กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การพัฒนาการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนโดยผ่านกระบวนการการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการแบบ PBL รุ่นที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การอบรมหลักสูตร "การพัฒนาการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนโดยผ่านกระบวนการการออกแบบการเรียนรู้ บูรณาการแบบ PBL รุ่นที่ 2" วันที่ 25 -28 มิถุนายน 2555 ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จัดโดยทีมงานผู้ประสานงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ความก้าวหน้า และทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียน
ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ผศ.ดร.กาญจนา เกียรติมณีรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โจทย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "จากสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ฯ"

  • บอกกล่าวความสำเร็จของการขับเคลื่อนแต่ละโรงเรียน (กระบวนการขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้บริหาร ครู นักเรียน สภาพแวดล้อม และชุมชม)
  • แผนการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้ (ช่วงเวลา กรกฎาคม – พฤศจิกายน) จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างไร)
  • สิ่งที่ต้องการเสริมหนุนทางวิชาการ

- โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ -

อ.แสงทอง หัตถิรางกูร รองผู้อำนวยการ

สืบเนื่องตั้งแต่ที่สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ มีนโยบายหลักให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ทั่วประเทศต้องผ่านระบบสถานศึกษาพอเพียงก่อนปี พ.ศ. 2558 และทุกโรงเรียนจะต้องนำโครงการพระราชดำริเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฉะนั้นฝ่ายบริหารจึงสนับสนุนทั้งเงินและนโยบาย เพื่อจัดกิจกรรมสู่โครงการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบและพยายามกระตุ้นให้ซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน

ดังนั้นจึงเริ่มวางแผนงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ทางโรงเรียนจะกระตุ้นเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้ความรู้โดยเริ่มจากครูแกนนำทีละกลุ่ม และขยายผลสู่ครูทั้งโรงเรียนโดยสอดแทรกอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ของทุกกลุ่มสาระ ซึ่งวางเป้าหมายไว้ดังนี้คือ

  • เด็กต้องพึ่งตนเองได้ โดยไม่เป็นปัญหาสังคมกล่าวคือ ต้องเริ่มด้วยการรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ตั้งแต่การกินอยู่ ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ให้รู้หน้าที่ของตนในฐานะของสมาชิกในบ้าน ซึ่งจะมีครูหรือไม่ ต้องพึ่งตนเองได้
  • เนื่องจากโรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 8 ชนเผ่า ดังนั้นจึงต้องบ่มเพาะนิสัยในการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง เรียนรู้เพื่อแบ่งปัน พี่ต้องดูแลน้องทั้งในเรื่องกิจวัตรประจำวัน และการเรียนจนกลายเป็นวิถีชีวิตในที่สุด
  • เป้าต่อไปคือ “การพออยู่ พอกิน พอใช้” ทางโรงเรียนสอนการใช้ชีวิตอยู่อย่างมีค่า ใช้เวลาให้คุ้มค่า มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันทำงาน เช่น มีหน้าที่สีข้าว ทำความสะอาดโรงเรียน ทำกับข้าว หรือมีหน้าที่ในการรีดนม ฯลฯ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือการ “พัฒนาอาชีพ” ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโรงเรียน คือเน้นให้เด็กมีงานทำ จึงจำเป็นต้องฝึกพัฒนาอาชีพของตนเองทุกด้าน จนสามารถหารายได้ ยกตัวอย่างเช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชาวเขา การปลูกผัก เพื่อให้เด็กรู้จักการทำงานและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จนเขาสามารถทำงานและส่งตัวเองเรียนได้จนจบในระดับมหาวิทยาลัย จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง คือ “การพึ่งตนเองอย่างพอเพียง” สิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมในโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนยืนหยัดในสังคมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • เน้น ศูนย์การเรียนรู้เรื่องอาชีพ เช่น ศูนย์วิถีพอเพียงในเรื่องการเกษตร หรือ ศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกีฬาในหลายประเภท เช่น วิ่ง ยกน้ำหนัก ชกมวย เพื่อเพิ่มศักยภาพในตัวนักเรียนชนเผ่าให้ก้าวสู่การเป็นนักกีฬาเขต หรือในระดับทีมชาติ
  • จากนั้นจึงต่อยอดจากในโรงเรียนสู่ชุมชนปลุกกระแสให้ชาวบ้านได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปพร้อม ๆ กัน
  • สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนในเชิงวิชาการ ต้องการการชี้แนะจากวิทยากร อย่างน้อยประมาณเทอมละ 1 ครั้ง สำหรับการมาเยี่ยมเยือน เพื่อชี้แนะถึงจุดบกพร่องและการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนขึ้น

สรุป

  • เน้นการถ่ายทอดจิตศึกษาและการทำ PBL กับคณะครูในโรงเรียนก่อน
  • สอดแทรกวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริงโดยเริ่มจากชั้นปฐมวัย
  • เน้นกระบวนการ “ตอกย้ำซ้ำเติม เสริมส่วนขาด” จนเกิดการปฏิบัติซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
  • เตรียมความพร้อมครูด้วยการกระตุ้นให้ครูผู้สอนถอดบทเรียนด้วยเรื่องเล่าจากการทำ PBL และ AAR ควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
  • เดือนสิงหาคมจัดทำโครงการ “เปิดบ้านวิชาอาชีพพอเพียง” ร่วมกับจังหวัดเพชรบูรณ์
  • กันยายน – ตุลาคม ขับเคลื่อนจิตศึกษาและ PBL สู่ประถมวัยแบบเต็มรูปแบบ

- โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย -

อ.วันทนา ชูช่วย รองผู้อำนวยการ

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนได้จัดหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่รายวิชาเรียน และมีการอบรมให้ความรู้กับคณะครูภายในโรงเรียนอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งในส่วนของผู้บริหารโรงเรียนได้กำหนดวิสัยทัศน์โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน

เนื่องจากทางโรงเรียนมีปัญหาการย้ายบุคลากรบ่อยครั้งจึงก่อให้เกิดปัญหาในการขาดแกนนำที่คอยผลักดันและขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ดังนั้นเบื้องต้นจึงจำต้องเสริมในส่วนดังกล่าวเสียก่อน จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการดำเนินตามแผนขับเคลื่อนซึ่งได้วางโครงสร้างไว้ดังนี้

  • จัดให้มีการประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระ ทบทวน รื้อฟื้น แผนการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโดยให้หัวหน้ากลุ่มของแต่ละสาระ วิเคราะห์ว่าจากแผนการดำเนินงานในปี 2550 ได้เกิดปัญหาอย่างไรในการปฏิบัติงาน และจำต้องปรับปรุงแผนอย่างไร โดยหัวหน้ากลุ่มสาระเป็นผู้นิเทศ กำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน
  • แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาเป็นกลุ่มแกนนำ และจัดหานักเรียนแกนนำ ประชุมนักเรียนและครูแกนนำ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ ในเดือนสิงหาคม อาจจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนในกลุ่มสาระ จับประเด็นปัญหา เพื่อดูว่ากลุ่มสาระวิชาใดสอดคล้องกับกระบวนการ PBL และสามารถแทรกลงไปในกลุ่มดังกล่าวได้ กลุ่มสาระที่สะท้อนได้อย่างชัดเจนแล้ว เช่น กลุ่มสังคมศึกษา ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเสริมในส่วนดังกล่าวมากนัก สำหรับกลุ่มที่มีปัญหาให้คณะกรรมการแกนนำเข้าไปดูแลและสนับสนุนโครงงานต่างๆ เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนต่อไปได้
  • กระบวนการสุดท้ายเป็นการประเมินผลว่า โรงเรียนสามารถสะท้อนแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถึงตัวของนักเรียนทั้ง 2800 คน ได้มากหรือน้อย และเด็กส่วนใหญ่สามารถคิดเป็น และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตได้หรือไม่ โดยเมื่อได้มีการประเมินภายในแล้ว จึงจะนำเสนอผลงานสู่ชุมชนต่อไปเพื่อขยายผล และต่อยอดโครงการ ซึ่งอาจนำเสนอด้วยแผ่นพับ หรือการประชาสัมพันธ์ในช่องทางอื่นๆ
  • ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปฏิวัติกระบวนการคิดสู่นักเรียน เช่นการปรับสถานที่ การสร้างบรรยากาศ แหล่งเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงานนักเรียน
  • ดำเนินการสร้างเครือข่ายกับชุมชนในพื้นที่
  • รวบรวมผลงานทั้งหมด ประเมินตนเองและนำเสนอผลงานสู่ชุมชน
  • สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนในเชิงวิชาการ สุดท้ายนี้ทางโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือในด้านการจัดหาวิทยากร เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนในการดำเนินงาน ก่อนตัดสินใจว่าโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์คู่ควรในการเป็นศูนย์การเรียนรู้หรือไม่อย่างไร

- โรงเรียนราชานุบาล -

อ.กนิษฐา จงเลิศรักษ์ รองผู้อำนวยการ

- ในการขับเคลื่อนครั้งนี้คงเริ่มตั้งแต่การกลับไปประชุมกับครูและทบทวนกระบวนการเพื่อนำเกณฑ์ก้าวหน้าไปพัฒนาต่อไป

- สำหรับสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้เลยคือ การนำจิตศึกษาไปใช้กับระดับปฐมอย่างเต็มรูปแบบ โดยจะทำให้มันเข้มข้นมากขึ้น

- สำหรับกิจกรรมการขับเคลื่อน คงเริ่มต้นด้วยการจัดประชุมครู และผู้บริหารโรงเรียน จัดครูแกนนำเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนต่อ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการ PBL ในบางกลุ่มที่สามารถทำได้ ซึ่งทั้งหมดจะมี 8 กลุ่มสาระ ต้องนำแนวคิดไปบูรณาการ และปรับเปลี่ยนความคิดโดยเริ่มจากครูปฐมก่อน จากนั้นจึงลดบทบาทของครู ให้นักเรียนมีส่วนในกระบวนการคิดมากขึ้น

- ในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2555 วางแผนดำเนินกิจกรรม ทั้งการเรียนการสอน สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- ในเดือนตุลาคม จำต้องเชิญวิทยากรจากเครือข่ายโรงเรียนอื่นๆ ไปให้ความรู้ในเรื่องการถอดบทเรียน เพื่อเป้าประสงค์ในการแลกเปลี่ยนกันระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย และจากนั้นจึงนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงและแก้ไขสู่การขับเคลื่อนในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป

ความต้องการการสนับสนุนเชิงวิชาการ : รองผู้อำนวยการกนิษฐา ชี้แจงถึงปัญหาในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า ทางโรงเรียนไม่มีสถานที่ในการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ รวมทั้งต้องการความรู้ในการจัดทำฐาน อาจเริ่มต้นด้วยการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนให้เป็นฐานก่อนในเบื้องต้น จากนั้นค่อยพัฒนาต่อยอดต่อไป พร้อมกันนี้ยังชี้แจ้งว่าต้องการท่านวิทยากรหรือผู้มีประสบการณ์ไปวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุง แก้ไขสู่การขับเคลื่อนในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป

- โรงเรียนบ้านห้วยคอกหมู -

อ.พิเชษฐ์ สุวรรณ์ และ อ.ชันย์ชนก ใจอ้าย

- เดือนกรกฎาคม 2555 จัดประชุมชี้แจ้ง ผู้บริหาร และคณะครูบุคลาการภายในโรงเรียนทำกิจกรรม PLC

- เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม 2555 ขยายความรู้สู่ครูแกนนำ

- เดือนสิงหาคม – กันยายน 2555 นักเรียนแกนนำขยายความรู้สู่เพื่อน

- เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2555 ปรับปรุงพัฒนาฐานการเรียนรู้ภายในโรงเรียน

- เดือนกันยายน ร่วมแสดงผลงานตลาดนัดความรู้ภาคเหนือตอนบน

- เดือนกันยายน – ธันวาคม 2555 นักเรียนขยายความรู้สู่ผู้ปกครองและชุมชน

- เดือนกรกฎาคม 2555ประเมินความพร้อมภายในเตรียมรับการประเมิน

- ปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 เตรียมพร้อมรับการประเมิน

- เดือนธันวาคม สรุปผลประเมินภายในโรงเรียน

ความต้องการสนับสนุนเชิงวิชาการ : ขอให้วิทยากรช่วยเป็นที่ปรึกษา ตอบข้อสงสัยหรือถ้าเป็นไปได้ก็อยากเรียนเชิญไปดูในโรงเรียนเพื่อพัฒนาปรับปรุงต่อไป

- โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง -


อ.เอกพล ยั่งยืนทวี

- อบรมแผนปฏิบัติการ สถานศึกษาหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้ สู่โรงเรียน

- ส่งเสริมอบรมให้ครูเข้าใจในกระบวนการ BAR, AAR, PBL และ PLC

- สร้างบรรยากาศให้เกิดแหล่งเรียนรู้ปรับปรุงภูมิทัศน์ และจัดการเรียนรู้ประชุมร่วมกับคนในชุมชน

- สร้างเครือข่าย ติดตามผลและสรุปการทำงานจากการจัดการเรียนรู้และร่วมงานกับชุมชน

- ในเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม 2555 ทำการประเมินผลตนเองเร่งแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายเพื่อการเป็นศูนย์

- เน้นกิจกรรมการจัดนิทรรศการ จัดบอร์ด รวมเครือข่ายเพื่อขยายผลสู่ความก้าวหน้า

- ขยายผล และถอดประสบการณ์ จัดประชุมสัมมนาเพื่อประเมินตนก่อนรับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ

ความต้องการสนับสนุนเชิงวิชาการ : ต้องการให้จัดวิทยากรอบรมให้ความรู้ เพื่อแนะนำและปรับปรุงแผนงานในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น

- โรงเรียนร่มเกล้าปางตองในโครงการตามพระราชดำริ -


อ.เมษายน แก้วทุ่น

- โรงเรียนร่มเกล้าปางตองฯ เคยได้รับการประเมินให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน ผ่านทุกกลุ่มสาระโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งแผนการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระก็มีการถอดบทเรียนไว้ซึ่งสามารถใช้ถ่ายทอดให้กับคณะครูใหม่ได้

- นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหน่วยย่อย เช่น “ธนาคารอาหาร” โดยเด็กจะได้เรียนรู้วิถีพอเพียงอยู่ในวิถีชีวิต

- นักเรียนในโรงเรียนได้สัมผัสถึงความพอเพียงทุกวัน โดยการทำงานในหน่วยทั้ง 8 หน่วย ซึ่งแต่ละฐานล้วนแต่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่พร้อมกันนั้นก็อาจต้องกระตุ้นการตั้งคำถามในเชิงลึกของตัวนักเรียน

- วางแผนสร้างแหล่งเรียนรู้เพิ่ม เพื่อขยายฐานจากเดิมและเสริมฐานใหม่ รวมทั้งการทำนิเทศติดตามผล

- ขยายผลสู่ชุมชน กระตุ้นการสร้างเครือข่าย

- พัฒนาเติมเต็มในส่วนที่ขาด ติดตามปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขรวมทั้งเปิดรับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโรงเรียน และเตรียมความพร้อมในการรับประเมิน

ความต้องการสนับสนุนเชิงวิชาการ : ต้องการเชิญวิทยากรมาร่วมอบรมเพิ่มเติม เพื่อขยายผลและจัดทำแผน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ