กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ทีมขับเคลื่อนเยี่ยมโรงเรียนหนองหมื่นถ่านวิทยา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

­

วัตถุประสงค์

การเดินทางเยี่ยมเยือน เพื่อเรียนรู้จากเพื่อนครูและผู้อำนวยการ เป็นหนึ่งในแผนการดำเนินการที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ ได้แก่

  1. เพื่อเรียนรู้ ให้รู้จักโรงเรียนด้วยประสบการตรง
  2. เพื่อพบปะสนทนากับคน 2 กลุ่ม คือ ครูแกนนำ และ นักเรียนแกนนำ เพื่อให้ได้เรียนรู้ใน 4 ประเด็น ดังนี้
    1. รู้จำและรู้จัก ปศพพ.
    2. เข้าใจ ปศพพ.
    3. นำไปปฏิบัติใช้กับชีวิต หรือ เชื่อมโยงชีวิตจริง
    4. เผยแพร่สู่บุคคลอื่น
  3. เพื่อเรียนรู้จากผู้บริหารของโรงเรียน ใน 4 ประเด็นตามข้อ 2 และเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น คือ
    1. กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่ครู นักเรียน และการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในโรงเรียน
    2. กลยุทธ์หรือวิธีการในการขับเคลื่อนสู่ชุมชนและผู้ปกครองของนักเรียน
  4. เพื่อศึกษาวิจัย และพัฒนา การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนในบริบทต่างๆ



ขอบเขตของกิจกรรม

  1. ไม่มีรูปแบบตายตัว แล้วแต่จำนวนคน ที่เข้าร่วม หลักๆ คือ ทำกระบวนการกลุ่มกับนักเรียนแกนนำก่อน และ สะท้อนผลสู่ครูและผู้อำนวยการ
  2. ทำกิจกรรมระยะสั้น นักเรียนแกนนำประมาณ 1 ชั่วโมง ครูแต่ละโรงเรียน 1 ชั่วโมง
  3. เน้นการเป็นกัลยาณมิตร เป็นเพื่อน
  4. สะท้อนความจริง ตรงไปตรงมา
  5. ประชาสัมพันธ์ข่าวโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป

­


7/9/55


เยี่ยมโรงเรียนหนองหมืนถ่านวิทยา

เป็นการเดินทางในวันเดียวกันกับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ห่างออกมา 55 กิโลเมตร และระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โรงเรียนหนองหมื่นถ่านเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา จาก ม.1- ม.6 เนื้อที่ 67 ไร่ จำนวนนักเรียน 719 คน และมีคุณครู 40 คน เดินทางถึงเป้าหมายเวลา 15.00 น. มีนักเรียนแกนนำขับเคลื่อนรออยู่ทั้งหมด 22 คน โรงเรียนนี้มีครูแกนนำประมาณ 10 ท่าน เริ่มต้นกิจกรรมวงสนทนาของนักเรียน ซึ่งมีนักเรียนแกนนำจากระดับชั้น ม.4 – ม.6 โดยเริ่มต้นต้นความพร้อมและสร้างสมาธิแก่นักเรียนแกนนำโดยให้นักเรียนนั่งหลับตาและกำหนดให้มีการส่งสัญญาณมือผ่านมือแล้วตรวจสอบการรับข่าวสารว่าถึงเป้าหมายหรือไม่ และให้นักเรียนแกนนำได้กล่าวถึงการดำเนินกิจกรรมตามหลัก ปศพพ. ในส่วนที่นักเรียนเกี่ยวข้อง ดังนี้

­

  • ให้ความรู้ตามหลัก ปศพพ.(เพื่อน , น้อง , ผ่านกิจกรรม เกม )
  • สอนน้อง (หลัก ปศพพ. มีอะไรบ้าง ฝึกถอดบทเรียน ใช้ชั่วโมงสุดท้ยของทุกวัน ยกเว้นวันอังคาร)
  • สิ่งที่นักเรียนได้รับ ความสามารถถ่ายทอด ความเป็นผู้นำ และการกล้าแสดงออก

­

­

                   หลังจากนั้นเล่าสถานการณ์จำลองเรื่องหลานกับตาที่ตาบอดให้ความช่วยเหลือชาวบ้านคนหนึ่งที่รถเสีย และยินดีจ่ายค่าซ่อมรถให้ในจำนวนเงินที่มาก แล้วให้นักเรียนร่วมถกตามหลัก ปศพพ. ว่าพอเพียง พอประมาณ อย่างไร ตรงแสดงถึงคุณธรรม เป็นต้น ปิดเบรกนี้เวลา 15.40 น. จากการประเมินการจัดกิจกรรมนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจตามหลัก ปศพพ. ดี และสามารถรับฟังและสื่อสารต่อเติมความเห็นของเพื่อนได้อย่างดี แต่ยังมีนักเรียนแกนนำขับเคลื่อนบางส่วนยังไม่กล้าแสดงออก

­

      กิจกรรมคุณครูเริ่มต้นเวลา 16.00 น. โดยได้รายงายผลการจัดกิจกรรมนักเรียนในตอนเริ่มต้น และแสดงคามชื่นชมที่ได้เตรียมกิจกรรมมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมฝึกถอดบทเรียนในชั่วโมงสุดท้าย และพบว่าเด็กแกนนำส่วนใหญ่มีความสามารถในการแสดงออก และตามด้วยการแจ้งผลการประชุมรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ผ่านมา และการเตรียมความพร้อมรับการประเมินของโรงเรียนที่จะเกิดขึ้น โดยกล่าวว่า โรงเรียนจะต้องรายงานผลกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของสยามกัมมาจลโดยจะมีคณะกรรมจะดูผลงานกิจกรรมผ่านทางหน้าเว็บไซต์เป็นหลัก หลังจากนั้นก็เริ่มรับฟังความเห็นของครูแกนนำขับเคลื่อน

­

­

ครูแกนนำ: มีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำเพาะเจาะจงหรือไม่

ผู้ประสานงาน : ไม่ นักเรียนทุกคนมีสิทธิถูกถาม โดยโรงเรียนจะต้องทำการบริหารจัดการให้ดี เพราะกรรมการมีวิธีในการหาข้อมูลที่หลากหลาย และขอเน้นว่า นักเรียนควรจะได้นำเสนอโครงงานที่เขาทำเองเท่านั้น นักเรียนถึงจะสามารถตอบคำถามได้ และที่สำคัญโรงเรียนจะต้องไม่ทิ้งชุมชน และโรงเรียนอาจสร้างฐานการเรียนรู้หรือจัดให้มีการเรียนรู้ผ่านโครงงานก็ได้

­

ผอ. โรงเรียนหนองหมืนถ่านวิทยา โรงเรียนจะต้องมีโครงงานหรือกิจกรรมที่สามารถสื่อความหมายที่ชัดเจนไปยังนักเรียนให้ได้ เพราะถึงเวลาทั้งครูและนักเรียนจะต้องแสดงความพร้อมและทำงานชื้นนี้ด้วยความภาคภูมิใจ

­

กิจกรรมครูดำเนินไปในช่วงเลาไม่นานเพราะมีเวลาจำกัดและใกล้เวลาเลิกเรียนทำให้อาจจะได้ข้อมูลไม่มากนัก แต่คิดว่าทางทีมจะกิจกรรมกระตุ้นกิจกรรมผ่านโรงเรียนศูนย์ต่อไป

­

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ด้วยเวลาจำกัดอย่างยิ่ง ขออภัยที่เราไม่สามารถบรรลุตรงตามวัตถุประสงค์ข้างต้นได้ทุกประการ สิ่งที่น่าสนใจคือ นักเรียนแกนนำที่นี่เป็นระดับชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด ถือเป็นโรงเรียนแรกที่ใช้แนวทางนี้ แทนที่จะใช้ตัวแทนชั้นเรียนหรือกรรมการนักเรียนเหมือนเกือบทุกโรงเรียนที่ เคยไปเยี่ยมชมมา

ต่อไปนี้เป็นข้อสังเกตที่ "เห็น" ที่อยากให้เป็นบทสะท้อนปนความเห็น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนของโรงเรียนต่อไป ดังนี้ครับ

­

  1. นักเรียนแกนนำ รู้จักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (หลักพอเพียง) อย่างดี และหลายคนสามารถตีความแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อกรณีตัวอย่าง ที่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นปัญหาให้ถก อย่างไรก็ตามนักเรียนแกนนำส่วนใหญ่ยังไม่กล้าพูดกล้าเสนอความคิดของตนมากนัก จึงทำให้ยากที่จะประเมินได้ว่านักเรียนแกนนำส่วนใหญ่เข้าใจหลักพอเพียงมาก น้อยเท่าใด
  2. กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้คาบสุดท้ายของแต่ละวัน เป็นการถอดบทเรียนโดยมีนักเรียนแกนนำดำเนินกระบวนการนั้น คุณครูแกนนำควรดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยในเบื้องต้น เพื่อให้นักเรียนเกิดการยกระดับความเข้าใจถึงหลักพอเพียงมากขึ้น

สำหรับ ครูแกนนำ ผมเปิดโอกาสให้ท่านถามถึงปัญหาหรือเล่าให้ฟังปัญหาและอุปสรรคในการขับ เคลื่อนฯ มีเพียงคำถามเดียวเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้ที่อาจไม่เหมาะกับฤดูกาล อาจตีความได้สามแบบ คือ ครูแกนนำขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่นจนไม่มีปัญหาใดๆ เลย หรือ ท่านไม่ได้ประเมินผลการขับเคลื่อนของท่าน หรืออีกแบบคือ ท่านยังไม่มั่นใจในความเข้าใจของท่าน แต่ไม่กล้าถาม

­

ถึงจะเป็นแบบไหนไม่สำคัญ เราพร้อมที่จะประสานงานช่วยเหลือท่านเต็มที่ครับ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ