กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประเมินย่อยโรงเรียนหนองหมื่นถ่านวิทยา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ในการเข้าตรวจเยี่ยมเพื่อการประเมินย่อย หลังจากศูนย์ประสานงานภาคอีสานตอนบน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ใช้ระบบโรงเรียนพี่เลี้ยงมาขับเคลื่อนโครงการ เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีความพร้อมในการเตรียมรับการประเมินมากที่สุด และทราบจุดแข็ง จุดอ่อนของโรงเรียน เพื่อจะได้เสริมจุดเด่น และปรับปรุงจุดอ่อนที่ได้รับคำแนะนำจากกรรมการประเมินย่อย

­

การประเมินย่อยโรงเรียนหนองหมื่นถ่านวิทยา

­

ในวันที่ 12 มีนาคม 2556 ทางศูนย์ประสานงานภาคอีสานตอนบน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดให้มีการประเมินเบื้องต้นในการเตรียมความพร้อมในประเมินเป็นศูนย์ ทีมงานประกอบด้วย ท่าน ผอ.ระวี ผอ.โรงเรียนอาจสามารถวิทยา หัวหน้าทีม ศน.วิภา จาก สพม.ร้อยเอ็ด ทีมจากโรงเรียนเชียงขวัญ นำโดย รอง ผอ.ฉลาด ปาโส และ ผศ.ไพรัตน์ จากมหาว้ทยาลัยมหาสารคาม ที่จริงช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของนักเรียน แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ทางโรงเรียนจึงได้มีการนัดหมายเป็นกรณีพิเศษ วันนี้เราเห็นภาพการเตรียมความพร้อมจากโรงเรียนอย่างเต็มที่ พิธีการเติ่มต้นจาก การกล่าวต้อนรับโดยท่าน ผอ.โรงเรียนหนองหมืนถ่านวิทยา เมื่อเวลา 9.45 น. จากนั้นท่าน ผอ.ระวี ซึ่งเป็นประธานการประเมินย่อยในวันนี้ ได้กล่าวถึงบทบาทของทีมในวันนี้มีหน้าที่อย่างไร จากนั้นท่าน ศน. วิภา กล่าวถึงความหวังของเขตพื้นที่ ในการขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์ รอง ผอ.ฉลาด กล่าวุถึงการเตรียมความพร้อมของการเตรียมรับการประเมิน ว่าโรงเรียนพี่เลี้ยงมีความสำคัญมาก วันนี้เป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยง แต่จะใช้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินย่อยในครั้งนี้ เพื่อจะเป็นผู้อนุมัติให้ไดรับการประเมินจริงฑดยกรรมการชุดใหญ่ต่อไป

­

เริ่มกิจกรรมการประเมินย่อยในครั้งนี้โรงเรียนได้เตรียมไว้ที่อาคารหอประชุมของโรงเรียน เป็นจุดหลัก นอกจากนั้นยังมีจุดที่อยู่นอกห้องประชุมด้วยเป็นบางส่วน และในส่วนของกิจกรรมที่หอประชุมมีลำดับพอสังเขปดังนี้

­

พิธีเริ่มจากกิจกรรมประกอบเพลงดอกไม้บานและนั่งสมาธิ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน ซึ่งทำช่วงเช้าของทุกวันจันทร์หลังพิธีหน้าเสาธง และมาร่วมทำสมาธิที่อาคารหอประชุม ใช้เวลาประมาณหนึ่งคาบเรียน มีนักเรียนประมาณ 659 คน อาจจะมีการยกเหตุการณจำลอง และวิเคราะห์ ตามหลัก ปศพพ.

­

หลักงจากนั้น นักเรียนที่ทำหน้าที่พิธีกรได้แนะนำกิจกรรมและกล่าวต้อนรับ เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอีสานตามลำดับ ตามด้วยนายสุรนันท์ โคตรภักดี ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ได้กล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินย่อย จากนั้น ผอ. โรงเรียนกล่าวต้อนรับคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นการฉาย vdo แนะนำโรงเรียนใช้เวลาประมาณ 5 นาที ตามด้วยการแสดงชุด ประกอบเพลงชุดโขงชีมูล

­

การประเมินตามแผนของทางโรงเรียน เริ่มได้ เมื่อเวลา 10.00 น. โดยท่าน ผอ.ระวี ได้กล่าวชี้แจงภาระกิจของกรรมการตรวจเยี่ยม และแนะนำกรรมการตรวจเยี่ยม พร้อมทั่งแนะนำนักเรียนในการปฏิบัติตัวในการประเมิน ให้ตอบคำถามแบบตรงไปตรงมาและชัดเจน เพื่อนำโรงเรียนของเราเข้าเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

­

การเข้าตรวจเยี่ยมตามฐานการเรียนรู้

­

ฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพ จัดเรียนคาบปกติ และกิจกรรมเสริม เช่น ช่างก่อสร้าง กิจกรรมซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในกรณีของกิจกรรมชุมนมคอมพิวเตอร์ การฝึกปฏิบัติจากเครื่องของโรงเรียนและเครืีองส่วนตัวของคุณครู มีนักเรียนทั้งหมด 13 คน สามารถบริการใด้อย่างพอเพียง หลังจากไปซ่อมมาแล้วต้องกลับมาแชร์ประสบการณ์ ในคาบที่เป็นชุมนุมคอมพิวเตอร์

­

ฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รอง.ผอ.ฉลาด ได้ซักถามคุณครูประจำ เพื่อซักซัอมความเข้าใจ แล้วสอบถามนักเรียนถึงหลักความพอเพียงและพอประมาณและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

­

ฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ โดย ศน.วิภา ได้ซักซัอมความเข้าใจจากนักเรียน คุณครูจะแทรกและการในบทเรียน เช่น ในเรื่องอัตราส่วน โดยการเลือกเนื้อหาที่พอเหมาะพอดี การมอบหมายงานที่เป็นกลุ่ม

­

ฐานกาจเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โครงงาน จัดรักเรียนเข้าทำกิจกรรมโครงงานละ 3 คน และนำผลที่ได้จากโครงงานมาบูรณาการตาม หลัก ปศพพ. ทั้งทางด้าน งบประมาณ เวลา การทำงานเป็นกลุ่ม จากการสอบถามนักเรียนพบว่าแต่ละคนทำกิจกรรมถึง 5 โครงงาน

­

ฐานการเรียนรู้กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมเด่นคือกิจกกรมการแข่งกีฬากลุ่มสี ซึ่งจัดในภาคเรียนที่ 2 โดยสนับสนุนให้มีคณะกรรมการคณะสี เพื่อให้นักเรียน ได้ฝึกความเป็นผู้นำ ให้ฝึกสร้างความรับผิดชอบเรืีองการเงิน การคัดนักกีฬา การฝึกซ้อม กิจกรรมดำเนินการในคาบ 8 มีคณะสีละ 70 คน

­

ฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ใช้กิจกรรมโครงงานคุณธรรม และการนำกลับมาใช้ใหม่

­

ฐานการเรียนรู้ด้านกิจกรรมนักเรียน ประกอยด้วยกิจกรรมลูกเสือ และกิจกรรม รด. โดยกิจกรรมลูกเสือได้ให้กรรมการนักเรียนได้แสดงความเห็นและเลือกรูปแบบกิจกรรมในการทำกิจกรรมเข้าค่าย คณะกรรมการนักเรียนได้เลือกใช้พื้นที่ ภายในโรงเรียนทดแทนของเดิม ที่ต้องนำนักเรียนไปเข้าค่ายภายนอก และให้นักเรียนชั้น ม.6 มีส่วนในการเป็นวิทยากรผู้ช่วย ซึ่งการเลือกวิธีการนี้ ทำให้มีโอกาสในการฝึกนักเรียนผู้นำ ประหยัดงบประมาณ และมีความปลอดภัยมากกว่า ใช้วิทยากรหลักมีในโรงเรียนอยู่แล้ว เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และมีการถ่ายทอดประสบการณ์ ระหว่างกรรมการนักเรียนชุดเก่าและชุดใหม่

­

ฐานการเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งประสบผลสำเร็จในการทำดารเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น เลี้ยงปลา เพาะปลูก แก๊สธรรมชาติ โดยครูถนอม เหล็กศรี ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้านด้านวิชาชีพเกษตร ที่อุทิศตนเพื่อให้เป็นที่ฝึกงานภาคสนามของนักเรียน โดยเชิญคุณครูไปร่วมเป็นวิทยากร

­

เวลา 12.10 มีฐานการเรียนรู้ด้านสุนทรียภาพ ดนตรี และนาฏศิลป์ เริ่มในช่วงพักทานอาหารเที่ยง

­

­

­

­

­

­

­

­

ภายหลังการประเมินกรรมการได้สรุปเป็นประเด็นดังต่อไปนี้

­

1. ด้านบุคลากร มีการพัฒนามากขึ้น ผู้บริหาร ดีมาก

­

2. ด้านนักเรียนจะต้องเติมเต็ม ทั้งทางด้านภาษา ด้านวิทยาศาสตร์ ต้องเติม ด้านครูวิทย์ โอเค ในด้านคณิตศาสตร์คุณครูมาใหม่

­

3. ด้านชุมชน ประสานงานกันดี ได้รับความร่วมมือ แต่การถ่ายทอด หลัก ปศพพ. ไปยังชุมชนยังไม่ดีพอ และสาระสังคมศึกษา ยังเชื่อมโยงไม่ได้ ฐานปราชญ์ชาวบ้าน เด็กยังเชื่อมโยงไม่ได้

­

4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทำได้ดี กิจกรรมลูกเสือใช้สถานที่ภายใน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

­

5. มัคคุเทศก๋น้อย ยังไม่สามารถเชื่อมโยงในการปฏิบัติหน้าที่ ว่าทำหน้าที่นี้เพราะอะไร ยังขาดความบูรณ์ และมีการหลุดบ้างในวันนี้ และบางกลุ่มยังต้องได้รับการปรับปรุง

­

6. การใช้เสียงของพิธีกรในการกล่าวต้อนรับ บางช่วงต้องได้รับการปรับปรุง

­

7. โรงเรียนยังขาดโรงเรียนเครือข่าย เสนอให้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็ว

­

8. โรงเรียนสามารถปรับฐานการเรียนรู้ให้สามารถส่วนที่นำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ที่บูรณาการตาม ปศพพ.

­

โดยภาพรวมกรรมการลงความเห็นว่าโรงเรียนยังไม่พร้อมรับการประเมิน จึงเสนอให้โรงเรียนพี่เลี้ยง จะต้องมาเติมเต็มอย่างน้อยอีกรอบหนึ่ง และโรงเรียนจะต้องสร้างเครือข่าย ในด้านโรงเรียน และถ่ายทอดหลัก ปศพพ. ไปยังชุมชนจะต้องเติมเต็ม

­

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมขับเคลื่อนจากทีมอีสานตอนบน รายงาน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลสำเร็จ เมื่อผ่านการประเมินย่อย โรงเรียนสามารถนำคำแนะนำของคณะกรรมการชุดนี้ไปปรับปรุง เพื่อให้มีความพร้อมสูงสุดก่อนที่ เสนอขอรับการประเมินจริง โดยกรรมการชุดใหญ่

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ