กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้"การเขียนเรื่องเล่าการขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ด้วยหลักปรัชญาด้านเศรษฐกิจพอเพียง" ครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การเขียนเรื่องเล่า ตอนที่ 2

การประชุมในครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในเครือข่ายในการเขียนเรื่องเล่าของโรงเรียน

2. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้รับผิดชอบในการเขียนเรื่องเล่าที่จะต้องนำเสนอต่อชุมชม

3. ฝึกครูให้เป็นผู้เล่าเรื่องที่ดี

การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อทบทวน และวิเคราะห์เรื่องเล่าที่ได้ประชุมกันในรอบที่แล้ว

2. ได้โครงเรื่องในการนำไปเรื่องที่สมบูรณ์

3. ได้ไทม์ในในเรื่องในการเขียนเรื่องต่อไป

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

17/8/56 

            เริ่มเปิดการแรกเปลี่ยนเมื่อเวลา 9.00 น. การแลกเปลี่ยนในวันนี้ได้นำเรื่องเล่าที่ดำเนินปรับแล้วมาเล่าสู่กันฟังแล้วร่วมกันวิภาค มีเรื่องเล่าจากคุณครูโรงเรียนห้วยค้อ ที่เล่าเรื่องในการกลับมาเป็นครูโรงเรียนเดิม มีศัพทท์บางคำน่าสนใจ เช่น "สร้างแซ่ง" และหญ้าฝืดหรือหมากหญ้า น่าจะมีกรอบสารคดีที่มีการอธิบายคำหรือรูปประกอบ และมีข้อเสนอเพิ่มเติมว่าตรงไหนที่สอดแทรก ปศพพ. เรื่องต่อไปคือ เรื่องลูกเสือไทครัว มีศัพท์คือ เนื้อย่างคุณธรรม และในเนื้อหาอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีคำว่า"หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเไพียง" แต่อ่านจบแล้ว ผู้อ่านได้รับรู้ว่านี้คือหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง บางส่วนจะต้องขยายบ้าง เพราะถ้าคนอ่านไม่ใช่คนท้องถิ่นอาจจะไม่รับอรรถรสอันนั้น 

            หลักเบรคเช้า 10.30 น. ได้สรุปว่ามีปัญหาอะไรในการเขียนเรื่องเล่าว่า ปัญหาหลักคุณครูคืออาจจะเป็นครูช่าง ครูคณิคศาสตร์ การใช้ภาพ หรือสำนวนในการเขียนอาจจะไม่สละสลวย ดร.ฤทธิไกร บอกว่าพวกเราไม่ใช่เอกภาษาไทย อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ขอให้คิดว่านี้คือเรื่องดีๆที่เราได้ทำ เราควรใช้ประโยชน์จากคนรอบข้าง ให้ช่วยอ่าน แล้วถามคำถามง่าย ๆ คือ อ่านรู้เรื่องไหม กระชับไหม ชอบไหม และถ้าจะให้ปรับแล้วปรับอย่างไร คุณยาว วิทยากร แนะนำว่าทักษะคือสิ่งที่ต้องทำซ้ำๆซากๆ มันจะเกิดขึ้นมาเอง วิทยากรอีกท่านแนะนำให้หาเรื่องสั้นมาตรฐานมาสักเรื่อง แล้วแจกกันอ่าน แล้วมาเล่าสู่กันฟัง ลองหาจุดลงตัวในวิธีการเขียนเรื่องเล่า เป็นวิธีการถอดบทเรียนนั้นเอง วิธีการง่ายคือ อ่านเยอะและเขียนเยอะ

           คุณครูอีกท่านมีปัญหาว่าจะสื่อสารอย่างไร งานอื่นก็มาทับถม ทำให้เขียนเรื่องเล่า เมื่อทิ้งงานไปแล้วก็ไม่สามารถต่ออารมณ์ คุณโต่ วิทยากรบอกว่าเป็นปัญหาสำหรับทุกคน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือบันทึกประโยคหลักเอาไว้ทุกครั้ง แล้วนำมาต่อโยงภายหลังได้ สำหรับคนเล่าสนุกอาจจะต้องใช้วิธีบันทึกเสียง แล้วค่อยมาถอดที่หลัง แล้วค่อยว่าปรับแต่งที่หลัง ดร.ฤทธิไกร แนะนำว่าจะต้องเขียนในสิ่งที่เราทำ ทำอะไร ทำไมถึงต้องทำ ผลของการกระทำนั้น เป็นอะไร และที่สำคัญคือการใช้คำเชื่อม ให้ถูกที่ถูกทางและไม่มากเกินไป

         ในช่วงบ่ายก็ให้ระบุปัญหาเหมือนช่วงเช้า.. จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝึกเขียนโครงเรื่อง โดยการหาจุดเน้น จุดเด่นต่อยอดจาก สิ่งที่ รร. นั้นๆทำอยู่แล้ว หรือมีอยู่แล้ว เช่น รร. ชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพ 206 ... เด่นเรื่องชุมชน ก็ให้เขียนเรื่องในเเรื่องที่สามารถเชื่อมโยงชุมชนครับ ปิดเบรคบ่ายเวลา 15.00 น.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมอีสานตอนบนรายงาน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ