กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชน จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ กลุ่มรักษ์เขาชะเมา อ.แกลง จ.ระยอง ระหว่างวันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2556
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชน จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน 

กลุ่มรักษ์เขาชะเมา อ.แกลง จ.ระยอง  ระหว่างวันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2556 


              หลังจากที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ดำเนินโครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชนมาจนครบปีที่ 1 แล้วนั้น มูลนิธิฯและองค์กรภายใต้การสนับสนุน ซึ่งได้แก่ มูลนิธิกองทุนไทย และสงขลาฟอรั่ม ได้เห็นผลสำเร็จและข้อที่ควรแก้ไขปรับปรุงของการดำเนินโครงการตลอดปีที่มา   เพื่อให้ทั้ง 2 องค์กร ได้เรียนรู้  เปิดมุมมอง และแลกเปลี่ยนการทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพเยาวชน มูลนิธิฯ จึงจัดกิจกรรมศึกษาดูงานกับองค์กรที่ทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน โดยเลือก "กลุ่มรักษ์เขาชะเมา"  เป็นกลุ่มที่เปิดชุมชนสร้างการเรียนรู้ให้กับ “เยาวชนรุ่นใหม่” มาเป็นยาวนาน  และเทศบาลตำบลเมืองแกลง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการเมืองด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกับการดูแลสิ่งแวดล้อม   เป็นแหล่งเรียนรู้ในกิจกรรมครั้งนี้

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

               มูลนิธิสยามกัมมาจล โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชน ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ กลุ่มรักษ์เขาชะเมา ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง ในวันที่ 15-16 สิงหาคม 2556 โดยมีภาคีเครือข่าย ได้แก่ มูลนิธิกองทุนไทย และสงขลาฟอรั่ม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมครั้งนี้


              กลุ่มรักษ์เขาชะเมา มีประสบการณ์การทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนมากว่า 20 ปี โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเยาวชน โดยเฉพาะเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมไปถึงการฝึกพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคม การขับเคลื่อนงานของกลุ่มรักษ์เขาชะเม มีเป้าหมายการทำงานไปสู่การสร้างสังคมที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน ตั้งมั่นอยู่บนวิสัยทัศน์ของกลุ่มที่ว่า “พัฒนาเยาวชนไปสู่การสร้างชุมชนทางเลือก ให้สามารถพึ่งตนเอง ส่งเสริมการเรียนรู้และฟื้นฟูทุนทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานเทคโนโลยี สร้างสมดุลให้เกิดสุขภาวะชุมชนและสังคม” โดยสามารถสรุปเป็นแผนผังของกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มรักษ์เขาชะเมาได้ ดังนี้

               

         

  


                การที่มูลนิธิสยามกัมมาจล มูลนิธิกองทุนไทย และสงขลาฟอรั่ม ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมาในครั้งนี้ ต่างเกิดความประทับใจ และได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนมุมมองการทำงาน



              

          “มีนี” นูรอามีนี สาเละ (สงขลาฟอรั่ม) “การมาเห็นงานของรักษ์เขาชะเมา ทำให้เราเห็นภาพงานของของสงขลาฟอรั่มทั้ง 22 โครงการ ชัดขึ้น สิ่งที่น่าสนใจคือการสร้างให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข ดังจะเห็นได้ว่าเด็กๆ ทำงานร่วมกันด้วยจิตวิญญาณ เป็นการทำงานได้ด้วยหัวใจของตัวเอง ถ้าเราทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานแบบรักษ์เขาชะเมาได้ เราคงจะทำงานด้วยความสุขมากขึ้น สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้เรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับน้องๆให้มากขึ้นด้วย” 






  

                  

               “กช” กรกช มณีสว่าง (สงขลาฟอรั่ม) บอกว่า “ได้เห็นความหมายที่แฝงอยู่ในบ้านดิน เพราะเป็นพลังที่เยาวชนได้ร่วมสร้าง นอกจากนี้การกินการอยู่ก็เป็นการสอนเราด้วย เด็กๆ ที่นี่กินอาหารที่ปลอดภัย เรียนรู้วิถีพอเพียง และยังอยากรู้ว่ากลุ่มทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้สึกผูกพันกับกลุ่ม และมีความสนใจกิจกรรมนักสืบชายหาด คิดว่าน่าจะนำไปปรับใช้ที่สงขลาฟอรั่มได้”  










                

                “เปิ้ล” ลัดดา วิไลศรี (มูลนิธิกองทุนไทย) มองเชื่อมโยงกับงานของตัวเองว่า “การแลกเปลี่ยนกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมาทำให้เห็นเรื่องกระบวนการทำงานเยาวชน ซึ่งที่ผ่านมาเราเอางานเป็นตัวตั้ง แต่เราเน้นไปที่งานมากกว่าความสุข ทำให้เขาอยู่ได้ไม่นาน แต่กระบวนการที่พี่ๆกลุ่มรักษ์เขาชะเมาใช้คือการเอาเรื่องเล็กๆ รอบตัว แล้วเชื่อมโยงต่อยอดไปเรื่อยๆ ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากทำอย่างต่อเนื่องไปอย่างมีความสุข และต้องเติมเต็มศักยภาพให้กับเด็กๆ ด้วย และต้องมีงานที่เชื่อมโยงกัน ทั้งงานเยาวชนที่ทำจากส่วนกลางและคนทำงานพื้นที่”





ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของภาครัฐ  ที่เชื่อมโยงกับงานเยาวชน


                  

                   เทศบาลตำบลเมืองแกลง นำโดยนายกเทศมนตรี คุณสมชาย จริยเจริญ ได้มาเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเปิดมุมมองในครั้งนี้

                  ในกลุ่มคนที่ทำงานด้านเยาวชนส่วนใหญ่จะทำงานด้วยจิตอาสา แต่สำหรับนายกสมชายแล้ว ท่านบอกว่าท่านมีกองกำลังในการทำงาน คือ อำนาจ หน้าที่ และงบประมาณ ซึ่งจะต้องบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนเมืองแกลง

                 แม้ว่าจะมีภาระงานหลายด้านที่ทางเทศบาลตำบลเมืองแกลงต้องรับผิดชอบ แต่เรื่องการวางรากฐานการศึกษาบนพื้นฐานของชุมชนก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณสมชายให้ความสำคัญ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งเกิดจาก "ระบบการศึกษา" เพราะการศึกษาไม่ทำให้คนใช้ถิ่นฐานบ้านเกิดเป็นตัวเลือกในการใช้ชีวิต แต่การศึกษากลับทำให้คนทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนไป และสุดท้ายเมื่อคนทิ้งถิ่นมากขึ้น ก็เกิดปัญหาที่ดินรกร้างว่างเปล่า จนเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนจากที่อื่นเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ที่สำคัญคนอื่นที่เข้ามากลับเป็นคนที่ไม่เข้าใจรากเหง้าของชุมชนเลย ฉะนั้นการเข้ามาจึงมีเป้าหมายใหญ่อยู่ที่ผลกำไร ผืนดินหลายแห่งจึงกลายสภาพจากท้องนาไปเป็นรีสอร์ต บ้างก็กลายเป็นสถานที่อโคจร ซึ่งมันเป็นการลงทุนที่ผิดฝาผิดตัว "อยู่เมืองแกลงวิทยา" โรงเรียนสร้างเด็กรักษ์ถิ่น จึงเป็นโรงเรียนที่ถูกสร้างขึ้นให้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับท้องถิ่น

                               



               ป้าหนู “พรรณิภา โสตถิพันธุ์” จากสงขลาฟอรั่ม สะท้อนถึงสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนร่วมกันว่า “เราเห็นถึงความมุ่งมั่นของท่านนายกเมืองแกลง รู้สึกว่าที่นี่โชคดีจังที่มีท่านเป็นผู้บริหาร งานที่เราทำอยู่เป็นงานสร้างคนเหมือนกัน เป็นงานที่ใช้เวลา แต่ถึงแม้ว่ามันจะช้า แต่เราก็รอได้ เราอยากสร้างคนที่มีมุมมองแนวคิดเหมือนท่านนายกสมชาย ท่านบอกว่าท่านมีอำนาจหน้าที่แบบนี้ มีงบประมาณเท่านี้ ท่านก็ทำงานได้ประมาณนี้ ส่วนแฟ้บ ก็มีบ้าน มีที่ดิน ก็เอามาทำศูนย์เรียนรู้ของกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ ในขณะที่มูลนิธิกองทุนไทยก็เน้นงานด้านสิ่งแวดล้อม สงขลาฟอรั่มเองก็มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เราทุกคนก็ต่างทำหน้าที่ บนฐานงานที่เรารัก แต่สักวันหนึ่งเราจะมาเชื่อมโยงกัน ดังนั้นศักยภาพของแต่ละกลุ่มก็จะเป็นไปตามที่แต่ละกลุ่มมี แต่เรามีธงที่คล้ายคลึงกัน


                  

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ