กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ประชุมแลกเปลี่ยน ระดมความคิด ศน.กับ ผอ. พอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วันที่ 6 ตุลาคม ทีมขับเคลื่อนหลักพอเพียง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิด ตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่ฯ และ ผอ. โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียน

­

วัตถุประสงค์

ประเด็นหัวปลาในวันนี้ มี 3 ประด็นหลัก (นำรูปโมเดลปลาทู จาก เว็บนี้มาเพิ่มเติมให้นำเสนอง่ายขึ้นครับ)

วันที่ 6 ตุลาคม 2555 มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมสมองหาแนวทางฯ และสร้างเครือข่าย ขับเคลื่อนหลักพอเพียงสู่สถานศึกษา ณ สโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผู้เข้ากว่า 40 คน เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียน และศึกษานิเทศจาก ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ มหาสารคาม และขอนแก่น ขาดไปก็เพียงจากจังหวัดเลย

ผมทำ BAR โดยใช้เวลาสั้นๆ ก่อนที่จะกำหนดเป็นหัวปลา 3 ประเด็นที่ได้กล่าวข้างต้น ด้วยวิธี "พับกระดาษทำเป็นกระจาเป้าหมาย" วิธีการ พับกระดาษ A4 เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันซัก 4-5 แผ่น แล้วมอบเวียนให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนเติมความคาดหมายของตนเองลงในกระดาษนั้น และเวียนให้สมาชิกท่านอื่น (ควรให้เขียนเพียงประเด็นที่สนใจหรืออยากได้ที่สุดเพียงประเด็นเดียว) เมื่ออ่านเป้าหมายของเพื่อนแล้วให้พิจารณาว่าเป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่ หากเป้าหมายของตนต่างประเด็นไปก็ให้เขียนไว้ในช่องใหม่ แต่หากคล้ายกันก็ให้เขียนไว้ในช่องเดียวกัน..... ผมเริ่มมความมั่นใจมากขึ้นเมื่อพบว่าความเห็นส่วนใหญ่ตรงกับ BAR ของทีมในวันนี้ 

จากนั้นผมขอเวลาที่ประชุมบรรยายให้ทราบถึงแนวคิดและความเป็นมา ตลอดจนการดำเนินงานที่ผ่านมาคร่าวๆ เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันว่า เราเป็นใคร กำลังทำอะไร และเป้าหมายคืออะไร

กรอบแนวคิดการดำเนินการแสดงดังภาพด้านบน เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ "ผลที่เกิดกับนักเรียน" โดยสิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดกับนักเรียนคือ "อุปนิสัยพอเพียง" และ "ทักษะในศตวรรษที่ 21" ผมแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดอุปนิสัยพอเพียงและมีสมรรถนะหรือทักษะที่ต้องการที่ดีที่สุดคือ การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL และครูจะต้องทำงานร่วมกันเป็นชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์หรือ PLC ซึ่ง ถ้าเป็นความร่วมมือกันระหว่างครูภายในโรงเรียนหรือเป็นชุมนุมเรียนรู้ครูในโรงเรียน ในรูปนี้เรียกว่า PLC ชั้นใน และ ถ้าเป็นความร่วมมือของครูระหว่างโรงเรียนเรียกว่า PLC ชั้นนอก ส่วนหน่วยงานหรือองค์ต่างๆ ที่ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายให้การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเรียกว่า เครือข่าย LLEN (Local Learning Enrichment Network) หรือ เครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งขับเคลื่อนและประสานโดย ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ หรือ CADL (Center of Academic Development for Learning) ซึ่งจัดตั้งเบื้องต้นโดยสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สไลด์ถัดมา ผมนำเสนอแบบเล่าเรื่องให้ฟังว่า การดำเนินงานขับเคลื่อนหลักพอเพียงในเขตพื้นที่อีสานตอนบนที่ผ่านมา มีรูปแบบอย่างไร

  • เราอาจแบ่งโรงเรียนออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
    • กลุ่มที่ 1 โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ (6 โรงเรียน) แทนด้วนวงกลมสีม่วงที่มุมของรูปหกเหลี่ยม
    • กลุ่มที่ 2 โรงเรียนที่เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ (ศน.สมเกียรติ จ.ชัยภูมิเรียกว่า สถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง) ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของมูลนิธิสยามกัมมาจลที่กำลังพัฒนาเพื่อรอรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ จำนวน 15 โรงเรียน แทนด้วยรูปวงรีที่วางกระจัดกระจายภายในพื้นที่ของรูปหกเหลี่ยม โดยปัจจุบันได้มีการประกาศให้โรงเรียนศูนย์ฯ ทำหน้าที่เป็นโรงเรียนพี่เลี้ยงตามประกาศที่ได้แจ้งออกไป
    • กลุ่มที่ 3 โรงเรียนสถานศึกษาทั่วไปที่กำลังเตรียมตัวเพื่อรับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง (ซึ่งปัจจุบัน โดยมากผ่านช่วงการประเมินไปแล้ว) ซึ่งเกือบทุกโรงเรียนได้เรียนรู้จากโรงเรียนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2
    • กลุ่มที่ 4 เป็นโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ แต่ไม้ได้สมัครเข้าร่วมเป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเหมือนในกลุ่มที่ 2 หลายโรงเรียนได้พัฒนาไปสู่สถานศึกษาต้นเแบบด้านต่างๆ
  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมได้ความรู้และความกระจ่างหลายอย่างเพิ่มเติมจากการค้นคว้า ซึ่งผมนำ ppt ที่ดาวโหลดได้ทางอินเตอร์เน็ตมาให้ทุกท่านดู เป็นนโยบายและกลยุทธ์ของกระทรวงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อน สถานศึกษาพอเพียงฯ ดูได้ที่นี่และที่นี่ครับ เช่น
    • โรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงที่ผ่านการประเมินด้วยเกณฑ์ของกระทรวงฯ แล้ว จะเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบได้ สำนักงานเขตพื้นที่จะเป็นผู้ประกาศ หลังจากที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา
    • มีสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบหลายโรงเรียนที่ไม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิฯ จึงไม่มีโอกาสที่จะได้รับการประเมินเป็นศูนย์ กล่าวคือ การจะเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนฯ ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงฯ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เท่านั้น ช่องทางอื่นๆ ยังไม่มี
    • ที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่ฯ กับโครงการฯ ยังไม่ชัดเจน วันนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดียิ่ง เพราะทางสำนักงานเขตฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

  • จากนั้นได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น "หัวปลา" ที่วางไว้ ผมใช้โปรแกรม MindManager Pro ซึ่งเป็นโปรแกรมเขียนแผนผังความคิด ที่ผมได้เรียนรู้จากเพื่อนกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง ผมทำหน้าที่เป็น "คุณลิขิต" ในวงแลกเปลี่ยน ไฟล์บันทึกแบบ Mindmap อยู่ที่นี่ครับ

หลังจบการประชุมฯ ผมทำ AAR กับตนเองดังนี้ครับ

  • เรื่องเป้าหมายร่วมกันนั้นชัดเจน แต่ไม่ใช่ชัดเจนเมื่อมาทำเวทีนี้นะครับ ชัดเจนจาก "บน" ลงมาแล้ว ว่า
    • โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนจะพัฒนาเป็นโรงเรียนศูนย์ให้ได้ครบทุกโรงเรียน
    • ทุกเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องมีโรงเรียนศูนย์ฯ อย่างน้อย 1 โรงเรียน
    • ทุกเขตพื้นที่การศึกษา จะพัฒนาโรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียงอย่างน้อยร้อยละ 50
  • เรื่องแนวทางการดำเนินงานร่วมกันนั้น ก็บรรลุเช่นกันครับ ที่ัชัดเจนคือ
    • ศึกษานิเทศน์ทราบถึงแผนการดำเนินการของทีมขับเคลื่อนแล้ว
    • ทุกกิจกรรมที่จะทำต่อไป ทีมขับเคลื่อนต้องแจ้งทางสำนักงานเขต
    • คณะกรรมการตรวจเยี่ยมภายใน (คล้ายประเมินภายใน) จะมีตัวแทนจาก สำนักงานเขตพื้นที่ด้วย ร่วมกัน มหาวิทยาลัย ผอ.ศูนย์ และ มูลนิธิฯ
    • กันยายน - ตุลาคม โรงเรียนพี่เลี้ยงช่วยเหลือขับเคลื่อน พฤศิกายน-ธันวาคม ตรวจะเยี่ยมภายใน และ ธันวาคม 2555 - มีนาคม 2556 ประเมินจริง
  • เรื่องแผนการดำเนินงาน เรายิ่งชัดเจนอย่างยิ่งครับ..... ส่วนนี้ขอฝากเป็นหน้าที่คุณอรทัย (น้องดาว) ทีมงานของเรา ที่จะนำลงในตารางกิจกรรมต่อไปครับ 

ฤทธิไกร ไชยงาม

ป.ล. ผลสำเร็จและบทสังเคราะห์จะเขียนในอีกบันทึกถัดไปครับ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เป้าหมายร่วมกัน

  • มีโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่อีสานตอนบน 21 แห่ง
  • สถานศึกษาทั่วไปพัฒนาสู่สถานศึกษาพอเพียงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโรงเรียนทั้งหมดในเขตพื้นที่ในปี 2556

แนวทางดำเนินการร่วมกัน

  • โรงเรียนพี่เลี้ยงดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนในความรับผิดชอบอย่างอิสระ โดยรับการสนับสนุนจากโครงการฯ ไม่เกินโรงเรียนละ 15,000 บาท เบิกจ่ายตามจริง
  • แต่งตั้งกรรมการตรวจเยี่ยมที่ประกอบด้วย ตัวแทนจากมหาวิทยาลัย ผอ.โรงเรียนศูนย์ ศึกษานิเทศ และตัวแทนจากมูลนิธิฯ ออกตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินภายในก่อน
  • ทุกครั้งที่จัดกิจกรรมจะต้องส่งหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานความร่วมมือ
  • โรงเรียนที่มีกิจกรรมร่วมกับสำนักงานเขต ต้องรายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นระยะๆ

แผนการดำเนินงาน

  • ตุลาคม - พฤศจิกายน โรงเรียนพี่เลี้ยงขับเคลื่อนโรงเรียนในความรับผิดชอบ
  • พฤศจิกายน - ธันวาคม ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อม (คล้ายประเมินภายใน แต่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ที่ยั่งยืน ไม่มีการจัดฉากเกินจริง)
  • ธันวาคม - มกราคม รับการประเมินจริง
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ