กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรมเสริมศักยภาพโรงเรียนเครือข่าย จังหวัดตรัง-พัทลุง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"กิจกรรมเสริมศักยภาพโรงเรียนเครือข่ายจังหวัดตรัง-พัทลุง" วันที่ 29-30 มิถุนายน 2555 ณ โรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง โดยท่านผอ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) แนะนำแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่าย ภาคใต้ สู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

วัตถุประสงค์ 

  • ร่วมกับโรงเรียนห้วยยอดเพื่อวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายการทำงานในภาคใต้
  • สร้างความชัดเจนและร่วมวางแผนกับผู้บริหารและครูแกนนำพัฒนาโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้
  • เสริมศักยภาพครูเรื่องความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้เข้าร่วม

1. ผู้บริหาร-ครู โรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง จำนวน 24 คน
2. ครูโรงเรียนวชิรธรรมสถิต จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 คน
3. ครูโรงเรียนกันตังพิทยากร จังหวัดตรัง   จำนวน  7 คน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

4/7/55

วันที่ 30 มิ.ย. 2555

คุณ ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจให้ผู้บริหารและคณะครูตระหนักถึงคุณ ค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรม และนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงด้านการศึกษา

กิจกรรม ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลับตา วิทยากรตีระฆัง 3 ครั้ง

โจทย์ รู้สึกอย่างไร คิดอะไร เชื่อมโยงถึงอะไร

สรุป ใช้ เสียงระฆังเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเรียนรู้ เสียง (ระฆัง) เดียวกัน แต่เครื่องรับไม่เหมือนกัน เครื่องรับจะตีความจากประสบการณ์ ของแต่ละคน กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกหนทุกแห่ง แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องปรับจูนเครื่องมือการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การสอนเด็ก ซึ่งครูไม่จำเป็นต้องทำแหล่งเรียนรู้เป็นจำนวนมาก เช่น เสียงระฆังอาจจะไปกระตุ้นประสบการณ์เชิงบวกของเด็กได้ เมื่อเด็กได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน จะเป็นชีวิตสอนชีวิต ไม่ใช่การเอาหนังสือมาสอนเด็ก

กิจกรรม พับนกกระดาษคนละตัว

โจทย์ ให้เลือกนกที่สวยที่สุดในกลุ่ม พร้อมบอกเหตุผลของการเลือก

สรุป เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรม

• ทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ดีที่สุด” ผ่านการประมวลความคิดจากกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นตัวชี้วัดในการประเมิน

• เรียนรู้หลักของเหตุและผล ซึ่งผลคือชิ้นงานที่ได้ลงมือทำ เมื่อครูให้นักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรม จะมีขั้นของชิ้นงาน พอใช้ ดี ดีมาก และดีที่สุด ซึ่งพบว่าเด็กส่วนใหญ่ทำงานแค่ “ผ่าน” แต่หากเด็กสำนึกในเรื่องความเป็นเลิศ เด็กจะพยายามทำงานให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Best Practice คือ เปรียบเทียบให้เห็นสิ่งที่ดีที่สุด ถ้ายังไม่ดีที่สุด จะเกิดช่องว่างในการพัฒนาให้ดีขึ้น

• ครูจะพานักเรียนเข้าถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ว่าเป็นเครื่องมือจะ ทำให้งานออกมาดีที่สุดหรือประสบความสำเร็จ โดยใช้คำถามว่า “ผลงานที่ดีที่สุดเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้ผลออกมาดีที่สุด” หลังจากทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าใจ และสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิต

- โดยครูตั้งคำถามเด็กหลังจากทำกิจกรรมว่า “ผลงานดี/ไม่ดี ดูที่ตรงไหน” เป็นการให้เด็กเรียนรู้วิธีการประมวลตัวชี้วัด เรียกว่า Constructivism โดยครูไม่บอกถูกผิด แต่ให้นักเรียนใช้มุมมองที่แตกต่างจากการแลกเปลี่ยน ให้นักเรียนเห็นมุมมองของเพื่อนที่ไม่เหมือนตัวเอง เพื่อฉุกคิดว่าสิ่งที่เขาคิดทำอาจไม่ถูกเสมอไป

- ถ้านักเรียนไม่มีประสบการณ์ทำงานนั้น ก็อาจจะทำไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ทำได้/ทำเป็น เด็กมีทางเลือกในการหาความรู้ได้หลากหลาย เช่น จากเพื่อน แหล่งเรียนรู้ เป็นต้น

- ให้นักเรียนถอดบทเรียนหรือวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนการทำงาน/กิจกรรมว่าใช้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอย่างไรเพื่อให้ผลงานออกมาดี หรือ how to ในการทำงาน จะพบว่าแต่ละขั้นตอนมีชุดความรู้/หลักวิชาการแฝงอยู่ เช่น ขั้นตอนการพับนกจะมีความรู้เรื่องสมมาตร บางขั้นตอนเด็กมีโอกาสได้ฝึกทักษะเรื่องคุณธรรม (น้ำใจ ) เป็นต้น

กิจกรรมฝึกการเล่าและการฟัง

กิจกรรมฝึกการเล่าและการฟัง

1. ให้เลือกเรื่องที่เป็นความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ/ประทับใจในชีวิตหรือเรื่องที่เป็นความล้มเหลวในชีวิตมา 1 เรื่อง

2. เรื่องนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตตนเองอย่างไร

3. ปัจจัย เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จหรือล้มเหลวคืออะไร (อธิบายด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร (มี/ไม่มี ข้อไหน)

กระบวนการ เขียน และจับคู่เล่าให้เพื่อนฟัง

สรุป

• เป็นกระบวนการฝึกการเป็นผู้เล่าและผู้ฟังที่ดี การเขียนออกมาก่อนเล่า เป็นการถอดบทเรียน หรือจัดลำดับความคิดเพื่อให้การเล่าชัดเจนขึ้น ทำให้เล่าแล้วผู้ฟังได้ประโยชน์นำไปปฏิบัติได้ เช่น ได้ความรู้ใหม่ ได้ความคิด ได้วิธีการ ได้แรงบันดาลใจ เป็นต้น สำหรับผู้ฟัง เมื่อใจจดจ่ออยู่กับการฟังด้วยความตั้งใจ จะทำให้คิดตามผู้เล่าได้

• เป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่ชี้ให้เห็นว่าหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของชีวิตอย่างไร ผ่านการฝึกการคิดวิเคราะห์ตีความจากสิ่งที่เล่าให้คนฟังแล้วสามารถเชื่อมโยง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ เรียนรู้เรื่องของการจัดระบบความคิด

• หากต่อยอดจากกิจกรรมนี้ โดยการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านการเขียนบันทึกหรือเขียนจดหมายให้กับคนที่รักว่าสิ่งที่ประสบความสำเร็จ นั้นเกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร ซึ่งอาจจะไม่ได้แยกเป็นข้อๆ เกี่ยวกับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่ให้ร้อยเรียงเข้ากับชีวิตจริง

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครู

ข้อเสนอแนะจากวิทยากร

สำหรับผู้บริหารและครู

1. ให้แต่ละท่านฝึกการตัดสินใจโดยใช้หลักปรัชญาฯ ในแต่ละวัน

2. เขียนบันทึกประจำวัน (ไดอารี่) วันละเรื่อง

3. เลือกเรื่องเด่นมาเล่าสู่กันฟัง (สัปดาห์ละครั้ง) โดยมี ผอ.เป็นคนชวนคุย

4. กลับไปเขียนจดหมายถึงคนที่เราอยากเขียนถึงเพื่อเล่าเรื่องประโยชน์และคุณค่า ของการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบการตัดสินใจโดย ยกตัวอย่างจริง สัปดาห์ละเรื่อง

5. รวมรวมจดหมายไว้เป็นผลงานของ ผอ.และครูแต่ละท่าน

ผู้อำนวยการ

ให้ คณะครูฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเขียน ผ่านการเขียนบันทึกประจำวันว่านำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาช่วย ตัดสินใจอย่างไรบ้าง จากนั้นจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการสัปดาห์ละ ครั้ง โดยผู้อำนวยการมีบทบาทเป็น “คุณอำนวย” (Facilitator) เพื่อให้คณะครูเล่าประสบการณ์ของตนเองให้กับเพื่อนครูฟัง โดยผู้อำนวยการต้องทำเป็นแบบอย่าง นำเรื่องเล่าของตนเองมาแลกเปลี่ยนด้วย

สำหรับครูประจำชั้น

1. ให้นักเรียนในชั้นฝึกการตัดสินใจโดยใช้หลักปรัชญาฯ ในแต่ละวัน

2. เขียนบันทึกประจำวัน (ไดอารี่) วันละเรื่อง

3. เลือกเรื่องเด่นมาเล่าสู่กันฟัง (สัปดาห์ละครั้ง) โดยมีครูเป็นคนชวนคุย

4. กลับไปเขียนจดหมายถึงคนที่เราอยากเขียนถึงเพื่อเล่าเรื่องประโยชน์และคุณค่า ของการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบการตัดสินใจ โดยยกตัวอย่างจริง สัปดาห์ละเรื่อง

5. รวมรวมจดหมายไว้เป็นผลงานของนักเรียนแต่ละคน

สำหรับครูประจำวิชา

1. กระตุ้นให้เด็กทำโครงงานโดยใช้ความรู้ที่เรียนไปทำชิ้นงาน

2. วิเคราะห์ “ผลลัพธ์” และ “ขั้นตอนการทำโครงงาน” ของนักเรียนให้เชื่อมกับตัวชี้วัด

2.1 ด้านความรู้ ทักษะ และเจคติตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

2.2 สมรรถนะ 5 ด้าน (สื่อสาร คิด แก้ปัญหา ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี)

2.3 นิสัยพอเพียง (การฝึกการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้)

3. ชวนนักเรียนคิดวิเคราะห์ จัดปรับโครงงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้

4. สนับสนุนการลงมือปฏิบัติตามแผนของโครงงานของนักเรียนและฝึกให้นักเรียนจัด เก็บข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการนำเสนอ (เอกสาร ภาพถ่าย ฯ ล ฯ)

5. พานักเรียนถอดบทเรียนผลจากการลงมือปฏิบัติเป็นระยะๆ เพื่อฝึกจับประเด็นสำคัญของการเรียนรู้

6. ฝึกนักเรียนให้มีความสามารถในการนำเสนอผลการเรียนรู้ของตนเอง

ครู เมื่อ เริ่มเข้าใจทักษะและกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ให้ครูนำไปต่อยอดใช้กับนักเรียนต่อไป ด้วยการให้นักเรียนฝึกพูด ฝึกเขียนเรื่องราวชีวิตประจำวันของนักเรียน พร้อมเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือนำไปต่อยอดใช้ในรายวิชาผ่านการทำโครงงานเพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ จริง และคอยติดตามประเมินผลหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนั้นๆ ว่าเด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร และที่สำคัญคือต้องมีการสื่อสารให้ครู นักเรียน และคนในชุมชนรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากการเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมีคุณค่าและความหมายอย่างไร

ครูแกนนำ ถ่าย ทอดเรื่องราวความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมในเวทีต่างๆ ให้เพื่อนครูในโรงเรียนรับรู้วิธีการ และแนวทางการดำเนินการจากวิทยากร เพื่อให้เพื่อนครูเกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน เห็นคุณค่าของหลักปรัชญาฯ ไม่เห็นว่าเป็นภาระงานใหม่แต่เข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จ นอกจากนี้ครูแกนนำควรทำตัวให้เป็นแบบอย่างเรื่องการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ครูได้เห็นภาพตัวอย่างความสำเร็จได้ชัดเจนขึ้น เมื่อขยายผลในโรงเรียนได้แล้ว ครูแกนนำควรสร้างเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการหาลูกทีมในอัตรา 1 ต่อ 1 เพื่อคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในตัวลูกทีมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงผ่านการออกแบบการเรียนรู้ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยครูต้องสามารถอธิบายถึงแนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการบูรณาการลงสู่เด็กนักเรียน โดยอธิบายพร้อมยกตัวอย่างชัดเจน หรือทำวิจัยในชั้นเรียนผ่านการลงบันทึกตารางการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยอันพึง ประสงค์ของนักเรียน เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออธิบายให้ผู้เข้ามาเรียนรู้ดูงานเห็นตัวอย่างที่เป็น รูปธรรมชัดเจน

แกนนำนักเรียน ฝึก ให้นักเรียนเขียนบันทึกประจำวันในห้องเรียนโดยเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงจนเกิดเป็นนิสัย นักเรียนสามารถสื่อสารได้จากความรู้สึกและประสบการณ์ของตนเอง โดยครูไม่ต้องคอยเตรียมเนื้อหาหรือข้อมูลให้ ทั้งนี้เพราะนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทั้งการเรียนและการใช้ ชีวิตประจำวัน นักเรียนมีนิสัย ผลการเรียนที่เปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักฐานประกอบคือ ผลงานของตัวนักเรียน จดหมาย หรือการทำโครงงาน เป็นต้น

ด้านอาคารสถานที่ แบ่ง เขตพื้นที่ให้นักเรียนดูแลรับผิดชอบสร้างภูมิทัศน์โรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น อาจมีครูศิลปะช่วยเป็นที่ปรึกษา อาจจะขอความร่วมมือจากชุมชนนำต้นไม้มาปลูกสร้างความสวยงามให้กับโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้

ฐานการเรียนรู้ เลือก ฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้ที่โดดเด่นของโรงเรียน ซึ่งอาจพิจารณาจากบริบทของโรงเรียน หรือมุมมองจากผู้เข้ามาเยี่ยมชมโรงเรียน เป้าหมายของฐานการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกนิสัยอะไร โดยครูแต่ละกลุ่มสาระต้องวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหา วิชากับกิจกรรมการเรียนรู้ในฐาน และแต่ละฐานมีขั้นตอนการเรียนรู้อย่างไร

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ