กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรมขับเคลื่อนที่ที่โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

1. คุณครูมีความชัดเจนในการนำหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอน

2. ครูสามารถถอดบทเรียน และนำไปใช้ประโยชน์

3. การสอนแบบที่เน้นให้นักเรียนใช้กระบวนการคิด

­


20/3/56


การกระบวนการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ 19 มีนาคม 2556
มีคุณครูทั้งหมด 92 คน ร่วมกิจกรรม

­

           วันนี้ทีมงานวิทยากรจาก ศูนย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย ดร.ฤทธิไกร , ผศ.ไพรัตน์ , อ.เพ็ญศรี ใจกล้า อ.อภิชาติ อ.กุ้ง จากทีมโรงเรียนเชียงยืน และ อ.เพ็ญศรี กานุมา จากโรงเรียนนาสีนวล เดินทางไปยังโรงเรียนนาเชือก ด้วยรถยนต์ท่านอาจารย์เพ็ญศรี ใจกล้า อาสาเป็นผู้นำทางพวกเราไปยังโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดและกล่าวต้อนรับคณะวิทยากร โดยท่าน ผอ.เกษม เมื่อเวลา 9.00 น. และดำเนินกิจกรรมวงสนทนา โดย ดร.ฤทธิไกร ทำหน้าที่เป็นกระบวนกร เริ่มกิจกรรมเ และกล่าวแนะนำทีมงาน และทำ BAR

­

BAR อาจารย์คาดหวังอะไร ในการประชุมสัมนาในวันนี้

- ให้นำเรียน คิดเป็น ทำเป็น

- การนำ ปศพพ. มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

- การนำ ปศพพ. มาใส่ในแผนการสอน

­

           เริ่มต้นด้วยวิทยากร แนะนำเกณฑ์ก้าวหน้า ในการมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นโรงเรียนศูนย์ หลังจากนั้นให้คณะครู เดินไปรวมกันเพื่อทำกิจกรรมที่ด้านหลัง และเตรียมความพร้อมโดยจัดให้มีกิจกรรมดังต่อไปนี้

1. ให้ยืนเรียงลำดับของระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนจากน้อยไปหามาก ใช้เวลา 5 นาที เปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม มีปัญหา จะวิธีแก้ปัญหาแก้ปัญหาอย่างไร

2 ให้เรียงตามจำนวนคาบสอน จากมากไปหาน้อย คนที่มีคาบสอนมากที่สุด 30 คาบ น้อยที่สุด 15 คาบ(มีงานการเงิน งานพิเศษอื่นๆ) เพื่อให้ทราบว่าพวกเราทำอะไรอยู่บ้าง

­

­

­

กิจกรรมสนทนากลุ่มแบบวงกลม เริ่ม โดยให้คุณครู พูดคุยประเด็นต่อไปนี้

-ใครยังไม่ชัดเจนในเรื่อง ปศพพ. และไม่ชัดอย่างไร

-วิธีการที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่แผน

-การสอนโดยให้เด็กคิดวิเคราะห์ ทำแล้วได้รับยอมรับอย่างไร

-กิจกรรมโครงงาน ตอบโจทย์อะไรได้บ้าง

-การให้งานนักเรียนมีงานน้อยลง แต่สอนครบกลุ่มสาระ ตอบโจทย์ o-net ได้หรือไม่

­

           และนำเสนอการปฏิรูปการเรียนการสอนอย่างไร และการขับเคลื่อน ปศพพ. ไม่ใช่ภาระงานเพิ่มเติม แต่มีในหลักสูตร 51 อยู่แล้ว และยกตัวอย่าง การสอนแบบโครงงานของอาจารย์เพ็ญศรี ใจกล้า ครูจะต้องไม่บอกเด็ก ต้องให้เด็กคิด โดยคิดจากปัญหาที่กระทบตัวเขาอยู่ หมายความว่าครูจะต้องให้นักเรียนทำงานเป็นทีม และครูต้องวิเคราะห์หลักสูตรว่า นำตัวชี้วัด อันไหนไม่จำเป็นต้องสอน อันไหนจำเป็นต้องสอน ครูในช่วงชั้นเดียวกันจะต้องร่วมมือกัน และชี้ประเด็นว่าการทำงานเป็นทีม ปัญหามากที่สุดในระบบโรงเรียน

-อ.สุทิน บอกว่างโรงเรียนมีการบริงานเป็นกลุ่มชั้นอยู่แล้ว น่าจะสามารถทำงานเป็นทีมได้

-อ.ธรรมาพร เป็นห่วงว่าโครงงานจะครอบคลุมครบทุกตัวชี้วัดหรือไม่

-อ.ประจักษ์ มองว่าวิชาเพิ่มเติม วิชาเหล่านี้จะทำยากมาก ซึ่งเป็นวิชาที่ให้ความรู้ด้านเนื้อหา ซึ่งต้องสอนเพื่อให้เด็กมีความรู้

-ผอ.ชี้ประเด็นการให้งานเป็นจำนวนมากทำให้เด็กทำงานไม่ทัน และมีความจำเป็นต้องลดภาระงานของเด็กลง และลดงานได้อย่างไร โดยเด็กได้ความรู้เท่าเดิม

เบรคประมาณ 10.30 น. และเริ่ม 11.00 น.

­

­

           เริ่มต้นด้วย วิทยากรกล่าวถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คือ ปศพพ ความเข้าใจผิดว่าหมายถึง เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ แต่ ปศพพ. คือหลักคิดในการทำงาน แล้วสรุปเป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ

3 ห่วง พอประมาณ เป็นเหตุเป็นผล มีภูมิคุ้มกัน

2 เงื่อน ความรู้ คุณธรรม

4 มิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม

­

          โดยเป้าหมายหลัก ๆ แล้วก็คือ การทำให้เด็ก คิดทำเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น การดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ เรามีต้นทุนอะไรบ้าง หรือเรารู้แล้ว

1.วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ active learning หรือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

2. เรียนรู้กันแบบเป็นทีม/กลุ่ม ดีกว่าการเรียนรู้แบบเดี่ยว

3. สิ่งที่เราขาดคือ การสะท้อน การถอดยทเรียน bar aar km และจิตศึกษา

4. สิ่งที่ต้องการคือ นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 และเป็นคนดี

­

           หลังจากนั้นให้คุณครูมานั้งรวมกันที่โต๊ะที่จัดไว้ให้ และได้ทำการฉายวีดิทัศน์ การนำเสนอการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศเกาหลีใต้ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เรื่อง เสียงกู่จากครูใหญ่ หลังจานั้นพักทานอาหารเที่ยง และนัดหมายกันเวลา 13.00 น.

­

          ช่วงบ่ายให้คุณครูเข้ากลุ่ม แล้วระดมความคิด จากการวีดิทัศน์ในช่วงก่อนเทียง ว่า เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร จะทำอย่างไรต่อไป และวิพากษ์ เช่น

-ใหญ่มีความเสียสละ มีอุดมการณ์ มีความเป็นครูสูงมาก

-ครูใหญ่มีการเตรียมการการที่ดีหรือเป็นนักวางแผน และการสอนที่ดีที่สุดคือการทำให้เป็นตัวอย่าง

-แสดงว่าครูใหญ่มีความรู้ดีมาก เพราะมีความรู้ด้านการเกษตรหลายแขนง

-คนที่จะเป็นผู้ตามก็ต้องมีความคิดเห็นที่ตรงการ

-เน้นที่จิตใจเป็นหลัก

-การสร้างทีม

-วิธีการสร้างแรงบันดาลใจ

-วิสัยทัศน์ จะต้องปฏิบัติได้ ภายในระยะเวลาไม่นานเกินไป

-ต้องสร้างโอกาส

-มีความสามารถในการสื่อสาร และฝึกในทีมให้มีความแน่วแน่ใจการทำงาน

-ไม่ต้องรอให้พร้อม อยู่บนสภาพความจริง

-ไม่ทัอต่อปัญหา

­

            หลังจากนั้นได้ระดมความคิดเรื่อง การออกแบบการเรียนการสอน เช่น กำหนดเนื้อหาสาระความรู้ สื่อการสอน ที่พอเหมาะพอสมแก่เวลา และการนำ ปศพพ. ไปไว้ในแผนการสอน โดยสังเกตุไม่ยากถ้าแผนนั้นเน้นกระบวนคิด แสดงว่าสอดคล้องกับ ปศพพ. ซึ่งสามารถระบุไว้ในการทึกหลังสอน เช่น เล่นกีฬา ทำอย่างไร ใช้เวลาไหน ที่ไหน เมื่อไหร่ พอเพียงพอประมาณไหม และแสดงร่องรอยในการทำงาน ถ้าไม่มีแสดงว่าขาดภูมิคุ้มกัน และในการจัดการเรียนการสอนจะต้องให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตัวเอง โดยให้เด็กรู้สึกว่า

-ฉันทำได้

-ฉันคิดเป็น

-ฉันเป็นส่วนหนึ่งในทีม

-สามารถนำไปใช้กับชีวิตจริง

­

­

หลังจากนั้นทำการถอดบทเรียนจากการสอนวิชา IS

           มีกระบวนการอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไร จะมีวิธีการดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร ทำไมถึงทำแบบนั้น จะเห็นว่าจะต้องป้อนคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดได้เรียนรู้ อย่าแนะหรือบอกทุกอย่าง ต้องสอนให้เด็กจับปลา ไม่ใช่ให้ปลาไปทำอาหาร
         ปิดท้ายรายการด้วยวิธีการคลายเครียดโดยอาจารย์กุ้ง และดร.ต๋อย จะสรุปขมวดปมทั้งหมด และให้คุณครูร่วมสะท้อนผลของการกิจกรรมในวันนี้ ตามด้วยทีมวิทยากร ปิดวงวันนี้ด้วย ท่าน ผอ.เกษม

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมอีสานตอนบน รายงาน

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

1. คณะครูมีความเข้าใจ และมีความชัดเจนในการนำหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอน

2. คณะครูได้เรียนรู้การถอดบทเรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนได้

3. ครูทราบกระบวนการคิดและนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ