นคุณค่าของความดี มีความสุขเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น การเรียนการสอบควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ฉะนั้นการเรียนที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การท่องจำเนื้อหาวิชา แต่เป็นเรียนรู้จากการตีความจากประสบการณ์เป็นสิ่งที่สคัญที่สุด ครูจะต้องไม่ทำตัวเป็นผู้รู้ ครูจะต้องไม่ตอบคำถามเด็กแต่ต้องรู้จักการตั้งคำถามกับเด็ก ครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กคิด โดยตั้งคำถามที่ทันสมัย คำถามที่ดีที่สุดคือคำถมที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ครูต้องใช้เวลาอย่างมีคุณค่าเมื่ออยู่กับเด็ก คุณค่าของครูในปัจจุบันนี้สูงกว่าในอดีต ครูต้องชวนเด็กทำ reflection ครูต้องระลึกเสมอว่า

­

1. เปลี่ยนจากสอนเนื้อหาวิชาไปเป็นฝึกทักษะให้เด็ก

2. ต้องให้เด็กได้เรียนวิธีการเรียนรู้

3. ต้องเรียนด้วยการปฏิบัติ เช่น การทำโครงงาน โดยเฉพาะการทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ทั้งหมดนี้เป็นการฝึกการทำงาน

4. ครูต้องรู้จักตั้งคำถาม เป็นคำถามที่เหมาะกับระดับ วัยและมีความท้าทาย

5 ไม่ใช่ห้องสอนแต่ต้องเป็นห้องเรียน ไม่ต้องเลิศหรู แต่ให้กับการเรียนรู้

6. ต้องทำให้เด็กมีส่วนร่วมสร้างความรู้ และรู้จักแบ่งปันแก่ผู้อื่น

7. เปลี่ยนจากครูสอนเป็นครูฝึก

8. ห้องเรียนกลับทาง แนวโน้มที่ สพฐ.กำลังส่งเสริม

          - การเรียนสาระความรู้หรือเนื้อหาที่บ้าน จากครูไอที ซีดี

          - ครูจะให้เด็กทำโจทย์ประยุกต์ที่เตรียมไว้สอน มีขบวนการฝึกทักษะที่โรงเรียน

          - เด็กสามารถระดมความคิดเห็น จากงานวิจัยพบว่่เด็กเกิดการเรียนรู้จริงประมาณ 20% ที่เหลือฐานไม่ดี ทำให้การเรียนในชั้นที่สูงขึ้นยิ่งมีปัญหามากขึ้น

          - ในห้องเรียนครูต้องช่วยเหลือกที่อ่อน เรียนช้า (และพบว่าครูไทย เอาใจใส่กับเด็กที่เรียนเก่ง ทอดทิ้งเด็กที่เรียนช้า)

           - ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย ไม่ใข่สถานที่ต้องลงโทษ และดูถูกดูแคลนเด็ก เพราะการเรียนรู้เกิดจากความมั่นใจ และต้องมีความั่นใจในตัวเอง

          - จัดห้องเรียนให้เป็นสถานที่ทำงาน สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก

           - การประเมินต้องทำสองอย่าง ประเมินเพื่อช่วยเหลือ และ ประเมินแบบเพื่อเลื่อนชั้นคือได้ตก ข้อสอบที่ดีต้องออกข้อสอบแบบพิชช่า

           - ครูไม่จำเป็นต้องทำสื่อเอง อาจจะหาจากสื่อที่มีอยู่แล้ว

           - ครูนอกกรอบ กับห้องเรียนนอกแบบ (ไทย-> โรงเรียนรุ่งอรุณ)

           - ครูจะต้องพานักเรียนทำ BAR AR และ AAR

           - ครูจะต้องรู้จักทำงานเป็นทีม PLC

           - สิ่งที่ครูต้องตระหนักคือไม่ใช่ เนื้อหา แต่เป็นขบวนการ

           - ครูจะต้องยอมรับฟีดแบล็กที่ได้จากห้องเรียนเพื่อปรับเปลียนการสอนของตนเอง

           - การเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งท้าทายเพราะไม่มีอะไรที่ตายตัว ครูต้องปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน

­

­

          ในช่วงบ่ายมีการประชุมกรรมการเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้ื LLEN และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) เพื่อรับฟังความเห็น วางกรอบนโยบายการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน กรรมการ ที่ประกอบจากหลายภาคส่วย สพป.1,2,3 มหาสารคาม สพม.26 มหาสารคาม สฟป ๑ กาฬสินธุ์ อบจ.มหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมี อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธาน เมื่อเวลา 13.30 น.  

­

          และได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อเสนอแนะ และมีตัวแทนจากโรงเรียนจาก สฟป ๑ กาฬสินธุ์ สฟป ๓ มหาสารคาม และโรงเรียนในเครือข่าย ปศพพ ของศูนย์อีสานตอนบน เป็นผู้ร่วมสังเกตการ รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดในช่วงบ่ายประมาณ 70 คน เป้าหมายในการประชุมในวันนี้เพื่อให้ CADL เป็นกลุ่มงานหนึ่งในสังกัดสำนักศึกษาทั่วไป เพื่อให้ทำหน้าที่ในการให้บริการทางการศึกษาแก่ชุมชนได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น

­

            อธิการบดี กล่าวถึงกรณีนายกยิ่งลักษณ์กล่าวถึงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแผล่งผลิตบัณฑิตของทั้งประเทศ แต่ทำไมคนมหาสารคามจึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ ทางอธการบดี ได้ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประชาชนมีงานทำมีรายได้ กินดีอยู่ดี และเป็นหน่วยสนับสนุนสำหรับการฝึกงานของบัณฑิต การรับคนเข้ามาศึกษา มหาวิทยาลัยจะได้ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

­

            ผอ.สำนักศึกษาทั่วไป ในฐานผู้บริหารงาน CADL กล่าวถึงภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัยจะจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น วันนี้เรามี CADL เป็นงานหนึ่งเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน และนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงผ่านหน่วยงานที่ทำ MOU ไว้แล้ว เช่น สฟป ๑ กาฬสินธุ์ สฟป ๓ มหาสารคาม และโรงเรียนในเครือข่าย ปศพพ ของศูนย์อีสานตอนบน ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานในการจัดทดสอบออนไลน์ได้ ซึ่งทุกหน่วยงานก็มีการทดสอบอยู่แล้วก็จะได้ทำงานร่วมกันได้ และสามารถให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบงานใหม่ๆร่วมกันได้ มีหน่วยงานอื่นๆที่อยู่ในความดูแลของสำนักศึกษาทั่วไป เช่น ศูนย์ภาษา สำนักพิมพ์

­

           รอง ผอ.สพป.มค3 แจ้งให้ทราบว่า เขตต้องการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการสอนเพื่อการสร้างทักษะชีวิต และจะต้องการสร้างทักษะ การออก เขียนได้ และคิดเลขเป็นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะเน้นการคิดวิเคราะห์ แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร สฟป.กส1 โดย รอง.ผอ. จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ มุ่งสู่มาตรฐานสากลบนฐานของความพอเพียง ONET NT& LAS ศิลปหัตกรรมนักเรียน งานสำนักงานต้องจะต้องปรับปรุ่งระบบทำงานให้ทันสมัย และทำงานเป็นทีม การบริหารสมัยไหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วม นัยที่สอง ได้ระคมความคิดในการพัฒนาการศึกษา-ตระหนักรู้ เป็นคนดี คน เก่ง อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เน้นที่ครู ซึ่งทางเขตได้ทำ MOU กับ มมส.

  • มีการทำ MOU ระหว่างผู้บริหารกับเขต
  • นักเรียน ป.3 ต้องอ่านออกเขียนได้ 100%

­

           ผอ.สุรภีร์ ผอ.กองการศึกษาของ อบจ.มหาสารคาม กล่าวถึงนโยบายการศึกษาของ อบจ.ที่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งหมด เน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษา ต้องผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีนโยบาย หนึ่งคนสองใบประกาศ ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพ เรียนวิชาสามัญที่โรงเรียน เรียนวิชาชีพที่วิทยาลัยง เด็กสามารถเรียนตามความชอบ พบว่าเด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เพราะเรียนในสิ่งที่ชอบและกำลังวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อย จุดเด่นคือวงจรบริหารสั้น จึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วสำหรับโครงการที่คิดว่ามีประโยชน์ก็สามารถดำเนินการได้ทันที

           รอง วัลลภ รองนายก เทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวว่ามีโรงเรียนในสังกัด 7 โรง มีนักเรียน 400 ครู 200 คน มีนโยบาย เด็กมีความรู้ อยู่ปลอดภัย ให้ทักษะชีวิต และทิศทางของเศรษฐกิจ สังคม องค์ความรู้ และคุณภาพของคน การเตรียมคนสู่อาเซียนจะเน้นการอยู่ร่วมกัน และผู้บริหารจะต้องชัดเจน และครูผู้สอนจะต้องเต็มที่กับงานของตน และครูต้องการนำความเก่งของตัวเองออกมาให้ได้

­

            อธิการบดี กล่าวถึงมหาวิทยาลัยใด้งบประมาณในการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน และการเตรียมผู้นำนักศึกษา และอาจจะขอขยายไปถึงโรงเรียนและอาจจะต้องมีการเตรียมความพร้อมกับการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสามารถให้ความร่วมมือได้ การทำคลังข้อสอบ มหาวิทยาลัย มี ภาษาอังกฤษ และ ICT

­

นพ.วิจารณ์ ได้ให้ข้อสังเกตจากการฟังในเวลาจำกัด

            มีข้อยุติตรงกันคือมีเป้าหมายที่เด็ก CADL จะต้องมียุทธศาสตร์ที่ทำอะไรที่เห็นผลได้ในครึ่งปี ถึงแม้จะมีแผนระยะยาวอยู่แล้ว แต่ละโรงเรียนจะต้องมี Quick win จะต่องเริ่มจากจุดแข็งและทำการขยายจุดแข็ง คือหนุนครูที่ทำดี หรือทำกิจกรรมกับครูที่มีคุณภาพ เช่น ให้โอกาสได้รับคำชม จากผู้ปกครอง ผู้บริหาร ได้รับความดีความชอบ ให้ครูมีการเสนอกิจกรรม เริ่มจากจุดเล็กๆ จะต้องมี Quick win ฝากคำถามกับอธิการบดี คือ มีเด็กที่เป็นครีมที่จะสามารถส่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยหรือไม่ มหาวิทยาลัยพร้อมที่รับเด็กเหล่านี้ไหม มหาวิทยาลัยเข้าถึงโรงเรียนหรือไม่ และสามารถนำเด็กที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่มหาวิทยาลัยได้ไหม เสนอให้เปิดวิชาเฉพาะที่เด็กสามารถเรียนข้ามระดับ เช่นเดียวกับ honour program และมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงบทบาทต่อการพัฒนาพื้นที่ มีหลักสูตรใดบ้างไหมที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม หรือท้องถิ่น เพื่อสร้างงานและพัฒนาท้องถิ่นไปด้วยในตัวการสร้างบัณฑิตไม่ใช่ได้ปริญญา แต่เป็นการสร้างงาน ต้องทำกับหน่วยงานในทุกระดับ ซึ่งจะต้องมีระบบจัดการที่ดี เช่น ใส่ทรัพยากรเข้าไป ให้งบประมาณ ตั้งหน่วยงานลงมาแล้วตั้งเป้าให้ชัดเจน และทำให้จบ ไม่มีพรรคมีพวก พวกของเราคือประเทศไทย แต่ทุกอย่างต้องเริ่มด้วย action ที่โรงเรียน เขตพื้นที่เป็นตัวหนุน ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติ เพราะเราสร้างเด็กที่เป็นของตัวเอง เขาต้องทำเองและเรียนรู้เอง

­

          อธิการบดี อยากให้มหาวิทยาลัย เป็นฮับทางการศึกษา และทางด้านการแพทย์ เพราะเราอยู่ตรงศูนย์กลางของภาคอีสาน จุดอ่อนของเราคือ ภาษา เราก็พยายามตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษ จีน(ขงจื้อ) ญี่ปุ่น และเกาหลี(เซจง)

­

           ผอ.อุทิน ผอ.งานประเมินผลและนิเทศก์ของ สพม.26 มหาสารคาม พบว่าเวลามีกิจกรรมครูมักจะตื่นตัว แต่จะไม่มีความเสมอต้นเสมอปลาย คุณครูมักรอคำสั่งในการปฏิบัติ ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่ครูก็ทำงานได้ดีแต่คุณครูขาดความมั่นใจ อยากฝากหน่วยผลิตอย่างมหาวิทยาลัย ให้สร้างบุคลากรที่สามารถเป็นหลักในการศึกษายุกต์ไหม่ ปัญหาหลักคือครูรุ่นเก่ายังไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งรอบตัวไหม่ และที่สำคัญยังไปครอบงำเด็กรุ่นใหม่จนไม่สามารถทำงานได้ ดร.ฤทธิไกร เริ่มจากครูและโรงเรียน แล้วพวกเราจะเข้าไปสนับสนุน และทำการกำหนดกรอบความร่วมมือ 4 ด้าน

  • ด้านเครือข่าย LLEN
  • พัฒนาครู และ PLC
  • พัฒนาระบบวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์
  • ขับเคลื่อนด้าน ปศพพ และทักษะในศัตวรรษที่ 21
  • การเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน และความเป็นพลเมืองโลก

­

ปิดการประชุมกรรมการ เวลา 15.15 น.

          เบรคสุดท้าย ดร.ฤทธิไกร ได้แนะนำให้ครูได้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่และใช้ได้ฟรีในโลกออนไลน์ในการทำงาน เช่น การใช้ google+ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ และการแชร์ข้อมูลเหล่านี้ในบล๊อก โดยเฉพาะบล๊อกของมูลนิธิสยามกัมมาจลและ การสมัครเข้าใช้ gotoknow แล้วให้ทุกคนไปอ่านบล๊อกที่จะแนะนำการใช้งานอย่างลัเอียด ปิดการประชุมแลกเปลี่ยนประมาณ 16.30 น.

­

­

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมอีสานตอนบน รายงาน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

การประชุมในวันนี้

1. มีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 400 คน

2. มีคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน และได้กรอบการทำงานของ CADL

3. ,มีครูผู้เขียนบล็อกเข้าร่วมประมาณ 50 คน และได้มีความเข้าใจเบื้องต้นในการเตรียมข้อมูลในการเขียนบล็อก

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ