กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนฯ เข้าตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมของโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู


วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ

  1. ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
  2. สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน

22/12/55

คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ประกอบด้วย

  1. รอง ผอ.ลัสดา กองคำ จากโรงเรียนกัลยาณวัตร
  2. อาจารย์อัมพร จริยพันธุ์ เลขานุการศูนย์ขับเคลื่อนฯ โรงเรียนกัลยาณวัตร
  3. ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าทีมขับเคลื่อนฯ

ทีมขับเคลื่อน เดินทงไปถึงแต่เช้าเพื่อสังเกตการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันตรวจเยี่ยม มีพอสังเขปต่อไปนี้

  • กิจกรรมหน้าเสาธง สังเกตว่านักเรียนมีระเบียบ เรียบร้อยโดยเร็ว กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยนักเรียนทั้งหมด
  • กิจกรรมหน้าเสาธงวันนี้พิเศษ ไม่ใช่เพราะมีคณะกรรมการมาประเมินฯ แต่เป็นเพราะต่างโรงเรียนได้รับมอบหมายจากจังหวัดฯ ให้ส่งตัวแทนนักเรียนไปรำถวายพร ทางโรงเรียนจึงได้เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงการรำหน้าเสาธง ซึ่งโดยปกติแล้วกิจกรรมนี้จะจัดให้อยู่ในวันจันทร์และวันศุกร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับนักเรียนที่มีความสามารถและสร้างเชื่อเสียงให้กับ ทางโรงเรียน
  • หลังจากกิจกรรมหน้าเสาธง ผู้อำนวยการโรงเรียนได้จัดให้มีการนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อนปรัชญาฯ ของทางโรงเรียน ในห้องประชุม โดยผู้อำนวยการโรงเรียนนำเสนอภาพรวม และอธิบายหลักการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน และมอบหมายให้รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบในแต่ละกลยุทธ์ กล่าวถึงในรายละเอียดและผลการดำเนินงานของแต่ละกลยุทธ์
  • หลังจากการประชุม นักเรียนแกนนำได้นำคณะกรรมการ ชมการเรียนการสอนในคาบแรก ตามหลักสูตร "หลักสูตรสร้างอุปนิสัยพอเพียง" ที่ทางโรงเรียนพัฒนาขึ้น ซึ่งจะจัดให้มีการเรียนการสอนแบบนี้ทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 3 วันคือ จันทร์ พุธ และศุกร์ .... ผมจะเล่ารายละเอียดให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ในบันทึกความสำเร็จ
  • หลังรับประทานอาหารเที่ยง ได้สนทนากับตัวแทนครูแกนนำ ก่อนจะประชุมสรุปและสะท้อนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เดินทางกลับจากโรงเรียนประมาณบ่ายสามโมง (เหมือนเดิม)

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

คณะกรรมการตรวจเยี่ยมพอใจกับความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนมาก เพราะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้

  • ครูแกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อน ปศพพ. มากยิ่งขึ้น สังเกตจากความมั่นใจและความกระตือรือล้นในการเล่าประสบการณ์การขับเคลื่อน ของตนเองให้คณะกรรมการฟัง การเสนอแนวความเห็นที่ไม่ติดกรอบการขับเคลื่อนแบบเดิมๆ และสังเกตจากคำถามหรือปัญหาที่ครูได้แก้ไข และนำมาตีความให้กรรมการฟัง
  • มีกระบวนการขับเคลื่อนอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเองในโรงเรียนคือ "หลักสูตรสร้างอุปนิสัยพอเพียง" ....รายละเอียดจะกล่าวในห้อข้อถัดไป
  • นักเรียนมีวินัย กล่าวคือ กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ต่อเนื่อง เป็นระเบียบ เรียบร้อย และใช้เวลาน้อยมาก

หลักสูตรสร้างอุปนิสัยพอเพียง ของโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร

  • มุ่งบ่มเพาะคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ และเน้นรู้และเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • พัฒนาหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วม.....จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครูทั้งโรงเรียน เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนพัฒนาหลักสูตร โดยกำหนดให้ ครูแต่ละระดับชั้นระดมความคิดเพื่อพัฒนาออกแบบการเรียนการสอน 1 หัวเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อรวมทุกระดับชั้น ในหลักสูตรจะมีทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับคุณธรรมพื้นฐานข้อใดข้อหนึ่ง หรือ มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ อย่างชัดเจน เช่น ชั้น หัวเรื่อง "มารยาทไทย" สาระสำคัญคือ การไหว้ การกราบที่ถูกต้อง คุณธรรมพื้นฐานคือ มีวินัย และสุภาพ เมื่อช่วยกัน"ถอดบทเรียน" นักเรียน จนรู้และเข้าใจโดยใช้หลักปรัชญาฯ แล้ว นักเรียนจะสามารถกราบไหว้ และประพฤติตนเองตาม วัฒนธรรมอันดีงาม ของไทยได้ ที่สำคัญคือ จะเห็นคุณค่าและภูมิใจในมารยาทไทย
  • หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ต้องนำมาใช้ทั้งโรงเรียน โดยครูในแต่ละระดับชั้น จะถ่ายทอดวิธีการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล ให้กับครูระดับชั้นอื่นๆ ทุกคน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในระดับชั้นตนเองได้
  • ถือเป็น "หลักสูตรก้าวหน้า" กล่าวคือ ในแต่ละหัวเรื่องหรือหน่วยการเรียนที่เรียนผ่านไปแล้ว นักเรียนจะต้องปฏิบัติตนตามที่ได้เรียนรู้นั้นตลอดไป เช่น หน่วย "มารยาทไทย" ที่มีการสอนเรื่อง การกราบไหว้ที่ถูกวิธี เมื่อผ่านการเรียนการสอนแล้ว นักเรียนจะต้อง กราบไหว้ถูกวิธีตลอดไป
  • เวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนคือ คาบแรกของวัน จันทร์ พุธ และศุกร์ จัดเพิ่มเป็นคาบที่ 7 ซึ่งเป็นคาบที่เพิ่มเติมจากภาคบังคับที่กำหนดให้จัดการเรียนการสอน วันละ 6 คาบ โดยถือเป็นคาบแนะแนวและโฮมรูมในเวลาเดียวกัน

ผมเห็นว่า หลักสูตรสร้างอุปนิสัยพอเพียง ของโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ส่งผลหลายประการ อาจจะเป็นรูปแบบและปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษาขนาดใหญ่ ต่อไปก็ได้ครับ

  • ผู้บริหารชัดเจน วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติชัดเจน ในการขับเคลื่อนฯ
  • ครูได้มีส่วนร่วมทุกคน การถอดบทเรียนและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ทำให้ครูรู้และเข้าใจหลักปรัชญาฯ มากขึ้น จึงมีความมั่นใจมากขึ้น
  • นักเรียนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด

ผมเชื่อว่า หากมีความสม่ำเสมอ ในการขับเคลื่อนฯ ผลสัมฤทธิ์เชิงพฤติกรรมจะเกิดกับนักเรียน บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้แน่นอน และต่อไปในภายหน้า หากเกิดวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เกิดระบบพี่สอนน้อง หลักสูตรก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับนักเรียนใหม่ที่เข้ามาเรียนอีกต่อไป

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ