กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทีมขับเคลื่อนเยี่ยมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการเยี่ยมครั้งนี้

  1. เพื่อทราบความก้าวหน้าเกี่ยวกับกิจกรรมของทางโรงเรียนที่ได้ดำเนินกิจกรรมในช่วงปีที่ผ่านมา
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมในการขับเคลื่อนโครงการในปีการศึกษาหน้า
  3. เพื่อทบทวนภาระกิจที่ต้องกระทำร่วมกันระหว่างทีมขับเคลื่อนและโรงเรียน
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
11/3/56

         การเดินทางมาทำกิจกรรมขับเคลื่อนโครงการของศูนย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับคณะครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรีมีคุณครูร่วมทำ กิจกรรมกิจกรรม  ประมาณ 65 คน คณะเราประกอบด้วย ดร.ฤทธิไกร  ผศ.ไพรัตน์ จากมหาวิทยาละยมหาสารคาม และ ท่านรอง ผอ.ฉลาด ปาโส ในฐานะของโรงเรียนพี่เลี้ยง ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูอย่างดียิ่งดังนี้
        เริ่มกิจกรรมเวลาประมาณ 09.15 น.  เริ่มกิจกกรรมโดยวิทยากรหลักคือ ดร.ฤทธิไกร .ให้คุณครูเดิน แล้วหยุดแล้วตั้งคำถาม  และต่อมาให้เดินแล้วคิดคำถามไว้ก่อน แล้วให้หยุดถาม และต่อมาให้กลั้นลมหายใจแล้วเดิน แล้วพอจะหมดลมให้เดินกลับมาที่จุดเดิม  กิจกรรมนอกจากต้องการผ่อนคลายให้กับผู้ร่วมทำกิจกรรม แล้วยังต้องการให้ทราบว่าคำถามที่เราถามนั้นนำไปใช้ประโยชน์ในการนำ ปศพพ.ไปใช้ประโยชน์อย่างไร  แล้วชี้แจงว่าคุณครูจะต้องรู้จักตั้งคำถาม  เพราะในการสอนเด็กจะตัองรู้จักตึ้งคำถาม     ต่อมาทำกิจกกรรมโดยให้นั้งในท่าสบายแบบวงกลม และให้กลุ่มสวนพฤกษศาสตร์  ทำกิจกรรมอ่างปลาโดยกลุ่มนำตัวแทนมาทำกลุมแบบวงกลมเล็ก กลางวงของกลุ่มใหญ่ แล้วตอบคำถามว่าอุปนิสัยพอเพียงคืออะไร  แล้วชี้แจงให้คณะครูเห็นว่าเพียงแค่เราทำกิจกรรมเพียงห้าคน ก็ได้ความคิดที่หลากหลาย  แล้วถ้าเป็นเด็กจำนวนมาก  พวกเขารู้ไหมว่าเขากำลังทำอะไร  เขากล้าแสดงคิดไหม  และคิดอย่างไร  ถ้าเข้าไม่กล้าแสดงความคิดครูจะดำเนินการอย่างไร
        คุณครูหลายท่านยอมรับว่าเด็กมีปัญหาด้านการคิด  และปัญหาด้านการพูดสื่อสารด้วย   คุณครูคิดว่าเด็กขาดต้นแบบที่ดี  ไม่กล้าคิดและคิดไม่เป็น  ไม่กล้าแสดงออก รอให้ครูบอก การจูนสมองของเด็กเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะของครู   และครูคิดว่ามีความยุ่งยากเพราะมีภาระงานที่ต้องทำมากเกินไป  ทำให้การทำหลายๆอย่างไม่สมบูรณ์

        พื้นฐานความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กจะต้องประกอบไปด้วย

  1. คิดเป็น
  2. ต้องสื่อสารได้
  3. ต้องมีความสุข
  4. คุณธรรม

****จะต้องนำไปใช้ได้  สังเกตุจากผลการกระทำของเด็ก

        จากการสังเกตเกคุโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรีมีฐานการเรียนรู้มาก แต่ในคราวนี้ทางโรงเรียนจัดให้มีฐานกการเรียนรู้ให้น้อยลง  คำถามใหม่  ฐานแต่ละฐานจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เด็กได้คิด  ได้ทำ   ไม่ใช่ครูคิดแล้วไปบอกให้เด็กทำ  ครูจะต้องแบ่งขบวนการทำงานออกเป็นส่วนๆ  แล้วจะต้องมีอย่างน้อยส่วนหนึ่งที่เด็กจะต้องทำเองทั้งหมด
       

ฝากงานก่อนเบรค

  1. ขั้นตอนการทำกิจกรรม
  2. กิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำ  มีเป้าหมายอะไร  สื่ออะไร    ท่านจะทำอะไรกับเด็กเก่ง  และเด็กอ่อน


ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ-->กิจกรรมอะไรที่จะให้เด็กทำ-->ทำแล้วได้อะไร

คำถาม   จากผู้เข้าอบรม  เด็กจะต้องอาศัยฐานความรู้หรือไม่  
คำตอบ  เด็กจะต้องใช้ฐานความรู้เดิม  ถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีค้นได้ไหม แต่ถ้าโปรเจคไม่อันตรายก็ต้องให้เด็กทำ  เพราะขบวนการเรียนรู้จะเกิดในขณะทำโครงการ

คำถาม  ถ้าเด็กอ่อน อ่านหนังสือไม่ออก ครูจะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

             -1-3 ปี  เด็กอยากรู้จักการมีตัวตน หลังจากนั้น
             - เด็กจะต้องมีความมั่นใจว่าฉันทำได้  ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ  ครูต้องใก้ปบตอบสนองเชิงบวก
             - เด็กสามารถสร้างสรรค์ได้  ฉันคิดเองได้
             - ฉันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
ดังนั้น การตั้งคำถามจะต้องมั่นใจว่าเด็กตอบได้ ไม่ง่ายไม่ยากเกินไป ครูจะต้องรู้จักระดับความสามารถของเด็ก

เบรคเวลา  10.45 น.

       หลังเบรค 11.10 น. ได้กล่าวถึงปัญหาที่พบในแต่ละฐาน คือต้องการให้เด็กได้เรียนรู้อะไร  แล้วจะเกิดผลอย่างไรหรือวัดผลอย่างไร ที่สำคัญจะต้องรู้ประเด็นสำคัญที่จะนำไปออกแบบการเรียนการสอน  เช่น กลุ่่มสวนพฤกษศาสตร์  อาจจะเริ่มต้นด้วยการฉายวีดิโอ  อาจจะตั้งคำถามว่า พืชอะไรที่รู้จัก  อะไรที่ไม่รู้จัก  ไม่รู้จักแบ่งกันไปค้นและนำเสนอ  และเลือกบางชนิดมาทำโครงงาน  และไม่จำกัดขั้นของการเรียนรู้

      ทำอะไร-->ทำอย่างไร-->ทำทำไม-->ทำแล้วได้อะไร

       เริ่มกิจกรรมตอนบ่าย  13.30     เริ่มด้วยการนำเสนอผลงานกลุมของคุณครู  เริ่มด้วยกลุ่มสวนพฤกษศาสตร์

กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มสวนพฤกษศาสตร์
     และวิทยากรมให้คอมเมนต์ถึงความเชื่อมโยงกับการสอนแบบ PBL และการเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ขบวนการดำเนินกิจกรรมจะต้องให้เด็กกล้าพูดและฝึกการนำเสนอ  ปัญหาคือทำอย่่างไร  ถึงจะลดงานที่เกิดความซ้ำซ้อน   และการตั้งคำถาม คำถามที่ดีที่สุดคือคำถามที่ไม่มีคำตอบ

3 ห่วง 2 เงื่อนไข  4 มิติ

  วางแผน-->เชื่อมกับสิ่งแวดล้อม-->การเรียนที่ดีที่สุดเมื่อได้ปฏิบัติ
การเรียนรู้จะดีที่สุดเมื่อเป็นการเรียนรู้แบบเป็นทีม เมื่อเด็กทำผิด ให้หลีกเลี่ยงการตำหนิอย่างรุนแรงหรือการทำให้เด้กอาย ไม่จำเป็นจะต้องบอกว่าผิด

กลุ่มที่สอง  สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
        แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือสิ่งแวดล้อมกับน้ำ  ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไรบ้าง  นักเรียนจะได้ทักษะการคิด  กิจกรรมเพิ่มเติมให้ดูคลิป แล้วให้นักเรียนวิพากวิจารย์ ผลกระทบและการป้องกัน และเชื่อมโยงกับบริบทของโรงเรียนเรา และเน้น  เด็กต้องมีโอกาสออกแบบกิจกรรม  และนำเสนอ เช่นน้ำเสียเป็นอย่างไร  งานทุกอย่างต้องใช้เวลาที่เหมาะสม

กลุ่มที่สาม  คุณธรรมนำความรู้
        การเรียนรู้เกี่ยวกัยศาสนพิธี  งานมงคล  งานอวมงคล  วัตถุประสงค์รู้ระเบียบวิธี  และสามารถให้เด็กเป็นผู้นำในการทำพิธีการ  โดยการให้ดูvdo และมีใบงานกำกับ  และรู้จักตั้งคำถามจากการดู vdo หรือใบงาน มีการแบ่งงาน เพื่อดำเนินการปฏิบัติจริง คอมเมนต์พิธีกรคคือการเพิ่มคำถาม  ถ้าถามว่าทำไมจะต้องจุดธูปเทียน   ทำไมต้องกรวดน้ำ  ทำไมต้องมีอาสนะ  ทำไมต้องเวียนขวา เด็กจะตอบได้ไหม   จะต้องมีคำถามเพื่อให้เด็กได้คิด

กลุ่มทักษะอาชีพ
         การเรียนการสอนให้เน้นการตั้งคำถามและเน้นการถอดบทเรียน  มาเรียนทำไม  เรียนแล้วได้อะไร  มีขั้นตอนการทำอย่างไร  ให้แบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม และให้มีการจัดการกลุ่ม  เช่น มีใบงานเกี่ยวข้องการทำขนม  อาจจะต้องใช้เวลา และมีการให้ความรู้  การลงมือปฏิบัติโดยมีครูเป็นพี่เลี้ยง  และมีปัญหาอะไร  จะแก้ไขอย่างไร  แล้วลงมือทำไหม่  สุดท้ายจึงมาถอดบทเรียนุ  คอมเมนต์  จากคำถาม 4 ด้านบน  รู้จักตัวเอง-->มีเหตุมีผล  มีผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่นอย่างไร  ครูตองรู้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร  ถ้าเป็นการฝึกทักษะ สอนแบบเดิมได้  แต่ถ้าต้องการฝึกทักษะการคิดจะต้องวางแผ่นไหม่ เพราะจะต้องให้เด็กไปค้นและและทดลองทำแล้วมีการวิพากจากผลที่เกิดจากการ ดำเนินงาน

รอง ผอ.ฉลาด  ปาโส  ครูจากโรงเรียนพี่เลี้ยง
         กล่าวถึงความคาดหวังของผู้บริหาร  เพราะโรงเรียนจะต้องประเมินเป็นศูนย์  จะดำเนินการอย่างไร  ปัจจัยสำคัญคือครูซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อน  โดยการถาม

  1. เข้าใจ ปศพพ.มากน้อยเพียงใด
  2. นำมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร


                                                                                  
                                               

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ