กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะกระบวนกร ครั้งที่ 2 ทักษะพื้นฐานการเป็นกระบวนกร
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

งานพัฒนาศักยภาพภาคี เรื่อง ทักษะกระบวนกรพัฒนาเยาวชน 


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเป็นโค้ช การออกแบบการเรียนรู้ การถอดบทเรียนการเรียนรู้ สำหรับเจ้าหน้าที่โครงการ
  2. เพื่อเปิดพื้นที่ (platform) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของเจ้าหน้าที่โครงการ ที่ทำหน้าที่ Coach

­

ระยะเวลาในการอบรม 4 ครั้ง (เมษายน -  กันยายน  2558) 


ครั้งที่  1  งานพลังกลุ่มและความสุข (วันที่ 28 - 30 เมษายน 2558)

  • การสื่อสาร  การฟัง  พื้นฐานด้านจิตใจและโลกทัศน์ของกระบวนกร
  • การทำงานเป็นทีม
  • การเป็นผู้นำ  ผู้ตาม

­

ครั้งที่  2  ทักษะพื้นฐานกระบวนกร  (วันที่  26 - 29  พฤษภาคม  2558)

  • การตั้งคำถามกระตุ้นคิดอย่างลึกซึ้ง  การฟังด้วยหัวใจ
  • การจับประเด็น
  • การดำเนินการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม
  • อุปสรรค  และแนวทางแก้ไขการจัดประชุม

­

ครั้งที่  3  ทักษะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้  (วันที่  22 - 25  กรกฎาคม  2558)

  • ทักษะ  และกรอบวิธีคิดในการออกแบบให้เข้าถึงเนื้อหา
  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน
  • ฝึกนำกระบวนการ  และสรุปบทเรียนครบกระบวนการ

­

ครั้งที่  4  ทักษะการสรุปบทเรียน  (วันที่  7 - 10 กันยายน 2558)

  • การสรุปบทเรียนการทำงานของเยาวชน
  • การตั้งคำถาม - การฟัง - การจับประเด็น  



วิทยากร  ทีมเสมสิกขาลัย


­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาทักษะกระบวนกร

มูลนิธิสยามกัมมาจล

โรงแรมฮิป กรุงเทพ

วันที่ 26-29 พฤษภาคม 2558

­

26 พฤษภาคม 2558

กิจกรรมภาคเช้า


โจทย์

  1. แนะนำตัว ชื่อจริง ชื่อเล่น มาจากโครงการใด
  2. ความสุข ความทุกข์ในชีวิต ช่วงชีวิต 1 เดือนที่ผ่านมา

­

ความสุข ความทุกข์ในชีวิต ช่วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา

  • เป็นช่วงที่ยุ่งมาก แต่ก็พยายามจัดการอารมณ์ตัวเองให้ได้ตามที่เรียนมา
  • เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงและใช้พลังชีวิตมากในการทำความเข้าใจสถานการณ์ ได้พยายามเฝ้าดูภายในของตัวเอง ทำความเข้าใจคนทำงานและองค์กรของตนเอง ได้ไปเพิ่มพลังชีวิตโดยการไปเข้าวัด
  • เพิ่งไปนอนโรงพยาบาลมา เข้าใจว่าย่างเข้าสู่เลข 5 แล้ว ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง อยากให้ทุกคนดูแลตัวเอง ไม่ต้องรอจนป่วยมาก เป็นห่วงระบบสาธารณสุขไทย อยากให้ชื่นชมกับผลงานที่ตนเองตั้งใจทำ เรื่องการเติบโตของเยาวชน ชื่นชมทีมงานตนเองที่สามารถทำงานได้แม้ว่าตัวเองจะไม่อยู่
  • ทุกข์กับความคาดหวังขององค์กร และยังไม่เข้าใจ สับสนกับระบบงาน สุขใจที่น้องชายจะบวชเรียน ที่เห็นน้องชายอยากศึกษาธรรมะ
  • สุขใจแม้ว่าจะมีงานเยอะ โดนตามงานบ่อย แต่เพื่อนๆกับคนรอบข้างก็ทำให้มีความสุขดี
  • ทุกข์กับร่างกายที่เจ็บป่วย คงถึงเวลากลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น สุขที่มองเห็นอารมณ์ เห็นตัวเองมากขึ้น นิ่งและเข้าใจตัวเองมากขึ้น ให้เวลากับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
  • เจ็บป่วย อยากมาเติมพลังให้ตัวเองอีกครั้ง
  • ทำงานติดๆ กัน มีสิ่งที่ต้องจัดการเยอะมาก เห็นความสุขที่คนในทีมช่วยกันทำงาน เกื้อหนุนกันให้งานผ่านไปด้วยดี
  • สุขที่ได้อยู่กันพร้อมหน้าในครอบครัว ได้ทำสวน ได้อยู่กับตัวเอง ช่วงนี้มีงานเยอะมาก ยังจัดการได้ แต่หงุดหงิดนิดหน่อยกับงานที่ไปได้ช้า จึงพยายามจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
  • มีความพยายามทำให้งานชัดเจน จัดการกับความวุ่นวาย แต่พยายามไม่ฟุ้งซ่าน ปล่อยวางได้ ไม่ค่อยเหนื่อยใจ หาเวลาดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อให้พร้อมกับการทำงาน
  • ไม่ค่อยได้เจอครอบครัวเท่าไหร่ สิ่งต่างๆ เข้ามาเร็วมาก จนไม่ได้คิดว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่มีเวลาทบทวนตัวเอง เหนื่อยและร่างกายไม่ค่อยไหว
  • ทุกข์เพราะร่างกายที่ไม่ปกติ พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีสติในการใช้ชีวิตประจำวัน สุขที่ได้ทำงาน เดินทางบ่อย ปกติจะหงุดหงิดง่ายแต่เห็นอารมณ์ของตัวเองเร็วขึ้น เห็นความตั้งใจทำงานของน้องๆภาคีและการทำงานเป็นทีมกับเพื่อนร่วมงาน มีความสุข สนุกกับการทำงาน
  • 1 เดือนที่ผ่านมาได้เติบโตหลายอย่าง ตั้งรับตัวเองไม่ทัน ตกใจในสิ่งที่เกิดขึ้น เจอในสิ่งที่ไม่เคยเจอ จนได้มานั่งทบทวนเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาว่าเกิดจากอะไร ทำให้เข้มแข็งขึ้น หวังว่าการมาเรียนรู้ครั้งนี้จะได้เติมพลังชีวิตในการทำงานต่อไป
  • ทำงานเป็นปกติ แต่ได้ไปสัมผัส เติมพลังจากธรรมชาติ ได้ไปเดินป่า
  • ว่างงาน ทำงานแค่เสาร์ อาทิตย์ มีเวลาดูซีรีส์ญี่ปุ่นเยอะ ซึ่งจะมีช่วงที่ให้ความรู้ในเรื่องที่ดู เห็นแง่มุมชีวิตต่างๆจากซีรีส์ ได้ไปช่วยสอนเด็กๆ ทำตุ๊กตาส่งไปให้เด็กๆ ที่เนปาล เห็นวิธีการทำงานของครูและน้องที่ทำกิจกรรมนี้ด้วยกัน
  • สุขใจที่ได้เห็นน้องๆในทีมเยาวชนเติบโต เป็นพลังใจให้กับตัวเอง เห็นว่าตนเองเติบโตไปพร้อมกับน้องๆ ทุกข์กังวลว่าจะดูแลน้องๆได้ดีหรือไม่ มีทีมจากมูลนิธิมาช่วยเหลือ ทำให้เห็นความเป็นภาคีที่สร้างมาร่วมกัน ที่ทำงานก็มีการเปลี่ยนผ่านคน กังวลเรื่องการทำงานว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร
  • หลังจากผ่านการอบรมครั้งที่ 1 ก็นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปจัดการอารมณ์ในชีวิตตัวเอง อยากให้เด็กๆได้มาเรียนรู้กับเพื่อน กับทีมอื่นๆที่เด็กบันดาลใจ
  • เหนื่อย สุขภาพไม่ค่อยดี โหมทำรายงาน ทำงานที่ไม่ค่อยถนัด แต่พอไม่สบายได้พักก็หาย มีการเปลี่ยนผ่านคนทำงาน
  • มีทั้งสุข ทุกข์ เหนื่อย จะดูแลตัวเองมากขึ้น
  • มีเวลาว่างได้ดูคลิป อ่านหนังสือที่อยากอ่านทำให้ได้แง่คิด ได้งานที่ใหม่ คิดว่าต้องเรียนรู้กันใหม่
  • งานเยอะ เหนื่อย โชคดีที่มีทีมงานที่ดี ป่วยกันหลายคน เป็นเพราะไม่ได้พัก ได้เจอกันที่ทำงาน แต่ไม่ค่อยได้คุยเรื่องสุขทุกข์กัน อยากมีเวลาได้คุยกัน
  • ทำงานเยอะ แต่ก็ทั้งสนุกและมีความสุขกับการทำงาน แม้ว่าจะเหนื่อยมาก ไม่ค่อยได้พักผ่อน
  • ได้กลับบ้าน ได้นำกงล้อ 4 ทิศไปเล่นกับพ่อ เข้าใจพ่อมากขึ้น แม้จะมีเวลาน้อย แต่พ่อก็ให้เวลากับเรา ทุกข์ที่เวลาแห่งความสุขมีน้อยเพราะต้องรีบไปตามงาน กำหนดการที่มี
  • เป็นปกติ ไม่ได้รู้สึกเหนื่อย ทุกข์ ทำงานไปตามปกติ
  • งานเยอะ ได้พักแค่ 1 วัน มีโอกาสได้ตามเข้าไปในป่า ได้เจอธรรมชาติที่สวยงาม เห็นคนที่ทุกข์กว่าเราเยอะ แต่ก็ยังอยู่ได้ ทำให้ได้รับพลังใจ
  • ได้รับงานใหม่เพิ่ม มีงานเยอะ แบ่งเวลาไม่ค่อยได้ สุขที่ทำงานในองค์กร อยู่แบบพี่น้อง แบบเป็นครอบครัว
  • มีความวิตกกังวลกับงานที่ได้รับมอบหมาย มองว่าตัวเองจะทำไหวหรือเปล่า แต่พอได้อยู่กับตัวเองได้ทบทวนตัวเอง ก็ทำให้คิดปล่อยวางได้ เลือกที่จะสื่อสารกับคนอื่น มีความสุขที่เห็นคนรอบข้างมีความสุข
  • มีงานเข้ามาเยอะ มีอารมณ์ไม่ได้ดั่งใจ ต้องประสานงานกับน้องๆที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน แต่ได้พยายามทำความเข้าใจให้มากขึ้น มีความสุขที่ได้กลับบ้าน ได้แบ่งปันความฝันและมีคนเห็นด้วย สนับสนุน
  • ทุกข์เพราะไม่มีเวลาให้คิดว่าจะทุกข์อะไร ไม่ค่อยมีเวลาว่าง สุขในการทำงาน มีทั้งสุข ทุกข์ร่วมกัน อยู่ที่เราเลือกว่าจะมองอะไร ได้ความรู้ใหม่เรื่องการตัดต่อเพราะเปิดใจเรียนรู้
  • ได้เรียนรู้จากคนที่ไปร่วมงานด้วยเป็นต้นแบบ เวลาที่ได้ลงพื้นที่ได้พูดคุย ได้แลกเปลี่ยน รู้สึกใกล้ชิดกัน การเดินทางก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง
  • งานหนัก แต่ก็พยายามหาความสุขจากการทำงาน หาความสมดุล ทำใจยอมรับกับการเปลี่ยนผ่านของคนทำงาน แต่ใช้เวลาในการอยู่ด้วยกันให้ดีที่สุด ให้น้องๆมีทุนติดตัวในการทำงานต่อไป

­

เนื้อหาการอบรม

TOT1 ทักษะพื้นฐานของการเป็นกระบวนกร

  • ความหมายของกระบวนกร ทักษะพื้นฐาน
  • เงื่อนไขการเรียนรู้
    • การออกแบบกระบวนการเรียนรู้
    • องค์ประกอบการเรียนรู้
    • ทักษะพื้นฐานของการเป็นกระบวนกร
      • ความมั่นคงภายใน
      • การรับฟัง
      • การจับประเด็น
      • การใช้วิธีคิด
      • การตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

­

กระบวนการเรียนรู้

  • กิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง
  • พูดคุยหลักการ
  • ฝึกปฏิบัติจริง

­

ข้อตกลงร่วมกัน

  • อยู่ร่วมในการอบรมอย่างต่อเนื่อง
  • ฝึกฝนเรียนรู้เต็มที่
  • ใจกว้างในต่อกันและกัน สะท้อนบนพื้นฐานความรัก ใช้ความเป็นมิตรในการเรียน
  • ปิดเสียงโทรศัพท์
  • รับฟังกันอย่างใส่ใจ

­

ตารางกิจกรรม

09.00 – 09.20 น.สมาธิภาวนา

09.20 – 12.20 น. กิจกรรมภาคเช้า

12.20 – 13.20 น. อาหารกลางวัน

13.20 – 14.00 น. นอนผ่อนคลาย

14.00 – 18.30 น. กิจกรรมภาคบ่าย

­

­

กิจกรรม "สี่เหลี่ยมแตก"

โจทย์    ให้ทุกคนประกอบชิ้นส่วนให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

กติกา

  • ห้ามสื่อสารระหว่างกัน
  • ให้ทำการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนทีละ 1 ชิ้น
  • ชิ้นส่วนทุกชิ้นต้องถูกใช้งาน
  • มีเวลา 20 นาที

­

สรุปบทเรียนจากกิจกรรม "สี่เหลี่ยมแตก"

  • ความรู้สึกในการเล่น
    • อึดอัดที่เพื่อนไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่ออะไร
    • เมื่อทำเสร็จก่อน จะรู้สึกโล่งใจ แต่พอเพื่อนคนอื่นยังทำไม่เสร็จก็กังวล
    • อึดอัด อยากให้เพื่อนปล่อยตัวที่เป็นปัญหาลงมาตรงกลาง
  • ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อนที่ยังไม่เสร็จแต่ไม่ยอมปล่อยชิ้นส่วนมา
    • เข้าใจผิดจึงไม่ยอมปล่อยชิ้นส่วนนั้น
    • ควรมีบางคนต้องเสียสละ
    • อยากให้เพื่อนปล่อยชิ้นส่วนออกมาได้
  • ความรู้สึกของคนที่เสร็จทีหลัง
    • กดดัน
    • พยายามค้นหาความผิดพลาด
    • ตั้งคำถามกับคนที่ทำเสร็จแล้ว คิดว่าควรต้องช่วยกันทำให้สำเร็จทุกคน

คนที่ทำเสร็จแล้วมักรู้สึกโล่งใจ อยู่รอดปลอดภัย จนกว่าจะมีเพื่อนที่ทำไม่เสร็จ แสดงอะไรบางอย่างออกมา เช่น เคาะแรงๆ หรือเพื่อนทำไม่เสร็จ จะรู้สึกตัวและลองแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนออกมา

  • เหตุปัจจัยที่ทำให้กลุ่มทำงานสำเร็จ
    • การแบ่งปัน เกิดจาก
    • ต้องมองภาพรวมของกลุ่ม
      • การทำงานไม่สามารถมองเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ต้องมองความโยงใยสัมพันธ์กัน
      • เห็นความสำเร็จร่วมของกลุ่มมาจากความสำเร็จของทุกคน
  • ชีวิตจริง จะทำอย่างไรให้ทุกคนมองเห็นความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน
    • มองเป้าหมายร่วมกัน
    • มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และมุมมองในการทำงานให้เห็นภาพร่วมกัน
    • เปิดใจ สื่อสารข้อติดขัดระหว่างกัน
    • มองข้ามความแตกต่าง การแบ่งแยก
      • มีปัจจัยภายนอกกดดัน จากการที่เห็นกลุ่มอื่นทำสำเร็จ
      • เห็นว่าตัวเองทำสำเร็จ เลยอยากให้คนอื่นทำสำเร็จ
      • มองเห็นความเชื่อมโยงของเรากับเพื่อน
      • ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคในการทำงาน
      • มีเวลาเข้ามาเป็นเงื่อนไข ซึ่งเป็นทั้งแรงเสริมและแรงกดดัน
      • แรงกดดัน ช่วยให้
        • เกิดการกระตุ้นในการทำงาน
        • เกิดความต่อเนื่องกรณีที่บางคนหมดไฟ
        • ขึ้นอยู่กับท่าทีและจังหวะ วิธีการที่สอดคล้องของแต่ละคน
  • ชีวิตจริง เรามักมีกำแพงภายในที่ทำให้ไม่สื่อสารกับเพื่อน
    • วิธีคิดแบบ win-win

­

­

กิจกรรมภาคบ่าย

­

"การเรียนรู้เกิดขึ้นตอนไหน"

1) หลังฟังกติกา โจทย์ เพราะ

  • ต้องทำความเข้าใจโจทย์
  • ใช้ความคิดในการแก้ไขโจทย์

การเรียนรู้ในชีวิตจริงต่างกับกิจกรรม เพราะ

  • เราปัดสิ่งที่ไม่พอใจออกไปเร็ว
  • เราเคยชินและมักใช้ประสบการณ์เก่าในการใช้ชีวิต
  • มีเวลาเข้ามาเร่งรัด
  • เคยผ่านการเรียนรู้มาแล้ว และจดจำจนทำเป็นอัตโนมัติ
  • ขาดการตั้งคำถามในชีวิตจากตัวเราเองหรือคนอื่น
  • คิดว่าไม่สำคัญหรือไม่มีผลกระทบให้เห็น

สิ่งที่ทำให้เรียนรู้เมื่ออยู่ในกิจกรรม

  • มองเห็นโจทย์ชัดเจน
  • ตัวเราเองมีความพร้อมในการเรียนรู้
  • บรรยากาศรอบตัวเอื้อให้เกิดการเรียนรู้
  • เงื่อนไขไม่มากและไม่ซับซ้อนเหมือนในชีวิตจริง

­

2) ระหว่างทำกิจกรรม เพราะ

  • เมื่อลงมือทำ ทำให้เห็นเงื่อนไข ข้อจำกัดชัดเจนขึ้น
  • มีการแก้ไข ปรับตัวจากข้อติดขัด
  • เกิดคำถาม มีข้อสังเกตที่ต่างไปจากเดิม
  • มีการลองผิดลองถูก

อะไรทำให้เราเกิดภาวะการเรียนรู้

  • กลุ่มมีโจทย์ร่วมกัน
  • ในกิจกรรมมีโอกาสและให้เวลาเราได้แก้ไขความผิดพลาด
  • มีสติใคร่ครวญ
    • ตื่นรู้ที่จะตอบสนอง
  • ยอมรับกับสถานการณ์ตรงหน้าตามความเป็นจริง ทำให้
    • ลดอัตตาลง
    • เห็นมุมมองใหม่

­

3) ช่วงสรุปบทเรียน เป็นช่วงที่เรียนรู้ได้มาก เพราะ

  • ได้ผ่านประสบการณ์
  • ได้ทบทวนสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว
  • มีการตั้งคำถามจากตัวเองและจากเพื่อนแล้ว
    • นำมาขบคิด
    • เปรียบเทียบกับชุดความรู้เดิม
    • เชื่อมโยงความคิดระหว่างเรากับเพื่อน
    • เกิดการแลกเปลี่ยนและต่อยอดจนได้ความคิดใหม่
  • เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ
  • เกิดอารมณ์หรือความรู้สึกบางอย่าง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน

  • การให้คุณค่า ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความใส่ใจ
    • การตั้งคำถามกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    • ไม่ด่วนตัดสิน ปัดทิ้งหรือรีบโอบกอด
  • ลองเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
  • มีสติ นำบทเรียนมาใช้ (ระลึกรู้)
  • จัดกระบวนการเรียนรู้

กระบวนกร คือ นักสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้

­

­

กระบวนกร คือ  ผู้ที่สร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้คนได้ใช้ศักยภาพร่วมกัน

กระบวนการเรียนรู้


­

ความแตกต่างระหว่างพี่เลี้ยงกับกระบวนกร

พี่เลี้ยง

  • ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่ลงไป
  • ให้การเรียนรู้ตามประสบการณ์
  • พี่เลี้ยงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่า

­

กระบวนกรจัดกระบวนการ มีการสร้างโจทย์ เงื่อนไข

  • หัวใจและหลักคิดของกระบวนกรสามารถนำไปปรับใช้ได้ในบทบาทและรูปแบบที่หลากหลาย
    • เชิญชวนให้แลกเปลี่ยน
    • ละวางความถูกผิด

­

ตัวอย่างหน้าที่กระบวนกร

  • จัดการประชุมเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม
  • พี่เลี้ยงสอนงาน
  • ลงพื้นที่ดูงาน
  • พ่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ลูก

­

คุณสมบัติของกระบวนกร

  • ตั้งคำถามให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด
  • นำไปสู่การเรียนรู้
  • กระตุ้นความคิด ค้นหาทางออกหรือข้อสรุป
  • เชื่อมโยงกับประสบการณ์ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
  • มีทักษะในการพูดและนำเสนอ
  • มีความรู้ในเรื่องที่จะพูด   ทำให้  แยกแยะประเด็นได้
  • ข้อสังเกต  ถ้ายึดความรู้ที่มีของตัวเองทำให้สุ่มเสี่ยงในการครอบงำความรู้ให้เขา ปิดพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ท่าทีที่รับฟังอย่างตั้งใจ
    • อดทนที่จะรับฟังแม้ว่าเราจะเห็นต่างหรือมีความรู้ที่แตกต่างไปจากผู้พูด
    • ฟังอย่างใส่ใจ รับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตามที่เป็น
  • จับประเด็นแม่นยำ ทำให้
    • กลุ่มเห็นประเด็นชัด
  • รับรู้ จับสังเกตการตอบสนองของกลุ่มและสถานการณ์
  • มีไหวพริบจัดการสถานการณ์ กลุ่มผู้เรียนรู้
  • บุคลิกภาพกระฉับกระเฉง มั่นใจ
  • เปิดใจกว้าง ไม่ผูกขาดความจริง
  • ทำการบ้านกับผู้เรียน
    • วิธีการเรียนรู้ของกลุ่ม
    • รู้จักพื้นฐานของกลุ่ม
  • มีความนิ่ง ควบคุมอารมณ์

­

­

ทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้ง

  • วิธีการฟังที่ดี
    • ไม่พูดแทรก
    • จดจ่อกับผู้พูด สบตา
    • จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการรับฟัง
    • ไม่ตัดสินความคิด ความเห็นที่ได้ยิน
    • ตั้งข้อสังเกต เตรียมใจที่จะค้นหาความจริงจากผู้พูด
    • วิเคราะห์ระหว่างฟัง
    • ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ได้ยิน
    • รับรู้ความรู้สึกของผู้พูด
    • กรณีผู้พูดมีอารมณ์ ความรู้สึกเราเพียงแต่รับรู้
    • เตรียมกายและใจให้พร้อมฟัง
    • ถามเพื่อให้ผู้พูด พูดชัดเจนขึ้น
    • ฟังด้วยความผ่อนคลาย

­

­

กิจกรรม "กระบวนการฝึกการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ครั้งที่ 1"

  • แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 6 คน
    • วงสนทนามีคนคุย 4 คน
    • ผู้ฝึกฟัง 2 คน บอกสิ่งที่ได้ยินในวงสนทนา
    • พูดคุยในประเด็นที่เลือก 10 นาที สะท้อน 20 นาที
  • เมื่อจบการสนทนาในแต่ละครั้ง
    • ผู้ฟังทบทวนส่วนตัวในประเด็น
      • ตนเองฟังแล้วได้ยินอะไรบ้าง
      • เราอยู่กับวงสนทนาได้มากน้อยเพียงไร
      • มีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการรับฟังของเรา
    • ผู้พูดทบทวนส่วนตัวว่าตนเองพูดในประเด็นใดบ้าง
    • ผู้ฟังบอกให้วงสนทนาทราบว่าตนเองได้ยินอะไรจากการฟังการสนทนาบ้าง
    • ผู้พูดสะท้อนผู้ฟังว่าประเด็นที่ได้ครบถ้วน ตรงตามที่พูดคุยกันหรือไม่ มีการตีความเพิ่ม/ตัดสิน เพิ่มความคิดเห็นอย่างไร

­

ประเด็นพูดคุย

  1. ทำงานวันหยุดทุ่มเทหรือขาดประสิทธิภาพ
  2. คนรุ่นใหม่ทำงานไร้วินัยจริงหรือ
  3. จะใช้ social media อย่างไรไม่ให้เสียงาน
  4. โรฮิงญาปัญหาของโลกหรืออาเซียน
  5. การทำแท้งคือทางออกของท้องไม่พร้อมจริงหรือ
  6. บริโภคสื่ออย่างไรไม่ให้จิตตก
  7. ชีวิตนักพัฒนา “ชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวล่มสลาย”
  8. คนรุ่นใหม่กับอุดมคติในการทำงานเพื่อสังคมลดลงหรือไม่ อย่างไร

­

   

­

27 พฤษภาคม 2558

กิจกรรมภาคเช้า

­

สรุปบทเรียนการฝึกการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ครั้งที่ 1

อุปสรรคในการฟัง

  • มีความคิดของเราไปผสมกับเรื่องที่เพื่อนพูด
    • คิดนำเรื่องที่เพื่อนพูด
    • คิดต่อยอดจากเรื่องที่เพื่อนพูด
  • วิธีแก้ไข
    • เมื่อรู้ตัวระหว่างการฟัง ให้เตือนตัวเองให้รับฟัง
    • จับสังเกตว่า เรื่องที่เรามักแทรกเป็นเรื่องใด
    • ใคร่ครวญภายใน หาสาเหตุหรือสิ่งที่แทรกแซง
    • ฝึกความรู้สึกตัว “สติ” บ่อยๆ?
    • ให้เพื่อนสะท้อนบอกสิ่งที่เขาพูด เทียบกับสิ่งที่เราได้ยิน
  • ย้อนคิดสิ่งที่เพื่อนพูดไปแล้ว
  • วิธีแก้ไข
    • เมื่อรู้ตัวให้กลับมารับฟังสิ่งที่เพื่อนพูด ณ ปัจจุบัน
    • เตือนตัวเองว่า ผิดพลาดได้ เผลอได้ ให้โอกาสเริ่มใหม่
  • จำไม่ได้ จำได้สั้นๆ
  • วิธีแก้ไข
    • มี keyword ช่วยจำ
    • ฟังอย่างตั้งใจ ทำความ เข้าใจกับเรื่องที่ฟัง
    • หาสาเหตุว่า อะไรเป็นตัวดึงดูดเราออกจากเรื่องที่ฟัง
    • ฝึกรู้ตัว ปล่อยวางอารมณ์ ความรู้สึก ความคาดหวัง
    • ใส่ใจกับผู้พูด
    • ลดพฤติกรรมที่ทำให้เราหันเหความสนใจได้เร็ว เพิ่มการจดจ่อกับการทำบางสิ่งอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ social media ไปพร้อมๆกับการดูโทรทัศน์
    • ทบทวนตัวเองก่อนนอน
    • ฝึกแยกประสาทการรับรู้บางช่วง

           การฟังอย่างลึกซึ้ง ช่วยให้เราสามารถจับได้มากกว่าเนื้อหาที่ผู้พูดต้องการสื่อ ทำให้เราสามารถจับอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ อคติ ความต้องการ ความคาดหวังของผู้พูดได้ด้วย

­

­

กิจกรรม "กระบวนการฝึกการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ครั้งที่ 2"

  • แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 6 คน
    • วงสนทนามีคนคุย 4 คน
    • ผู้ฝึกฟัง 2 คน บอกสิ่งที่ได้ยินในวงสนทนา
    • พูดคุยในประเด็นที่เลือก 10 นาที สะท้อน 20 นาที
  • เมื่อจบการสนทนาในแต่ละครั้ง
    • ผู้ฟังทบทวนส่วนตัวในประเด็น
      • ตนเองฟังแล้วได้ยินอะไรบ้าง เห็นสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งของผู้พูดอย่างไร
      • เราอยู่กับวงสนทนาได้มากน้อยเพียงไร
      • มีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการรับฟังของเรา
    • ผู้พูดทบทวนส่วนตัวว่าตนเองพูดในประเด็นใดบ้าง
    • ผู้ฟังบอกให้วงสนทนาทราบว่า
      • ตนเองได้ยินอะไรจากการฟังการสนทนาบ้าง
      • สะท้อนสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง
    • ผู้พูดสะท้อนผู้ฟังว่าประเด็นที่ได้ครบถ้วน ตรงตามที่พูดคุยกันหรือไม่ มีการตีความเพิ่ม/ตัดสิน เพิ่มความคิดเห็นอย่างไร

­

ประเด็นพูดคุย

  1. ทำงานวันหยุดทุ่มเทหรือขาดประสิทธิภาพ
  2. คนรุ่นใหม่ทำงานไร้วินัยจริงหรือ
  3. จะใช้ social media อย่างไรไม่ให้เสียงาน
  4. โรฮิงญาปัญหาของโลกหรืออาเซียน
  5. การทำแท้งคือทางออกของท้องไม่พร้อมจริงหรือ
  6. บริโภคสื่ออย่างไรไม่ให้จิตตก
  7. ชีวิตนักพัฒนา “ชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวล่มสลาย”
  8. คนรุ่นใหม่กับอุดมคติในการทำงานเพื่อสังคมลดลงหรือไม่ อย่างไร

­

กิจกรรมภาคบ่าย

­

"การจับประเด็น"

การจับประเด็น คือ :

  • ใจความสำคัญของเรื่อง
  • ความต้องการของผู้พูด
  • ประเด็นหลักของสิ่งที่เพื่อนพูด
  • การย่อความ
  • การจับสารที่ผู้พูดต้องการส่งสารให้กับผู้ฟัง
  • ดึงคำสำคัญ (keyword) มาตั้งคำถามหรือข้อสังเกต
  • สรุปความของผู้พูด

­

กระบวนการจับประเด็น

  • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ
    • มีเนื้อความอะไร
  • ขมวดความเป็นแก่นสำคัญของเรื่องนั้น
  • จัดเรียงเป็นรูปประโยคให้เข้าใจง่าย
  • การจับประเด็นเชิงลึกสามารถจับได้ถึงอคติของผู้พูดหรือผู้เขียน

­

รูปแบบในการจับประเด็น

  • การพูดคุย
  • การดูหนัง
  • การอ่านหนังสือ
  • การชมงานศิลปะ
  • การดูละคร
  • การจับประเด็นภายในตนเอง
    • สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา
  • ทำให้
    • ล่วงรู้ความคิด ความรู้สึก ความต้องการเราชัดเจนขึ้น
    • ยอมรับและเข้าใจตนเอง
    • เกิดความสงบภายใน นิ่งมากขึ้น
  • จับประเด็นโลกรอบตัว
    • ปรากฏการณ์ของกลุ่มคน
    • สถานการณ์ในสังคม
    • สิ่งแวดล้อมรอบตัว

­


วิธีการที่จะทำให้จับประเด็นได้เก่ง แม่นยำ

  • ใส่ใจฟัง ให้ความสำคัญกับผู้พูด แต่ไม่จดจ่อหรือเครียดจนเกินไป
  • นึกในใจไว้ว่าผู้
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ