กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
วิเคราะห์และประเมินกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในโครงการ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

                หลังจากที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับมูลนิธิกองทุนไทย (โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน) สงขลาฟอรั่ม (โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา) และศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) (โครงการต้นกล้าในป่าใหญ่ปี 2) ทำโครงการพัฒนาเยาวชนครบ 1 ปี มูลนิธิฯ จึงได้เชิญทั้ง 3 องค์กรมาวิเคราะห์และประเมินกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในโครงการ โดยการประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละโครงการได้เห็นภาพการทำโครงการในปีที่ผ่านมาว่า มีจุดแข็งอะไร โครงการต้องพัฒนาเรื่องอะไรเพื่อให้การทำโครงการในปีต่อไปมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยจัดขึ้นในวันที่ 30-31 พ.ค. พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ จ.นนทบุรี



วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ทั้ง 3 องค์กร วิเคราะห์และประเมินกิจกรรมพัฒนาเยาวชนจากการทำโครงการปีที่ผ่านมา
  2. เพื่อให้ทั้ง 3 องค์กรได้แลกเปลี่ยนบทเรียน และวิธีการพัฒนาเยาวชนระหว่างกัน
  3. เพื่อให้สงขลาฟอรั่ม และมูลนิธิกองทุนไทยปรับและนำเสนอข้อเสนอโครงการปีที่ 2
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ 3 องค์กวิเคราะห์และประเมินกิจกรรมพัฒนาเยาวชนปีที่ผ่านมา
  2. เพื่อให้ 3 องค์กรแลกเปลี่ยนบทเรียน และวิธีการพัฒนาเยาวชนระหว่างกัน
  3. เพื่อให้สงขลาฟอรั่ม และมูลนิธิกองทุนไทยปรับและนำเสนอ ข้อเสนอโครงการปีที่ 2


ผลลัพธ์การทบทวนวิสัยทัศน์

  1. เจ้าหน้าที่โครงการได้ตรวจสอบความเข้าใจวิสัยทัศน์โครงการร่วมกัน พบว่า เจ้าหน้าที่แต่ละคนมีควาเข้าใจวิสัยทัศน์โครงการในมิติที่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง แต่อาจไม่ครอบคลุมวิสัยทัศน์เดิมของโครงการที่วางไว้ กระบวนการทบทวนช่วยพาให้ทุกคนเห็นวิสัยทัศน์โครงการร่วมกัน
  2. กระบวนการทบทวนทำให้เจ้าหน้าที่โครงการเห็นว่าโครงการมี Missing Point อะไร ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในปีต่อไป  เช่น  วิสัยทัศน์โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา "สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้เยาวชนจากเรื่องจริง ชีวิตจริง ที่นำไปสู่ทักษะการมีชีวิต และจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่รู้จักรากเหง้า มีความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเกิดอย่างยั่งยืน"
  3. ช่วยให้เจ้าหน้าที่ใหม่ของโครงการเข้าใจวิสัยทัศน์โครงการ


ผลลัพธ์การทบทวน KRA/KPI

  1. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการปรับ KRA/KPI ที่ชัดเจนมากขึ้นและนำไปปฏิบัติได้
  2. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการเห็นลำดับของการเกิดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดแต่ละตัวในแต่ละปี (ตัวชี้วัดบางตัวยังทำไม่ได้ในปีแรก แต่เห็นว่าต่อจากนี้ต้องให้ความสำคัญในปี 2 และ 3 )
  3. ช่วยให้เห็นกิจกรรมที่จะต้องทำ รู้ว่าจะต้องปรับกิจกรรมอะไรให้ดีขึ้น หรือต้องให้น้ำหนักกับกิจกรรมอะไรมากขึ้น
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ