กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้เขียนเรื่องเล่าของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์ภาคอีสานตอนบน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้เขียนเรื่องของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์ภาคอีสานตอนบน เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2556

การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในเครือข่ายในการเขียนเรื่องเล่าของโรงเรียน

2. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้รับผิดชอบในการเขียนเรื่องเล่าที่จะต้องนำเสนอต่อชุมชม

3. ฝึกครูให้เป็นผู้เล่าเรื่องที่ดี

ทางศูนย์ประสานงานภาคอีสานตอนบน ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้เขียนเรื่องเล่า เพื่อให้คุณครูแต่ละคนได้เตรียมเรื่องเล่ามาจากบ้านแล้ว และนำมาเล่าสู่กันฟัง และมีทัมงานจากกองบรรณาธิการจากสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามและสมาชิกในที่ประชุม ได้ให้คำแนะนำและเสนอแนะถึงวิธีการเล่าเรื่องควรจะเขียนอย่างไร ใช้คำแบบใดได้บ้าง การเขียนเรื่องเล่าคือการเขียนให้คนอื่นอ่าน และต้องให้คนอ่านมีความรู้สึกว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์ในการเล่าเรื่อง ดังนั้นผู้เล่าเรื่องต้องแยกให้ออกว่า การเขียนบันทึก แตกต่างจากการเขียนเรื่องเล่า ในการประชุมในวันนี้ ทุกคนจะต้องได้โครงเรื่องที่จะเขียน เพื่อที่ทางศูนย์ประสานงานจะจัดพิมพ์เรื่องเล่าของแต่ละโรงเรียน วันนี้มีเรื่องเล่า จากอาจารย์สำเนียง จากโรงเรียนห้วยค้อ เล่าถึงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนของนักเรียน คุณครูอุบล เล่าเรื่องการไปปฏิบัติธรรมและได้รับขวดน้ำหนึ่งใบ เก็บไว้จนกระทั่งวันกลับ คุณครูทองใบ จากโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ได้เล่าเรื่องที่ได้กระตุ้นนักเรียนในชั้นเรียนได้หัดเขียนเรื่องเล่า โดยวิธีค่อยเป็นค่อยไป ได้ฝึกทั้งการเล่าและการเขียน

­

ก่อนเบรค ดร.ฤทธิไกร ได้อ่านเรื่องเล่าของคุณครู ทองใบ ขันสมบัติ จากโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เรื่องประสบการณ์ในการนำหลักปรัชญาของเสรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ที่ประชุมฟังจนจบแล้วปล่อยเบรคแล้วหลังเบรคจะเข้ามาวิภาคร่วมกัน หลังเบรคมีการแลกเปลี่ยนจากท่านครูมณีรัตน์ บอกว่าข้อความบางอบ่างยังไม่ครบทั้งที่ทำให้เราอยากรู้ ครูอ้อ ได้เสนอแนะว่ามีการใช้คำถามอย่างไร นำไปใช้อย่างไร และอีกท่านครูไพรวัลย์บอกว่าสำนวนการเขียนมีรูปแบบที่เป็นวิชาการมากเกินไป น่าจะใส่ลูกเล่นของทางภาษาเข้าไป และเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนชื่อเรื่อง คุณโอ๊คเน้นว่าการตั้งชื่อเรื่องมีความสำคัญมาก เพราะมันช่วยดึงดูดความสนใจ อีกท่านเสนอว่าการเขียนไม่ควรมีรูปแบบมากเกินไป ไม่ควรมีอะไรที่ซ้ำเดิมมากเกินไป อีกท่านคุณโต เห็นว่าการเขียนสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้และอ่านรู้เรื่อง เปรียบเทียบอาหารเห็นว่ารู้ว่าหน้าตาอาหารเป็นอย่างไร แต่ยังไม่ได้กลิ่น ควรแบ่งเป็นเนื้อหาเป็นพารากราฟในแต่ละประเด็นให้ชัดเจน ครูนพมาศสอบถามว่าเรื่องเล่าเขียนยาวได้หรือไม่ ปรึกษาการเขียนเรื่องเล่าจากไทม์ไลน์ทำอย่างไร คุณยาวแนะว่าเรื่องเล่าเรื่องนี้ขาดบรรยากาศในเรื่องราว บางช่วงอาจแทรกได้ด้วยบทสนทนา เพิ่มบรรยากาศให้แก่ผู้อ่าน ครูวัชรี บอกว่าอ่านแล้วทำให้คนอยากติดตามต่อ แต่อ่านจบแล้วไม่มีเฉลย และตอบประเด็นเรื่องสั้นยาวไม่มีกำหนดคือ ปัญหาคือการเปิดเรื่องได้น่าสนใจ ชวนติดตามหรือไม่ และถ้าสั้นประเด็นครบหรือไม่ ผู้เขียนเท่านั้นที่ทราบ ปิดประเด็นโดยแจกสำเนาเรื่องเล่าของครูสิรินุช จากโรงเรียนเชิงขวัญพิทยาคม เรื่องชีวิตนักเรียนหลังห้อง เพื่อนำไปคิดวิภาคเป็นการบ้าน

ประเด็นสุดท้ายที่ชวนคุยคือการวางโครงเรื่องแบบง่าย เพื่อนำไปเขียนแล้วส่งมายังศูนย์ประสานงานของภาคอีสานตอนบน ดร.ฤทธิไกร นำเสนอประเด็นว่าถ้าเราจะเขียนเรื่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดร.ฤทธิไกร แนะนำการวางโครงโดยโปรแกรมจัดการเอกสาร โดยยกตัวประเด็นที่จะเขียน เพื่อให้ฝ่ายบรรณาธิการได้แนะนำเพื่อให้เห็นภาพในการวางโครงร่างในการเขียน โดยเป้าหมายสุดท้ายคือทำให้ผู้อ่านเข้าว่าโรงเรียนมีการขับเคลื่อนอย่างไร

ไพรัตน์ ธรรมแสง ทีมอีสานตอนบน รายงาน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. โรงเรียนมีความพร้อมในการที่จะนำเสนอเรื่องของกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการไปแล้ว

2. ได้ครูผู้เขียนเรื่องเล่าที่ดี ที่สามารถนำข่าวสารให้น่าอ่านมากขึ้น

3. ครูเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ