กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

          การประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17-18 กรกฎาคม 2556

­

­

1 หลักการและเหตุผล

          การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) ในเขตพื้นที่อีสานที่ผ่านมา สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจที่สอดคล้อง กับเป้าหมายของการขับเคลื่อนฯ ที่มุ่งสู่การปลูกฝังอุปนิสัยพอเพียงให้กับผู้เรียนได้ในระดับที่น่าพอใจ สามารถลบล้างความเข้าใจผิดสำคัญๆ ได้แล้ว เช่น 1) เข้าใจว่า ปศพพ. คือเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) หลัก ปศพพ. คือต้องประหยัด อดออม ใช้วัสดุเหลือใช้ ใช้ของในพื้นที่เท่านั้น 3) เข้าใจว่าการเรียนรู้ ปศพพ. เป็นหน้าที่ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายประการที่พบบ่อย ได้แก่ 1) เข้าใจว่าการขับเคลื่อน ปศพพ. เป็นงานเพิ่มเติม เป็นโครงการเพิ่มเติมจากงานหลัก 2) เข้าใจว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการ ปศพพ. สามารถทำได้ด้วยการบรรยาย อบรม หรือเตรียมการในระยะสั้นได้ 3) เข้าใจว่านักเรียนที่ รู้เข้าใจ สามารถทำโครงงานหรือโครงการกิจกรรมที่ครูเป็นผู้ออกแบบ และสามารถนำเสนอได้ เพียงพอ เป็นต้น ในการขับเคลื่อนต่อไปนี้ จึงได้มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่

­

           1) การขับเคลื่อน ปศพพ. ให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยพอเพียงนั้น เป็นงานหลักของทุกภาคส่วนของสังคม สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ คือการขับเคลื่อน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา” (ปศพพ.พกศ.) โดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นเป้าหมายและแนวทาง และใช้ ปศพพ. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน ให้ได้คุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะตามหลักสูตร

           2) การขับเคลื่อน ปศพพ.พกศ. คือการใช้ ปศพพ. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนให้มีอุปนิสัยพอเพียง โดยเน้นให้เกิดการ “ฝึกคิด” ตามหลักคิดพอเพียง และเน้นให้ผู้เรียนได้ “ฝึกปฏิบัติ” ตามหลักพอเพียง

           3) นักเรียนที่มีอุปนิสัยพอเพียง คือ นักเรียนที่ไม่ว่าจะทำสิ่งใดในชีวิต จะคิดตามหลักพอเพียง ลงมือทำตามหลักพอเพียง เช่น ก่อนทำจะคิดพิจารณาอย่างเป็นเหตุเป็นผล เมื่อลงมือทำก็ทำอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง มีสติ มีการตรวจสอบประเมินตนเอง ใฝ่เรียนรู้ และเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นเสมอ นั่นคือ ผู้เรียนต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำอย่างคุ้มค่า และเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ

­

            การขับเคลื่อน ปศพพ. ให้ผู้เรียนเกิดอุปนิสัยพอเพียง ที่ผ่านมาของแต่ละโรงเรียนมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีจุดเด่นที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาและวิจัยรูปแบบของการขับเคลื่อนฯ จะทำให้เราได้ แนวปฏิบัติที่ดี และแนวทางในการขับเคลื่อนฯ ที่ “คุ้มค่า” ต่อไป

­

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. ของแต่ละโรงเรียน ในเขตพื้นที่อีสาน

2.2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การขับเคลื่อน ปศพพ. ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

2.3 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและวิจัยรูปแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. ในเขตพื้นที่อีสาน


­

22/7/56


           17 ก.ค.2556 เวลา 9.00 น. ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประธานในพิธีเปิด "โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาภาคอีสาน ที่มีกำหนดให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 18 ก.ค.2556 ตอนหนึ่งในพิธีเปิด ท่านพูดถึง "GULF Model" ท่านบอกว่า นี่คือทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ยุคใหม่ และจำเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 21 

­

           

           มีองค์ความรู้ต่างๆมีมากมาย ที่ครูสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูค้องสามารถการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้ทันต่อการศึกษายุคใหม่ ให้ทันกับเด็กในยุคนี้ ท่านจึงบอกว่า.. พวกเราที่เป็นคุณครูของพวกเขา ของเด็กยุคนี้ "ต้องปรับตัว" 

­

­

           ในการประชุมครั้งนี้คุณครูจะต้องนำเสนอผลงานที่เป็นชาร์ตการจัดกิจกรรมเพื่อสงเสริมการเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนในโรงเรียนมานำเสนอ หลังจากพิธีเปิด ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม ผู้ทำหน้าที่เป็นกระบวนกร จึงให้คุณครูแต่ละโรงเข้าประจำที่ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนกลุ่มที่ใกล้เคียง และมีการเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อย ๆ ทุก 20 นาที จนกระทั่งถึงเวลาทานอาหารเทียง

­

­

           ช่วงบ่ายมีการบรรยายการนำหลักและวิธีการวิจัยเข้าไปช่วยในพัฒนากิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อการดำเนินการขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น โดยวิทยากรบรรยายในช่วงนี้คือ รศ.ดร.ประสาท เนื่องเฉลิม โดยได้นำเอาข้อมูลจากที่แต่ละโรงเรียนมีอยู่มาใช้ในการวิจัย เป็นวิจัยในหน้างาน ซึ่งแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกัน และกำหนดปัญหาที่ต้องการพัฒนา และยกร่างหรือกระบวนการในการแก้ปัญหา ใครคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร จะถามอะไร มีเครื่องมือหรือยัง เช่น แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตุ มีผู้เชี่ยวชาญช่วยดูให้ และสามารถค้นหาข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลผ่านการสื่อสารออนไลน์ได้ และในโอกาสเดียวกันนี้ได้เชิญโรงเรียนที่ได้นำหลักของการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคือโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จังหวัดร้อยเอ็ด 

­

­

          ได้เล่าถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโรงเรียน โดยเริ่มต้นจากการศึกษาการทำงานจากโรงเรียนเชียงขวัญ และดำเนินกิจกรรมอย่างทุ่มเท และจริงจัง โดยใช้ขบวนการพี่สอนนีองในโรงเรียน และร่วมพัฒนาโรงเรียนในเครือข่าย 6โรงเรียน และหลายโรงเรียนเริ่มจะเข้มแข็ง เช่น โรงเรียนโคกเพชร หนองผักชี โรงเรียนบ้านม่วง ร่วมช่วยเหลือโรงเรียนโปโล จึงเกิดโมเดลคู่ขนานจะทำให้การขับเคลื่อนดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และกิจกรรมภายในโรงเรียนมาร่วมวิเคราะห๋ในการถอดบทเรียน และให้โรงเรียนในเครือข่ายจะต้องช่วยเหลือกัน เมื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนศูนย์แล้วจะมีโรงเรียนมาศึกษาดูงาน 

­

          ดังนั้นจะต้องจัดการให้ดี ทำอย่างไรถึงจะไม่กระทบต่อการเรียน เช่น ครูทุกคนจะต้องสามารถเป็นวิทยากรได้ และจะต้องจัดให้ดูงานตามสภาพจริง โดยมีการจับคู่ครูเพื่อดูแลกิจกรรม เพื่อมีการช่วยเหลือกันในการเป็นวิทยากร ขณะนี้มีคุณครูสามารถเป็นวิทยากรได้ประมาณ 80% ครูฉลาด ปาโส รอง ผอ.จากโรงเรียนเชียงขวัญ กล่าวถึงปัญหาความไม่เข้าใจของนักเรียน ของครู เมื่อมีการนำหลัก ปศพพ. มาใช้ในการขับเคลื่อนการเรียนการสอน ซึ่งผู้บริหาร จะต้องต้องสร้างทีมครูแกนนำ เพื่อเป็นผู้ช่วยและทำความเข้าใจกับครู คุณครูจากโรงเรียนโคกเพชร ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนในโรงเรียน ทำงานจากการลองผิดลองถูก และใช้บริบทโรงเรียนพี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างเพื่อนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อน คุณครูจากโรงเรียนหนองผักชี กล่าวถึงปัญหาการมีเด็กติดเกม และได้พยามหาทางแก้ปัญหา มีการประเมินที่ซ้ำซ้อนของ พสฐ และมีปัญหาจากผู้ปกครองที่ยังประกอบกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเล่นพนันในชุมชน


         หลังจากเสร็จกิจกรรมนี้ กระบวนกร ดร.ต๋อย ได้พาทุกคนทำกิจกรรมกระดาษสี่พับ กิจกรรมสัตว์ 4 ทิศ หรือกงล้องสี่ทิศ คือ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เรารู้จักตนเองและยอมรับผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างพลังในการขับเคลื่อนที่จะต้องได้รับความร่่วมมือจากเพื่อนร่่วมงานทุกคนตามศักยภาพ โดยพิจารณาว่าเราสามารถแบ่งคนออกเป็นสี่กลุ่ม โดยให้แบ่งกลุ่มตามโรงเรียนศูนย์ โดยวิเคราะห์ผู้ร่วมมงานเปรียบเหมือนสัตว์สี่ชนิดที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน


ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=58651

­

           ทิศเหนือ กระทิง มีลักษณะ บุก ตะลุย กล้าได้กล้าเสีย ลงมือทำไม่ลังเล ทำอะไรรวดเร็วเด็ดขาด รักพวกพ้อง ความยุติธรรม ชอบนำ กระตือรือร้น มุ่งมั่น รักอิสระ เปิดเผย ยืนยันสิทธิของตนและกลุ่ม ใช้สัญชาติญาณตัดสินใจ บางครั้งไม่สนใจความถูกผิด ไม่กลัวสูญเสียความสัมพันธ์ มีพลังในการทำงาน ชอบคบกับคนตรงไปตรงมา พูดตรงไปตรงมา

           ทิศใต้ หนู ส่ใจ ความรู้สึกของคน ช่วยเหลือผู้อื่น รับฟัง ให้กำลังใจ เป็นที่พึ่งที่พักพิง ซื่อ ไว้วางใจคน(บนพื้นฐานของการเปิดเผยจริงใจ) อ่อนโยน มองโลกในแง่ดี เปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมในการทำงาน เป็นผู้ประสานกลุ่ม เป็นนักไกล่เกลี่ยที่ดี รักสันติ

          ทิศตะวันออก เหยี่ยว มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเร็ว มีจินตนาการ มองการณ์ไกล มีไหวพริบ (มองเน้นเป้าหมายในอนาคต) ชอบทดลอง ประดิษฐ์ คิดค้น ชอบของแปลกใหม่ มีโครงการใหม่ๆ เสมอ ยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดติด รักการเรียนรู้

          ทิศตะวันตก หมี ใฝ่รู้ ชอบเก็บข้อมูล วางแผนลงรายละเอียด มีหลักการ -ขั้นตอน สุขุม รอบคอบ นักวิเคราะห์ ยึดตรรกะ/ ความเหมาะสม ตัดสิน ถูกผิดตามหลักการ เปลี่ยนแปลงได้เมื่อเหตุผลที่ดี เอาจริงเอาจัง ทำอะไรได้อย่างต่อเนื่องและลงลึก มีโลกส่วนตัว รับผิดชอบสูง รักษากติกา คำพูด

­

­

          ให้ทุกกลุ่มที่ประกอบจากหลายโรงเรียนทำการวิเคราะห์หน่วยงานของตนเอง แล้วนำสังเคราะห์เป็นงานของกลุ่มเพื่อนำเสนอจุดเด่น จุดด้อยที่ต้องพัฒนา และสรุปประโยชน์ในการนำกิจกรรมนี้ไปใช้ในโรงเรียนเพื่อทำความเข้าใจกับทุนที่มีอยู่หรือให้ยอมรับในสิ่งที่เป็น และเดินด้วยกิจกรรมที่เด่น และปรับปรุงในส่วนที่มีความเป็นไปได้ และปิดเบรคบ่ายเมื่อเวลาประมาณ 17.10 น. และไปทานอาหารและพักผ่อน นัดหมายทำกิจกรรมจิตศึกษาในตอนเย็น

­

          กิจกรรมในวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 และให้แต่ละโรงเรียนทำไทม์ไลน์ของตนเองในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบรรยากาศในการทำงานของคณะครูถึงจะไม่เครียดคุณครูก็ทำงานกันอย่างจริง บรรยากาศในการทำงานดีมาก

­

­

          กิจกรรมนี้ทำตลอดภาคเช้าโดยให้คุณครู ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต่างๆ ได้เต็มที่ เพื่อนำมาปรับใช้กับกิจกรรมขับเคลื่อนให้ดีที่สุด ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้ และมีการสรุปและนำเสนอในภาคบ่าย แล้วจึงเดินทางกลับบ้าน พร้อมนัดหมาย ผู้บริหารของโรเรียนในอิสานตอนบน ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ต่อไป

­

ไพรัตน์ ธรรมแสง รายงาน

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

1 ได้รูปแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. ของแต่ละโรงเรียน

2 ได้แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และปัจจัยของความสำเร็จของการขับเคลื่อน ปศพพ. ในเขตอีสานตอนบน

3 ได้แนวทางและปฏิทินการพัฒนาและวิจัยรูปแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. ในเขตพื้นที่อีสาน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ