กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครื่องมือการติดตาม และพัฒนาเยาวชนระหว่างการทำโครงการ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

                 ในระยะที่โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา และโครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเยาวชนได้ดำเนินโครงการไปได้ระยะหนึ่ง หลังจากที่ผ่านการพัฒนาเยาวชนในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ มาสู่การติดตาม และ Coach เยาวชนระหว่างการทำโครงการ มูลนิธิฯ ได้จัดเวทีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ 2 โครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบ และเทคนิคการติดตามและ Coach เยาวชน โดยมีโครงการต้นกล้าในป่าใหญ่ ที่ดำเนินการโดย RECOFTC มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย พร้อมทั้ง 3 โครงการได้ร่วมกันลงมือติดตาม และ Coach เยาวชนโครงการศึกษาป่าสนธรรมชาติบริเวณแหลมสนอ่อน ภายใต้โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาเพื่อฝึก และใช้ความถนัดของแต่ละโครงการมาร่วม Coach เยาวชน เรื่องการสำรวจและประเมินทรัพยากรป่าอีกด้วย โดยจัดขึ้นในวันที่ 4-5 ก.พ. พ.ศ. 2556 ณ สงขลาฟอรั่ม จ.สงขลา


เป้าหมาย


  1. เพื่อเสริมศักยภาพในการติดตาม และ Coach เยาวชนระหว่างการทำโครงการผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่โครงการพลังพลเมืองเยาวชน สงขลา และโครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเยาวชน และโครงการต้นกล้าในป่าใหญ่
  2. เพื่อทบทวน และสกัดความรู้เรื่องการติดตาม และ Coach เยาวชนในการทำโครงการ community project จากทั้ง 3 โครงการ นำไปสู่การทบทวนสำหรับการดำเนินโครงการในปีต่อไป และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครื่องมือติดตามและพัฒนาเยาวชน


             เจ้าหน้าที่โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โครงการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเยาวชน และโครงการต้นกล้าในป่าใหญ่ ได้ร่วมกันคิดในทีมของตนเองภายใต้โจทย์วิธีการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพเยาวชน (Coach) ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการลงพื้นที่ติดตามเยาวชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 โครงการ ได้แผนการทำงาน วิธีการเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ มาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน


                              



เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมเวที


       ลัดดา  วิไลศรี (มูลนิธิกองทุนไทย)   "จากการแลกเปลี่ยนในเวที ได้เห็นเครื่องมือ  เห็นระบบงานที่ชัดเจน ระบบเรื่องการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์  อย่างตอนนี้ก็เก็บเป็นของแต่ละคนอยู่  ก็น่าจะดีที่นำมาฝากที่คนๆหนึ่งที่เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์แล้ว  เวลาเรียกใช้งาน สามารถเอาไปใช้ได้เลย ถ้าเราไม่อยู่ เพื่อนอีกคนก็เอาข้อมูลไปใช้ได้ 

         เรื่องการแบ่งฝ่ายการทำงานก่อนลงพื้นที่ กองทุนไทยเพิ่งเริ่มทำงานแบบนี้เป็นครั้งแรก ระบบการทำงานอาจจะยังไม่คงที่ ยังไม่มีการแบ่งงานว่าใครจด ใครคุย ใครถ่ายรูป  บางทีเวลาลงพื้นที่ก็ทำให้กังวล ก็จะเอาสิ่งที่ได้เขียนมาไปปรับใช้ในโครงการ  มันเห็นภาพตั้งแต่เริ่มจนจบโครงการ  

       หลังจากที่คิดหรือทำกันเองแค่กลุ่มโครงการเราแค่โครงการเดียว บางทีมันหาทางไปต่อไม่ได้ เพราะเราเองหรือพี่แอ๋วก็ไม่มีทักษะ หรือว่าได้เรียนมา หรือทำอะไรแบบนี้ ก็จะไม่มีความรู้เท่าไร  คือที่ผ่านมาปฏิบัติอย่างเดียว พอมีทฤษฎีและกระบวนการทำงานที่ชัดเจนก็ช่วยได้เยอะ"


     รัตติกา  เพชรทองมา (มูลนิธิกองทุนไทย) "มันทำให้เห็นจริงๆว่าคนทำงาน จำนวนคน ทักษะของคนที่แตกต่างกันไปมาช่วยกันทำงานเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน  พอมาเทียบกับเราเองที่ทำทุกอย่างคนเดียวซึ่งมันเป็นไปไม่ได้   เราต้องพัฒนาเด็ก ฉะนั้นเราต้องมีอะไรที่มากกว่าเด็ก  จุดเด่นของเราคือมีทักษะ กระบวนการที่จะเติมเต็มให้เด็กด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องการจัดการเราพอทำได้  แต่พอคนหนึ่งต้องมารับผิดชอบเรื่องงานพัฒนา วางแผน หรือประเมินการพัฒนาเด็กไปพร้อมกันด้วย  มันทำให้เสียเวลาในเรื่องการมาเรียนรู้ด้วยตนเอง  เรื่องทฤษฎีพอมีคนที่ถนัดมาช่วยหนุนจะทำให้วางระบบได้เร็วขึ้น  เช่น รู้ว่าต้องสังเกต แต่ไม่รู้ว่าต้องสังเกตอะไร  ซึ่งบางครั้งต้องอิงทฤษฎีเพื่อการประเมิน แปลผล  จึงเป็นข้อจำกัดของจำนวนคนที่น้อย  หลายๆอย่างก็นำเอาไปใช้ได้  เห็นภาพของระบบที่เอาไปใช้ได้จริงๆ"


สุภาภรณ์  ปันวารี  (RECOFTC)  "หนึ่ง เรื่องความโปร่งใสที่จำนำไปใช้กับโครงการ และปลูกฝังในตัวน้อง สอง การที่มีเวลาที่จะใส่ใจรายละเอียดของตัวโครงการทั้งของเรา และของน้อง  อีกอันหนึ่งคือแบบบันทึกพฤติกรรม  ส่วนตัวใช้วิธีจำ  เวลาถามกฌจะนึกเอาว่าน้องคนนี้เป็นอย่างไร  แต่ว่าไม่ถึงกับมาจดบันทึก ซึ่งคิดว่าดี เพราะนานไปเราก็จะลืมถ้าเราไม่บันทึกว่าน้องเป็นอย่างไร  น่าสนใจที่จะเอาไปใช้ได้ และมีแบบฟอร์มอะไรหลายๆอย่างๆที่ชัดเจน   อีกเรื่องคือ ดีตรงที่มีการมีคนมา Coach เราอีกชั้น  ซึ่งเราต้องเป็นคนไป Coach น้อง และช่วยเราสื่อสารเผยแพร่ไปสู่คนข้างนอก"



                จากการแลกเปลี่ยนเครื่องมือขององค์กรภาคีและขั้นตอนการดำเนินงานในการติดตาม และเสริมศักยภาพเยาวชน (Coach) นำไปสู่การสรุปปัจจัยความสำเร็จ ในการ Coach เพื่อเป็นฐานข้อมูล สร้างการเรียนรู้ และนำการเรียนรู้นั้นมาเผยแพร่ และประเมินผล ดังนี้



"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ